Data Research Insight สำรวจจักรวาล ชาเขียว อีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดฮิตคู่ใจชาวไทย โดยเมนูชาเขียวนี้ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีหลากหลายเมนูผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ บัวลอย เครป บิงซู ผัดหมี่ ดังนั้นอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ
สำหรับในบทความนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight ชาเขียว เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการทานกันมากขึ้น คนไทยชอบชาเขียวแบบไหน ใส่ท็อปปิ้งอะไร ร้านเด็ดร้านดังที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ
โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data ชาเขียว คือ Social Listening เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่
ซึ่งโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดี SME D BANK ที่สนับสนุนโปรเจคนี้
เกริ่นมาเยอะแล้ว ถ้าพร้อมทาน เอ้ย พร้อมอ่านแล้ว ก็ตามมาได้เลยค่ะ~
ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ ชาเขียว รวมถึง green tea ในภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/04/2024 – 30/09/2024 หรือประมาณครึ่งปีย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 42,747 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok
และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า ชาเขียว นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น ชาเขียวที่เป็นชื่อสกินแคร์ เป็นต้น
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ ค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงเรื่องชาเขียวแบบไหน ใส่ท็อปปิ้งอะไรกันบ้าง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านชาเขียวนั่นเองค่ะ
ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ
Social Data Stat Overview
สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงชาเขียว จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย TikTok, X(Twitter), Instagram และ Youtube ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวเมนูชาเขียวต่าง ๆ รีวิวร้านเด็ดร้านดังที่น่าไปตำตาม
การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 89% ทั้งนี้มีคอนเทนต์จากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องดื่มหรือขนมรสชาติยอดฮิตอย่างชาเขียว รวมถึงคอนเทนต์แจกสูตรทำชาเขียว
VIDEO
การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าเมื่อผู้เขียนจะทำการ Ignore Youtube View หรือไม่นับรวมยอดวิวแล้ว เราจะเห็นว่า Facebook, Instagram และ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพเช่นเดียวกันค่ะ โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจสูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการรีวิวเมนูชาเขียวเด็ด ๆ หลากหลายรูปแบบ, พา DIY สูตรชาเขียวจากของในเซเว่น, โปรโมชันต่าง ๆ รวมถึงประเด็นราคาชาเขียวด้วย เป็นต้นค่ะ
อาจจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่าส่วนใหญ่คลิปที่ได้รับ Engagement สูง ๆ หรือได้รับความสนใจจากคนในโซเชียลกันมาก จะเป็นการรีวิวเมนูชาเขียว ไม่ว่าจะจากร้านเด็ดร้านดัง หรือคิดสูตร DIY ชาเขียวในรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย พอเป็นสูตรไวรัลก็ทำให้คนอยากตามรอยไปทำกินตามกันบ้าง
ดังนั้นทุกคนก็สามารถนำไปเป็นไอเดียในการต่อยอดการทำคอนเทนต์ของธุรกิจตัวเองกันได้นะคะ รวมถึงต่อยอดคิดค้นพัฒนาเมนูชาเขียวในแบบฉบับของแบรนด์ตัวเอง ใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ หรือส่วนผสมที่เห็นแล้วว่าคนชอบกัน เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้านั่นเอง
สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ‘ชาเขียว’ นั่นเองค่ะ เช่น เทรนด์รีวิวอย่าง #อร่อยบอกต่อ หรือใน TikTok อย่าง #tiktokพากิน รวมถึงเรื่องของโปรโมชันต่าง ๆ ก็เป็นจุดดึงดูดลูกค้าได้ดีมาก ๆ คนให้ความสนใจกันอยู่เสมอ
มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด
Facebook – ตี๋น้อยรีวิวของหวาน รีวิว White Choc Matcha
X (Twitter) – Twitter Account ชาเขียว Fuku Matcha เข้มข้น ไม่ได้นอน
Instagram – ginyuudai ทำน้ำมะพร้าวชาเขียว 7-11
TikTok – drpaokk ประเด็นชาเขียวขึ้นราคา
YouTube – Glico Thailand ขนมพีจอย รสมัทฉะชาเขียว
VIDEO
STEP 5 Categorize Data
การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ
ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ
STEP 6 Data Visualization
ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT, Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง
ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงชาเขียว จัดเป็น 5 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ
รูปแบบชาเขียว 35%
Topping ชาเขียว 16%
เมนูเครื่องดื่มชาเขียวยอดฮิต 8%
เมนูขนมหวานจากชาเขียว 33%
ร้านชาเขียว 8%
เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ
#1 รูปแบบชาเขียวยอดฮิต ทานเย็น ๆ ฟินชื่นใจ
มาเริ่มกันที่รูปแบบการรับประทานชาเขียวยอดฮิตมาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือแบบ ‘เย็น’ ถึง 66% ตามมาด้วยรูปแบบปั่น หรือที่มักเรียกกันว่าสลัชชี่/สเลอปี้ และรูปแบบชาเขียวร้อนตามลำดับค่ะ
ในส่วนของชาเขียวในรูปแบบเย็นที่ค่อนข้างจะมีการพูดถึงและได้รับความนิยมมาก เพราะมีได้หลากหลายรูปแบบ อย่างชาเขียวเย็นที่เป็นแก้วขายตามร้านต่าง ๆ ทั่วไปก็มีการพูดถึงเยอะ รวมถึงอีกประเภทที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกันก็จะเป็นชาเขียวเย็นในรูปแบบขวดพร้อมดื่ม ที่เรามักเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ตามร้านสะดวกซื้อนั่นล่ะค่ะ พกพาง่าย สะดวก หรือจะซื้อกลับมาแช่ตู้เย็นเก็บไว้ทานวันหลังก็ได้
สลัชชี่เองก็กำลังมาแรงเช่นเดียวกัน ทุกคนคงจะเห็นกระแสสลัชชี่หรือสเลอปี้กันอยู่แล้วในช่วงนึง หลาย ๆ ร้านก็หันมาครีเอทเมนูปั่น ๆ ของตัวเองกัน ไม่ว่าจะปั่นเป็นเกล็ดหิมะให้พอได้เคี้ยวกรุบ ๆ ฟิน ๆ หรือปั่นเป็นเนื้อมูสเนียนนุ่มชุ่มลิ้น อันนี้ก็แล้วแต่สไตล์หรือจุดขายของแต่ละร้าน
#2 ‘ไข่มุก’ Topping ชาเขียวยอดฮิต
สำหรับ Topping ที่คนมักใส่ในชาเขียวและได้รับการพูดถึงกันมาก แน่นอนว่าเป็นท็อปปิ้งที่หลาย ๆ คนรวมถึงผู้เขียนเองก็ชอบทาน มาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือ ‘ไข่มุก’ ของเรานั่นเองค่า ในสัดส่วนถึง 57% ตามมาด้วยครีมชีส วิปครีม เฉาก๊วย และพุดดิ้งเด้งดึ๋งตามลำดับค่ะ
ในส่วนของไข่มุก ท็อปปิ้งที่เป็นเหมือนท็อปปิ้งสามัญประจำบ้านที่คนมักนิยมใส่ในชากัน ไม่ว่าจะชาเขียว ชานม ชาไทย หรือชาใด ๆ ก็ตาม เคี้ยวหนึบหนับทานกันเพลิน ๆ แต่ก็มีสายสุขภาพที่อยากทานไข่มุกแต่กลัวอ้วน กลุ่มนี้ก็จะนิยมเลือกเป็นไข่มุกบุกใส ๆ แทน ฟีลลิ่งเคี้ยวหนึบได้เหมือนกันแต่แคลน้อยกว่า
ส่วนอันดับ 2 ที่ตามมาอย่างครีมชีส ช่วงนี้ก็เป็นที่พูดถึงเช่นเดียวกัน เพราะเป็นอีกหนึ่งท็อปปิ้งที่ถูกใจเด็กอ้วง ถูกใจความหวาน ๆ เค็ม ๆ มัน ๆ นัว ๆ อร่อยสะใจของตัวครีมชีส ทั้งนี้บริบทก็มีทั้งการใช้ครีมชีสแต่งแก้วด้านใน รวมถึงโปะด้านบนเป็นเลเยอร์หนา ๆ นัว ๆ เวลาดูดขึ้นมาแต่ละชั้นก็จะผสมผสานกันพอดี
และอันดับ 3 ที่นิยมกันก็เป็นอีกหนึ่งท็อปปิ้งที่คุ้นเคยอย่างวิปครีม จะเพิ่มวิปครีมทั่วไปก็ได้ หรือจะวิปครีมจุก ๆ สูงยิ่งกว่าตึกสิบชั้นเลยก็ดี ก็ถือว่านำมาเป็นจุดขายที่น่าสนใจของร้านได้เหมือนกันนะคะ
#3 เมนูเครื่องดื่มครองใจต้อง ‘มัทฉะลาเต้’
ดูภาพรวมกันแบบเร็ว ๆ ก็คือมาแรงทั้งชาเขียวใส่นมและชาเขียวที่ไม่ใส่นมในสัดส่วนที่พอ ๆ กันเลยค่ะ อย่างอันดับ 1 มัทฉะลาเต้ 33% ตามมาด้วยชาเขียวมะลิที่ใกล้เคียงกัน ชาเขียวมะนาว ชาเขียวสตรอเบอร์รี่ และชาเขียวมะพร้าวตามลำดับ ทำให้เห็นเหมือนกันค่ะว่าชาเขียวเป็นเมนูที่ถูกนำไปประยุกต์หรือผสมกับสิ่งอื่น ๆ มากกว่าพวกชานม ชาไทย
ดังนั้นจริง ๆ แล้วถ้าทำร้านชาเขียวก็น่าจะมีเมนูให้หลากหลายรองรับความชอบของแต่ละบุคคล เพราะนิยมทั้งแบบที่ใส่นมและไม่ใส่นม สำหรับมัทฉะลาเต้คนก็จะนิยมพูดถึงกันอยู่สองแบบหลัก ๆ ก็คือขอเรียกว่ามัทฉะลาเต้แบบทั่วไป กับมัทฉะลาเต้ประยุกต์
แบบทั่วไปก็คือหน้าตาสีสันเป็นชาเขียวปกติ รวมถึงอาจจะใส่ท็อปปิ้งต่าง ๆ ที่ถ้าทำรสชาติให้ดีคนก็พร้อมตามไปทานไปรีวิวกันอยู่แล้วแน่นอน ส่วนมัทฉะลาเต้ประยุกต์ที่ว่าก็คือหมายถึงการนำเมนูมัทฉะลาเต้นี้มาครีเอทผสมผสานเข้ากับเมนูชาอื่น ๆ นั่นเองค่ะ
อย่างตัวอย่างในภาพก็จะเป็นชามะลิอัญชันมัทฉะลาเต้ ที่เป็นการผสมผสานชา 2 สไตล์ คือชาเขียวมัทฉะเข้ากับชามะลิอัญชันนม เป็นต้นนั่นเอง การใส่ความ Creative สร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ ค่อนข้างเรียกความสนใจของคนและเป็นไวรัลให้คนตามไปทานกันได้ไม่ยาก
ส่วนอันดับ 2 ชาเขียวมะลิที่ตามมาในสัดส่วนที่ไม่แพ้กัน ก็ค่อนข้างจะถูกใจสายสุขภาพขึ้นมาหน่อยที่อาจจะไม่อยากทานชาเขียวที่ใส่นม ชอบฟีลไลท์ ๆ เบา ๆ เฟรช ๆ ก็ต้องมาทางี้เลย ชาเขียวมะลิก็มีทั้งในรูปแบบชาเขียวมะลิเฉย ๆ หรือใส่น้ำผึ้งลงไปด้วย หรือมากไปกว่านั้นก็ผสมกับน้ำอื่น ๆ เช่น น้ำแอปเปิ้ลแบบในตัวอย่าง ก็เป็นการเพิ่มมิติให้กับรสชาติมากยิ่งขึ้น
#4 ‘เค้ก’ ยืนหนึ่งของหวานยอดฮิตจากชาเขียว
ถัดมามาดูกันต่อที่เมนูขนมหวานจากชาเขียวยอดฮิตมาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือ ‘เค้ก’ ในสัดส่วน 35% ซึ่งตามมาติด ๆ กับไอติมที่ 33% บราวนี ไดฟุกุ/โมจิ โดนัท และบิงซูตามลำดับค่ะ
ในส่วนของเค้กเรียกว่าหลากหลายมาก ๆ ถือเป็นรสชาติที่ยอดฮิตมากจริง ๆ ทั้งเค้กทั่วไป เค้กเจนัวที่เป็นอัลมอนด์ เครปเค้ก หรือเค้กไอติม คนก็ชอบทานรสชาติชาเขียวกันมากมายค่ะ ทั้งนี้เราก็อาจจะต้องหาจุดขายของตัวเองกันแล้วว่าจะทำยังไงให้ขนมเราเด่นกว่าคนอื่น ร้านไหนขายเครื่องดื่มชาเขียวกันอย่างเดียวก็อาจจะลองมาดูว่าคนชอบทานเค้กชาเขียวกันมากด้วยจะลองนำมาขายเป็นตัวเลือกให้ลูกค้าทานคู่กับเครื่องดื่ม
ในส่วนของไอติมชาเขียวก็เป็นที่พูดถึงเช่นเดียวกัน นอกจากไอติมที่หน้าตาปกติทั่วไป อย่างตลาดปลาบางแสนก็มีการทำไอติมชาเขียวให้เป็นลวดลายสวยงามอีกด้วย ก็เป็นการสร้างจุดเด่นมากกว่าไอติมปกติ รวมถึงเทรนด์การ DIY ของใน 7-11 ครีเอทเมนูใหม่ ๆ ก็มีการนำไอติมชาเขียวมาทานคู่กับน้ำมะพร้าว กลายเป็นชาเขียวมะพร้าวก็มีค่ะ เป็นสูตรที่คนสนใจแล้วก็ไปตำตามกันเยอะเลย
#5 ‘ชาตรามือ’ ร้านชาเขียวยอดฮิตติดใจ
มาถึงในส่วนสุดท้ายอย่างร้านที่ขายชาเขียวที่มีคนพูดถึงมากที่สุดมาเป็นอันดับ 1 เลยนั่นก็คือ ‘ชาตรามือ’ ในสัดส่วน 19% ตามมาติด ๆ ด้วย Oishi, Fuku Matcha, Inthanin, Cafe Amazon, Starbucks และ Kamu Tea ตามลำดับค่ะ
สำหรับชาตรามือที่มาเป็นอันดับ 1 นอกจากรสชาติที่ดีแล้ว ช่วงที่คนพูดถึงกันมากมักจะเป็นช่วงที่แบรนด์ออกเมนูใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ อย่างเช่นกระแสสลัชชี่ก็มีเมนูสเลอปี้ชาเขียวครีมชีสเกล็ดหิมะ หรือช่วงสงกรานต์ก็มีขายชาถังเป็นบักเก็ตใหญ่ ๆ รวมถึงทางแบรนด์ก็ได้ขายผงชาเขียวสำเร็จสำหรับนำไปชงกินเองได้ด้วย มีความหลากหลายแล้วก็มักสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ออกมาเสมอ
เหมือน Oishi ที่เป็นชาเขียวขวดพร้อมดื่ม ที่มีการพูดถึงเยอะจากการออกเมนูใหม่ ๆ อย่างเช่น ชาเขียวกลิ่นข้าวโพดฮอกไกโด ประกอบกับการใช้พรีเซนเตอร์คนดังต่าง ๆ ทำให้มีการพูดถึงสูง
ส่วนใครที่นิยมทานชาเข้ม ๆ ต้องการเอเนอจี้ดีดเป็นม้าไม่อยากหลับนอน มาทาง Fuku Matcha ได้เลย เพราะเป็นที่ขึ้นชื่อมากกับจุดเด่นที่ว่าชาเขาเข้มข้น ของเขาแรงจริง จนเป็นทวิตไวรัลว่าสมควรไปเปิดในโรงพยาบาลเพื่อบุคลากรการแพทย์
สำหรับ TOP 5 Facebook Page
ชอบโปร – ShobPro 157.8K Engagement
ตี๋น้อยรีวิวของหวาน 144.6K Engagement
บ้านเราสตอรี่ 67.8K Engagement
ป้าหนึ่ง ตึ่งโป๊ะ 49.4K Engagement
กินไปเหอะ 43.7K Engagement
TOP 5 Instagram Account
ginyuudai 185K Engagement
punpromotion 153.9K Engagement
nutapiwich 105.6K Engagement
shobproth 73.8K Engagement
redprice50 45.2K Engagement
TOP 5 TikTok Account
drpaokk 121.3K Engagement
nn.hcafe 115K Engagement
doctoroakdoctorsixpack 39.7K Engagement
beebiefood 37.8K Engagement
redprice50 26.5K Engagement
Data Research Insight สำรวจจักรวาล ชาเขียว by Social Listening
ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight สำรวจจักรวาลชาเขียว เครื่องดื่มยอดฮิตคู่ใจชาวไทย หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการดื่มชาเขียว คนไทยชอบชาเขียวรูปแบบไหน ใส่ท็อปปิ้งอะไร รวมถึงแบรนด์เด็ดร้านดัง และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ
และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^
*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณ SME D BANK ผู้สนับสนุนโปรเจคนี้
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ บัวลอย เครป ผัดหมี่
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/soc iallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย