หมูกระทะ คือวาระแห่งชาติ คงไม่เกินจริงกับประโยคนี้ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าตอนไหนหรือที่ไหน ร้านข้างทางหรือขึ้นห้างจะต้องมีร้านหมูกระทะตั้งอยู่อยู่เสมอ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพามาเจาะลึกกับ Data Research Insight หมูกระทะ กันค่ะ
โดยการใช้ Social listening tool อย่าง Mandala หนึ่งในสปอนเซอร์ ผู้ใหญ่ใจดีที่เอื้อเฟื้อให้ทีมการตลาดวันละตอนได้ใช้ประโยชน์ แปลง Data พลิกแพลงตะแคงออกมาเป็น Insight เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และบุคคลทั่วไปทุกคน เข้าถึงการทำ Data Research Insight และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้
บทความนี้จะเป็นไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้
และในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ
ตัว Keyword ที่ใช้คือ หมูกระทะ หมูกะทะ และ เนื้อย่างเกาหลี ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/01/2023 – 31/10/2023 รวมทั้งสิ้น 10 เดือน กับข้อมูลจำนวน 73,857 Mentions ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 73,857 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โพสต์ขายยาลดน้ำหนัก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “หมูกระทะ” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับ หมูกระทะ ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง หมูกระทะ มากน้อยแค่ไหน
เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ Ey Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘หมูกระทะ’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง หมูกระทะ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ Twitter, YouTube, TikTok และ Instagram ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ เรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งเป็นสกู๊ปข่าวครูถูกหวย ปิดสนามเลี้ยงหมูกระทะเด็กBy Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง สวัสดีครับผม แจ็กแปปโฮ ทำคลิปขายหมูกระทะBy Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งเป็นคลิปจาก eyeyevill คุณแม่มีลูก หนีลูกอ่อน มากินหมูกระทะมาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง
ซึ่ง TikTok คือแพลตฟอร์มที่ได้การมีส่วนร่วมเด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด องค์รวมเราจะเห็นได้เลยว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นไปในเชิงของการกินโชว์ การรีวิวหมูกระทะ ร้านตามร้านต่าง ๆ รวมถึงบทเพลงเลิฟหมูกระทะน่าดู ที่ถูกใจคนไทยหลาย ๆ คน
คนไทยแปลว่าอิสระ แต่งเพลงหมูกระทะก็ทำมาแล้ว!
และถ้าเรามองลึกลงไปอีกจากคอนเทนต์ของสาวเจ้ย และครอบครัวสองเรน คนไทยในเกาหลีอยู่ที่ปูซาน เราก็จะเห็นได้เลยว่าหมูกระทะไม่ได้ฮิตแค่ไหนประเทศไทยอย่างเดียวเพียงเท่านั้น แต่คนไทยที่อยู่ต่างแดนยังเลือกที่จะทาน เผยแพร่วัฒนธรรมปิ้งย่างของเราให้กับสามีต่างชาติอีกด้วย
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #หมูกระทะ เป็นหลัก นอกจากนั้นก็จะเป็นชื่อร้าน ชื่อจังหวัด รูปแบบของการทาน เช่น บุฟเฟ่ต์ รวมถึงชื่อแอคเคาท์ Influencers ต่าง ๆ ที่มีการใช้ Hashtag และพูดถึงเกี่ยวกับหมูกระทะนั่นเองค่ะ
ท่านใดที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
VIDEO
ซึ่งเราก็จะเห็นได้เลยว่าคอนเทนต์ที่ได้จาก Social Listening ส่วนใหญ่ที่ได้รับความแนะนำเกี่ยวกับ หมูกระทะ จะเด่นในเรื่องของการกินโชว์ บ่นถึงว่าอยากจะกินนั่นเองค่ะ
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับ หมูกระทะ ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 7 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 7 หัวข้อ ดังนี้
คนเรียกหมูกระทะว่ายังไง? คนทานหมูกระทะในโอกาสใดบ้าง? รูปแบบของการทานหมูกระทะ 5 สิ่งแรกที่คนพูดถึงหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ สิ่งที่คนกังวลเวลาทานหมูกระทะ Top 5 จังหวัดที่พูดถึงหมูกระทะ Top 10 ร้านหมูกระทะที่ถูกพูดถึง จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
Insight #1 คนเรียก ‘หมูกระทะ’ ว่ายังไง? เรามาเริ่มกันที่ Fun Fact เล็ก ๆ กันก่อนว่าคนเรียกหมูกระทะกันว่าอย่างไรบ้าง? จาก Insight ทำให้เราพบว่าคนเรียกหมูกระทะด้วยกันทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน ได้แก่
หมูกระทะ 78.4% หมูกะทะ 10.5% เนื้อ/หมูย่างเกาหลี 8.8% หมูทะ 2.3% ซึ่ง 78.4% ของข้อมูลจาก Social Listening คนใช้คำว่า หมูกระทะ มากที่สุด ซึ่งเป็นคำที่สะกดถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับปัจจุบัน) ได้บัญญัติคำนี้ไว้ว่า “หมูกระทะ” แสดงให้เห็นว่าคนไทยสะกดถูกกันเป็นส่วนมาก
ส่วนคำว่า ‘หมูกะทะ’ บริบทมาจากการตั้งใจพิมพ์ โดยอาจจะรู้ว่าสะกดผิดหรือไม่รู้ว่าสะกดผิด และมาจากชื่อร้านหมูกระทะ เช่น เทย กะ ทะ, Ska หมูกะทะ
VIDEO
และที่น่าสนใจคือ เนื้อ/หมูย่างเกาหลี เป็นคำที่มักมาคู่กับคำว่า โคราช เพราะเป็นคำที่คนโคราชหรือคนแถบอีสานใช้เรียกหมูกระทะนั่นเองค่ะ ส่วน ‘หมูทะ’ เป็นคำที่มาจากการกร่อนคำออกมา เรียกสั้น ๆ น่ารัก ๆ แต่เข้าใจได้อยู่ว่าบริบทคือหมูกระทะ ดังนั้นใครที่อยากทำ SEO Content ลองเลือกคำพวกนี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้มากที่สุด
Insight #2 ถูกหวยเมื่อไหร่ กินหมูกระทะเมื่อนั้น! ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่า คนทานหมูกระทะเมื่อถูกหวย คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 26.2% กันเลยทีเดียว บ้างก็ถูกหวยแล้วเลี้ยงหมูกระทะคนอื่น หรือไปกินกับครอบครัว จริงจังกันถึงขั้นที่ว่าขอให้ถูกหวยสักทีเถอะ เพราะอยากจะกินหมูกระทะ
และด้วยความเป็นคนไทย อยากกินอะไรก็กิน กินตอนไหนก็ได้ โอกาสลำดับที่ 2 คิดเป็น 20.8% ที่คนเลือกทานหมูกระทะเลยออกมาเป็น อยากกินก็กิน ไม่สนด้วยว่าจะเช้า สาย บ่าย เย็น อยากกินต้องได้กิน
นอกจากนั้นก็จะเป็นในบริบทของการเฉลิมฉลองตามวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ รวมไปถึงการได้ไปเที่ยวต่างจังหวัด เดทกับแฟน และรอจนถึงวันเงินเดือนออก สิ่งเหล่านี้คือโอกาสที่คนเลือกจะทานหมูกระทะที่ได้จากการใช้ Social Listening ค่ะ
ซึ่งเราสามาระปรับใช้ Insight นี้เป็นโอกาสทางธุรกิจได้ เช่น การโปรโมทในช่วงเวลานั้น ๆ ใกล้วันที่ 1 หรือ 16 ก็โปรโมทเลย พร้อมใส่ #หมูกระทะ เข้าไปด้วยเพิ่มความปัง หรือจะทำโปรโมชั่นเอาใจคนถูกหวยจริง ๆ กับถูกหวยกินก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
Insight #3 นาทีนี้ต้องบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ เรามาดู Insight ในแง่ของรูปแบบการทานหมูกระทะ จาก Social Data บอกกับเราได้ว่า บุฟเฟ่ต์หมูกระทะมาแรงแซงโค้งเป็นลำดับที่ 1 คิดเป็น 64.3% แสดงให้เห็นว่าคนสนใจบุฟเฟ่ต์หมูกระทะกันมากที่สุด ซึ่งไม่ได้แปลกใจอะไรเท่าไหร่ เพราะนาทีนี้ สภาพเศรษฐกิจ คุ้มก่อนดีที่สุด
ในทางกลับกัน ในรูปแบบของการ ‘ขายเป็นชุด’ 27.6% ที่มาเป็นลำดับที่ 2 เราเจอข้อมูลที่น่าสนใจของคนเลือกทานหมูกระทะรูปแบบนี้ คือ กินแบบบุฟเฟ่ต์แล้วรู้สึกว่าไม่คุ้ม เลยเลือกกินแบบนี้แทนดีกว่า ถูกใจสายกินน้อย ขี้เบื่อ กลัวกินไม่คุ้มนั่นเองค่ะ
และที่น่าสนใจและเซอร์ไพร์สที่สุดตั้งแต่ทำ Data Research Insight มา คือการผ่อนหมูกระทะนี่แหละค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าการผ่อนกับคนไทยมีมาตั้งนาน แต่ไม่คิดเลยว่าจะผ่อนยัน หมูกระทะ
แถมยังเป็นผ่อนแบบ 0% อีกซะด้วย!
ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนลำดับท้ายที่สุด 8.1% แต่ก็เป็นจำนวนตัวเลขที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียวค่ะ เพราะมีการพูดถึงในโลกโซเซียลอยู่ไม่น้อย แถมครีเอเตอร์คนไทยก็ทำคอนเทนต์รีวิวกันเยอะมาก นี่อาจเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ในอนาคตที่ร้านธุรกิจควรจับตามองทีเดียว
VIDEO
Insight #4 เจาะลึกบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ คนพูดถึงในแง่อะไรกันบ้าง? เมื่อผนวกกับบริบทของอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ที่คนเลือกกินเพราะอยากจะกินให้คุ้มกับที่จ่าย ดังนั้น ไม่จำกัดเวลาในการทาน จึงมาเป็นอันดับ 1 ที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดเกี่ยวกับบุฟเฟ่ต์หมูกระทะนั่นเองค่ะ รองลงมาก็จะเป็น ราคาไม่บวกเพิ่ม 21% น้ำรีฟีล 20.6% ตัวเลือกเนื้อสัตว์/อาหารหลากหลาย 19.2% ปิดท้ายด้วยต้องมีขนมหวานล้างปาก 7.6%
ทว่า สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับขนมหวาน คือคนบ่นเรื่องไอติมที่ตักยากมาก ๆ ตักทีกล้ามจะขึ้น ซึ่งผู้เขียนขอบอกว่าเห็นด้วยค่ะ บางร้านไอติมในตู้ตักแข็งมากจริง ๆ ตักไปยากจะร้องไห้ไป ถ้าเราปรับให้มีพนักงานคอยบริการช่วยตักหรือตักเป็นลูก ๆ ไว้ก่อนแล้ว ก็น่าจะเป็นการแก้ Pain Point ที่น่าสนใจค่ะ
ใครที่ทำธุรกิจหมูกระทะแล้วขายแบบบุฟเฟ่ต์หรือกำลังที่จะขายแบบบุฟเฟ่ต์ ลองนำ 5 สิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้กับธุรกิจเพื่อดึงดูดลูกค้ากันได้ค่ะ รับรองได้เลยว่าถูกใจสายบุฟเฟ่ต์แน่นอน!
Insight #5 กลิ่นติดตัว/ผม คือสิ่งที่ต้องแก้ ฟิลเลอร์ละลายก็กังวลเหมือนกัน จาก Pain Point เรื่องไอติมแข็ง เรามาต่อกันด้วย Pain Point อื่น ๆ ที่คนให้ความสนใจหรือมีความกังวลเมื่อต้องไปทานหมูกระทะกันบ้างค่ะ โดยจาก Social Listening ได้บอกกับเราว่า เรื่องกลิ่นติดตัว/ผม คือสิ่งที่คนกังวลมากที่สุด คิดเป็น 39.6%
ถ้าเรามีหมวกคลุมผม น้ำหอมดับกลิ่น หรือพัดลมที่ช่วยปัดควันออก สิ่งเหล่านี้น่าจะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ไม่มากก็น้อย ยิ่งลูกค้าที่เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ คงจะได้ใจลูกค้าไปเต็ม ๆ ค่ะ
รองลงมาก็คือ กลัวอ้วน กลัวบวมโซเดียม ฟิลเลอร์ละลาย อาหารเป็นพิษ และกลัวเป็นโรคหูดับตามลำดับ แสดงให้เราเห็นว่าต่อให้หมูกระทะจะอร่อยขนาดไหน แต่ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ ความงามก็ยังมีอยู่ ยิ่งกับงานหัตถการอย่างการฉีดฟิลเลอร์ ที่โดนของร้อนเมื่อไหร่อาจเปลี่ยนรูปทรงได้ หมูกระทะจึงเป็นสิ่งต้องห้ามเลยก็ว่าได้ ขนาดถึงขั้นที่ว่าคลินิกความสวยความงามออกมาทำคอนเทนต์เตือน บอกให้งดกันเลยทีเดียว
ก็แหมฉีดมาทั้งที จะมาเสียเงินเพราะหมูกระทะไม่ได้! แต่นี่ก็ถือเป็นโอกาสให้กับธุรกิจของเราได้เหมือนกัน ลองคิดเล่น ๆ ว่าคนบ่นว่าอยากกินหมูกระทะแต่ก็กลัวฟิลเลอร์ผิดรูป/ทรง ถ้าเรามีบริการย่างให้ลูกค้า น่าจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้เหมือนกันนะคะ
ส่วนในเรื่องสุขภาพและความสะอาด ที่คนกังวลเรื่องอาหารเป็นพิษและโรคหูดับ ถ้าเรานำประเด็นนี้มาเป็นโอกาส เป็นจุดแข็งว่าร้านเราใส่ใจลูกค้า ซึ่งเราอาจจะทำคอนเทนต์โปรโมท ให้ความรู้ถึงการกินหมูกระทะให้ถูกสุขลักษณะ มีตะเกียบให้ลูกค้าได้ใช้หลาย ๆ อัน หรือทำที่คีบแยกให้ลูกค้าไปเลยก็น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
Insight #6 โคราชเมืองแห่งหมูกระทะ คนพูดถึงว่าหมูกระทะที่โคราชอร่อยที่สุดกินที่ไหนก็ไม่สู้เท่าที่โคราชเดินสุ่ม ๆ เข้าไปกินก็อร่อยทุกร้าน และที่สำคัญคนโคราชเรียกหมูกระทะว่าเนื้อย่างเกาหลี สอดคล้องกับ Insight #1 ที่คนเรียกหมูกระทะว่าเนื้อย่างเกาหลีนั่นเองค่ะ และอ้างอิงจาก Data Research Insight โคราช จากโปรเจค Data 76 จังหวัด หมูกระทะเป็นสิ่งแรกที่คนนึกถึงโคราชเช่นเดียวกัน
แสดงให้เห็นว่าหมูกระทะโคราชคือที่สุดแล้วจริง ๆ คนโคราชแท้ ๆ ยังมายืนยันเองเลยว่ากินที่ไหนก็ไม่อร่อยเท่าที่โคราชแล้ว เป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการร้านหมูกระชาวโคราช ที่จะโปรโมทข้อดีในจุดนี้ รวมถึงท่านใดที่อยากเอาร้านหมูกระทะที่โคราชมาเปิดที่จังหวัดอื่น ก็น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
เชียงใหม่และเชียงรายก็เป็นจังหวัดที่น่าสนใจไม่แพ้กันเมื่อพูดถึงหมูกระทะ เพราะเป็นจังหวัดที่คนไปเที่ยวแล้วเลือกหมูกระทะเป็นอันดับต้น ๆ ยิ่งหน้าหนาว ๆ โอกาสในการเลือกซื้อกินจะมีสูงมาก เจ้าของรีสอร์ท ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ต้องมีหมูกระทะในเมนูอาหารแล้วค่ะนาทีนี้
VIDEO
Insight #7 Top 10 ร้านหมูกระทะที่ถูกพูดถึงมากที่สุด สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เรามาดู Top 10 ร้านหมูกระทะที่ถูกพูดถึงมากที่สุดกันบ้างค่ะว่ามีร้านไหนบ้างที่ติดอันดับ จากการใช้ Social Listening
หมูจุ่มหมูกระทะคุณเปิ้ล 22.5% จ่าอูหมูกระทะ 18% เทยกะทะ 13.4% ตุ้ยหมูกระทะ 11.7% ผู้พันคณิตหมูกระทะ 10% แม่รำพึง หมูกระทะสิบบาท 7.7% SKA หมูกะทะ 7% ตุ้ยหมูกระทะ 5% ชิ้นโบแดง 2.9% อิคิวหมูกระทะ 1.8% ซึ่งเราสามารถเข้าไปเก็บข้อมูลของร้านต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มเติมได้ว่าเขาทำการตลาดยังไง มีอาหารแบบไหน จุดแข็ง จุดอ่อนคืออะไร เป็นต้น เพื่อนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจของเราได้ค่ะ
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
อีเจี๊ยบ เลียบด่วน 390.8K Engagementหมูกระทะ เทย กะ ทะ 248.1K Engagementสะใภ้เกาหลี ซอเเฟนเพจ 221 K Engagementชีวิตติดรีวิว 206.9K Engagementแซ่บอีสานบ้านๆbyเจ้ย 201.6K EngagementTOP5 YouTube Channels ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
อ้อม อ.แอมป์ 7.82M Engagementkp_talonlak 7.6M EngagementMOJIKO 6.41M Engagementtigercrychannel 4.51M Engagementนางแมวป่า 4.63M EngagementTOP5 TikTok Channels ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
joeilanla 965K Engagementkinkubky 729.6K Engagementachasai 686.6K Engagementbest_apicha 587.1K Engagementtid_review 553.8K EngagementData Research Insight หมูกระทะ ปิ้งย่างคู่คนไทย By Social Listening ที่มา: Shutterstock Prompt: Advertising – product photo of delicious thai bbq buffet, on a pan, full of meat, fresh vegetables เราจะเห็นได้เลยว่าหมูกระทะเป็นวาระแห่งชาติจริง ๆ ไม่ว่าจะตอนไหนคนก็เลือกที่จะกินหมูกระทะ ถูกหวยก็กิน บนให้ถูกหวยก็มี อยากกินก็กิน หรือจะฉลองตามวาระสำคัญต่าง ๆ เรียกได้ว่าไม่มีแพทเทิร์นที่ตายตัวเลยจริง ๆ แต่การใช้ Social Listening ก็ทำให้เราได้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการแก้ Pain Point เรื่องกลิ่นที่ติดตัว/ผม ความสะอาด สุขอนามัย รวมไปถึงเรื่องความกังวลเรื่องความสวยความงามอย่างฟิลเลอร์ที่ลูกค้าฉีดมา ถ้าเราแก้อุปสรรคเหล่านี้ได้ คงได้ใจลูกค้าไปเต็ม ๆ ได้อย่างแน่นอนค่ะ
และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘หมูกระทะ’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight นักล่าหมูกระทะกันค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI , MHA Makro , LINE MAN wongnai ,SME D BANK , Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication
Coming soon … คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/soc iallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ปล. สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ