Data Research Insight เจาะลึก โปรตีนพืช โดย Social Listening

รายงาน Data Research Insights ฉบับนี้ จะเปิดเผยทุกแง่มุมของข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้มธุรกิจ Plant-protein ในประเทศไทย ที่ได้จากการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Social Listening เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์เสียงของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ โดยความร่วมมือระหว่าง การตลาดวันละตอน และ Revomed Group Co., Ltd. ในโปรเจกต์ #BeautyDataInsight ที่มุ่งมั่นยกระดับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอาหารเสริมของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Data ผ่านรายงานฉบับนี้ให้ทุกคนที่สนใจเริ่มธุรกิจนี้ครับ

บทความนี้จะพาทุกคนไปค้นพบว่า:

  • ผลิตภัณฑ์โปรตีนพืชประเภทไหนที่กำลังฮิตและถูกพูดถึงมากที่สุด?
  • ผู้บริโภคมองหาคุณสมบัติหรือประโยชน์อะไรจากโปรตีนกันแน่ เช่น รสชาติ, คุณค่าทางโภชนาการ, ความสะดวก หรือปัจจัยด้านสุขภาพ?
  • อะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ Plant-protein?
  • ความกังวลหรืออุปสรรคที่ผู้บริโภคยังมีต่อดปรตีนพืชคืออะไร?
  • ช่องทางการซื้อขายและกลยุทธ์การสื่อสารแบบไหนที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบตรงจุด?
  • และอีกหลากหลายมิติอินไซต์ในโลกของ Plant-protein ที่ทุกคนจะได้รับทราบจากรายงานฉบับนี้ครับ

หากคุณคือผู้ประกอบการ นักการตลาด หรือผู้ที่สนใจในธุรกิจ Plant-protein และอยากทำความเข้าใจตลาดนี้อย่างลึกซึ้ง เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ พัฒนาสินค้า หรือสร้างแคมเปญการตลาดที่โดนใจผู้บริโภค บอกเลยว่ารายงานฉบับนี้มีคำตอบรออยู่ครับ


Data Overview

แต่ก่อนที่เราจะไปเจาะลึก Insight ในแต่ละด้านของตลาด Plant-protein ลองมาดูภาพรวมของข้อมูลที่เราได้รวบรวมจากการใช้ Social Listening กันก่อนดีกว่าครับว่า ในช่วง 06 มกราคม 2567 – 06 มกราคม 2568 เราพบข้อมูลที่พูดถึง Plant-protein บนโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ เป็นอย่างไรกันบ้าง

จากการใช้ Keyword Sets หลัก ๆ อย่าง “โปรตีนจากพืช/โปรตีนพืช/โปรตีน plant/ โปรตีนplant” เราพบการโพสต์ที่กล่าวถึง Keyword ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกว่า 49,466 mentions ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ครับ

และหลังจากที่เราได้ทำการ Cleansing Data โดยคัดกรอง Keywords ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปถึง 9,213 mentions โดยมีคำที่ถูกตัดออกไป ได้แก่ ประกันภัย, ประกันอุบัติเหตุ, โปรตีนไข่ขาว, อาหารหมา, แชมพู, ย้อมผม, เส้นโปรตีน, เทมเป้, ไข่ผำ, เคราติน, SERUM, ทรีทเม้นท์, น้ำยายืด, ทรีตเมน, กันแดด ก็จะเหลือโพสต์ที่พูดถึง Plant-protein ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 40,253 mentions ครับ

Social Data by Platform

เมื่อพิจารณาข้อมูล 40,253 mentions ที่เรา Cleansing มาแล้ว เราสามารถแบ่งตามการพูดถึง และการมีส่วนร่วม ในแต่ละแพลตฟอร์มได้ดังนี้ครับ

By Mention:

  • TikTok: 73%
  • Facebook: 14%
  • Instagram: 8%
  • X (Twitter): 3%
  • YouTube: 2%

จากข้อมูลจะเห็นชัดเลยว่า TikTok เป็นช่องทางที่มีการพูดถึง “โปรตีนพืช” มากที่สุดถึง 73% อย่างมีนัยสำคัญ ตามมาด้วย Facebook ที่ 14% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งแบรนด์และผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันให้ความสนใจและมีการสื่อสารเกี่ยวกับโปรตีนพืชผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอย่าง TikTok และ Facebook เป็นหลักนั่นเอง

By Engagement Ignore View:

  • TikTok: 83%
  • Facebook: 9%
  • Instagram: 4%
  • YouTube: 4%
  • X (Twitter): <1%

ในมิติของการมีส่วนร่วม รายงานนี้จะเน้นการวิเคราะห์จากข้อมูล “By Engagement Ignore View” เพื่อให้เราเข้าใจถึง Active Interactions ที่ผู้บริโภคมีต่อเนื้อหาเกี่ยวกับโปรตีนจากพืชได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ เพราะยอดวิว ซึ่งมักถูกนับรวมใน Engagement ทั่วไป อาจสูงมากโดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มวิดีโอ และอาจไม่ได้สะท้อนความสนใจหรือการกระทำของผู้บริโภคที่ลึกซึ้งเท่าการกดไลก์, แสดงความคิดเห็น หรือแชร์ต่อ

จากกราฟจะเห็นว่า TikTok โดดเด่นสุด ๆ ในการสร้างการมีส่วนร่วม โดยครองสัดส่วนสูงถึง 83% แสดงว่าคอนเทนต์เกี่ยวกับโปรตีนพืชบน TikTok ไม่เพียงถูกพบเห็นมากจากการวิเคราะห์ By Mention แต่ยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการตอบสนองอย่างจริงจังได้ดีที่สุดครับ ตามมาด้วย Facebook ที่ 9% ส่วน Instagram และ YouTube ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ 4%

เจาะลึก Insights โปรตีนพืช (Plant-protein)

จากข้อมูล Social Data ทั้งหมดกว่า 40,253 mentions ที่เกี่ยวกับ “โปรตีนพืช” เราสามารถนำมาจัดกลุ่มและวิเคราะห์เชิงลึกได้เป็น 14 หมวดหมู่หลัก หรือ 14 Categories and 148 Tags ซึ่งครอบคลุมทุกมิติที่น่าสนใจของตลาด Plant-protein ในปัจจุบันครับ หมวดหมู่เหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคพูดถึง ให้ความสนใจ รวมถึงสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ กำลังสื่อสารและแข่งขันกันในตลาด

14 Categories หลัก ได้แก่:

  1. Attributes หรือ คุณสมบัติของสินค้า
  2. Product Competitive หรือ จุดเด่นและการแข่งขันของผลิตภัณฑ์
  3. Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์
  4. Brand Spotlight หรือ แบรนด์ที่โดดเด่นบนโซเชียลมิเดีย
  5. Texture หรือ เนื้อสัมผัสและรูปแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ผง, เครื่องดื่ม, บาร์, เจลลี่, เม็ด
  6. Protein(g.) หรือ ปริมาณโปรตีนต่อหน่วยบริโภค
  7. Ingredients หรือ วัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง, ถั่วลันเตา, อัลมอนด์, ข้าวโอ๊ต
  8. Distributions หรือ ช่องทางการจัดจำหน่าย
  9. Promotion หรือ โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย
  10. Flavors หรือ รสชาติ เช่น ช็อกโกแลต, ชาเขียว, วนิลา
  11. Target หรือ กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค
  12. Active Ingredients หรือ สารออกฤทธิ์และส่วนผสมเสริม เช่น ไฟเบอร์, BCAAs, วิตามิน, คอลลาเจน
  13. Occasion หรือ โอกาสในการบริโภค เช่น ทดแทนมื้ออาหาร, ก่อน/หลังออกกำลังกาย
  14. Price หรือ ราคา

เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าแต่ละหมวดหมู่ถูกพูดถึงและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างไร ลองมาดูสัดส่วนการพูดถึง และการมีส่วนร่วม ของแต่ละ Categories กันครับ

By Mention:

  • Attributes: 20%
  • Product Competitive: 10%
  • Distributions: 10%
  • Packaging: 10%
  • Brand: 10%
  • Texture: 8%
  • Protein(g.): 8%
  • Ingredients: 6%
  • Promotion: 4%
  • Flavors: 4%
  • Target: 4%
  • Active: 4%
  • Occasion: 3%
  • Price: 1%

By Engagement:

  • Target: 13%
  • Packaging: 12%
  • Attributes: 11%
  • Texture: 11%
  • Brand: 11%
  • Protein(g.): 9%
  • Product Competitive: 9%
  • Distributions: 6%
  • Flavors: 5%
  • Occasion: 4%
  • Ingredients: 4%
  • Promotion: 4%
  • Active: 3%
  • Price: 1%

จากข้อมูลการพูดถึง หรือ Mentions เราจะเห็นว่า คุณสมบัติของสินค้า คือหมวดหมู่ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดถึง 20% ตามมาด้วย Product Competitive, Distributions, Packaging, และ Brand ซึ่งอยู่ที่ 10% เท่ากัน ส่วนราคา ยังคงมีการพูดถึงน้อยที่สุดเพียง 1%

แต่เมื่อมาดูที่ Engagement หรือการมีส่วนร่วม ผู้บริโภคกลับให้ความสนใจกับสิ่งอื่นที่แตกต่างออกไปกลุ่มเป้าหมาย พุ่งมาเป็นอันดับหนึ่ง สร้างการมีส่วนร่วมได้สูงถึง 13% นี่คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าคอนเทนต์ที่สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือทำคอนเทนต์ที่สะท้อนถึงตัวกลุ่มเป้าหมายชัดเจน สามารถกระตุ้นการตอบสนองได้เป็นอย่างดี ตามมาด้วย บรรจุภัณฑ์ ที่ 12% และ คุณสมบัติของสินค้า, เนื้อสัมผัส/รูปแบบผลิตภัณฑ์, และ แบรนด์ ที่ 11% เท่ากัน ส่วน Product Competitive และ Protein(g.) มี Engagement อยู่ที่ 9%

การที่ Target สร้าง Engagement ได้สูงสุด ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง และการสร้างสรรค์เนื้อหาที่สื่อสารกับพวกเขาโดยตรง ซึ่งจะช่วยสร้างความผูกพันและกระตุ้นการมีส่วนร่วมได้อย่างมหาศาล ในขณะที่ Packaging, Attributes, Texture, Brand และ หมวดหมู่อื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้คือจุดที่สามารถดึงดูดการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภคได้อย่างมีนัยสำคัญ

และในส่วนถัดไปราก็จะมาเจาะลึกแต่ละประเด็นให้เข้าใจบริบททั้ง 14 Categories เพื่อที่ทุกคนโดยเฉพาะเจ้าของแบรนด์ หรือนักการตลาดที่กำลังแข่งขันกันอยู่ในสนามแห่งนี้ ได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปปรับใช้กับ Marketing Strategy หรือ Product Develoment ได้ครับ โดยการจัดเรียงหัวข้อนั้นไม่ได้จัดเรียงตามจำนวน % แต่จะจัดตามความเหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาครับ

ในการแข่งขันของตลาดโปรตีนจากพืช “แบรนด์” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีการพูดถึง 10% และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ถึง 11% ซึ่งสะท้อนว่าการรับรู้และความผูกพันต่อแบรนด์มีแนวโน้มที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคด้วยเช่นกันครับ

By Mentions:

  • KCM: 18%
  • Matell: 16%
  • โฮเม่ไลฟ์: 16%
  • XS Protein Wink White: 14%
  • Vegamae: 11%
  • Plantae: 7%
  • Amway: 5%
  • Adella: 4%
  • Marwell: 4%
  • อื่น ๆ: 5%

By Engagement:

  • XS Protein Wink White: 18%
  • โฮเม่ไลฟ์: 17%
  • Bomi: 13%
  • KCM: 11%
  • Plantae: 10%
  • Vegamae: 9%
  • Marwell: 9%
  • เอนชัวร์: 3%
  • Amway 3%, 
  • อื่น ๆ 7% 

การที่ KCM, Matell, โฮเม่ไลฟ์, และ XS Protein Wink White สามารถครองส่วนแบ่งการพูดถึงรวมกันได้เกือบครึ่งหนึ่งของตลาด (48%) ชี้ให้เห็นความทุ่มเทในการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการลงทุนด้านการตลาดและการสื่อสารที่ต่อเนื่อง

แต่ที่น่าสังเกตคือ XS Protein Wink White และ โฮเม่ไลฟ์ ยังคงรักษาความโดดเด่นได้ทั้งในแง่ Mentions และ Engagement ไว้ได้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแปลงการรับรู้ไปสู่ความผูกพันกับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือแบรนด์ Bomi ซึ่งแม้จะมีสัดส่วน Mention ไม่สูงเท่ากลุ่มผู้นำ แต่กลับสามารถสร้าง Engagement ได้สูงถึง 13% กรณีของ Bomi อาจสะท้อนถึงการมีกลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีสูง หรือการใช้คอนเทนต์และกลยุทธ์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายเฉพาะจนสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังได้ ถึงแม้ว่าจะมี Mentions น้อยกว่าบางแบรนด์ก็ตาม

ภาพรวมของการแข่งขันของแบรนด์ในตลาด Plant-protein นี้แสดงให้เห็นว่าตลาดมีการแข่งขันที่ดุเดือดมาก ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว แต่ผู้บริโภคยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงจุด ใช้เนื้อหาที่แสดงออกถึงความจริงใจ และมีความเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตนเองครับ

ปริมาณโปรตีนต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือ grams per serving ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช จากภาพรวม Categories ทั้งหมด “Protein(g.)” มีสัดส่วนการพูดถึง 8% และการมีส่วนร่วม 9%

By Mention:

  • 20 g: 33%
  • 27 g: 27%
  • 21 g: 19%
  • 30 g: 5%
  • 23 g: 4%
  • 24 g: 4%
  • 28 g: 2%
  • อื่น ๆ: 6%

By Engagement:

  • 20 g: 28%
  • 27 g: 22%
  • 21 g: 20%
  • 25 g: 14%
  • 10 g: 5%
  • 30 g: 4%
  • 28 g: 2%
  • อื่น ๆ: 5%

จะเห็นว่าปริมาณโปรตีนที่ 20 กรัม, 27 กรัม, 21 กรัม เป็นสามระดับที่ถูกพูดถึงและสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุดบนโลกออนไลน์ รวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของการพูดถึงและการมีส่วนร่วมทั้งหมดที่เกี่ยวกับปริมาณโปรตีน

การที่ปริมาณเหล่านี้ถูกกล่าวถึงค่อนข้างมาก มีปัจจัยมาจากทั้งปริมาณมาตรฐานที่แบรนด์ส่วนใหญ่นำเสนอ หรือแม้แต่อิทธิพลของแบรนด์ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคทำให้เมื่อแบรนด์ถูกพูดถึงก็ทำให้จำนวนโปรตีนถูกพูดถึงตามไปด้วย

ดังนั้น เพื่อให้เราเห็นภาพ โปรตีนที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทางผู้เขียนเลยนำข้อมูลมาทำเป็น Scatter plot เพื่อจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นว่า ปริมาณโปรตีนที่ได้รับความนิยมและผู้บริโภคมองว่า “พอดี” คือช่วง 20-27 กรัมต่อหน่วยบริโภค

ผู้บริโภคกลุ่มดูแลสุขภาพทั่วไปมองว่าปริมาณนี้ให้ความรู้สึกคุ้มค่า ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์โปรตีนในช่วง 20-27 กรัม มักมาจากแบรนด์ที่สามารถสร้าง Engagement ได้สูง ซึ่งก็สามารถสะท้อนได้ว่าเป็นระดับโปรตีนที่ผู้บริโภคยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม ความต้องการปริมาณโปรตีนไม่ได้ตายตัวสำหรับทุกคน ผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่ออกกำลังกายอย่างจริงจัง หรือสายฟิตเนส หรือผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อาจมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่านี้ เช่น มากกว่า 30 กรัม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านร่างกายที่ ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่เน้นการดูแลตัวเองทั่วไป อาจให้ความสำคัญกับความสะดวกในการดื่มและรสชาติที่ดีเป็นหลัก ควบคู่ไปกับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมครับ

วัตถุดิบถือเป็นหัวใจสำคัญที่กำหนดคุณค่าและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช ในภาพรวม Category “Ingredients” มีการพูดถึง 4% และสร้างการมีส่วนร่วม 3%

By Mention:

  • ถั่วเหลือง: 45%
  • ถั่วลันเตา: 35%
  • ถั่วอัลมอนด์: 13%
  • ข้าว: 3%
  • เมล็ดฟักทอง: 2%
  • ข้าวโอ๊ต: 1%
  • อื่น ๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน, ควินัว, มันฝรั่ง, งา: 1%

By Engagement:

  • ถั่วเหลือง: 44%
  • ถั่วลันเตา: 28%
  • ข้าว : 10%
  • ควินัว: 7%
  • ถั่วอัลมอนด์: 4%
  • เมล็ดฟักทอง: 3%
  • เมล็ดทานตะวัน: 2%
  • อื่น ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต, มันฝรั่ง, งา: 1%

ถั่วเหลือง และ ถั่วลันเตา เป็นวัตถุดิบสองอันดับแรกที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนรวมกันถึง 80% ของการถูกพูดถึงทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุดิบในตลาดโปรตีนจากพืช แสดงให้เห็นว่าวัตถุดิบทั้งสองชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเป็นตัวเลือกหลักที่แบรนด์ส่วนใหญ่นำเสนอและผู้บริโภคให้ความสนใจครับ

ถั่วอัลมอนด์ตามมาเป็นอันดับสามด้วยสัดส่วน 13% ในการพูดถึง ในด้าน Engagement อย่างไรก็ตาม จุดที่น่าสนใจคือ ข้าว ซึ่งมี Mention เพียง 3% แต่สามารถสร้าง Engagement ได้ถึง 10% และติดอันดับ 3 ในด้าน Engagement รวมถึง ควินัว ที่มี Mention ต่ำกว่า 1% แต่สร้าง Engagement ได้ 7% ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจและตอบสนองต่อวัตถุดิบทางเลือกใหม่ ๆ มากขึ้นครับ

อย่างไรก็ตาม ในการทำผลิตภัณฑ์ Plant-protein หลายแบรนด์ก็มีการเลือกใช้วัตถุดิบผสมผสานกัน (Blends) ไม่ได้ใช้เพียงวัตถุดิบใดวัตถุดิบหนึ่ง เพื่อให้ได้กรดอะมิโนที่ครบถ้วน รสชาติที่ดีขึ้น หรือคุณประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังมีสูตรที่ไม่มีการผสมถั่วเหลือง หรือไม่มีถั่วทุกชนิด ซึ่งก็จะไปตอบโจทย์กลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะ

โดยสรุป ถึงแม้ถั่วเหลืองจะยังเป็นวัตถุดิบหลัก แต่แนวโน้มความต้องการวัตถุดิบทางเลือกใหม่ ๆ เช่น ถั่วลันเตา, ข้าวโอ๊ต, และธัญพืชต่าง ๆ ก็มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันในตลาดมีกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้หรือต้องการหลีกเลี่ยงถั่วเหลือง ซึ่งต้องการความปลอดภัยในการบริโภค Plant-protein อีกด้วยครับ

รสชาติถือเป็นประตูด่านสำคัญที่สร้างความประทับใจและนำไปสู่การยอมรับผลิตภัณฑ์โปรตีนพืช การมีรสชาติที่หลากหลายและถูกปากผู้บริโภคจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญของหลายแบรนด์ โดย “Flavors” มีสัดส่วน Mention 4% และ Engagement 5%

By Mention:

  • ช็อกโกแลต: 50%
  • ชาเขียวมัทฉะ: 14%
  • โกโก้: 13%
  • วนิลา: 7%
  • สตรอว์เบอร์รี่: 6%
  • ชาไทย: 5%
  • กาแฟ: 2%
  • มิกซ์เบอร์รี่: 1%
  • อื่น ๆ เช่น ชานม, ธรรมดา, บลูเบอร์รี่: <1%

By Engagement:

  • ช็อกโกแลต: 66%
  • ชาเขียวมัทฉะ: 13%
  • วนิลา: 11%
  • สตรอว์เบอร์รี่: 3%
  • ชาไทย: 3%
  • โกโก้: 2%
  • ธรรมดา: 1%
  • อื่น ๆ เช่น กาแฟ, บลูเบอร์รี่, มิกซ์เบอร์รี่, ชานม: <1%

จากข้อมูลจะเห็นว่า รสช็อกโกแลต ได้รับการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็นครึ่งหนึ่งของ Mention ทั้งหมด และมาเป็นอันดับหนึ่งในด้าน Engagement ด้วยสัดส่วนสูงถึง 66% ตอกย้ำความเป็นรสชาติคลาสสิกที่เข้าถึงง่าย เป็นที่รู้จัก และผู้บริโภคพร้อมมีปฏิสัมพันธ์ด้วยมากที่สุดครับ

ชาเขียวมัทฉะ ตามมาเป็นอันดับสองทั้ง Mentions และ Engagement สะท้อนถึงความนิยมในรสชาติที่เข้มข้น มีเอกลักษณ์ และอาจรวมถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

สิ่งที่น่าสนใจคือ รสวนิลา ซึ่งมี Mentions อยู่ที่ 7% แต่สามารถสร้าง Engagement ได้ถึง 11% และติดอันดับ 3 ในด้าน Engagement แสดงให้เห็นว่าแม้จะถูกพูดถึงน้อยกว่าโกโก้ แต่ผู้ที่ชื่นชอบรสวนิลามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์สูง อาจเพราะความหอมและความดื่มง่ายที่เป็นจุดเด่น

ในทางกลับกัน รสโกโก้ แม้จะมี Mentions สูงถึง 13% แต่กลับสร้าง Engagement ได้เพียง 2% ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้บริโภคในปัจจุบันอาจมองหารสช็อกโกแลตที่มีความหวานละมุนและมีสูตรน้ำตาล 0% มากกว่า ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความอร่อยและสุขภาพครับ

รสชาติผลไม้อย่างสตรอว์เบอร์รี่ และ ชาไทย ก็ได้รับความสนใจในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มองหาความสดชื่นหรือรสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

โดยสรุป รสชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด Plant-protein คือ ช็อกโกแลต เนื่องจากดื่มง่าย หอม และตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคมือใหม่และกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพ รองลงมาคือ ชาเขียวมัทฉะ ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสความนิยมมัทฉะฟีเวอร์และคุณประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ

รูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรือ Texture หรือ Product Format เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อและความสะดวกในการบริโภคโปรตีนจากพืช จากภาพรวม Categories ทั้งหมด “Texture” มีสัดส่วนการพูดถึง 8% และการมีส่วนร่วมค่อนข้างสูงที่ 11%

By Mention:

  • ผง: 93%
  • เจลลี่: 4%
  • เครื่องดื่ม: 1%
  • บาร์: 1%
  • เม็ด: <1%

By Engagement:

  • ผง: 92%
  • บาร์: 4%
  • เครื่องดื่ม: 2%
  • เจลลี่: 1%
  • เม็ด: <1%

จากข้อมูลแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า รูปแบบผง ได้รับการพูดถึงถึง 93% และครองอันดับหนึ่งในด้าน Engagement ด้วยสัดส่วน 92% นี่คือรูปแบบคลาสสิกและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์โปรตีนเสริมอาหารโดยทั่วไป สะท้อนถึงความคุ้นเคยของผู้บริโภคและการเป็นรูปแบบหลักที่แบรนด์ส่วนใหญ่นำเสนอ รูปแบบผงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถชงดื่มตามปริมาณที่ต้องการ ผสมกับเครื่องดื่มอื่น ๆ หรือนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย และยังให้ปริมาณโปรตีนต่อหน่วยบริโภคได้สูง ตอบโจทย์กลุ่มที่มีวินัยในการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง

สิ่งที่น่าสนใจคือ โปรตีนบาร์ แม้จะมี Mention เพียง 1% แต่กลับสามารถสร้าง Engagement ได้ถึง 4% และติดอันดับ 2 ในด้าน Engagement ซึ่งมากกว่าเจลลี่และเครื่องดื่มพร้อมดื่ม นี่อาจบ่งชี้ว่าแม้โปรตีนบาร์จะยังไม่ใช่รูปแบบที่ถูกพูดถึงในวงกว้างเท่าแบบผง แต่คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนบาร์สามารถดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ดีเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะความแปลกใหม่ ความสะดวก พกพาง่าย รสชาติอร่อย และดูเข้าถึงง่ายกว่าการทานอาหารเสริมแบบดั้งเดิม จึงเหมาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชอบทานของว่างแต่ยังใส่ใจสุขภาพ หรือใช้เป็นอาหารรองท้องก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ

ขณะที่ แบบพร้อมดื่ม ก็เริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความสะดวก ไม่ต้องชงเอง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เร่งรีบ แม้การพูดถึงบนออนไลน์อาจยังน้อยเพราะเน้นขายผ่านช่องทางออฟไลน์เป็นหลัก

ส่วน เจลลี่ โดดเด่นด้านรูปลักษณ์น่าสนใจและทานง่าย แต่มีข้อจำกัดเรื่องความเข้มข้นโปรตีนที่ต่ำกว่า และสำหรับ รูปแบบเม็ด ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในตลาดโปรตีนจากพืช อาจเนื่องมาจากความเข้มข้นโปรตีนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น และความไม่คุ้นเคยของผู้บริโภค

การเพิ่มสารออกฤทธิ์หรือส่วนผสมเสริม หรือ Active Ingredients เข้าไปในผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณประโยชน์เฉพาะทางและสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ จากภาพรวม Categories ทั้งหมด Active Ingredients มีสัดส่วนการพูดถึง 4% และการมีส่วนร่วม 3% เช่นกัน

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • Fiber: 45%
  • BCAAS: 14%
  • Multi Vitamin: 14%
  • Probiotic: 7%
  • Collagen: 6%
  • Amino Acid: 5%
  • Prebiotic: 4%
  • L-carnitine: 3%
  • Minerals: 2%

By Engagement:

  • Fiber: 35% 
  • Amino Acid: 22% 
  • Prebiotic: 13% 
  • Multi Vitamin: 12% 
  • BCAAS: 10%
  • Probiotic: 3%
  • L-carnitine: 2% 
  • แร่ธาตุ: 2%
  • Collagen: 1%

Fiber เป็นส่วนผสมเสริมที่ถูกพูดถึงมากที่สุดอถึง 45% และมี Engagement มาเป็นอันดับหนึ่งที่ 35% สะท้อนถึงความตระหนักของผู้บริโภคเกี่ยวกับสุขภาพทางเดินอาหารและความสำคัญของใยอาหาร

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ Amino Acid ซึ่งมี Mention เพียง 5% กลับสร้าง Engagement ได้สูงถึง 22% แสดงว่าคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับกรดอะมิโนสามารถดึงดูดความสนใจและกระตุ้นการมีส่วนร่วมได้ดีมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกาย

Prebiotic ก็ทำได้ดีเช่นกัน โดยมี Engagement 13% แม้จะมี Mention เพียง 4% ตามมาด้วย BCAAs และ Multi Vitamin ที่มี Mention 14% เท่ากัน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสนใจในกลุ่มผู้ออกกำลังกาย และสาย BCAAs รวมถึงกลุ่มผู้ใส่ใจสุขภาพโดยรวมและ Multi Vitamin โดย BCAAs สร้าง Engagement ได้ 10% และ Multi Vitamin สร้าง Engagement ได้ 12%

สารสกัดที่ได้รับความสนใจสูงในตลาด Plant-protein และมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของผู้บริโภค ได้แก่

  • กลุ่มที่เน้น “สุขภาพทางเดินอาหาร” เช่น Fiber ที่ช่วยเรื่องการขับถ่ายและความอิ่ม, รวมถึง Prebiotic และ Probiotic ที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ซึ่งทั้งหมดนี้สื่อถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ย่อยง่ายและดีต่อสุขภาพท้อง
  • กลุ่มถัดมาที่สำคัญคือ “การเสริมสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูร่างกาย” ซึ่ง Amino Acids และ BCAAs เป็นดาวเด่น ตอบโจทย์กลุ่มสายฟิตเนสและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเน้นคุณสมบัติในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง
  • Multi Vitamin และ แร่ธาตุ ก็เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพแบบองค์รวม
  • Collagen มักถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อตอบโจทย์ด้านความงาม หรือบำรุงผิว และสุขภาพข้อต่อ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้หญิงและกลุ่มออกกำลังกาย ขณะที่ 
  • L-carnitine เริ่มมีแนวโน้มได้รับความสนใจในกลุ่มควบคุมน้ำหนัก จากคุณสมบัติช่วยเผาผลาญไขมัน

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ Active Ingredients ก็สามารถใช้ร่วมกันแบบผสมผสานได้ครับ แต่แบรนด์ก็ต้องเลือกที่จะสื่อสารว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองนั้นมีความโดดเด่นในด้านใด และเหมาะกับพฤติกรรมหรือกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด

“Attributes” หรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เป็น Category ที่มีการพูดถึงโดยรวมสูงที่สุดถึง 20% และมีสัดส่วนการมีส่วนร่วม 11% สะท้อนว่าคุณสมบัติเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคใช้พิจารณาและให้ความสนใจอย่างมากในการเลือกซื้อโปรตีนจากพืช โดยคุณสมบัติของ Plant-protein สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ Healthy & Modern Lifestyle, Fitness, Beauty, Safety, และ Specific

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • Fitness: 51%
  • Healthy & Modern Lifestyle: 31%
  • Beauty: 7%
  • Safety: 3%
  • Specific: 2%

By Engagement:

  • Fitness: 42%
  • Healthy & Modern Lifestyle: 40%
  • Beauty: 8%
  • Safety: 8%
  • Specific: 2%

กลุ่มคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับ Fitness ถูกพูดถึงมากที่สุดถึง 51% แสดงให้เห็นว่าตลาดโปรตีนจากพืชยังคงมีความเชื่อมโยงอย่างแข็งแกร่งกับกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายและต้องการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย ตามมาด้วยกลุ่ม Healthy & Modern Lifestyle ที่ 31% สะท้อนถึงความสนใจในสุขภาพองค์รวมและการตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่

กลุ่ม Fitness และ Healthy & Modern Lifestyle ยังคงเป็นสองกลุ่มหลักที่สร้าง Engagement ได้สูงสุด โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกันมากที่ 42% และ 40% ตามลำดับ แสดงว่าคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในสองกลุ่มนี้สามารถดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

ที่น่าสังเกตคือกลุ่ม Safety แม้จะมี Mention เพียง 3% แต่กลับสร้าง Engagement ได้ถึง 8% ซึ่งเท่ากับกลุ่ม Beauty ที่มี Mention 7% นี่อาจบอกได้ว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องความปลอดภัย ผู้บริโภคจะให้ความสนใจและมีแนวโน้มที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับเนื้อหานั้น ๆ เป็นพิเศษครับ และในส่วนถัดไปเราก็จะมาเจาะในแต่ละกลุ่มเพื่อให้เห็นข้อมูล หรือ Insight ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ

7.1 Fitness คุณสมบัติกลุ่มฟิตเนสและออกกำลังกาย

กลุ่มคุณสมบัติ “Fitness” เป็นกลุ่มที่มีการพูดถึงมากที่สุด และยังคงเป็นแกนหลักของตลาดโปรตีนจากพืช โดยมุ่งเน้นคุณสมบัติที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ออกกำลังกายและต้องการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายโดยตรง

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • เสริมสร้างกล้ามเนื้อ: 64%
  • ควบคุมน้ำหนัก: 19%
  • ลดไขมัน: 9%
  • กระตุ้นระบบเผาผลาญ: 8%

By Engagement:

  • เสริมสร้างกล้ามเนื้อ: 77%
  • ควบคุมน้ำหนัก: 13%
  • ลดไขมัน: 6%
  • กระตุ้นระบบเผาผลาญ: 5%

คุณสมบัติ การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ คือหัวใจหลักและโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม Fitness อย่างชัดเจน ด้วยสัดส่วนการพูดถึงสูงถึง 64% และสร้างการมีส่วนร่วมได้ที่ 77% นี่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้บริโภคสายฟิตเนสมองหาโปรตีนจากพืชเพื่อเป้าหมายหลักในการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อเป็นสำคัญ แบรนด์ที่สามารถสื่อสารถึงประสิทธิภาพในด้านนี้ได้อย่างชัดเจนและน่าเชื่อถือ จะสามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง นี่คือประเด็นสำคัญที่คุณต้องเน้นย้ำและทำให้ผู้บริโภคเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด

การควบคุมน้ำหนัก เป็นคุณสมบัติที่สำคัญรองลงมา โดยมีการพูดถึง 19% และสร้างการมีส่วนร่วม 13% ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นผลพลอยได้หรือเป้าหมายที่มาคู่กันกับการออกกำลังกายและการสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของจัดการน้ำหนักและสร้างรูปร่างที่ดีจึงเป็นกลยุทธ์ที่ยังคงตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ดี

ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ อย่าง ลดไขมัน พูดถึง 9% การมีส่วนร่วม 6% และ กระตุ้นระบบเผาผลาญ พูดถึง 8% การมีส่วนร่วม 5% แม้จะมีสัดส่วนน้อยกว่า แต่ก็ยังคงเป็นปัจจัยเสริมที่ผู้บริโภคกลุ่มฟิตเนสให้ความสนใจ

7.2 Healthy & Modern Lifestyle คุณสมบัติกลุ่มสุขภาพและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

กลุ่มคุณสมบัติ “Healthy & Modern Lifestyle” จะเน้นคุณสมบัติที่ตอบโจทย์สุขภาพแบบองค์รวมและวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันที่ใส่ใจตัวเองมากขึ้น แต่ยังต้องการความสะดวกสบาย

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • ไม่มีน้ำตาล: 27%
  • ควบคุมความหิว: 25%
  • ทดแทนมื้ออาหาร: 17%
  • ปรับสมดุลลำไส้: 12%
  • แคลอรี่ต่ำ: 8%
  • ไม่มีไขมัน: 4%
  • ดูดซึมเร็ว: 3%
  • ไม่มีคอเลสเตอรอล: 2%
  • ย่อยง่าย: 1%
  • เสริมภูมิคุ้มกัน: 1%

By Engagement:

  • ไม่มีน้ำตาล: 26%
  • ทดแทนมื้ออาหาร: 17%
  • ควบคุมความหิว: 17%
  • ไม่มีคอเลสเตอรอล: 14%
  • ปรับสมดุลลำไส้: 10%
  • ย่อยง่าย: 5%
  • ไม่มีไขมัน: 5%
  • ดูดซึมเร็ว: 3%
  • แคลอรี่ต่ำ: 2%
  • เสริมภูมิคุ้มกัน: <1%

คุณสมบัติ ไม่มีน้ำตาล ยังคงเป็นจุดแข็งสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญและมีการตอบสนองมากที่สุด คิดเป็น 27% ของการพูดถึงและ 26% ของการมีส่วนร่วม ซึ่งตอกย้ำว่าแบรนด์ที่ชูจุดเด่นนี้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและต้องการลดปริมาณน้ำตาลอย่างแท้จริง นี่คือหัวใจสำคัญที่ต้องจับให้มั่น!

ถัดมาคือคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการจัดการการกินในชีวิตประจำวันอย่าง ควบคุมความหิว ซึ่งมีการพูดถึง 25% และ ทดแทนมื้ออาหาร พูดถึง 17% ทั้งสองคุณสมบัติสร้างการมีส่วนร่วมได้ดีที่ 17% แสดงถึงความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการกิน หรือการหาตัวเลือกที่สะดวกสบายในการทดแทนมื้ออาหาร

สิ่งที่น่าจับตามองและเป็น “Hidden Gem” ที่กำลังมาแรงคือ ปรับสมดุลลำไส้ ที่มีการพูดถึง 12% และสร้างการมีส่วนร่วม 10% ชี้ให้เห็นความตระหนักและความสนใจของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ในการนำเสนอคุณประโยชน์ด้านนี้อย่างชัดเจน

สำหรับคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น “แคลอรี่ต่ำ”, “ไม่มีคอเลสเตอรอล”, “ย่อยง่าย”, “ไม่มีไขมัน”, “ดูดซึมเร็ว” และ “เสริมภูมิคุ้มกัน” ก็ยังคงมีการพูดถึงและการมีส่วนร่วมในระดับหนึ่ง ซึ่งแบรนด์สามารถใช้เป็นจุดขายเสริมหรือต่อยอดได้ตามความเหมาะสม แต่โฟกัสหลักยังคงอยู่ที่คุณสมบัติเด่นที่กล่าวมาข้างต้นครับ

7.3 Beauty คุณสมบัติกลุ่มความงาม

กลุ่มคุณสมบัติ “Beauty” แม้จะไม่ใช่กลุ่มใหญ่ที่สุด แต่ก็เป็นตลาดเฉพาะที่มีศักยภาพ โดยเน้นคุณประโยชน์ของโปรตีนจากพืชที่ส่งผลต่อความงามภายนอก เช่น ผิวพรรณ เส้นผม และเล็บ

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • บำรุงผิวพรรณ: 40%
  • กระชับสัดส่วน: 40%
  • บำรุงเล็บและเส้นผม: 13%
  • ลดปัญหาสิว: 6%
  • ชะลอวัย: 1%

By Engagement:

  • บำรุงเล็บและเส้นผม: 45%
  • บำรุงผิวพรรณ: 30%
  • กระชับสัดส่วน: 19%
  • ลดปัญหาสิว: 6%
  • ชะลอวัย: <1%

คุณสมบัติ บำรุงเล็บและเส้นผม แม้จะมีสัดส่วนการพูดถึงเพียง 13% แต่กลับสร้าง Engagement ได้สูงถึง 45% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่ม แสดงว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ตอบสนองต่อคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ชัดเจนและจับต้องได้กับเล็บและเส้นผม แบรนด์ที่สามารถสื่อสารคุณประโยชน์นี้พร้อมภาพประกอบที่น่าเชื่อถือจะมีโอกาสสูงในการดึงดูดความสนใจและสร้างความผูกพันได้

การบำรุงผิวพรรณ และ การกระชับสัดส่วน เป็นสองคุณสมบัติที่มีการพูดถึงมากที่สุดในกลุ่มนี้เท่ากันที่ 40% และยังสร้าง Engagement ได้ในระดับที่ดี โดยบำรุงผิวพรรณ มี Engagement 30% และกระชับสัดส่วน มี Engagement 19% ผู้บริโภคคาดหวังว่าโปรตีนจากพืชจะมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณดูดีขึ้นและรูปร่างกระชับขึ้น การสื่อสารถึงผลลัพธ์เหล่านี้จึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดที่แบรนด์ควรเน้นย้ำ

และที่สำคัญคือประเด็นของ ลดปัญหาสิว แม้มีการพูดถึง 6% และสร้าง Engagement 6% แต่ก็เป็นจุดที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ทานโปรตีนจากนมอาจเผชิญกับปัญหาเรื่องสิว โดยเฉพาะสิวที่แผ่นหลัง การที่โปรตีนจากพืชสามารถเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดความกังวลในเรื่องนี้ได้ จึงเป็นจุดขายที่แข็งแกร่งและควรนำมาสื่อสารอย่างชัดเจนเพื่อตอบโจทย์ Pain Point นี้โดยตรง

ส่วนคุณสมบัติ การชะลอวัย พูดถึง 1% การมีส่วนร่วมต่ำกว่า 1% ยังมีการพูดถึงและสร้างการมีส่วนร่วมในระดับที่น้อยกว่า แต่ก็สามารถเป็นจุดขายเสริมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณประโยชน์ด้านความงามแบบองค์รวมได้ครับ

7.4 Safety คุณสมบัติกลุ่มความปลอดภัยและความมั่นใจ

กลุ่มคุณสมบัติ “Safety” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การที่กลุ่มนี้สร้าง Engagement ได้สูงกว่าสัดส่วน Mention ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความใส่ใจกับประเด็นด้านความปลอดภัยอย่างมาก

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • มีมาตรฐาน: 45%
  • ไม่มีส่วนผสมจากถั่ว: 21%
  • ไม่มีส่วนผสมจากนมและสัตว์: 19%
  • ไม่มี Lactose: 10%
  • ไม่มี Gluten: 5%

By Engagement:

  • ไม่มี Lactose: 29%
  • ไม่มีส่วนผสมจากถั่ว: 22%
  • ไม่มีส่วนผสมจากนมและสัตว์: 22%
  • มีมาตรฐาน: 21% 
  • ไม่มี Gluten: 6%

คุณสมบัติ ไม่มี Lactose ถือเป็นดาวเด่นในกลุ่มนี้ แม้จะมีสัดส่วนการพูดถึง 10% แต่สามารถสร้าง Engagement ได้สูงถึง 29% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากที่อาจมีภาวะย่อยแลคโตสบกพร่อง หรือต้องการหลีกเลี่ยงแลคโตส ให้ความสนใจและตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ที่ระบุคุณสมบัตินี้อย่างชัดเจนและจริงจังมาก ๆ ถือเป็นจุดขายสำคัญที่สามารถกระตุ้นการตัดสินใจได้

นอกจากนี้ ไม่มีส่วนผสมจากถั่ว พูดถึง 21% และสร้าง Engagement 22% รวมถึง ไม่มีส่วนผสมจากนมและสัตว์ พูดถึง 19% และสร้าง Engagement 22% ก็เป็นอีกสองคุณสมบัติที่สร้างการมีส่วนร่วมได้ดีใกล้เคียงกัน สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคที่มีข้อจำกัดด้านอาหารจากการแพ้อาหาร หรือเลือกวิถีการบริโภคแบบวีแกน การระบุข้อมูลเหล่านี้อย่างชัดเจนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งครับ

สิ่งที่น่าสนใจคือ การมีมาตรฐาน เช่น อย. หรือ GMP นั้นมีการพูดถึงสูงที่สุดในกลุ่มนี้ถึง 45% และสร้าง Engagement ได้ 21% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมองหาเครื่องหมายเหล่านี้เพื่อความมั่นใจเป็นอันดับแรก ๆ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ Pain Point ด้านสุขภาพโดยตรง เช่น ไม่มี Lactose หรือ ไม่มีส่วนผสมจากถั่ว สามารถกระตุ้นการตอบสนองที่เฉพาะเจาะจงได้ดียิ่งกว่า

และสุดท้าย คุณสมบัติ ไม่มี Gluten พูดถึง 5% และสร้าง Engagement 6% ก็เริ่มได้รับความสนใจ และเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่แบรนด์สามารถนำมาสื่อสารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่แพ้กลูเตนหรือเลือกที่จะหลีกเลี่ยงครับ

7.5 Specific คุณสมบัติกลุ่มคุณประโยชน์เฉพาะทาง

กลุ่มคุณสมบัติ “Specific” เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในบรรดา Attributes ทั้งหมด แต่ก็ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคบางกลุ่มที่มองหาคุณประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากเรื่องสุขภาพทั่วไป ฟิตเนส หรือความงาม

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • บำรุงกระดูก: 66%
  • ปรับสมดุลฮอร์โมน: 28%
  • กระตุ้นน้ำนม: 6%

By Engagement:

  • บำรุงกระดูก: 58%
  • ปรับสมดุลฮอร์โมน: 22%
  • กระตุ้นน้ำนม: 20%

การบำรุงกระดูก เป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนี้ ทั้งในแง่สัดส่วนการพูดถึง 66% และ Engagement 58% แสดงให้เห็นถึงความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลสุขภาพกระดูก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความกังวลเรื่องโรคกระดูกพรุน

การปรับสมดุลฮอร์โมนเป็นอีกคุณสมบัติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนในแต่ละช่วงวัย

การกระตุ้นน้ำนม แม้จะเป็น Niche Market มาก ๆ แต่ก็สร้าง Engagement ได้ดีในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคือคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร การสื่อสารที่ตรงจุดไปยังกลุ่มนี้จึงมีประสิทธิภาพครับ

การทำความเข้าใจถึงช่วงเวลาหรือโอกาสที่ผู้บริโภคเลือกทานโปรตีนจากพืช เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และวางกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น “Occasion” มีสัดส่วน Mention 3% และ Engagement 4%

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • มื้อเช้า: 54%
  • ออกกำลังกาย: 32%
  • มื้อเย็น: 14%

By Engagement:

  • มื้อเช้า: 73%
  • ออกกำลังกาย: 18%
  • มื้อเย็น: 9%

มื้อเช้า ถูกพูดถึงมากถึง 54% และสร้าง Engagement สูงสุดถึง 73% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากมองว่าโปรตีนจากพืชเป็นตัวเลือกสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่ และพวกเขาสนใจกับคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการทานโปรตีนจากพืชในมื้อเช้าอย่างมาก

สิ่งที่น่าสนใจคือพฤติกรรมการบริโภคในมื้อเช้านั้น มักจะเชื่อมโยงกับการเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมในวัน โดยเฉพาะการเป็นมื้อก่อนออกกำลังกายสำหรับหลาย ๆ คน ซึ่งสอดคล้องกับการที่ ช่วงออกกำลังกาย เป็นเวลาที่ถูกพูดถึงรองลงมาที่ 32% และสร้าง Engagement ได้ 18% 

ซึ่งการรับรู้โดยทั่วไปว่าโปรตีนจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ยิ่งสนับสนุนให้การบริโภคโปรตีนจากพืชทั้งในมื้อเช้า และเพื่อเป็นพลังงานก่อนออกกำลังกาย รวมถึงช่วงหลังออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูนั้นมีบทบาทสำคัญ

สำหรับ “มื้อเย็น” มีการพูดถึง 14% และ Engagement 9% ซึ่งแสดงว่ามีผู้บริโภคบางกลุ่มเลือกทานโปรตีนจากพืชในมื้อเย็นเช่นกัน อาจเกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนักหรือความต้องการอาหารที่ย่อยง่าย

โดยสรุป ช่วงเวลาหรือโอกาสในการบริโภค Plant-protein ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ ช่วงเช้า และ ตอนออกกำลังกาย ซึ่งเป็นจังหวะที่ผู้บริโภครู้สึกว่าจำเป็นต้องเติมพลังหรือเร่งการฟื้นฟูร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการดื่มแทนมื้อเย็น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้อยู่ท้อง หรือลดความอยากอาหาร

จะเห็นว่าภาพรวมการบริโภคโปรตีนพืชไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มฟิตเนสอีกต่อไป แต่เริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องสุขภาพและความสะดวกสบาย

บรรจุภัณฑ์ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ป้องกันสินค้า แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ สร้างความสะดวกในการใช้งาน และส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในตลาดโปรตีนจากพืช “Packaging” มีสัดส่วน Mention 10% และ Engagement 12%

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • ซอง: 62%
  • กระปุก: 36%
  • ขวด: 1%
  • กล่อง: <1%

By Engagement:

  • ซอง: 62%
  • กระปุก: 35%
  • ขวด: 2%
  • กล่อง: <1%

รูปแบบซอง ได้รับการพูดถึงมากที่สุดถึง 62% อย่างชัดเจน ตามมาด้วยกระปุก ที่ 36% การที่บรรจุภัณฑ์ทั้งสองรูปแบบนี้ครองสัดส่วนการพูดถึงส่วนใหญ่ สะท้อนถึงการเป็นบรรจุภัณฑ์หลักที่แบรนด์ส่วนใหญ่นิยมใช้และผู้บริโภคคุ้นเคยเป็นอย่างดีครับ

คุณลักษณะสำคัญของบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท:

  • ซอง: ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีที่สุด เนื่องจากมีความสะดวกและความหลากหลายของรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นซองขนาดใหญ่ หรือถุง ที่เน้นความคุ้มค่า, ซองขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการทดลอง พกพา หรือใช้ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค, หรือแม้กระทั่งซองพร้อมดื่มที่มีฝาปิดซึ่งตรงกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่
  • กระปุก: เน้นตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคเป็นประจำหรือใช้ในปริมาณมาก ไซส์ใหญ่ที่ใช้ได้นานและความสะดวกในการตักชงโปรตีนในปริมาณที่ต้องการ ทำให้เหมาะกับการเก็บไว้ที่บ้าน และมักถูกมองว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาต่อหน่วยบริโภค
  • ขวด: แม้จะมีการพูดถึงบนโลกออนไลน์ค่อนข้างน้อยเนื่องจากส่วนใหญ่จำหน่ายผ่านช่องทาง Offline แต่บรรจุภัณฑ์แบบขวดก็ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสูงสุด สามารถพกพาและดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องชง มักพบเห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อ
  • กล่อง: สร้าง Engagement ได้น้อยมาก เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะรับรู้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบกล่องว่าเป็น “นมถั่วเหลือง” หรือ “นมจากพืช” มากกว่าที่จะเป็น “โปรตีนจากพืช” ในบริบทของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสำหรับกลุ่มฟิตเนส ทำให้ไม่ค่อยถูกพูดถึงในกลุ่มเป้าหมายหลักของโปรตีนเสริม

โดยสรุป ซอง ได้รับความนิยมสูงสุดทั้งการพูดถึงและ Engagement เพราะความหลากหลายและความสะดวก กระปุก เหมาะกับการบริโภคต่อเนื่องที่บ้าน ขวดพร้อมดื่ม สะดวกและเหมาะกับการขายผ่านร้านสะดวกซื้อ ส่วน กล่อง ยังมีภาพจำเดิม ๆ ที่ไม่ใช่โปรตีนเสริมอาหาร

แบรนด์ควรออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น การมีซองขนาดเล็กสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองผลิตภัณฑ์หรือเพื่อความสะดวกในการพกพา, กระปุกสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มเป็นประจำและต้องการความคุ้มค่า, และขวดพร้อมดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม แบรนด์ต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลักที่ตัวเองต้องการจะสื่อสารด้วย รวมถึงวัตถุประสงค์ของการออกบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพื่อที่จะสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมและใช้งบประมาณที่มีอยู่ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพครับ

จากภาพรวม Categories ทั้งหมด “Price” มีสัดส่วนการพูดถึงและการมีส่วนร่วมอยู่ที่ 1% เท่ากัน แม้จะเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ Category อื่น ๆ แต่ราคาถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยข้อมูลราคาส่วนใหญ่ในที่นี้มาจากช่องทางออนไลน์เป็นหลัก

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • 1001-1400 บาท: 34%
  • ต่ำกว่า 200 บาท: 24%
  • 201-600 บาท: 19%
  • มากกว่า 1400 บาท: 14%
  • 601-1000 บาท: 4%

By Engagement:

  • 1001-1400 บาท: 47%
  • ต่ำกว่า 200 บาท: 23%
  • 201-600 บาท: 21%
  • มากกว่า 1400 บาท: 6%
  • 601-1000 บาท: 3%

ช่วงราคา 1001-1400 บาท เป็นช่วงที่มีการพูดถึงมากที่สุด 34% และยังคงเป็นผู้นำด้าน Engagement อย่างชัดเจน โดยมีสัดส่วนสูงถึง 47% นี่คือ “Sweet spot” ของตลาดโปรตีนจากพืช ที่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างความคุ้มค่าและภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคที่พร้อมจ่ายเพื่อสุขภาพและไลฟ์สไตล์ที่ดีขึ้นให้ความสนใจและมีส่วนร่วมอย่างมาก

ช่วงราคา ต่ำกว่า 200 บาท ก็ยังคงสร้างการมีส่วนร่วมได้ดี เน้นความคุ้มค่าและการเข้าถึงง่าย เหมาะสำหรับตลาดมวลชนหรือกลุ่มที่ทดลองสินค้าครั้งแรก โดยเฉพาะในรูปแบบพร้อมดื่มหรือขนาดเล็ก

ช่วงราคา 201-600 บาท ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มกว้าง โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายหรือดูแลสุขภาพแบบประหยัด โปรโมชั่นและความคุ้มค่าต่อหนึ่งหน่วยบริโภคจึงเป็นจุดขายสำคัญสำหรับสินค้าราคากลุ่มนี้

ขณะที่สินค้าราคา สูงกว่า 1400 บาท จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพอย่างจริงจัง เช่น กลุ่ม wellness หรือ weight control และเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ที่ต้องการวางตำแหน่งเป็น “โปรตีนระดับพรีเมียม”

ส่วนช่วงราคา 601-1000 บาท จะเน้นกลุ่มที่มองหาทั้งคุณภาพและความคุ้มค่าควบคู่กันไป

โดยภาพรวมผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ตอบรับสินค้าโปรตีนจากพืชที่มีราคากลางในช่วง 401-1,400 บาท มากที่สุด เพราะรู้สึกว่ามีความคุ้มค่า เหมาะสมกับคุณภาพ และสามารถบริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าราคาต่ำกว่า 400 บาท เช่น กลุ่มต่ำกว่า 200 บาท และบางส่วนของ 201-600 บาท เหมาะสำหรับกลุ่มที่เพิ่งเริ่มทดลอง หรือมองหาความสะดวกในการพกพา

รวมถึงกลุ่มที่เน้นราคาที่เข้าถึงง่ายแต่ยังคงได้ปริมาณโปรตีนที่น่าพอใจ ส่วนสินค้าระดับราคาสูงเกิน 1,400 บาท ยังคงมีพื้นที่ในตลาดสำหรับกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มที่ต้องการคุณประโยชน์เฉพาะทางในการบำรุงสุขภาพ หรือกลุ่ม wellness ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพวัตถุดิบ และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์มากกว่าปัจจัยด้านราคา

“Distributions” มีสัดส่วนการพูดถึง 10% และการมีส่วนร่วม 6% การทำความเข้าใจช่องทางที่ผู้บริโภคเข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางกลยุทธ์การขายและการตลาด

11.1 ช่องทางออนไลน์ (Online Distribution Channels)

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • TikTok: 39%
  • Line: 23%
  • Shopee: 16%
  • Lazada: 11%
  • Instagram: 5%
  • Website: 4%
  • Facebook: 2%

By Engagement:

  • TikTok: 57%
  • Line: 15%
  • Shopee: 11%
  • Lazada: 11%
  • Website: 4%
  • Facebook: 2%
  • Instagram: <1%

TikTok เป็นช่องทางออนไลน์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด 39% อย่างชัดเจน และยังสร้าง Engagement ได้สูงสุดถึง 57% สะท้อนถึงการเป็นแพลตฟอร์มหลักในการสร้างการรับรู้ ค้นพบสินค้า และปิดการขายในปัจจุบัน โดยเฉพาะผ่านการ “ป้ายยา” รีวิว และโปรโมชั่นผ่านคอนเทนต์วิดีโอสั้น และ TikTok Shop หรือ Affiliate

Line เป็นช่องทางสำคัญที่ผสานการขายเข้ากับการสื่อสารแบบส่วนตัว ทำให้ผู้บริโภคสอบถามข้อมูล สร้างความน่าเชื่อถือ และแบรนด์สามารถทำ CRM ได้

E-Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ยังคงเป็นจุดซื้อสำคัญที่เน้นการปิดการขายด้วยโปรโมชั่น โดยเฉพาะช่วงแคมเปญใหญ่ ขณะที่ Facebook และ Instagram มักใช้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังช่องทางขายอื่นมากกว่า

Website ถูกใช้เพื่อควบคุมประสบการณ์การขายและสร้างความน่าเชื่อถือ แต่แบรนด์ต้องระวังความขัดแย้งกับช่องทางของตัวแทนจำหน่าย

11.2 ช่องทางออฟไลน์ (Offline Distribution Channels)

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • โทรสั่ง: 40%
  • Lemon Farm: 17%
  • 7-11: 15%
  • Baimiang: 7%
  • Tops: 7%
  • Lotus: 6%
  • Vila market: 4%
  • Boots: 3%
  • Lab Pharmacy: 2%
  • อื่น ๆ เช่น Big C, Gourmet Market: <1%

By Engagement:

  • 7-11: 33%
  • โทรสั่ง: 20%
  • Tops: 13%
  • Vila market: 12%
  • Lotus: 5%
  • Baimiang: 5%
  • Big C: 4%
  • Lab Pharmacy: 3%
  • Boots: 2%
  • Lemon Farm: 2%
  • Gourmet Market: <1%

การโทรสั่งซื้อ ยังคงเป็นช่องทางออฟไลน์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดที่ 40% และสร้าง Engagement ได้ 20% การที่ช่องทางนี้มีสัดส่วนการพูดถึงที่สูงมาก ไม่ได้หมายความว่าทุกแบรนด์ใช้เป็นหลัก แต่มีความเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากแบรนด์เฉพาะกลุ่ม ที่เน้นการสื่อสารและทำการตลาดผ่านช่องทางนี้อย่างเข้มข้น ทำให้เกิดจำนวนโพสต์หรือการกล่าวถึงที่สูงมากอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแบรนด์ที่ยังคงใช้สื่อดั้งเดิม เช่น รายการโทรทัศน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะมี Call to Action เป็นการโทรสั่งโดยตรงและมีการออกอากาศหรือเผยแพร่ซ้ำๆ นอกจากนี้ สัดส่วนที่สูงนี้ยังอาจสะท้อนถึงกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มที่ยังคงคุ้นเคยและสะดวกกับวิธีการสั่งซื้อแบบนี้ด้วย

7-Eleven โดดเด่นที่สุดในการสร้าง Engagement ในกลุ่มออฟไลน์สูงถึง 33% แม้มีการพูดถึง 15% ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างการรับรู้และกระตุ้นการทดลองสินค้าได้ดี โดยเฉพาะสินค้าพร้อมดื่มและแบบพกพา นี่คือช่องทางที่แบรนด์ไม่ควรมองข้ามหากต้องการเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง

Supermarket ต่างๆ เช่น Tops พูดถึง 7% Engagement 13%, Villa Market พูดถึง 4% Engagement 12% และ Lotus พูดถึง 6% Engagement 5% เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคจดจำในฐานะจุดซื้อหลักและสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้ดี

ร้านค้าเฉพาะทาง อย่าง Lemon Farm พูดถึง 17% Engagement 2% และ Baimiang พูดถึง 7% Engagement 5% เชื่อมโยงกับสินค้าคุณภาพสูงและบริการที่ทันสมัย แม้ Engagement ของ Lemon Farm จะค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการพูดถึงที่สูงมาก

ส่วน Medical Store เช่น Boots พูดถึง 3% Engagement 2% และ Lab Pharmacy พูดถึง 2% Engagement 3% แม้ไม่ถูกพูดถึงมาก แต่ก็ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ที่เน้นฟังก์ชันเฉพาะทางได้ครับ

โดยรวมของช่องทางการขายและการสื่อสาร จะเห็นว่าช่องทางออนไลน์ที่มีบทบาทสูงสุดคือ TikTok ซึ่งช่วยสร้างกระแสและปิดการขายในที่เดียว โดยเฉพาะเมื่อใช้ Influencer และ Affiliate ร่วมด้วย ขณะที่ LINE ถูกใช้เพื่อให้ข้อมูลและปิดการขายแบบมีปฏิสัมพันธ์ ส่วน Shopee และ Lazada เหมาะกับการเร่งยอดขายผ่านโปรโมชั่นใหญ่

ด้านออฟไลน์ การมีสินค้าใน 7-Eleven ช่วยเพิ่มโอกาสการทดลองซื้อและเข้าถึงผู้บริโภคทั่วไป ส่วนร้านสุขภาพเฉพาะทาง เช่น Lemon Farm หรือ Baimiang ช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงคุณภาพและเข้าถึงกลุ่มรักสุขภาพได้ตรงจุด แบรนด์ควรใช้ TikTok และ LINE เป็นช่องทางหลักในการขายออนไลน์ พร้อมเสริมด้วย Shopee/Lazada ในช่วงแคมเปญ ส่วนออฟไลน์ควรเน้น ร้านสะดวกซื้อ หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อกระตุ้นการทดลองซื้อ และกระจายสินค้าสู่ ร้านสุขภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและขยายฐานลูกค้าครับ

กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเป็นเครื่องมือสำคัญที่แบรนด์โปรตีนจากพืชใช้เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างยอดขาย และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า “Promotion” มีสัดส่วน Mention และ Engagement อย่างละ 4%

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • แถม: 46%
  • ส่วนลด: 30%
  • ส่งฟรี: 19%
  • เซ็ต: 3%
  • สมาชิก: 2%
  • Bundle: 1%

By Engagement:

  • แถม: 44%
  • ส่วนลด: 28%
  • ส่งฟรี: 10%
  • Bundle: 9%
  • เซ็ต: 6%
  • สมาชิก: 3%

โปรโมชั่นประเภท “แถม” เช่น ซื้อ 1 แถม 1, แถมสินค้าอื่น ได้รับการพูดถึงมากที่สุดถึง 46% และยังคงเป็นโปรโมชั่นที่สร้าง Engagement ได้สูงสุดที่ 44% สะท้อนว่าเป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์นิยมใช้ ผู้บริโภคจดจำได้ดี และตอบรับดีที่สุด โดยเฉพาะการแถมสินค้าเพิ่มหรือแถมแก้วเชค ซึ่งช่วยกระตุ้นการตัดสินใจได้เร็วขึ้น และยังสามารถใช้ร่วมกับการขายเป็นเซ็ตได้อีกด้วย

ส่วนลด ก็ยังคงมีพลังในการกระตุ้นการซื้อ โดยมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ลดเป็นเปอร์เซ็นต์, ให้โค้ดส่วนลด, หรือกำหนดเวลาจำกัด

ส่งฟรี ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อออนไลน์ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีขั้นต่ำหรือร่วมกับแคมเปญจากแพลตฟอร์ม E-Marketplace “Bundle”

และ เซ็ต ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มองหาความคุ้มค่า โดยการซื้อเป็นชุดหรือแพ็กคู่มักช่วยเพิ่มมูลค่าต่อบิลและกระตุ้นการซื้อหลายชิ้น โดยเฉพาะช่วงเทศกาล ที่น่าสนใจคือ Bundle มี Mention ต่ำ แต่ Engagement ค่อนข้างสูง แสดงถึงการตอบรับที่ดีเมื่อผู้บริโภคเห็นโปรโมชั่นลักษณะนี้

ส่วน ระบบสมาชิก อาจยังไม่แพร่หลายในฝั่งแบรนด์โดยตรง แต่เป็นเครื่องมือที่ร้านค้าคนกลางนิยมใช้เพื่อสร้าง Loyalty และเป็นโอกาสให้แบรนด์สร้างระบบสมาชิกของตนเองเพื่อต่อยอด CRM

แบรนด์ควรใช้กลยุทธ์โปรโมชั่นที่ผสาน ความคุ้มค่าเข้ากับการสร้างแรงจูงใจอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น การ “ป้ายยา” ผ่าน Influencer/Creator โดยมอบส่วนลดพิเศษเฉพาะผู้ติดตามของ Creator นั้น ๆ หรือการจัดโปรโมชั่นร่วมกับการเปิดตัวรสชาติใหม่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองสินค้า

อย่างไรก็ตาม ควร หลีกเลี่ยงการลดราคาบ่อยครั้งเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้บริโภครอซื้อแต่ช่วงโปรโมชั่นและส่งผลกระทบต่อการรับรู้คุณค่าของแบรนด์ในระยะยาว ควรให้ความสำคัญกับการโปรโมตแบบมีเรื่องราว หรือ Storytelling หรือเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ เพื่อสร้างภาพจำและความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่สร้างยอดขายดีในช่วงที่มีโปรโมชั่นเท่านั้นครับ

จากภาพรวม Categories ทั้งหมด “Target” มีสัดส่วนการพูดถึง 4% แต่สร้างการมีส่วนร่วมได้ค่อนข้างสูงถึง 13% การทำความเข้าใจว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักและพวกเขามีพฤติกรรมหรือความต้องการอย่างไร เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ตรงจุด ตลาดโปรตีนจากพืชมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ทั้งแบ่งตามเพศและพฤติกรรม

13.1 กลุ่มเป้าหมายแบ่งตามเพศ

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • Female (เพศหญิง): 87%
  • Male (เพศชาย): 13%

By Engagement:

  • Female (เพศหญิง): 66%
  • Male (เพศชาย): 33%

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า เพศหญิง 87% เป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวถึงในบริบทของโปรตีนจากพืชมากกว่าเพศชายอย่างชัดเจน และยังคงเป็นกลุ่มที่สร้าง Engagement หลัก 66% อย่างไรก็ตาม สัดส่วน Engagement ของ เพศชาย 33% สูงกว่าสัดส่วน Mention ของพวกเขา 13% อย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าแม้เพศชายอาจจะถูกพูดถึงน้อยกว่า แต่เมื่อมีคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมค่อนข้างสูงครับ

กลุ่มผู้หญิงมักใช้โปรตีนจากพืชเพื่อเป้าหมายด้านรูปร่าง สุขภาพ และภาพลักษณ์โดยรวม การสื่อสารที่เชื่อมโยงกับกิจวัตรประจำวันหรือสร้างแรงบันดาลใจจึงได้ผลดี ขณะที่กลุ่มผู้ชาย แม้เป็นสัดส่วนน้อยกว่า แต่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่มุ่งเน้นการออกกำลังกายและสร้างกล้ามเนื้อ การสื่อสารที่เน้นผลลัพธ์ทางร่างกายจะตอบโจทย์ได้ดี

13.2 กลุ่มเป้าหมายแบ่งตามพฤติกรรม

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • สายออกกำลังกาย: 55%
  • สายดูแลตัวเอง: 17%
  • วีแกน: 11%
  • คุณแม่: 10%
  • ผู้สูงอายุ: 4%
  • สายไม่อยากรู้สึกผิด: 3%

By Engagement:

  • สายออกกำลังกาย: 67%
  • สายดูแลตัวเอง: 18%
  • วีแกน: 7%
  • สายไม่อยากรู้สึกผิด: 4%
  • คุณแม่: 2%
  • ผู้สูงอายุ: 2%

สายออกกำลังกาย เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่ถูกพูดถึงและสร้าง Engagement มากที่สุดอย่างชัดเจน เป็นแกนหลักของตลาดอย่างแท้จริง เน้นการบริโภคเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกาย

สายดูแลตัวเอง สะท้อนเทรนด์สุขภาพแบบองค์รวม มองโปรตีนเป็นทางเลือกที่ “ดีต่อร่างกาย-ง่ายต่อการใช้ชีวิต” การตลาดที่เชื่อมโยงกับกิจวัตรประจำวันตอบโจทย์กลุ่มนี้ได้ดี

กลุ่ม Vegan ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัย และไม่เบียดเบียนสัตว์ การสื่อสารที่ชัดเจนว่า “ไม่มีส่วนผสมจากสัตว์” และเน้นจุดขายด้านสุขภาพและจริยธรรมจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้

สายไม่อยากรู้สึกผิด แม้เป็นกลุ่มเล็ก แต่สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากดูแลตัวเองแต่ไม่อยากงดของอร่อย การวางตำแหน่งโปรตีนพืชเป็น “ตัวแทนของหวานที่ไม่รู้สึกผิด” สามารถตอบโจทย์ Pain Point นี้ได้

คุณแม่ ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองและลูก โปรตีนพืชที่มีหลักฐานรับรองความปลอดภัยและคุณประโยชน์รอบด้านจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่เน้นฟื้นฟูสุขภาพและกล้ามเนื้อ แต่ยังเป็นกลุ่มที่แบรนด์เข้าถึงได้ไม่มากนัก จึงควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ ความปลอดภัย และการสื่อสารที่เข้าใจง่าย

ตลาด Plant-protein ได้ขยายตัวจากกลุ่มสายฟิตเนสไปสู่กลุ่มผู้ที่ดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง โดยมี ผู้หญิง เป็นกลุ่มหลักที่ให้ความสนใจเรื่องรูปร่าง ผิวพรรณ และการดูแลตัวเองแบบองค์รวม ส่วน ผู้ชาย แม้สัดส่วนจะน้อยกว่า แต่ก็มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

ในเชิงพฤติกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มเด่น แต่ละกลุ่มมีความต้องการและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน แบรนด์ควรเลือกโฟกัส 1-2 กลุ่มเป้าหมายหลัก ที่สอดคล้องกับจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ตนเอง เช่น หากผลิตภัณฑ์มีโปรตีนสูง ก็ควรเน้นกลุ่มสายฟิตเนส หากผลิตภัณฑ์ดื่มง่าย รสชาติดี อาจเน้นกลุ่มดูแลตัวเองหรือกลุ่มคุณแม่ที่ต้องการโปรตีนปลอดภัยและดื่มได้ทุกวัน

สิ่งสำคัญคือการ สื่อสารให้เห็นบริบทการใช้งานจริง เช่น การดื่มหลังออกกำลังกาย หรือการใช้ทดแทนมื้ออาหารที่เร่งรีบ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้น “เหมาะกับชีวิตเรา” และนำไปสู่การซื้อซ้ำได้ง่ายขึ้นครับ

จากภาพรวม Categories ทั้งหมด “Product Competitive” มีสัดส่วนการพูดถึง 9% และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้สูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งถึง 20% สัดส่วน Engagement ที่สูงนี้บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างมากต่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจุดเด่น ข้อได้เปรียบ หรือคุณลักษณะที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แตกต่างและน่าสนใจในเชิงแข่งขัน

ในตลาดโปรตีนจากพืชที่มีการแข่งขันสูง การสร้างจุดเด่นและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ถือเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดความสนใจและเอาชนะใจผู้บริโภค Category “Product Competitive” สะท้อนถึงคุณลักษณะที่แบรนด์ใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบ หรือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคมองหาและให้ความสำคัญเมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

Data โปรตีนพืช

By Mention:

  • อร่อย: 50%
  • โปรตีนสูง: 24%
  • ไม่ฝืดคอ: 16%
  • กลิ่น: 6%
  • ชงง่าย: 2%

By Engagement:

  • อร่อย: 52%
  • ไม่ฝืดคอ: 24%
  • โปรตีนสูง: 10%
  • กลิ่น: 9%
  • ชงง่าย: 4%

ความอร่อย ยังคงเป็นจุดเด่นที่ถูกพูดถึงมากที่สุด 50% และครองตำแหน่งปัจจัยที่สร้าง Engagement ได้สูงสุดอย่างชัดเจนที่ 52% สิ่งนี้ตอกย้ำว่ารสชาติคือหัวใจสำคัญอันดับหนึ่งในการตัดสินใจซื้อและซื้อซ้ำของผู้บริโภคในตลาดโปรตีนจากพืช แบรนด์ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ด้านรสชาติได้จะเสียเปรียบอย่างมาก

ไม่ฝืดคอ กลายเป็นปัจจัยสำคัญอันดับสองที่สร้าง Engagement ได้สูงถึง 24% แม้ Engagement จะไม่สูงเท่า “ความอร่อย” แต่ก็ยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสบการณ์การดื่มโดยตรง โดยเฉพาะสำหรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่อาจมีประสบการณ์ไม่ดีกับโปรตีนพืชในอดีต หรือผู้ที่ให้ความสำคัญกับเนื้อสัมผัสที่ดื่มง่าย ไม่ระคายคอ การสื่อสารจุดเด่นนี้จึงเป็น Competitive Keyword ที่ทรงพลังในการสร้างความแตกต่างและลดอุปสรรคในการทดลองสินค้า

โปรตีนสูง เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้บริโภคคาดหวังและยังคงสร้างการมีส่วนร่วมได้ดี โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์สามารถสื่อสารถึงปริมาณที่ชัดเจนและคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ เช่น การช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

กลิ่น และ ชงง่าย (แบบผง) เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยยกระดับประสบการณ์โดยรวม การสื่อสารว่าผลิตภัณฑ์ “ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว” หรือ “ไม่มีกลิ่นสาบถั่ว” จะช่วยลดอคติและสร้างความประทับใจแรกที่ดี ขณะที่คุณสมบัติ “ชงง่าย” ช่วยลดความยุ่งยากในการเตรียม เพิ่มความสะดวก และเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจลองของผู้บริโภคได้

โดยรวมผู้บริโภคมองว่า ความอร่อย คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการซื้อหรือกลับมาซื้อซ้ำอย่างชัดเจน รองลงมาคือประสบการณ์การดื่มที่ ไม่ฝืดคอ ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ใหม่

และปริมาณ โปรตีนสูง ยังคงเป็นเหตุผลหลักในการเลือกซื้อเพื่อคุณประโยชน์ด้านสุขภาพและร่างกาย ส่วนปัจจัยด้าน กลิ่นที่ดี และการชงละลายง่าย ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เสริมให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าพอใจยิ่งขึ้น หากผู้บริโภครู้สึกว่ารสชาติไม่ถูกปาก หรือเนื้อสัมผัสไม่ดี เช่น ฝืดคอ ตั้งแต่ครั้งแรก มีแนวโน้มสูงที่จะไม่กลับมาซื้อซ้ำและมองหาแบรนด์อื่นทันทีครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับรายงานฉบับนี้ เจาะลึก Data โปรตีนพืช จาก Social Listening โปรเจกต์แจกดาต้าฟรีเพื่อยกระดับธุรกิจความสวยความงามและอาหารเสริม โดยการตลาดวันละตอน x Revomed Group ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความสวยความงามคุณภาพดีให้กับแบรนด์ดังมากมาย

ส่วนใครอยากดู Data Plant-protein Report 2025 รายงานเจาะลึกอาหารเสริมโปรตีนจากพืชแบบเต็ม ๆ สามารถดูได้ที่ด้านล่างได้เลยครับ

หากสนใจอยากผลิตครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความสวยความงามคุณภาพดี สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ Revomed Group ตรงจากลิงก์นี้ครับ https://www.revomed.co.th/

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

Marketing Content Creator and Data Insight Researcher

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *