Data Research Insight เจาะลึกครีมกันแดด โดย Social Listening

Data Research Insights เผยทุกดาต้าพฤติกรรมลูกค้าและธุรกิจครีมกันแดดในประเทศไทย จากการใช้ Social Listening โดย การตลาดวันละตอน x Revomed Group ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความสวยความงามคุณภาพให้กับหลากหลายแบรนด์ดังทั่วไทย ด้วยความตั้งใจที่อยากจะยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอาหารเสริมของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Data ด้วยการแจกรายงานฉบับนี้ให้ฟรีสำหรับคนที่สนใจเริ่มธุรกิจนี้ครับ

บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจทุกมิติของจักรวาลครีมกันแดด ตั้งแต่สารสกัดกลุ่มไหนที่ได้รับความนิยม คนต้องการผลลัพธ์แบบใดมากที่สุด บรรจุภัณฑ์แบบไหนที่นิยม เนื้อสัมผัสของครีมควรเป็นอย่างไร ทิศทางโปรโมชั่นเป็นแบบไหน ช่องทางการขาย Infleuncer และยังมีอีกหลากหลายมิติอินไซต์ครีมกันแดดที่คุณจะได้รู้ในบทความนี้

และนี่ก็เป็นพาร์ทต่อของโปรเจค #BeautyDataInsight ระหว่างการตลาดวันละตอน x Revomed Group ดังนั้นใครที่อยู่ในธุรกิจนี้ต้องกดติดตามไม่ให้พลาด ใครที่อยากได้ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำเรื่องการผลิตก็ปรึกษา Revomed ได้ฟรีครับ ถ้าอยากรู้ Insight การใช้ครีมกันแดดและตลาดนี้ของเมืองไทย เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลยครับ

โดยแบ่ง Insights ครีมทาหน้าออกเป็น 6 หมวดหมู่หลักจาก Data ได้ดังนี้

  1. Product
  2. Price
  3. Place
  4. Promotion
  5. Position
  6. Problem

เชื่อว่าจะทำให้คนสนใจในธุรกิจครีมกันแดดจะเห็นข้อมูลในทุกมิติ และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดในการวางแผน ปรับกลยุทธ์ หรือออกสินค้าใหม่ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

แต่ก่อนจะไปเจาะลึก Insight แต่ละด้าน ลองมาดูภาพรวม Data ครีมกันแดด ก่อนว่าในช่วงเวลา 01/01/2024 – 29/09/2024 เราเจอข้อมูลที่พูดถึงครีมทากันแดดในโซเชียลมีเดียทุกช่องทางเป็นอย่างไรกันบ้าง

Data ครีมกันแดด

มีการโพสถึงครีมกันแดดทั้งหมด 87,886 ครั้ง ทั้งทาง Facebook, Instagram, YouTube, TikTok และ X หรือ Twitter เดิม จากคีย์เวิร์ดคำที่เราใส่เข้าไปคือ ครีมกันแดด

Data ครีมกันแดด

และหลังจากที่เราได้ทำการ Cleancing Data ไปในบางส่วนก็จะเหลือโพสถึงครีมทาหน้าทั้งหมด 84,267 ครั้ง

Data ครีมกันแดด

และถ้าดูจากภาพด้านบนเราจะเห็นว่าการพูดถึงคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่เกี่ยวกับ “ครีมกันแดด” กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ดังนี้

  1. TikTok 60%
  2. Twitter 24%
  3. Facebook 10%
  4. YouTube 2%
  5. Webboard 2%
  6. Instagram 1%

ส่วน Data ในมุม Engagement จะค่อนข้างมีลำดับที่แตกต่างกันดังนี้

  1. TikTok 88%
  2. YouTube 11%
  3. Facebook <1%
  4. Twitter <1%
  5. Instagram <1%

จากภาพรวมก็จะเห็นเลยตอนนี้แบรนด์ครีมกันแดดในตลาดส่วนใหญ่กำลังลงเข้าไปแข่งขันกันในช่องทาง TiKTok และยังมี Engagement มากที่สุดอีกด้วย ความน่าสนใจคือ แพลตฟอร์มที่โดดเด่นในเรื่องวิดีโออย่าง TikTok และ Youtube ที่การมีส่วนร่วมค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะเกิดจากลักษณะของ Content ที่ผู้บริโภคเห็นครีมกันแดดได้ครบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็น เนื้อครีม บรรจุภัณฑ์ สีหน้าของคนรีวิว นั่นเอง

Data ครีมกันแดด

จาก Social Data ทั้งหมดกว่า 84,267 โพสที่เกี่ยวกับครีมกันแดดจริง ๆ สามารถจัดกลุ่มออกมาได้เป็น 6 Main Categories Insight หลัก เรียกได้ว่าครบทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับครีมกันแดด และก่อนที่เราจะไปเจาะลึก Insight ต่าง ๆ เรามาทำความเข้าใจนิยามของ 6 Main Categories Insight หลัก

  1. Product Insight ซึ่งจะเป็นบริบทที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดโดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ Attributes (ประโยชน์), Ingredients (ส่วนผสม), Formula (สูตร), Texture (ลักษณะเนื้อครีม) และ Packaging (บรรจุภัณฑ์)
  2. Position Insight ครีมกันแดดถูกใช้กับส่วนไหนกับร่างกายบ้าง
  3. Price Insight ช่วงราคาของครีมกันแดดซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นราคาบนแพลตฟอร์มออนไลน์
  4. Place Insight ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ซึ่งประกอบไปด้วยช่องทาง Online และ Offline
  5. Promotion Insight กลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาดที่แต่ละแบรนด์เลือกใช้
  6. Problem Insight เป็นบริบทของผู้บริโภคที่มีความกังวลในการเลือกใช้ครีมกันแดด

และแต่ละหัวข้อก็มีสัดส่วนการพูดถึงหรือ Mention ที่แตกต่างกัน ไปจนถึงสัดส่วนของการแสดงความคิดเห็น หรือ Engagement ที่แตกต่างกันไปดังนี้

Data ครีมกันแดด

ในแง่ของจำนวนการพูดถึงในแต่ละประเด็นของครีมกันแดด จะเรียงลำดับตามนี้

  1. Product 69%
  2. Position 22%
  3. Place 6%
  4. Promotion 1%
  5. Problem 1%
  6. Price <1%

จากจำนวนเปอร์เซ็นจะเห็นบริบทที่เกี่ยวข้องกับ Product ถูกพูดถึงมากที่สุด ซึ่งเกิดจากการที่แบรนด์ต่าง ๆ มักจะต้องสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าของตัวเองไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ ส่วนผสม สูตรของครีม ฯลฯ 

และเราก็ลองมาดูในแง่ของการมีส่วน่วมของผู้บริโภค กันบ้างว่าประเด็นไหนที่แบรนด์และผู้บริโภคให้ความสนใจจนนำมาสู่การเกิดการมีส่วนร่วม ตาม Pie Chart ด้านขวา

  1. Product 54%
  2. Position 18%
  3. Promotion 16%
  4. Place 10 %
  5. Problem 1%
  6. Price 1%

จะเห็นว่าในบริบทของ Product ก็ยังคงมีเปอร์เซ็นสูงสุด แต่ที่น่าสนใจคือ บริบทของ Promotion ที่มีเปอร์เซ็นมากเป็นอันดับ 3 ซึ่งก็อาจสะท้อนได้ว่าในตลาดครีมกันแดดการการทำ Promotion Strategy มีความสำคัญในการทำ Marketing ในตลาดครีมกันแดดนั่นเอง

เราก็พอจะเห็นภาพคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Insight ของครีมกันแดดเล็กน้อยไปแล้ว ต่อไปเราก็จะมาเจาะลึกแต่ละประเด็นให้เข้าใจบริบททั้ง 6 Main Insight เพื่อที่ทุกคนโดยเฉพาะเจ้าของแบรนด์ หรือนักการตลาดที่กำลังแข่งขันกันอยู่ในสนามแห่งนี้จะปรับทิศทาง Marketing Strategy หรือ Product Develoment สำหรับสินค้าครีมกันแดดกันอย่างไร

ด้วยเทรนด์ Health & Wellness ที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสหลักทำให้ผู้บริโภคต่างก็มองหาสินค้าและบริการที่จะมาช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และสินค้าสำหรับการป้องกันจากมลภาวะต่าง ๆ ซึ่งก็คือ ครีมกันแดด

และนี่ก็เป็น Data Insight แรกในบริบทของ Product อย่างครีมกันแดด ที่แบรนด์ต่าง ๆ โพสต์ลงแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจะมีประเด็นไหนที่น่าสนใจบ้าง เรามาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

บริบทที่เกี่ยวข้องกับ Product ที่ถูกพูดถึงและเห็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด

  1. Attributes (คุณสมบัติหรือประโยชน์) 85% 
  2. Packaging (บรรจุภัณฑ์)8%
  3. Ingredients (ส่วนผสมหรือวัตถุดิบ) 3%
  4. Texture (ลักษณะเนื้อครีม) 3%
  5. Formula (สูตรครีมกันแดด) 4%

จากข้อมูลสะท้อนเลยว่าการแข่งขันในตลาดครีมกันแดด ณ ปัจจุบัน กำลังแข่งขันกันด้วย “คุณสมบัติ” หรือ “ประโยชน์” ที่ได้จากการใช้ครีมกันแดดผ่านการสื่อสารที่ส่งไปยังผู้บริโภค และเมื่อเรามองไปที่ด้านความสนใจของผู้บริโภค

  1. Attributes 80%
  2. Packaging 14%
  3. Texture 5%
  4. Ingredients 3%
  5. Formula <1%

จะเห็นว่าในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Attributes ยังคงมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจคือ Texture ที่เลื่อนมาเป็นอันดับ 3 ซึ่งอาจสะท้อนได้ว่าตัวผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญลักษณะของเนื้อครีมกันแดดด้วยเช่นกัน 

ต่อไปเราจะมาเจาะลึก Insight ทั้ง 5 ประเด็นว่าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง เช่น ประโยชน์อะไรที่แบรนด์เลือกใช้เป็นจุดขายและทำให้ผู้บริโภคสนใจในตัวสินค้า หรือจะเป็นลักษณะครีมแบบไหนที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด เป็นต้น เผื่อว่าใครจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบในการทำแผนการตลาดต่อไป

Protection Attributes ครีมกันแดดยังไง “การป้องกัน” ก็มาเป็นอันดับหนึ่ง

Data ครีมกันแดด

ต้องบอกว่าตลาดครีมกันแดดในปัจจุบัน หลายแบรนด์ต่างก็พยายามนำนำเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ มากมายที่ตัวครีมกันแดดจะสามารถทำได้ แต่จากข้อมูลจะเห็นเลยว่า คุณสมบัติทั้งในแง่ของการสื่อสารของแบรนด์และการตอบรับจากผู้บริโภคที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ Protection หรือก็คือการป้องกัน

Data ครีมกันแดด

และหากเราเจาะลึกไปอีกว่า การป้องกันของครีมกันแดดนั้นมีบริบทไหนบ้าง ก็จะพบว่ามีหลากหลายบริบท โดยจะขอเรียงลำดับ Mention ดังนี้

  1. SPF 38% 
  2. UV 32%
  3. กันน้ำ 9%
  4. กันเหงื่อ 7%
  5. ฝ้า 5%
  6. กระ 5%
  7. Pollution 4%
  8. Anti-Oxidant <1%

และในส่วนความสนใจของผู้บริโภค

  1. SPF & PA 41% 
  2. UV 27%
  3. กันน้ำ 10%
  4. กันเหงื่อ 9%
  5. Pollution 5%
  6. ฝ้า 4%
  7. กระ 4%
  8. Anti-Oxidant <1%

จากข้อมูลถ้าเรามองจากฝั่งของการพูดถึง จะพบว่าแบรนด์ต่าง ๆ พยายามนำเสนอด้วยการเน้นไปที่คุณสมบัติในการป้องกันของครีมกันแดด อย่างค่า SPF&PA และ การป้องกันจากรังสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น UV UVA และ UVB ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน 38% และ 32% ตามลำดับ

Data ครีมกันแดด

และหากเรามองในฝั่งของความสนใจของผู้บริโภค จะพบว่าในส่วนของ SPF&PA มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาก็คือ UV ซึ่งถ้ามองเปรียบเทียบกับกับประเด็นอื่น ๆ อย่างเช่น กันน้ำ กันเหงื่อ ฯลฯ จะพบว่าทั้ง 2 ประเด็นจะต้องอาศัยความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่างจากประเด็นอื่นที่สามารถเข้าใจง่ายโดยไม่จำเป็นต้องที่จะต้องหาข้อมูลเพิ่ม

Data ครีมกันแดด

จากข้อมูลก็สามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับ Knowledge หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้ามากขึ้น เช่น การที่รู้ว่าค่า SPF คือออะไร หรือค่า PA ที่เท่าไหร่ถึงจะดี

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองก็เหมือนเป็นการบอกกับแบรนด์ในตลาดว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้น โดยเฉพาะความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นแบรนด์ควรสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อที่จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้บริโภค

Texture and Balancing Attributes ความรู้สึกจากเนื้อสัมผัสและการสร้างความสมดุลให้กับผิว ส่งผลต่อการ Make Decision ของผู้บริโภค

Data ครีมกันแดด

จากข้อมูลจะเห็นว่าคุณสมบัติด้าน Texture ในแง่ของการ Mention มาเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 24% ซึ่งในหัวข้อนี้จะหมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคได้ใช้ครีมกันแดดสัมผัสกับผิวบนร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยผิวหน้าและผิวกาย

Data ครีมกันแดด

จากข้อมูลจะพบว่าคุณสมบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในหมวดหมู่ของ Texture ที่แบรนด์ครีมกันแดดใช้ในการสื่อสารจะประกอบไปด้วย 

  1. บางเบา 55% 
  2. ซึมเร็ว 17%
  3. ไม่เหนียว 17%
  4. เกลี่ยง่าย 11%
  5. เย็นสบาย <1%

และฝั่งการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

  1. บางเบา 71% 
  2. เกลี่ยง่าย 12%
  3. ไม่เหนียว 9%
  4. ซึมเร็ว 7%
  5. เย็นสบาย <1%

จากข้อมูลจะพบว่าคุณสมบัติที่มีการพูดถึงทั้งหมดจะเป็นในลักษณะของการมุ่งเน้นไปที่การสร้าง “ความรู้สึกสบายผิว” เหมาะกับการใช้ในรูปแบบของ Daily Life โดยในส่วนของความเย็นสบายจะถูกพูดถึงในบริบทของผิวกาย ซึ่งต่างจาก 4 คุณสมบัติก่อนหน้า ที่จะถูกพูดถึงทั้งในบริบทของผิวหน้าและผิวกาย

Data ครีมกันแดด

นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ถูกพูดถึงก็คือ Balancing มาเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 21% ซึ่งในหัวข้อนี้จะหมายถึง การช่วยฟื้นฟูหรือการปรับสมดุลให้ผิว ซึ่งรวมไปถึงการช่วยบำรุงผิวให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย

Data ครีมกันแดด

เมื่อเราเจาะเข้ามาในคุณสมบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในหมวดหมู่ของ Balancing ของครีมกันแดดที่แบรนด์ต่าง ๆ มักใช้เพื่อการสื่อสาร ก็จะประกอบไปด้วย

  1. กระจ่างใส 35% 
  2. ชุ่มชื้น 23%
  3. คุมมัน 18%
  4. ลดกันริ้วรอย 7%
  5. ลดปัญหาสิว 7%
  6. ลดจุดด่างดำ 4%
  7. ลดหมองคล้ำ 4%

และฝั่งการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

  1. กระจ่างใส 33% 
  2. คุมมัน 25%
  3. ลดปัญหาสิว 21%
  4. ชุ่มชื้น 12%
  5. ริ้วรอย 5%
  6. จุดด่างดำ 2%
  7. ลดหมองคล้ำ <1%

จากข้อมูลจะเห็นว่า ความกระจ่างใส การคุมมัน และลดปัญหาสิว เป็นคุณสมบัติของครีมกันแดดส่วนที่บริโภคให้ความสนใจค่อนข้างมาก 

Data ครีมกันแดด

โดยขอเริ่มจากกระจ่างใส ซึ่งในครีมกันแดดนั้นมี 2 บริบทคือ ครีมกันแดดที่มีสารบำรุงให้ผิวมีความกระจ่างใส ซึ่งต้องใช้เวลากว่าที่สีผิวจะมีความกระจ่างใส ส่วนอีกบริบทคือ ความกระจ่างใสที่เกิดจากการโทนอัพผิว หรือก็คือครีมกันแดดที่สามารถปรับสีผิวได้ทันที แต่ผลลัพธ์จะอยู่แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

Data ครีมกันแดด

ถัดมาคือการคุมมัน ที่มีเฉพาะในครีมกันแดดสำหรับผิวหน้า และเป็นคุณสมบัติเฉพาะที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่กังวลเรื่องผิวมันโดยเฉพาะ นอกจากนี้การทำ Content ทดสอบคุณสมบัติคุมมันยังสามารถทำได้ง่ายและเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน

Data ครีมกันแดด

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ “ลดปัญหาสิว” เพราะถึงแม้ว่าในมุมของการพูดถึงจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคุณสมบัติก่อนหน้า แต่ในแง่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคกลับมาเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 21% 

ซึ่งคุณสมบัตินี้เองก็ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 บริบทคือ ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมในการช่วยลดสิว และครีมกันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการลดปัญหาสิว และผลิตภัณฑ์ที่ต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิวอย่างการอุดตัน

Product Ingredients ในกลุ่ม Brightening, Moisturizing และ Anti-Oxidant มาแรงในครีมกันแดด

Data ครีมกันแดด

ในส่วนต่อมาเราจะมาเจาะในเรื่องของ Ingredients หรือส่วนผสมที่แบรนด์ครีมกันแดดมักใช้เป็นเหมือนจุดเด่นของสินค้า และใช้ในการสื่อสารเพื่อแสดงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของครีมกันแดด โดยส่วนผสมประเภทต่าง ๆ ก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 

ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถเห็นข้อมูลได้อย่างครอบคลุม ผมเลยแบ่งหมวดหมู่ตามประโยชน์ ซึ่งบางส่วนผสมอาจจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่จะขอเน้นไปที่คุณสมบัติที่แบรนด์มักพูดถึง ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Brightening (เพิ่มความกระจ่างใส) 48%
  2. Moisturizing (ให้ความชุ่มชื้น) 34%
  3. Antioxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ) 11%
  4. Skin Repairs (ฟื้นฟูผิว) 6%
  5. Oil Control (ควบคุมความมัน) <1%
  6. Anti-Inflammatory (ลดการอักเสบของผิว) <1%

และในฝั่งของความสนใจจากผู้บริโภค

  1. Brightening 54%
  2. Moisturizing 31%
  3. Antioxidant 11%
  4. Skin Repairs 4%
  5. Oil Control <1%
  6. Anti-Inflammatory <1%

จากข้อมูลจะเห็นว่าส่วนผสมในกลุ่มที่ถูกพูดถึงและเกิดการมีส่วนร่วมค่อนข้างมากคือ กลุ่ม Brightening Moisturizing และ Anti-Oxidant โดยเราจะมาลงมาดูกันว่าในแต่ละกลุ่มนี้จะมีส่วนผสมอะไรที่โดดเด่นกันบ้าง

Data ครีมกันแดด

กลุ่ม Brightening ส่วนผสมที่แบรนด์ใช้เป็นจุดเด่นของสินค้ามากที่สุดก็คือ Vitamin C 69% ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นที่รู้จัก แต่ความน่าสนใจคือหลายแบรนด์เริ่มหา Vitamin C จากแหล่งที่มีความหลากหลายมากขึ้นอย่างเช่น Kakadu Plum หรือ Sea Buckthorn

อย่างไรก็ตามตัว Vitamin C ก็ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยเรื่องของ Anti-Oxidant แต่ด้วยการรับรู้ของผู้บริโภคที่จดจำในเรื่องความกระจ่างใสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คุณสมบัติ Anti-Oxidant ไม่เป็นที่รับรู้มากเมื่อเทียบกับความกระจ่างใส

Data ครีมกันแดด

ในกลุ่มของ Moisturizing ส่วนผสมที่แบรนด์ใช้เป็นจุดเด่นของสินค้ามากที่สุดก็คือ Hyaluronic Acid 88% ซึ่งเป็นส่วนผสมที่เป็นที่นิยมใช้ในการเพิ่มคุณสมบัติความชุ่มชื้น นอกจากนี้ก็ยังเป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกด้วย

Data ครีมกันแดด

และอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจก็คือกลุ่ม Anti-Oxidant ส่วนผสมที่แบรนด์ใช้เป็นจุดเด่นของสินค้ามากที่สุดก็คือ Vitamin E 71% ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า

Data ครีมกันแดด

นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มอื่น ๆ อย่างกลุ่ม Oil-Control ที่ถึงแม้ว่าในส่วนของ Product Attribute จะมีการพูดถึงคุณสมบัติในการคุมมันที่ค่อนข้างมาก แต่ในส่วนของ Ingredient กลับมีการพูดถึงน้อยกว่า 1% ซึ่งก็เกิดจากการที่แบรนด์มักสื่อสารเพียงแค่คำว่า “คุมมัน” โดยไม่ได้บอกว่าส่วนผสมที่ใช้ว่าคืออะไรนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Ingredients ของครีมกันแดดจะถูกพูดถึงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ Atributes เพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติการป้องกันและการสื่อสารถึงประโยชน์หรือคุณสมบัติก็เข้าใจได้ง่ายกว่า ซึ่งจะแตกต่างกับลักษณะของการซื้อสินค้าอย่างครีมบำรุง หรือ เซรั่ม ที่ส่วนผสมค่อนข้างมีสำคัญเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับปัญหาผิว

แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับหลักวิทยาศาสตร์มากขึ้น การที่แบรนด์สื่อสารถึงส่วนผสมอย่างตรงไปตรงมา ก็มีโอกาสที่แบรนด์จะสามารถเข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภคได้นั่นเอง

Product Texture คนชอบเนื้อครีมที่ทาแล้วเหมือนไม่ได้ทา

Data ครีมกันแดด

ในหัวข้อ Product Texture จะเป็น Character หรือลักษณะของเนื้อครีม ซึ่งต่างจากหัวข้อก่อนหน้าที่เป็นความรู้สึกเมื่อเนื้อครีมสัมผัสผิว อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 หัวข้อนี้ก็มีความสอดคล้องกัน เพราะลักษณะของเนื้อครีมก็จะสะท้อนไปยัง Attributes หรือคุณสมบัติของครีมกันแดดด้วยเหมือนกัน

ซึ่งในหัวข้อลักษณะเนื้อครีมกันแดดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะถ้าเราดูจากข้อมูลที่ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเด็นอื่น 

แต่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคกลับมาเป็นอันดับ 3 ดังนั้นเราลงมาเจาะลักษณะครีมกันแดดแบบไหนที่แบรนด์ในตลาดเลือกใช้ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

Data ครีมกันแดด

โดยลักษณะของเนื้อครีมกันแดดในตลาดที่มีการพูดถึงก็จะประกอบไปด้วย

  1. สเปรย์ 32% 
  2. น้ำนม 20%
  3. เจล 17%
  4. เซรั่ม 16%
  5. แท่งบาล์ม 8%
  6. มูส 6%
  7. น้ำ <1%
  8. เนื้อครีม <1%

และในฝั่งของการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

  1. เจล 49%
  2. น้ำมัน 41%
  3. น้ำ 3%
  4. สเปรย์ 2%
  5. เซรั่ม 2%
  6. แท่งบาล์ม 2%
  7. มูสครีม <1%

จากข้อมูลจะพบว่า สเปรย์ ที่มีจำนวนการพูดถึงมากที่สุด 32% แต่ในฝั่งของการมีส่วนร่วมกลับมีแค่ 2% ในขณะที่ลักษณะแบบเจลและน้ำนม ที่แม้จะถูกพูดถึงน้อยกว่าสเปรย์ แต่กลับมีอัตราการมีส่วนร่วมมากกว่าอยู่ที่ 49% และ 41% 

Data ครีมกันแดด

โดยขอเริ่มจาก สเปรย์ จะเน้นไปที่ความสะดวกสะบายในการใช้งาน และสัมผัสที่มีความเบาสบาย ซึ่งจะตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ “บางเบา” แต่ที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากจากผู้บริโภคอาจเกิดจากความไม่มั่นใจในเรื่องความติดทน และบริเวณผิวที่อาจฉีดได้ไม่ทั่วถึงนั่นเอง

Data ครีมกันแดด

ในส่วนของเนื้อน้ำนม จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว แต่ยังคงความรู้สึกสบายผิวให้กับผู้ใช้ นอกจากนี้คำว่า “น้ำนม” ยังสื่อถึงความอ่อนโยนของครีมกันแดดอีกด้วย

Data ครีมกันแดด

และลักษณะของเนื้อครีมที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอันดับหนึ่งก็คือ เนื้อเจล ซึ่งมีคุณสมบัติที่บางเบา ไม่อุดตันรูขุมขน เหมาะกับการใช้งานในทุก ๆ วัน

และถ้าหากเรามองในภาพรวมจะพบว่า เนื้อครีมแต่ละประเภทยกเว้นเนื้อแบบครีมที่ถึงแม้จะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่มีจุดที่เหมือนกันคือ “ความเบาสบายผิว” สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมองหา Texture ที่ทาแล้วต้องรู้สึกถึงความเบาและไม่หนักหน้า และต้องมีความติดทนด้วย

Product Formula สูตรครีมกันแดดพร้อมตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่ม

Data ครีมกันแดด

ในหัวข้อ Product Formula เราจะมาดูว่าครีมกันทีปกติก็จะเน้นไปที่คุณสมบัติในการป้องกัน แต่ในตลาดก็สร้างสูตรต่าง ๆ ที่จะมาตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค เรามาดูกันว่าจะมีสูตรอะไรที่น่าสนใจในตลาดครีมกันแดดบ้าง

Data ครีมกันแดด

โดยในตลาดครีมกันแดดปัจจุบันก็มีสูตรต่างที่มีคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ดังนี้

  1. Organic 71% – ถูกพูดถึงมากที่สุด
  2. Vegan 21%
  3. โทนอัพ 4%
  4. รองพื้น 2%
  5. BB 1%
  6. CC <1%
  7. Primer <1%

และในส่วนของการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

  1. BB 52% – มีอัตราการมีส่วนร่วมสูงสุด
  2. Vegan 29%
  3. Organic 12%
  4. โทนอัพ 7%
  5. รองพื้น <1%
  6. CC <1%
  7. Primer <1%

จากข้อมูลจะพบว่าสูตร Organic และ Vegan Sunscreen ถูกพูดถึงมากที่สุด 71% และ 21% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดที่ให้ความสำคัญกับส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แต่ที่น่าสนใจคือ BB Sunscreen แม้จะถูกพูดถึงน้อยกว่า 1% แต่ผู้บริโภคกลับให้ความสนใจมากถึง 52% แสดงให้เห็นว่าครีมกันแดดสูตรนี้อาจเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ดังนั้นเราลงมาเจาะสูตรครีมกันแดดที่ว่าจะมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

Data ครีมกันแดด

โดยขอเริ่มจากสูตร Organic เป็นตัวเลือกที่มีแนวโน้มเป็นต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ด้วยความโดดเด่นในด้านความปลอดภัยต่อผิวและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีผิวค่อนข้างอ่อนไหวกับส่วนผสม

Data ครีมกันแดด

ในส่วนของสูตร Vegan จะต่างจาก Organic ที่จะเน้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างการไม่มีส่วนผสมจากสัตว์ หรือการไม่ทดลองกับสัตว์ ซึ่งจะตอบโจทย์กลุ่มคนที่ให้ความสำคัญในประเด็นด้านจริยธรรม 

Data ครีมกันแดด

สูตร Tone-Up หรือโทนอัพ เป็นสูตรครีมกันแดดที่เน้นการปรับสีผิวให้มีความกระจ่างใสขึ้นในทันที ซึ่งผลลัพธ์จะอยู่แค่ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในครีมกันแดดสำหรับผิวกายมากกว่าผิวหน้า

และที่น่าสนใจคือสูตร BB ที่ถึงแม้จะมีการถูกพูดถึงที่ค่อนข้างน้อย แต่กลับค่อนข้างได้รับความสนใจจากผู้บริโภคกว่า 52% โดยสูตรนี้จะเน้นไปที่คุณสมบัติในการปกปิดริ้วรอยและปรับสีผิวให้มีความเรียบเนียน และยังช่วยลดขั้นตอนในการแต่งหน้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่สูตรนี้ได้รับความสนใจที่ค่อนข้างมากส่วนหนึ่งก็มาจากอิทธิพลของ Influencer ที่มีการทำ Content ทดลองใช้ BB ในการแต่งหน้าด้วยเหมือนกัน เพราะเมื่อเทียบกับสูตรอื่นอย่างสูตรผสมรองพื้น และ CC ที่มีคุณสมบัติในการปกปิดแต่กลับมี Engagement ค่อนข้างน้อย

Product Packaging แบบหลอดและซองยังเป็นที่นิยม แต่เทรนด์เน้นความคุ้มค่าก็กำลังมา

ในหัวข้อนี้เราจะมาดูลักษณะ Packaging ของครีมกันแดดมีแบบไหนกันบ้าง และแต่ละแบบจะมีอะไรที่น่าสนใจ

Data ครีมกันแดด

โดย Packing ของครีมกันแดดในตลาดที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ก็จะประกอบไปด้วย

  1. หลอด 55% 
  2. ซอง 29%
  3. กระป๋อง 15%
  4. ขวด/หลอดกด 1%
  5. กระปุก <1%
  6. แคปซูล <1%
  7. แกลลอน <1%

และในส่วนที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ

  1. หลอด 66% 
  2. ซอง 23%
  3. แกลลอน 4%
  4. กระป๋อง 2%
  5. ขวด/หลอดกด 1%
  6. กระปุก <1%
  7. แคปซูล <1%

จากข้อมูลจะเห็นว่า Packaging ที่เป็นที่นิยมทั้งในมุมของแบรนด์ในตลาดและความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดคือ แบบหลอดและซอง นอกจากนี้อีกหนึ่งประเภทที่น่าสนใจคือ แบบแกลอน ที่ถึงแม้การพูดถึงจะค่อนข้างน้อย แต่กลับได้รับความสนใจค่อนข้างมาก เราจะมาเจาะลง Packaing แต่ละประเภทว่าจะมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยขอเริ่มจากประเภทแบบหลอด ที่ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะด้วยความสะดวกสบายทั้งด้านการใช้งานและการพกพา ซึ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็วและความสะดวกสบาย

Data ครีมกันแดด

และบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความมาเป็นอันดับ 2 ก็คือ แบบซองที่เน้นความคุ้มค่า พกพาง่าย นอกจากนี้ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ยังเป็นเหมือน Testing ของผู้บริโภคอีกด้วย

Data ครีมกันแดด

กระป๋อง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีไว้เพื่อสำหรับครีมกันแดดประเภทสเปรย์ ทำให้ลักษณะตัวเลขทั้งในแง่ของการพูดถึงและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคแปรผันตามกับประเภทครีมกันแดดแบบสเปรย์

Data ครีมกันแดด

ในส่วนของประเภท ขวดหรือหลอดกด จะมีความพิเศษคือมีหัวปั้มที่สามารถกดได้ ทำให้ผู้บริโภคสามารถกำหนดปริมาณในการใช้ครีมกันแดดต่อครั้งได้ค่อนข้างดี ซึ่งมักจะเห็นบ่อยในครีมกันแดดสำหรับผิวกาย

Data ครีมกันแดด

กระปุก เป็นอีกหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับความหรูหรามากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเห็นปริมาณของครีมกันแดดได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับการใช้ร่วมกับครีมกันแดดมากนัก

Data ครีมกันแดด

แคปซูล เป็นอีกหนึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ค่อนข้างแตกต่างโดยเฉพาะครีมกันแดด นอกจากนี้ยังพบแค่แบรนด์ GRAVICH ที่ใช้ลักษณะบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ 

Data ครีมกันแดด

อีกหนึ่งบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ แบบแกลอน ที่ถึงแม้ว่าอาจจะไม่เป็นที่พูดถึงมากนัก แต่ในแง่ความสนใจของผู้บริโภคกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับปริมาณมากและความคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในขณะที่เศรษฐกิจกำลังหดตัว

โดยภาพรวมผู้บริโภคก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องของความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องของ “ความคุ้มค่า” และ “การประหยัดค่าใช้จ่าย” ซึ่งเห็นได้จากบรรจุภัณฑ์ประเภทซองและแกลอนที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

Data ครีมกันแดด

ในหัวข้อนี้เราจะมาดูกันว่าครีมกันแดดในตลาดใช้กับส่วนใหนบนร่างกายมากที่สุด ซึ่งส่วนที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือผิวหน้า 90% รองลงมาคือ ผิวกาย 10% และ ทาได้ทั้งหน้าและตัวน้อยกว่า 1% ที่น่าสนใจคือกันแดดสำหรับทาตัวและหน้ามีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจมากขึ้น เราลงมาเจาะในแต่ละส่วนไปพร้อมกันเลยครับ

Data ครีมกันแดด

อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า จากการทำข้อมูลครีมกันแดดโดยส่วนใหญ่จะเป็นครีมกันแดดสำหรับผิวหน้า ซึ่งมีสัดส่วนที่มากที่สุด ดังนั้นเรามาเจาะลึกอีกนิดว่าแบรนด์ครีมกันแดดในตลาดปัจจุบัน จะเน้นไปที่กลุ่มผิวแบบไหนได้บ้าง โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มลักษณะผิวและปัญหาผิวที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ดังนี้

Data ครีมกันแดด

โดยขอเริ่มจากประเภทของผิวหน้า ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ ผิวมัน 12%, ผิวแห้ง 12% และผิวผสม 3% โดยจากข้อมูลจะเห็นว่าสัดส่วนครีมกันแดดที่ตอบสนองความต้องการกลุ่มผิวมันและผิวแห้งมีความใกล้เคียงกัน แต่ถ้ามองในฝั่งของการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคจะพบว่ากลุ่มผิวมันเป็นที่สนใจมากกว่า

Data ครีมกันแดด

นอกจากประเภทผิวแล้ว แบรนด์ต่าง ๆ ก็ยังมุ่งเจาะไปที่ปัญหาผิวที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ผิวแพ้ง่าย 45%, เป็นสิว 22% และ ผิวบอบบาง 6% ซึ่งจะเห็นว่าปัญที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุดคือ “การแพ้” ทำให้ครีมกันแดดที่มีความอ่อนโยนมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในคนกลุ่มนี้

นอกจากนี้เรื่องของสิว ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้บริโภคให้ความสนใจด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหานี้เองก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 บริบทคือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของครีมกันแดด และ คนที่เป็นสิวแต่ต้องการครีมกันแดดที่ช่วยลดปัญหาสิวนั่นเอง

จากภาพรวมจะเห็นว่าแบรนด์ครีมกันแดดไม่ได้กำหนดกลุ่มลูกค้าจากลักษณะของผิวอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างที่สามารถนำไปสู่แก้ปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นด้วย

ในส่วนของครีมกันแดดทาตัว ต้องยอมรับว่าการสื่อสารของแบรนด์โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับครีมกันแดดทาหน้า นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีการพูดถึงปัญหาผิวกาย แต่จะเน้นไปที่คุณสมบัติของครีมกันแดดมากกว่า

และในส่วนสุดท้ายอย่างครีมกันแดดที่ทาได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย ที่ถึงแม้ว่าการพูดถึงจะยังไม่มากนัก แต่เราก็พอจะเห็นถึงแนวโน้มความต้องการในลักษณะ 2 in 1 มากขึ้น ดังนั้นสำหรับครีมกันแดดในลักษณะนี้ก็จะตอบโจทย์คนที่ต้องการความสะดวกในการใช้งานแบบครบจบในหลอดเดียว

ในหัวข้อนี้เราจะมาลงลึกกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดของแบรนด์ครีมกันแดดในตลาด โดยจากข้อมูลจะพบว่ามีสัดส่วนแต่ละกลยุทธ์ดังนี้

  1. Sale Promotion (กลยุทธ์ในการส่งเสริมการขาย เช่น ลด แลก แจก แถม) 57% 
  2. Content Creators (การจ้างคนทำ Content เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าและแบรนด์)39%
  3. Influencer 3% (การจ้างคนในลักษณะของพรีเซนเตอร์)

และในฝั่งของการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภค

  1. Content Creators 95% 
  2. Influencer 2%
  3. Sale Promotion 3%

จากข้อมูลจะเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่เน้นการ Sale Promotion 57% รองลงมาคือการใช้ Content Creators และการใช้ Influencer ในลักษณะของพรีเซนเตอร์ 3% แต่ที่น่าสนใจคือ Content Creators กลับได้รับความสนใจมาเป็นอันดับหนึ่งที่ 95% ซึ่งเกือบจะเป็นสัดส่วนทั้งหมด เราลองมาเจาะลึกกันดีกว่าว่าแต่ละกลยุทธ์จะมีความน่าสนใจอะไรบ้าง

โดยขอเริ่มจากกลยุทธ์ในการส่งเสริมการขายหรือ Sale Promotion จะเห็นว่ามีกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่แบรนด์เลือกใช้ ดังนั้นเรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

ขอเริ่มจากการใช้ส่วนลด โดยเป็นที่นิยมทั้งในมุมมองของแบรนด์และผู้บริโภค ด้วยกลยุทธ์นี้สามารถดึงดูดผู้บริโภคที่เน้นในเรื่องของราคาและความคุ้มค่า นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับกลยุทธ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย 

อย่างไรก็ตามแบรนด์ต้องระวังการใช้ส่วนลดที่มากเกินไป เพราะมันอาจนำไปสู่การทำสงครามราคา และผลกระทบด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์

Bundle หรือการขายแบบแพ็คคู่ เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นิยมทั้งจากทางฝั่งแบรนด์และการตอบรับจากผู้บริโภค โดยกลยุทธ์นี้จะเน้นไปที่การขายสินค้าแบบแพ็คคู่ในราคาชิ้นเดียว นอกจากนี้ก็ยังสามารถนำการใช้ส่วนลดมาประยุกต์ใช้ได้ด้วยเช่นกัน อย่างการซื้อแพ็คคู่ที่ราคาอาจจะลดลง 20% เป็นต้น

การแถม ก็ยังเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมอยู่เช่นกัน ซึ่งลักษณะการแถมก็จะมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแถมของแถม การแถมสินค้าชนิดเดียวกัน หรือการแถมสินค้าชนิดอื่นในเครือแบรนด์เดียวกันเป็นต้น

การจัดส่งฟรี เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยลดอุปสรรคในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ที่ความสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ Promotion อื่น ๆ ได้อีกด้วย

และสุดท้ายการขายเเบบเป็นเซ็ต เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยในการ Up-Selling ได้ง่ายขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความคุ้มในการซื้อนั่นเอง

ในส่วนของการทำ Sale Promotion สำหรับตลาดครีมกันแดดก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่แบรนด์ต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะบางครั้งการที่ทำโปรโมชันมากเกินไปอาจจส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค อย่างการซื้อเฉพาะเมื่อมีโปรโมชั่น เป็นต้น

ในส่วนถัดไปจะเป็นในเรื่องของ Content Creators ที่แต่ละแบรนด์ในตลาดครีมกันแดดเลือกใช้ รวมไปถึง Content Creator ที่มีการพูดถึงหรือใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดจากแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. สายรีวิว 40%
  2. Lifestyle 28%
  3. KOLs 13%
  4. Beauty Blogger 10%
  5. สายความรู้ 5%
  6. เจ้าของแบรนด์ 2%
  7. ขายของออนไลน์ 2%

และฝั่งการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภค

  1. KOLs 38%
  2. Lifestyle 34%
  3. สายรีวิว 11%
  4. สายความรู้ 8%
  5. Beauty Blogger 6%
  6. เจ้าของแบรนด์ 2%
  7. ขายของออนไลน์ 2%

จากข้อมูลจะเห็นว่าสายรีวิวมาเป็นอันดับหนึ่งที่ 40% รองลงมาคือสาย Lifestyle 28% และ KOLs 13% แต่ที่น่าสนใจคือผู้บริโภคให้ความสนใจกับ KOLs และ Lifestyle ค่อนข้างมากและมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เรามาเจาะลึก Content Creators แต่ละประเภทจะมีลักษณะพิเศษอย่างไร และมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยขอเริ่มจากสายรีวิว ซึ่งในกลุ่มนี้จะเน้นเนื้อหาไปที่การพูดถึงผลิตภัณฑ์ในลักษณะของการบอกต่อ อย่างการบอกประโยชน์ของสินค้า แต่ยังคงไว้ซึ่ง Keyword ที่แบรนด์ต้องการ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกลุ่มที่ทดลองใช้สินค้าจริง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มที่ทำ Affiliate

การที่คนกลุ่มนี้ได้รับความนิยม เพราะแบรนด์สามารถที่จะควบคุมเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะสื่อสารออกไปได้ รวมไปถึงหากมีการทดลองจริงเบื้องต้น ที่ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นผลลัพธ์ในระยะยาว มันก็เพียงพอที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ระดับหนึ่งนั่นเอง

กลุ่มต่อมาคือ Lifestyle ซึ่งจุดดเด่นของคุณกลุ่มนี้คือ ลักษณะของ Content จะสะท้อนตัวตนของตัวเอง หรือง่าย ๆ ก็คือทุกคนต่างมีแกนหลักและเรื่องราวใน Content ของตัวเอง แต่มีการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดเข้ามาอยู่ในเรื่องราวและมีความสอดคล้องไปด้วยกัน ทำให้การสื่อสารแบรนด์ หรือ ผลิตภัณฑ์เรียบเนียนไปกับเรื่องราวของ Content Creators 

ซึ่งการที่คนกลุ่มนี้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้มากถึง 34% และเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคต่างก็มองหาจุดร่วมประสบการณ์ของคนอื่นที่มีความคล้ายกัน ดังนั้นการที่ผู้บริโภคเห็นคนที่มี Lifetyle หรือเจอปัญหาเดียวกันกับตนเอง ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่คนกลุ่มนั้นบอกต่อนั่นเอง

อีกหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจคือกลุ่มของ KOLs ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในวงการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ และมีความรู้ในด้านส่วนผสมครีมกันแดด หรือด้านผิวหนัง ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับครีมกันแดด

ซึ่งการที่ KOLs ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง ที่มีสัดส่วนมากถึง 38% ก็เป็นตอกย้ำและสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรู้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะ Content ของคนกลุ่มนี้จะเน้นไปที่ความรู้และข้อเท็จจริงเป็นหลัก

ในส่วนของกลุ่ม Beauty Blogger ที่คาดว่าน่าจะมาเป็นอันดับต้น ๆ แต่กลับได้รับความสนใจที่ค่อนข้างน้อย เพราะอาจด้วย Content ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การ Make-up ในขณะที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในประเด็นเชิงข้อมูลเกี่ยวกับตัวครีมกันแดด แต่อย่างไรก็ตามหากแบรนด์สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์การใช้งานครีมกันแดดร่วมกับ Beauty Product ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตลาดได้ด้วยเช่นกัน

สายความรู้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพจที่ให้ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับครีมกันแด ซึ่งไม่จำกัดอยู่กับแค่ความรู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งอาจจะมี Content ประเเภทอื่นด้วย โดย Content Creators กลุ่มนี้ก็จะมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่า KOLs แต่ก็ยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้เหมือนกัน

คนขายของออนไลน์ ซึ่งกลุ่มนี้อาจมีความไม่ได้ดูเป็น Content Creators ขนาดนั้น แต่หากมองในมุมของเนื้อหาของการสื่อสาร ก็จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้เองก็สร้างเนื้อหาอย่างการพูดไลฟ์ขายสดในการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นพ่อค้า แม่ค้า หรือร้านค้าออนไลน์ ที่เป็นเหมือนคนกลางในการกระจายสินค้านั่นเอง

และกลุ่มสุดท้ายที่น่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือ กลุ่มเจ้าของแบรนด์ ที่ถึงแม้ว่าในฝั่งของการถูกพูดถึงและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่มีสัดส่วนค่อนข้างน้อย เพราะต้องยอมรับว่า Content ที่มีเจ้าของแบรนด์สร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เองยังพบไม่มากนัก

แต่อย่างไรก็ตาม Content Creators ที่เป็นเจ้าของแบรนด์มีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันตัวผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับ Brand Authenthic มากขึ้น หรือก็คือความจริงของแบรนด์

ดังนั้นการที่เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยการทำให้ตัวเองเป็นหมือน Content Creators ก็จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ได้มากขึ้น และนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อนั่นเอง

และอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการใช้บุคคลที่มีอิทธิพลอย่าง Content Creators ก็ยังมีการใช้ในลักษณะของ Influencer ในรูปแบบพรีเซ็นเตอร์ ที่ถึงแม้ว่ากลยุทธ์นี้จะมาเป็นอันดับสุดท้ายเมือเทียบกับ 2 กลยุทธ์ก่อนหน้า แต่หากมองในแง่ของการสร้างภาพลักษณ์และการเพิ่มยอดขาย ก็ยังเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

ในหัวข้อนี้ก็จะเป็นในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 ช่องทางหลักคือ Online และ Offline ซึ่งเราจะมาเจาะในแต่ละช่องทางกันว่าจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยส่วนใหญ่ครีมกันแดดถูกจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  1. TikTok 37%
  2. Shopee 26%
  3. Line 14%
  4. Lazada 11%
  5. Facebook 5%
  6. Eveandboy 4%
  7. Konvy 2%
  8. X 1%

และในส่วนของความสนใจของผู้บริโภคในแต่ละช่องทาง

  1. Shopee 21%
  2. Lazada 21%
  3. Konvy 16%
  4. Eveandboy 15%
  5. TikTok 13%
  6. Facebook 7%
  7. Line 7%
  8. X < 1%

จากข้อมูลจะเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่ก็เข้ามาทำตลาดใน TikTok แล้ว ซึ่งรวมไปถึงลักษณะของการทำ Affiliate ด้วยเหมือนกัน แต่ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์ในลักษณะที่เป็น E-commerce ค่อนข้างได้รับความสนใจมากว่า แพลตฟอร์ที่เป็น Social Media เรามาลงเจาะลึกว่าแต่ละช่องทางจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยขอเริ่มจาก TikTok Shop ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางการซื้อครีมกันแดดที่ถูกพูดถึงมากที่สุด เพราะเป็นช่องทางหลักในการเปิดช่องของตัวเอง การจ้างรีวิว และการทำ Affiliate นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นช่องทางในการสร้าง Content ที่ผสมผสานการขายและความบันเทิงได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

Lazada และ Shopee เป็นแพลตฟอร์ม E-marketplace ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะจากทางฝั่งผู้บริโภค ซึ่งจะเห็นจากสัดส่วนความสนใจที่มาเป็นอันดับต้น ๆ 

Line หรือ Line Shopping เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ โดยเฉพาะแบรนด์ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการขายแบบออนไลน์ได้

Facebook ยังคงเป็นช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสารของแบรนด์ที่ต้องการส่งมอบ Content ต่าง ๆ ไปยังผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการขายครีมกันแดดได้

Eveandboy และ Konvy เป็นช่องในลักษณะของ Online Retail ที่นำสินค้าของแบรนด์อื่นมาขาย ซึ่งต่างจาก E-Marketplace ที่เป็นเหมือน Area ให้แบรนด์มาตั้งร้าน แต่ Konvy จะมีความจะมีลักษณะพิเศษคือการเป็น Hybrid Model ที่มีทั้งการขายสินค้าเองและเปิดพื้นที่ให้แบรนด์ต่าง ๆ มาขายสินค้า

ดังนั้นการกำหนดกลยุทธ์ราคาหรือโปรโมชั่น จึงขึ้นอยู่กับตัวกลาง โดยทั้ง 2 แพลตฟอร์มต่างก็มีความเฉพาะเจาะจงในตัวสินค้าที่นำมาขาย โดยจะอยู่ในหมวดหมู่ของ สกินแคร์ บิวตี้ สุขภัณฑ์ เป็นต้น

และสุดท้าย X เป็นช่องทางที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุดทั้งจากฝั่งแบรนด์ และผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามช่องทางนี้ก็ยังมีการซื้อขาย แต่จะเป็นในลักษณะของการพรีออเดอร์และกันแดดมือสอง หรือก็คือ การที่ผู้บริโภคนำครีมกันแดดที่ตัวเองใช้แล้วมาขายต่อนั่นเอง

โดยภาพรวมข้อมูลตัวเลข Mention และ Engagement อาจไม่สามารถบอกได้ว่าช่องทางการขายสินค้าช่องทางไหนดีที่สุด แต่หากเราลองจัดหมวดหมูจะพบว่ากลุ่มที่แบรนด์ต่าง ๆ จะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ E-marketplace 37% Retail, Online Retail 6% และ Social Media 57% (รวม Mention แต่ละกลุ่ม)

ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือแบรนด์ครีมกันแดดเลือกใช้ช่องทางที่มีลักษณะเป็นตัวกลางกว่า 43% ที่มักจะควบคุมข้อมูลสำคัญเอาไว้เอง อย่างข้อมูลพฤติกรรมการซื้อและรายละเอียดลูกค้า นี่จึงเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในยุคที่ธุรกิจต่างต้องขับเคลื่อนด้วย Data นั่นเอง

ดังนั้น แบรนด์อาจต้องมองหาช่องทางอย่างเว็บไซต์ หรือ Social Media ที่มีลักษณะอย่าง Social Commerce เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ Data-Driven Marketing ก็จะช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Offline ที่แบรนด์เลือกใช้ก็จะประกอบไปด้วย

  1. 7-11 27%
  2. Watson 26%
  3. Eveandboy 25%
  4. Beautrium 16%
  5. Big C 5%
  6. Matsumoto 1%
  7. Sephora <1%
  8. Lotus <1%
  9. Boots <1%

และฝั่งความสนใจของผู้บริโภค

  1. Eveandboy 42%
  2. Beautrium 42%
  3. 7-11 11%
  4. Watson 4%
  5. Big C 1%
  6. Boots <1%
  7. Lotus <1%
  8. Matsumoto <1%
  9. Sephora <1%

จากข้อมูลจะเห็นเลยรูปแบบการจัดจำหน่ายผ่านช่องทาง Offline เป็นในลักษณะของการผ่านตัวกลางทั้งหมด โดยเราจะมาเจาะกันว่าลักษณะของตัวกลางเ้หล่านี้จะมีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยของเริ่มจาก 7-11 ซึ่งเป็นลักษณะของ Convenience Store หรือร้านสะดวกซื้อ ที่เน้นความสะดวกสบายในการเข้าถึงสินค้า เหมาะกับการขายครีมกันแดดที่มีราคาย่อมเยา โดยเฉพาะในรูปแบบซองหรือหลอดขนาดเล็ก

Watson และ Boots เป็นตัวกลางที่มีความเฉพาะเจาะจงที่เป็นร้านขายเครื่องสำอางที่มีลักษณะเป็นร้านขายยาด้วยเช่นกัน ซึ่งการที่แบรนด์ได้ไปวางสินค้าบนเชลฟ์ที่ร้านเหล่านี้ ก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้

Eveandboy, Beautrium, Matsumoto และ Sephora ก็เป็นกลุ่มตัวกลางที่มีความเฉพาะเจาะจง และค่อนข้างจะ Specialty ที่โดดเด่นในเรื่องมีความเป็นร้าน Beauty และ Skincare 

Big C และ Lotus จะเป็นลักษณะของ Supermarket ซึ้งมีความหลากหลายมากกว่า ร้านแบบ Specialty ทำให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย

โดยภาพรวมเราจะเห็นว่าช่องทางการขายแบบ Offline ทั้งหมดเป็นลักษณะตัวกลางในการกระจายสินค้า นั้นก็คือการที่แบรนด์ขายสินค้าให้กับตัวกลาง จากนั้นตัวกลางก็จะนำสินค้าไปขายต่อโดยที่สามารถกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลลูกค้าโดยที่แบรนด์ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ 

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการผลักดันให้เกิด Omni-channel ที่ผสานรวมทั้ง 2 ช่องทาง ให้แบรนด์สามารถ สร้างจุดเชื่อมต่อกับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Loyalty Program, ระบบสมาชิก หรือการใช้ Data Analytics เพื่อเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ลึกขึ้น 

การบูรณาการช่องทาง Offline และ Online เข้าด้วยกัน จะช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ และลดการพึ่งพาตัวกลางมากเกินไปอีกด้วย

ในหัวข้อนี้จะเป็นช่วงราคาของครีมกันแดด ซึ่งจะอ้างอิงแค่เฉพาะราคาบน Online Platform เท่านั้น ซึ่งราคาครีมกันแดดในตลาดส่วนใหญ่ก็มีดังนี้

  1. ต่ำกว่า 300 บาท 44%
  2. 301-500 บาท 30%
  3. 701-900 บาท 9%
  4. 501-700 บาท 8%
  5. มากกว่า 1101 บาท 5%
  6. 901-1100 บาท 4%

และในฝั่งความสนใจจากผู้บริโภค

  1. ต่ำกว่า 300 บาท 98%
  2. 301-500 บาท 2%
  3. 701-900 บาท <1%
  4. 501-700 บาท <1%
  5. มากกว่า 1101 บาท <1%
  6. 901-1100 บาท <1%

จากข้อมูลเราจะเห็นถึงการแปรผกผันของราคาที่ต่ำลง จะได้รับความสนใจที่มากขึ้นจากผู้บริโภค โดยเฉพาะราคาในช่วงที่ต่ำกว่า 300 บาท ที่มีสัดส่วนความสนใจจากผู้บริโภคมากถึง 98% สะท้อนให้เห็นว่าราคามีส่วนต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ แต่ละช่วงราคายังรวมราคาที่เกิดจากการทำ Sale Promotion ด้วย ดังนั้นแบรนด์ก็สามารถที่จะกำหนดราคาที่สูงกว่านี้แล้วใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายเข้ามาช่วยกระตุ้นยอดขายได้ในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้เองก็คงไม่สามารถสะท้อนได้ทั้งหมดว่าครีมกันแดดที่ราคาสูงจะขายไม่ได้ แต่แบรนด์ต้องแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าที่ไม่ใช่มาจากราคาต่ำ แต่เป็นความคุ้มค่าที่เกิดจากประสบการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับ ไม่ว่าจะผ่านส่วนผสม บรรจุภัณฑ์ หรือบริการอื่น ๆ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามันคุ้มค่าที่จะยอมจ่าย

โดยในหัวข้อนี้จะพูดถึงประเด็นข้อกังวล ข้อสงสัย หรือปัญหาของผู้บริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับครีมกันแดด ซึ่งจะประกอบไปด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. สิว 87%
  2. ผิวหมอง 4%
  3. ริ้วรอย 4%
  4. ไหม้แดด 3%
  5. ติดเหลือง 1%
  6. แก่ 1%

และประเด็นที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค

  1. สิว 92%
  2. ติดเหลือง 6%
  3. ผิวหมอง 1%
  4. ริ้วรอย 1%
  5. ไหม้แดด <1%
  6. แก่ <1%

จากข้อมูลจะเห็นว่าปัญหาสิวเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและค่อนข้างได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง 92% และที่น่าสนใจคือ ประเด็นติดเหลืองที่การพูดถึงค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเด็นอื่น แต่กลับได้รับความสนใจมาเป็นอันดับ 2 ที่ 6% เรามาลงเจาะลึกในแต่ละประเด็นว่จะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

โดยขอเริ่มจากปัญหาสิวเป็นอันดับแรก โดยปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลของผู้บริโภคว่าถ้าใช้ครีมกันแดดไปแล้วจะเกิดการอุดตันหรือไหมโดยเฉพาะคนที่มีลักษณะผิวมัน รวมไปถึงวิธีในการรักษาสิวด้วย

ปัญหาต่อมาคือ ผิวหมองคล้ำ ซึ่งมีการพูดถึงทั้งในแง่ของต้องการป้องกันผิวหมองด้วยการทากันแดด แต่ก็ไม่ได้ผล และการบำรุงหลังจากที่ผิวหมองไปแล้ว

ปัญหาริ้วรอย และผิวที่ดูแก่ก่อนวัย มักจะถูกพูดถึงในเชิงการใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นลักษณะของ Routine ที่ผุ้บริโภคให้ความสำคัญ

ปัญหาไหม้แดด จะมีลักษณะคล้ายกับการหมองคล้ำ แต่จะเน้นไปที่ความกังวลในประสิทธิภาพการป้องกันของครีมกันแดด

และสุดท้าย ปัญหาติดเหลือง ซึ่งเป็นปัญหาที่คนให้ความสนใจมาเป็นอันดับ 2 และส่วนใหย่ก็เกิดจากครีมกันแดดทาผิวตัว ที่พาทาครีมและใส่เสื้อผ้าก็มักจะเกิดคราบเหลืองตามบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะคอเสื้อ ที่เป็นบริเวณติดกับคอซึ่งเป็นส่วนที่คนทั่วไปมักจะทาครีมกันแดดนั่นเอง

Highlight Recap

  • ราคาไม่แพงเกินไปและ “ความคุ้มค่า” คือปัจจัยสำคัญ แต่ถ้าแบรนด์สื่อสารถึงคุณสมบัติที่แตกต่างและวาง Positioning ชัด ก็สามารถขายในราคาสูงขึ้นได้
  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทั้งเรื่องค่าปกป้อง (SPF/PA) และส่วนผสมที่ช่วยบำรุง ดังนั้นแบรนด์ต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อแสดงถึงความจริงใจและความซื่อสัตย์
  • การตลาดครีมกันแดดยังคงแข่งสูงในโลกออนไลน์ จึงต้องใช้กลยุทธ์การขายและการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Influencer, Content รีวิว และโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับรายงานฉบับนี้ เจาะลึก Data ครีมกันแดด จาก Social Listening โปรเจคแจกดาต้าฟรีเพื่อยกระดับธุรกิจความสวยความงามและอาหารเสริม โดยการตลาดวันละตอน x Revomed Group ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความสวยความงามคุณภาพดีให้กับแบรนด์ดังมากมาย

หากใครสนใจอยากมีแบรนด์สินค้าความสวยความงาม หรืออาหารเสริมของตัวเอง สามารถติดต่อ Revomed Group ได้ที่

ส่วนใครอยากดู Data Sunscreen Report 2025 รายงานเจาะลึกครีมกันแดดแบบเต็ม ๆ สามารถดูได้ที่ด้านล่าง หรือถ้าอยากดาวน์โหลด ก็สามารถลงทะเบียนได้ที่ลิงก์นี้ครับ > https://bit.ly/DataSunscreenEverydayMarketingxRevomedGroup

หากสนใจอยากผลิตครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ความสวยความงามคุณภาพดี สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ Revomed Group ตรงจากลิงก์นี้ครับ https://www.revomed.co.th/

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

สวัสดีครับ ชื่อดิวนะครับ จะพยายามนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้เขียนบทความดี ๆ ให้กับทุกคนครับ *_*

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *