Data Research Insight สำรวจจักรวาลสเต๊ก by Social Listening

Data Research Insight สำรวจจักรวาล สเต๊ก by Social Listening แม้ในบทความนี้จะเป็นเมนูต่างชาติแต่รับรองว่าดูจากการพูดถึงในโซเชียลแล้ว ถือว่าได้ใจคนไทยไปไม่น้อยเลยค่ะ โดยเมนูสเต๊กนี้ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่มีหลากหลายเมนูผ่านมาแล้วทั้ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ดังนั้นอยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับในบทความนี้เราจะมาเจาะ Data Research Insight สเต๊ก เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการทานกันมากขึ้น คนไทยชอบสเต๊กที่ทำจากเนื้อสัตว์อะไร ใส่ซอสราดแบบไหน ร้านเด็ดร้านดังที่มีการพูดถึงมากที่สุด และรูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เราจะพามาวัดจากกระแสบนออนไลน์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยในหลาย ๆ แง่มุมค่ะ

โดยเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data สเต๊ก คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่

ซึ่งโปรเจค #​Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro ,LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้เลย ^^

เกริ่นมาเยอะแล้ว ถ้าพร้อมทาน เอ้ย พร้อมอ่านแล้ว ก็ตามมาได้เลยค่ะ~

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ สเต๊ก และ สเต็ก เพราะเป็นคำที่จะสื่อถึงเมนูและโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสเต๊ก ทั้งในรูปแบบที่คนพิมพ์ถูกและพิมพ์ผิดนั่นเองค่ะ รวมถึง Steak ภาษาอังกฤษ เพื่อดูบริบทได้ครอบคลุมมายิ่งขึ้น

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/10/2023 – 31/03/2024 หรือประมาณ 6 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 16,765 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

STEP 3 Cleansing Data

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป อย่างคำว่า สเต๊ก นั้นอาจหมายถึงสิ่งอื่น ๆ หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ เช่น คนมักใช้คำว่าสเต๊กหรือสเต็ก แทนการบอกว่าคนนี้ตรง ‘สเป็ค’ เลย เป็นต้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงการทำสเต๊กแบบไหน ใช้เนื้อสัตว์อะไร ราดซอสอะไรกันบ้าง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ Insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านสเต๊กนั่นเองค่ะ

ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ Insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ

Data Research steak 1

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions จำนวนโพสต์ จำนวนคอมเมนต์ ที่มีคีย์เวิร์ด) – สำหรับสัดส่วนการพูดถึงสเต๊ก จะอยู่บนเพจ Facebook มากที่สุด ตามมาด้วย IG Youtube TikTok และ X(Twitter) ตามลำดับค่ะ โดยรูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรีวิวร้านเด็ดร้านดัง การสอนทำเมนูสเต๊กต่าง ๆ รวมถึงโฆษณาจากแบรนด์ร้านสเต๊ก

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – สำหรับการนับรวมยอดวิวบน YouTube ส่งผลให้สัดส่วน Engagement ของ Youtube มีสัดส่วนมากถึง 91% ทั้งนี้เพราะคอนเทนต์สอนทำสเต๊ก แจกสูตร รวมถึงคอนเทนต์ให้ความรู้ในการทำอาหารเมนูเกี่ยวกับสเต๊ก เป็นต้น

Data Research steak 2

การมีส่วนร่วมแบบไม่นับรวมยอดวิว (Engagement ignore view) – หากย้อนขึ้นไปดูกราฟวงกลมขวาสุด ในภาพด้านบนก่อนหน้านี้ ทุกคนจะเห็นว่าแม้ผู้เขียนจะทำการ Ignore Youtube View หรือไม่นับรวมยอดวิวแล้วก็ตาม แต่ Youtube ก็ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงจริง ๆ ค่ะ

โดยคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจและได้ยอดไลค์สูง จะเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้ความรู้ในการทำสเต๊ก จากช่องเนิร์ดเนื้อ และยังมี Influencer หรือดาราที่รีวิวแบรนด์ร้านสเต๊กด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับมุมมองแบบ​ Timeline ทำให้เห็นว่านอกจาก Youtube ก็ยังมี IG Facebook และ TikTok ที่มีสัดส่วนมาแรงและเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพมากเช่นกัน คนให้ความสนใจกับเมนูสเต๊กกันมาก ทั้งนี้รูปแบบคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่เจอก็จะเป็นการไปรีวิวร้านเด็ดร้านดัง การแจกสูตรและสอนทำสเต๊ก รวมถึงคอนเทนต์จากแบรนด์ร้านสเต๊กต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวในโซเชียล เป็นต้น

ดังนั้นทุกคนอาจจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่านอกเหนือจากคอนเทนต์รีวิวร้านเด็ด หรือการแจกสูตรสอนทำสเต๊กต่าง ๆ คนก็ให้ความสำคัญกับการหาความรู้ใหม่ ๆ ในการทำอาหารเช่นกัน ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นไอเดียในการต่อยอดการทำคอนเทนต์ของธุรกิจตัวเองกันได้นะคะ เสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเมนูสเต๊กเพิ่มขึ้นบ้าง ให้คนดูเข้าใจและนำไปทำตามได้เองง่าย ๆ

Data Research steak 3

สำหรับ Hashtag & Word Cloud ภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงบริบทของการปักหมุดรีวิวร้านอร่อย, แบรนด์ร้านสเต๊ก รวมถึงเทรนด์สุขภาพก็มาเช่นกัน ที่คนมักนำสเต๊กมาประยุกต์เป็นเมนูอาหารคลีนที่มีโปรตีนสูง

Data Research steak 4

มาดูในส่วนของ Top post กันบ้างว่าในแต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์อะไรอะไรมาแรงที่สุด

Facebook – รีวิว คาเฟ่ ทุกวัน รีวิว Pork Chop Steak ร้านบ้านยายเวียง

Twitter – @tamjaichunbkk รีวิว japanese pork hamburg steak ร้าน mamafu

Instagram – charliepotjes แน็กชาลีรีวิวร้าน Santa Fe

TikTok – bankiii ทำ thai tomahawk steak

YouTube – เนิร์ดเนื้อ แชร์ความรู้การย่างเนื้อ

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

Data Research steak 5

ก่อนจะเข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ เรามาเริ่มที่การดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่าชาวโซเชียลสะกดคำว่า ‘สเต๊ก’ กันยังไงบ้าง โดย 75% ใช้คำว่า ‘สเต็ก’ ที่สะกดด้วยไม้ไต่คู้ ในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่ง ซึ่งแม้ทุกคน(รวมถึงผู้เขียน)ก็ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับการสะกดในรูปแบบนี้ แต่ความจริงแล้ว…

‘สเต๊ก’ ต้องสะกดแบบใช้ไม้ตรี จึงจะเป็นการสะกดคำว่า ‘สเต๊ก’ ที่ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานค่ะ โดยมีเพียง 25% ที่สะกดถูกต้อง

ทั้งนี้เราอาจจะนำไปพิจารณาในการทำคอนเทนต์ SEO ของธุรกิจตัวเองกันต่อไปค่ะว่าควรจะใช้คำที่คนมีการพูดถึงและค้นหามากกว่าหรือเปล่า

Data Research steak 6

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่าเมื่อแบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราจะเจออะไรกันบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงสเต๊ก จัดเป็น 4 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้เรียงจากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการเล่าค่ะ

  1. เนื้อสัตว์ที่ใช้ทำสเต๊ก 58%
  2. ซอสราดสเต๊ก 9%
  3. เครื่องเคียงเมนูสเต๊ก 13%
  4. แบรนด์ร้านสเต๊ก 20%

เรามาเจาะดูกันทีละหัวข้อกันเลยค่ะ

Data Research steak 7

สำหรับ Top 4 เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาใช้ทำสเต็กและมีคนพูดถึงในสัดส่วนที่มากเลยนั่นก็คือ ‘เนื้อ’ นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ทว่าจะใช้เนื้อส่วนไหน จากการพูดถึงในโซเชียลก็ค่อนข้างมีความหลากหลายค่ะ แทบจะเจอเนื้อในทุกส่วน แล้วแต่เมนูของแต่ละร้านและความชอบของแต่ละคน

แต่โดยบริบทส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงจะเป็นคอนเทนต์รีวิวร้านอร่อย อย่างร้านตุ๊กแกอวกาศ ที่โด่งดังตั้งแต่การตั้งชื่อร้านได้มีความแปลก เรียกความสนใจได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีรีวิวมากมายว่าเป็นร้านที่สเต๊กเนื้อดีมาก อร่อย และเมนูมีความหลากหลาย

รวมถึงเจอบริบทและโพสต์ที่มีไอเดียน่าสนใจจากร้าน AantArm Cafe กับการนำสเต๊กเนื้อ โดยใช้ส่วนสันใน ที่มีความหนานุ่ม ฉ่ำ มาประยุกต์ทำเป็นไส้ของเมนูแซนวิชด้วยนั่นเอง

Data Research steak 8

โดย Top Post ของ ‘เนื้อ’ จะมาจากช่องมีนาคม ที่ทำคอนเทนต์ทำอาหารและหาวัตถุดิบราคาถูก vs แพง เปรียบเทียบราคากัน ในเมนูสเต็กเนื้อ เพราะเกิดจากความสงสัยของเจ้าของช่องที่ว่าถ้าคนที่มีไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตที่ต่างกัน มาลองทำเมนูเดียวกัน ผลลัพธ์จะต่างกันแค่ไหน ซึ่งคนให้ความสนใจกับคอนเทนต์รูปแบบนี้กันมาก

ส่วนตัวผู้เขียนก็มีมุมมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน เพราะทำให้คนเห็นตั้งแต่การสรรหาและเลือกซื้อวัตถุดิบตามความต้องการและกำลังทรัพย์ที่มี รวมถึงสูตรและวิธีการปรุง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้คนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามได้หากคิดจะทำเมนูสเต๊กทาน

@bankhotcup

อร่อยจัดเลยสเต็กหมู เตาร้อนนนนน 99 ขาท พร้อมชุดเตาย่าง เก็บได้นาน 6 เดือน ไม่ต้องแช่เย็น หาซื้อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ สมัครตัวแทนทัก #เตาร้อน #steakbox #สเต็ก #สเต็กไก่พริกไทยดํา #สเต็กหมูพริกไทยดํา #สเต็กเนื้อซอยหม่าล่า

♬ เสียงต้นฉบับ – Kittipong Sukkeha – Kittipong Sukkeha

นอกจากนี้ในอันดับสองคือตามมาด้วยสเต๊กหมู ไก่ และปลา ตามลำดับค่ะ สำหรับสเต๊กหมูก็เจอคอนเทนต์ที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเต๊กหมูซอสพริกไทยดำ ในรูปแบบที่มาพร้อมชุดเตาร้อนย่าง ให้ย่างกินกันได้เลย โดยเก็บได้นาน 6 เดือน ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการประยุกต์เมนูไปอีกชั้น

ทั้งนี้ในส่วนของสเต๊กหมู มักจะเจอเพจหรือช่องที่นิยมนำมาทำเป็น ‘เมนูสำหรับสายคลีน’ ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีโปรตีน และไม่ได้ปรุงรสหนักมาก เช่น หมักพริกไทยดำหรือกระเทียม ทานแบบไม่ได้ราดซอสอะไร และทานคู่กับผักเยอะ ๆ

Data Research steak 9

ต่อมาในส่วนที่คงจะขาดไปไม่ได้ นั่นก็คือซอสราดสเต๊กนั่นเองค่ะ โดยซอสราดสเต๊กที่มีการพูดถึงมากที่สุดมาเป็นอันดับ 1 คือ ‘ซอสพริกไทยดำ’ ตามมาด้วยซอสแจ่ว ซอสเห็ด ซอสเกรวี่ ซอสไวน์ และซอสหมาล่า ตามลำดับค่ะ

โดยบริบทส่วนใหญ่การโพสต์เกี่ยวกับซอสจะเป็นการสอนทำ แจกสูตร และโฆษณาเมนูใหม่ เมนูฮิตของร้านสเต๊ก เช่น ออกซอสใหม่ เป็นต้นค่ะ

Data Research steak 10

อย่างในคลิปนี้ก็จะเป็นการสอนทำสเต๊กไก่ซอสพริกไทยดำให้เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ แชร์สูตรหมักไก่ ให้คนทำกินเองได้อร่อยแบบง่าย ๆ ส่วนตัวผู้เขียนก็คาดไว้อยู่แล้วเช่นกันว่าซอสพริกไทยดำน่าจะมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่าค่อนข้างเข้าได้กับทุก ๆ เนื้อสัตว์ อีกทั้งสำหรับสายกินคลีนแล้วก็สามารถใช้สูตรพริกไทยดำในการหมักเนื้อหรือราดซอสได้เช่นกันค่ะ

ส่วนอันดับสองที่เป็นซอสแจ่ว หากใครได้อ่าน Data Research Insight เรื่องไก่ทอด ก็คงจะเห็นภาพกันแล้วว่าคนไทยรักในการกินแซ่บมากค่ะ แจ่วมักเป็นหนึ่งในซอสราดหรือน้ำจิ้มที่หลาย ๆ คนพูดถึง และหลาย ๆ ร้านก็นำมาใช้เป็นเมนูยอดฮิตเช่นเดียวกัน เพราะเป็นรสชาติที่ถูกปากคนไทยเลยทีเดียวค่ะ

Data Research steak 11

สำหรับเครื่องเคียงสเต๊ก มาเป็นอันดับหนึ่งในสัดส่วนเกือบครึ่งคือ ‘เฟรนช์ฟรายส์’ นั่นเองค่ะ ตามมาด้วยมันบด สลัดผัก ขนมปัง และหอมทอด

โดยบริบทคอนเทนต์ก็จะเป็นการสอนทำ แจกสูตรการทำสเต๊กคู่กับเครื่องเคียงอย่างเฟรนช์ฟรายส์ รวมถึงการรีวิวร้านอร่อย และพูดถึงตัวเครื่องเคียงเฟรนช์ฟรายส์ว่าชอบที่โรย Smoked Paprika ซึ่งหมายถึงนอกจากสเต๊กจะอร่อยแล้ว ยังมีการเพิ่มรสชาติให้เครื่องเคียงด้วยเช่นกัน

Data Research steak 12

โดย Top Post จะมาจากช่อง iamlaos ที่ทำคอนเทนต์การสอนทำ Steak Fries โดยสอนทำสเต๊กเนื้อ Medium Rare เสิร์ฟคู่เฟรนช์ฟรายส์ จากการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน และยิ่งเข้ากันดี เมื่อทานกับซอสมายองเนสผสมเห็ดทรัฟเฟิล

Data Research steak 13

มาถึง Top 7 ร้านสเต๊กที่คนพูดถึงกันในโซเชียล มาเป็นอันดับ 1 เลยคือ Sizzler ในสัดส่วน 38% ตามมาด้วย Santa Fe, สเต็กลุงหยิก, Eat Am Are, เนื้อแท้, ตุ๊กแกอวกาศ และ Fam Time ตามลำดับค่ะ

โดยในบริบทของร้าน Sizzler ทำคอนเทนต์ลงโซเชียลสม่ำเสมอ ทั้งจากเพจของแบรนด์เอง รวมถึงเพจรีวิวต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ยิ่งเวลาที่มีโปรฯ จะได้รับความสนใจสูง อย่างเช่น โปรสเต๊ก 1 แถม 1 และสลัดบาร์ไม่อั้น ซึ่งสลัดบาร์คือแน่นอนว่าเป็นจุดเด่นของร้านมาอย่างยาวนานเลยก็ว่าได้ รวมถึงช่วงออกเมนูใหม่ อย่างเมนูสเต๊กสไตล์ฝรั่งเศสซอสชีสจานร้อน ๆ

@shobproth

พรุ่งนี้พุ่งตัว!! Sizzler 1 แถม 1 ได้สเต๊ก กินสลัดบาร์ไม่อั้นเลย คนละ 150 คุ้มมาก🤩 #ชอบโปร #tiktokพากิน #ลดราคา #ของอร่อยบอกต่อ #Sizzler #สลัดบาร์ไม่อั้น

♬ Exciting and stylish cute song (loop(821518) – Single Origin Music
Data Research steak 14

โดย Top Post จากร้าน Sizzler มาจากช่องของแบรนด์เองอย่าง SizzlerThai กับการเปิดตัว Sizzler Cafe De Paris โดยประเด็นที่พูดถึงก็จะเป็นเรื่องของเมนูใหม่สไตล์ฝรั่งเศส มีเมนูสเต๊กเนื้อแองกัส, ส​เต๊ก​ปลากะพง, ส​เต๊ก​ไก่ ที่สำคัญคือใช้ซอสชีส ใส่เต็มจานร้อน ๆ มาเลยค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยรักการกินชีสมากกกก

ทั้งนี้ทุกคนสังเกตกันไหมคะว่าร้านที่ได้รับการพูดถึงจากคนในโซเชียลกันค่อนข้างมาก เป็นเพราะแบรนด์มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นที่แตกต่างจากร้านอื่น อย่าง Sizzler เรื่องสลัดบาร์ หรือร้านสเต็กลุงหยิกที่เป็นกระแสในโซเชียล ในเรื่องของความใหญ่สะใจ ปริมาณเยอะ เป็นต้น ดังนั้นทุกคนอย่าลืมที่จะหาจุดเด่นที่แตกต่างในแบบฉบับของแบรนด์ตัวเองมาสร้างจุดขายกันนะคะ

สำหรับ TOP 5 Facebook Page

  1. ชีวิตติดรีวิว 88.2K Engagement
  2. Santa Fe’ Steak 46.4K Engagement
  3. ถนัดชิม 35.3K Engagement
  4. SizzlerThai 34K Engagement
  5. Cook Click 26.5K Engagement

TOP 5 Instagram Account 

  1. healthybypraw 817.4K Engagement
  2. charliepotjes 24.3K Engagement
  3. iamlaos 17.7K Engagement
  4. punpromotion 10.8K Engagement
  5. starvingtime 9.9K Engagement

TOP 5 YouTube Channel

  1. เนิร์ดเนื้อ 20M Engagement
  2. SizzlerThai 1.94M Engagement
  3. มีนาคม 1.84M Engagement
  4. ตุ๊กแกอวกาศ 853K Engagement
  5. Sauce Channel 733K Engagement

TOP 5 TikTok Account

  1. bankiii 218.9K Engagement
  2. nuatair 97.5K Engagement
  3. charliepotjes 72.7K Engagement
  4. speedfoods_channel 56.9K Engagement
  5. kinnkeng 35.2K Engagement

Data Research Insight สำรวจจักรวาล สเต๊ก by Social Listening

AI-Generated Image by Shutterstock (Prompt:create realistic photography, juicy steak, Slice medium rare beef, french fries, grilled vegetables, in restaurant.)

ทั้งหมดนี้ก็คือ Data Research Insight สำรวจจักรวาลสเต๊ก by Social Listening หวังว่าทุกคนจะเข้าใจพฤติกรรมการทานสเต๊ก คนไทยชอบสเต๊กเนื้อสัตว์อะไร ซอสราดแบบไหน แบรนด์เด็ดร้านดัง รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้างกันได้มากขึ้นแล้วนะคะ

และสามารถนำไปปรับใช้สร้างสรรค์ออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ไปต่อยอดในการทำธุรกิจกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AIMHA MakroLINE MAN wongnai ,SME D BANKDaikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง


สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics 

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

เฟิร์น Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *