Social Trends 2025 ที่ 3 จากรายงานของ Think Forward โดย We Are Social ที่การตลาดวันละตอนเอามาสรุปและเรียบเรียงให้ฟังเดิมเทรนด์นี้มีชื่อว่า Intentional Consumerism การที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องหยุดคิด หยุดซื้อกันมากขึ้น แต่ผมขอนิยามเทรนด์นี้ใหม่ว่าเป็น Reusable Marketing เทรนด์การตลาดยุคของแพงค่าแรงต่ำ หมดสมัยบริโภคนิยม ไม่เน้นกระตุ้นให้คนซื้อเพิ่ม แต่ช่วยให้คนใช้รีดประโยชน์จากสินค้าหรือบริการเราแบบสุดๆ
จุดเริ่มต้นเทรนด์นี้ Deinfluencing แนะนำว่าไม่แนะนำ
จากกระแสไม่กี่ปีก่อนกับแฮชแท็ก #Deinfluencing หรือการที่อินฟลูคนดังบนโซเชียลหลายคนเริ่มหันมาทำคอนเทนต์แนะนำว่าไม่แนะนำ ทั้งไม่แนะนำให้ซื้อ ไม่แนะนำให้ใช้ ไม่แนะนำให้ทำตาม กลายเป็นว่าได้รับความสนใจจากชาวเน็ตผู้ติดตามจำนวนมาก ทำให้รู้สึกว่าอินฟลูคนนี้มีความจริงใจมากกว่าสายที่เอาแต่ป้ายยา และ #ของมันต้องมี เพียงอย่างเดียว
และจากภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองไปทั่วโลก บวกกับปัญหาค่าครองชีพแพงที่ไม่ได้มีแค่ผลกระทบในประเทศไทย ทำให้บรรดาอินฟลูสายอวดรวยที่เคยได้รับความนิยมกันมากมายเริ่มไม่ได้รับความนิยมจากชาวโซเชียลสักเท่าไหร่ทุกวันนี้
ดีไม่ดีถูกแซะ ถูกต่อว่า และอาจถึงขั้นถูกขุดถูกลากถ้าอินฟลูคนนั้นไม่ได้รวยอย่างสุจริต จนทำให้เกิดคดีกันมานักต่อนักแล้ว แล้วบวกกับกระแสเรื่อง ESG ความยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่เทรนด์ชั่วครั้งคราว แต่กลายเป็นกลยุทธ์หลักของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกไปเรียบร้อยแล้วในเวลานี้
ความยั่งยืนที่ดูเป็นคนละขั้วกับโลกบริโภคนิยมที่เน้นให้คนซื้อเยอะๆ จนก่อให้เกิดขยะตามมามากมาย และจากที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้จึงทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่นับจากนี้ไปไม่ได้สนใจกระแสบริโภคนิยมที่มาจากการซื้อมาเพื่ออวดร่ำอวดรวยแบบเดิม แต่กระแสเริ่มไปทางสุขนิยม หรือ Functionalism หรือเน้นการใช้ประโยชน์จากข้าวของที่มีให้เกิดคุณค่ามากที่สุดโดยไม่อายว่าอาจดูเหมือนงก ดูเหมือนจน ดูเหมือนตระหนี่
ก็ทำอย่างไรได้หละเศรษฐกิจมันแย่และฝืดเคืองบวกกับค่าครองชีพแพงขนาดนี้ ใครยังอวดรวยได้ทุกวันถือว่าประหลาดไม่เข้าพวกอีกต่อไป
Cozzie Lives รอดได้ชิลๆ ท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพ
เทรนด์ของคอนเทนต์จึงเริ่มมาทางอวดความประหยัดที่แต่ละคนสามารถทำได้ในแต่ละวัน อารมณ์คล้ายๆ รายการญี่ปุ่นเมื่อหลายปีก่อนที่เน้นแข่งกันว่าในสามารถอยู่รอดในเมืองได้ด้วยเงินที่น้อยมากๆ จนทำให้เกิดคำว่า Cozzie Lives ที่มาจากคำว่า Crisis + Cozy ก็คือเศรษฐกิจลุกเป็นไฟขนาดนี้เรายังสามารถชิลได้ถ้ารู้จักฉลาดในการประหยัด
#UnderConsumtioncore หนึ่งในเทรนด์แฮชแท็กมาแรงบน TikTok ที่ทำคลิปอวดการใช้ของที่มีจนคุ้มถึงหยดสุดท้ายก่อนจะทิ้งไป นอกจากจะช่วยให้ประหยัดเงินแล้วยังไม่สร้างขยะเพิ่มให้โลกโดยไม่จำเป็นด้วย มีการเอาขวดน้ำเก่ามาประยุกต์ใช้ซ้ำ เอาเสื้อยืดเก่ามาปรับใช้งานอย่างอื่น
และจากเทรนด์นี้ก็ชวนให้คนที่ดูเกิดการตั้งคำถามว่า เราจำเป็นจะต้องช้อปของใหม่ไปเรื่อยๆ เหมือนที่เคยเป็นมา หรือเราสามารถปรับปรุงของที่มีให้เกิดคุณค่ามากกว่ามูลค่าที่เคยจ่ายไป เราสามารถรีดเค้นประโยชน์อะไรจากของที่มีอยู่ให้มากขึ้นได้หรือไม่ ก่อนจะตัดสินใจกดช้อปออนไลน์จ่ายบัตรมาส่งหน้าบ้าน หยุดแล้วถามตัวเองดีๆ ว่า
เราจำเป็นต้องมีสิ่งนี้จริงหรือ ?
ถ้าเราจำเป็นต้องมี จากข้าวของที่เรามีสามารถทดแทนได้มั้ย ?
สิ่งนี้สะท้อนว่าต่อไปนี้แบรนด์จะทำยอดขายจากผู้บริโภคยุคใหม่ได้ยากขึ้น ผู้คนจะเริ่มหยุดคิดมากขึ้นก่อนกดซื้อเหมือนวันวาน ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะดุดต่อเป้าการเติบโตที่ตั้งไว้นับจากนี้ไป
@lynziliving Wow, this was a project! It took about four hours of my Sunday morning to give the refrigerator a full clean, organize and style. Here are some of my thoughts. 1. I’m unsure if this is sustainable, but I love it so much, so I’m going to give it a serious try! For the first time ever I can see all my produce, so I think this will lead to less waste and maybe also less shopping. 2. This would be literally impossible for anyone with kids unless you never allow them to touch your refrigerator. 😂 I also know in the past because of my mental health I would have never been able to keep up with this. 3. I vowed I would not be a person who would trash parts of items to fit the aesthetic. Any overflow is in the back alongside some items I use less. This meant buying pitchers that held the same fluid ounces of the things I topically buy, like juice and cold brew. It also meant splitting some things into two (like the Brussels sprouts) and creatively organizing (like the mushrooms). That also meant something leftover, such as my half cucumber, needed a home. It was another place I needed a creative solution, so now I have some cucumber slices prepped for other things in a spare Harry Potter jar that I never use anyway. 4. Adding the flowers was a cheerful touch that will generally cost me nothing. I bought flowers this time because I wanted more around the house, but in the future I’ll just grab some from the garden. 5. This process made me realize I tend to buy duplicates of things because I didn’t realize I already had some waiting. Like, as much as I like Old Croc cheese, I did not realize I had so much. I’m embarrassed. I also saw I had some very unnecessary food waste, like a package of celery that went bad before I’d even opened it. 🤦🏻♀️ 6. You could easily thrift some of the storage items and it would probably be even prettier than this and more special. Overall I actually love this, but we’ll see how I do with it in the long run. In the meantime I’ll probably open my refrigerator 20 times a day just to look at it. #fridgescaping #refrigeratororganization #organizationideas #satisfyingvideos #satisfyingcleaning @HomeGoods @Wayfair @Amazon Home @Temu @LG Electronics USA @Anthropologie @magnolia @Walmart @ShopRite Stores
♬ Concerto No. 2 in E major, Op. 8, RV 269, “Summer”: III. Presto. Tempo Impettuoso d’Estate – Baroque Festival Orchestra & I Musici Di San Marco
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจบนโซเชียลคือ #FridgeScaping มันคือเทรนด์การจัดระเบียบให้กับตู้เย็นที่มีให้ดูสวยงามน่าเปิด น่าอวด น่าแชร์ลงโซเชียล เดิมทีตู้เย็นเรามักจะรกไม่ค่อยมีการจัดระเบียบผิดกับตู้เสื้อผ้า แต่ดูเหมือนว่าคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z เริ่มสนใจกิจกรรมการจัดตู้เย็นให้สวยงามหาของกินเจอง่าย
และนั่นก็หมายถึงโอกาสที่จะทำยอดขายให้พวกกล่องหรืออุปกรณ์จัดเก็บตู้เย็นให้เป็นระเบียบครับ
Reusable Content Marketing อวดของเก่าแต่เก๋
ประเด็นหลักของเทรนด์นี้คือการที่กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ Gen Z เองมีการหยิบข้าวของเก่าที่มีมาทำใหม่แล้วก็ทำคลิปคอนเทนต์ลงโซเชียลกันเยอะขึ้น ทำให้การมองว่าการเอาของเก่ามาโพสไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่กลายเป็นเรื่องที่ดูฉลาดว่าใครจะแข่งกันทำให้ของเก่าที่มีดูเก๋ได้มากกว่ากัน
เหมือนที่ผู้หญิงหลายคนเอากระเป๋าถือใบเก่ามาตกแต่งใหม่ทั้งการห้อยตุ๊กตาหรือสายโน่นนี่นั่น จะทำให้มันดูเก๋ ดูมีไสตล์ไม่แพ้การซื้อกระเป๋าใหม่มาถ่ายคลิปอวดแต่อย่างไรครับ
ดูเหมือนว่าเทรนด์ของเก่า ของมือสอง น่าจะเริ่มกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นกับกลุ่ม Gen Z ที่มีเงินน้อยให้ใช้สอย และก็ต้องหาทางทำคอนเทนต์ใหม่ๆ ลงช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเองอยู่
ส่งผลให้พวกเขาเริ่มคิดว่าถ้าจะซื้ออะไรใหม่สักอย่างของสิ่งนั้นต้องดี ต้องทน ต้องอยู่ได้นาน ไม่ใช่ใช้ไม่กี่ครั้งแล้วเก็บ แล้วทิ้ง เหมือนกับผู้บริโภคยุคก่อน ดังนั้นคำถามสำคัญคือแบรนด์แฟชั่นจะขายของใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคอย่างไร ลองมาดูตัวอย่างแนวทาง Case Study จากแบรนด์ที่ปรับตัวเทรนด์ Reusable Marketing ก่อนใครไปเรียบร้อยกันครับ
จากที่มาที่ไปของเทรนด์นี้ มาจนถึงตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงบนโซเชียล เราลองมาดู Case Study จากบางแบรนด์ที่ทำคอนเทนต์แบบ Reusable Content Marketing นำหน้า Social Trends 2025 กันไปแล้วดีกว่าครับ
Case Study Reusable Content Marketing 2025 ตัวอย่างแบรนด์ที่คอนเทนต์แนวไม่อวดรวยได้ดี
1. ATK LDN แบรนด์ที่กล้าทำคอนเทนต์แบบเรียลๆ กล้าสอนคนรีดให้หมดหลอด
AKT แบรนด์สบู่โฟมอาบน้ำที่กล้าทำคอนเทนต์แบบเรียลๆ ดิบๆ ไม่ปรุงแต่งชนิดไม่เกรงใจใคร ด้วยการให้อินฟลูที่ดูเป็นคนธรรมดามากๆ มาถ่ายคลิปรีวิวการใช้โฟมอาบน้ำอาบน้ำจริงๆ แบบไม่ได้ภาพสวย ช็อตสวย หรือว่าเติมฟิวเตอร์ใดๆ
@akt_london Self-care is the first step to a stellar performance. ✨ Watch @tarekkwiss get ready with our new Prepare to Perform range – The Body Wash Concentrate and The Body Conditioning Balm, all you need to feel unstoppable.
♬ original sound – AKT London
ถ้าดูเผินๆ ก็จะคิดว่าเป็นคนธรรมดาคนนึงรีวิวครีมอาบน้ำให้ดูแบบบ้านๆ อาบน้ำเสร็จก็ไม่ได้แต่งตัวแบบเวอร์วังอลังการออกจากบ้าน ก็แต่งตัวธรรมดาๆ ไม่ได้ดูสไตล์จัดใดๆ หรือเรียกให้ถูกคือก็แต่งตัวแบบบ้านๆ ออกจากบ้านเสมือนชาวบ้านหนึ่ง นี่คือคอนเทนต์แบบไม่ประดิษฐ์ปรุงแต่ง ไม่ได้อวดรวยสักนิด แต่กลับได้ใจคนรุ่นใหม่ Gen Z อย่างมาก
เพราะในเมื่อคนดูส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นคนธรรมดา แล้วเราจะสร้างภาพชีวิตที่ไม่ธรรมดาไปเพื่ออะไรอีก
แถมที่สำคัญในคลิปยังโชว์ให้ดูความงก การพยายามรีดบีบใช้ครีมจนหมดหลอด ซึ่งเอาเข้าจริงมันก็คือชีวิตจริงของคนธรรมดาแบบเราๆ แต่มันเป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่เคยบอกให้เราทำแบบนั้นมาก่อน ปกติการสื่อสารจากแบรนด์มักบอกให้เราใช้หลอดใหม่ๆ เต็มๆ แน่นๆ บีบเยอะๆ แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้ใช้ชีวิตกันแบบนั้นนิครับ
การทำคอนเทนต์วันนี้จะมาเวอร์วังอลังการเกินชีวิตกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคุณจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคโดยเฉพาะที่เป็นคนรุ่นใหม่น้อยลง พวกเขาจะรู้สึกว่าแบรนด์คุณมันไม่จริง พูดเรื่องไม่จริง จนอาจนำมาสู่การตั้งคำถามว่าตกลงสินค้าคุณดีจริงอย่างที่ว่า หรือทั้งหมดล้วนเป็นแค่การเพิ่มดอกจันทร์ว่า “เพื่อการโฆษณาเท่านั้น”
2. Gymshark ไม่ได้อยากแค่ให้คนมาสมัครสมาชิก แต่อยากให้คนได้มาออกกำลังกายด้วยกันทุกวันจริงๆ
ถ้าพูดถึงธุรกิจยิม หรือฟิตเนส โดยทั่วไปมักเน้นให้มีคนมาสมัครสมาชิกเยอะๆ ส่วนจะเล่นไม่เล่นไม่ใช่ประเด็นเท่าไหร่ แต่ก็จะพยายามให้คนเข้ามาใช้บริการบ้าง เพื่อจะได้ให้มีเหตุผลในการต่อสมาชิกปีถัดไปเรื่อยๆ
แต่กับ Gymshark แห่งนี้ไม่ พวกเขาไม่ได้อยากแต่ให้คนมาเสียเงินสมัครสมาชิกอย่างเดียว แต่พยายามทำแคมเปญการตลาดชวนคนมาเข้ายิมทุกวันเพราะไหนๆ ก็เสียเงินแล้ว เข้ามาทำตัวเองให้สุขภาพดีขึ้นวันละนิดวันละหน่อย ชวนคนมาแชร์เป้าหมายที่อยากเปลี่ยนแปลง พร้อมกับทำแคมเปญ 66 Day Challenge ที่เกินกว่า 21 Day ไปไกลมาก
และคอนเทนต์จากแบรนด์โปรโมทลงโซเชียลก็ไม่ใช่คนหน้าตาดีหรือหุ่นดีจัดแบบยิมปกติทั่วไป แต่เน้นคอนเทนต์จากลูกค้าธรรมดาที่มาแชร์โพสตัวเองลงโซเชียล เพื่อทำให้กลุ่มลูกค้าเห็นภาพว่าคนนั้นเขาก็มานะ แล้วเราจะไม่ไปสักหน่อยหรอ
ในแง่หนึ่งมันคือการสร้างคอมมูนิตี้ของคนที่เป็สมาชิกยิมนี้แบบจริงๆ
3. E.l.f. แบรนด์เครื่อสำอางที่ไม่เน้นคอนเทนต์โปรโมชั่น
VIDEO
ปกติแล้วการตลาดหรือการทำคอนเทนต์ของแบรนด์เครื่องสำอางส่วนใหญ่จะเน้นไปทางโปรโมชั่นส่งเสริมการขายแทบทุกด้าน ตั้งแต่การเอาดาราดังมาใช้ หรือการพยายามบอกว่าสินค้าตัวเองดีอย่างไร ช่วยให้สวยขึ้นแบบไหน ไปจนถึงการจัดโปรโมชั่นซื้อที่นั่นโน่นนี่ลดกี่เปอร์เซนต์จากปกติ
แต่อย่างที่บอกครับว่าผู้บริโภควันนี้มีเงินจำกัด เศรษฐกิจก็แย่ ค่าครองชีพก็แพง นักการตลาดที่ดีต้องเข้าใจในจุดนี้แล้วก็ลดการเร่งเร้าให้ผู้บริโภคใช้เงินตลอดเวลาได้แล้ว
แบรนด์ E.l.f. ที่เป็นแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำในต่างประเทศก็เลยไม่เน้นการทำคอนเทนต์โปรโมชั่นเหมือนก่อน แต่หันมาเน้นการทำคอนเทนต์ที่เรียกว่า Enjoy Life With Product ทำคอนเทนต์เน้นการใช้ของเดิมที่มีเอามาแต่งหน้าแต่งตัวให้ดูดีเวลาจะออกไปปาร์ตี้หรือทำกิจกรรมนอกบ้าน
อีกด้านหนึ่งก็ล้อกับกระแสคอนเทนต์ #GetReadyWithMe ที่กำลังนิยมมากในต่างประเทศ และก็ทำออกมาเป็นอัลบั้มเพลงให้คนได้ร้องเพลงตามระหว่างแต่งหน้าตอนเช้าไป แต่งหน้าตามระหว่างฟังเพลงไป
เรียกได้ว่า Content Marketing พวกเขาไปไกลกว่าที่แบรนด์อื่นทำมากแล้ว
ทีนี้จาก 3 ตัวอย่าง Case Study แบรนด์ที่ทำ Content Marketing ล้อกับเทรนด์ Reusable Trend 2025 ได้ดีเราลองมาดูข้อสรุปส่งท้ายที่เป็นคำแนะนำของเทรนด์นี้ดีกว่าครับว่านักการตลาดที่อยากปรับตัวตามเทรนด์นี้ได้ทัน จะต้องทำตัวอย่างไร
แนวทางการปรับตัวของแบรนด์สำหรับเทรนด์ Reusable Marketing จาก Social Trends 2025
1. Meaningful not Merchant สอนรีดประโยชน์ให้คุ้มทุกบาท
ทำให้ผู้คนเห็นว่าสินค้าหรือบริการของแบรนด์เราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากได้จริงๆ (โดยเฉพาะ Gen Z) เป็นชีวิตประจำวันของคนธรรมดาที่ไม่ได้เวอร์วังอลังการแบบหลุดออกมาจากแมกกาซีนหรือ Instagram ตัวแม่
ทำให้ผู้คนเห็นและเข้าใจว่าจะพาแบรนด์เราไปใน Everyday Life อย่างไรได้บ้าง สินค้าเราสามารถช่วยอะไรพวกเขาตรงจุดไหนได้อีก อย่าทำคอนเทนต์กระตุ้นแค่ให้คนอยากได้อยากมี
ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าการใช้เงินกับแบรนด์เราเป็นเรื่องคุ้มค่า เป็นการฉลาดใช้จ่าย หาทางทำให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากสินค้าคุณได้คุ้มทุกบาท หรือช่วยเค้ารีดประโยชน์จากสินค้าเราออกมาให้หมดจนหยดสุดท้ายครับ
2. Economic Talk เงินทองต้องประหยัด
ท่ามกลางเศรษฐกิจย่ำแย่ค่าครองชีพแพงแบบนี้ แบรนด์ต้องกล้าเปิดประเด็นชวนผู้คนโดยเฉพาะ Gen Z คุยกันตรงๆ ว่าจะหาทางประหยัดเอาชีวิตรอดท่ามกลางวิกฤตได้อย่างไร
การประหยัดไม่ใช่เรื่องน่าเขินอายอีกต่อไป มันคือเรื่องที่น่าภูมิใจว่าใครจะสามารถประหยัดได้มากกว่ากัน ถ้ามีโปรช่วยประหยัดจริงๆ ค่อยทำการตลาดออกมา หรือที่ฉลาดกว่านั้นคือการกลับไปสอนลูกค้าให้ใช้สินค้าเราคุ้มเงินทุกบาท หรือถ้ารีดออกมาได้มากกว่าเงินที่จ่ายไปจะได้ใจกลุ่ม Gen Z สุดๆ ครับ
เราจะเห็นพวกคอนเทนต์สอนประหยัด ชวนประหยัด แต่ยังคงรักษาไลฟ์สไตล์ดีๆ แบบเดิมอยู่เรื่อยๆ นี่คือวิธึใหม่ของ Gen Z เจนที่เกิดมาในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่แบบสุดๆ แต่ก็ต้องยังไงมีชีวิตที่ดีในแบบของตัวเองต่อไปให้ได้
3. หมดยุค #ของมันต้องมี สู่ #ขาดเธอไม่ได้
นับจากนี้ไปถ้าใครจะมาทำคอนเทนต์ #ของมันต้องมี มาอวดร่ำ อวดรวย อวดหรู ท่ามกลางเศรษฐกิจแย่ๆ ค่าครองชีพแพงบอกเลยว่านอกจากถูกเมินจากผู้คน ดีไม่ดียังถูกทัวร์ลงถามว่าทำธุรกิจสีเทาหรือเปล่า
ดังนั้นนักการตลาดต้องพยายามสื่อสารเรื่องของคุณค่าระยะยาวจากการมีสินค้าของแบรนด์เราอยู่กับตัวผู้บริโภคแทน ไม่เน้นตอนซื้อแต่เน้นที่ตอนใช้ และเน้นให้หนักที่การใช้งานในชีวิตประจำวันให้คุ้มเงินทุกบาทที่จ่ายไป
ในแง่หนึ่งมันคือการสร้าง Product Relationship สร้างความผูกพันธ์กับลูกค้าผู้ใช้งานจริงๆ ให้มีสินค้าเราอยู่ในชีวิตประจำวันแบบแฮชแท็ก #ขาดเธอไม่ได้
แล้วก็พยายามไปค้นหาคนที่รักแบรนด์เรามากๆ ติดสินค้าเราสุดๆ หาทางให้พวกเขามาเป็น Brand Advocacy พูดแทนแบรนด์เราให้คนอื่นเห็นว่าของเราดีอย่างไร พวกเขารักแบรนด์เราขนาดไหน และพวกเขาก็ขาดแบรนด์เราไม่ได้จริงๆ
ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะ Gen Z รู้สึกว่าเป็นคนฉลาดถ้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์เราแทนที่จะเป็นแบรนด์อื่นที่เน้นการตลาดแบบฉาบฉวย
การตลาดสมัยนี้ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าฉลาดฉวย คือรู้สึกฉลาดที่ได้หยิบฉวยสินค้าคุณมาใช้ เพราะมันช่างคุ้มค่าเงินทุกบาทจริงๆ ครับ
สรุป Reusable Marketing เทรนด์การตลาดอย่ารีบซื้อไม่เร่งขาย ยุคของแพงค่าแรงต่ำ Social Trend 2025
เราคงเห็นภาพรวมทั้งหมดจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำย่ำแย่ ส่งผลให้ค่าครองชีพแพงสวนกระแสรายได้ที่ไม่เพิ่มตาม ชีวิตต้องกินต้องใช้แต่จะเลือกกินเลือกใช้แบบไหนให้ดูฉลาด ผู้บริโภคยุคใหม่สมัยนี้โดยเฉพาะ Gen Z จึงพยายามมองหาความคุ้มค่าเงินทุกบาทที่จ่ายไป แบรนด์ไหนทำให้พวกเขารู้สึกว่าใช้เงินแล้วคุ้ม หรือใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเงินที่จ่ายไป ก็จะกลายเป็นแบรดน์ยอดนิยมในใจ Gen Z ได้ไม่ยาก
หมดยุคใช้เงินอวดรวยบนโซเชียลเพราะวันนี้อย่าว่าแต่รวยเลย เอาแค่ใช้เงินให้รอดแบบเดือนชนเดือนก่อน ใครมาทำคอนเทนต์ประเภท #ของมันต้องมี บอกเลยว่าระวังทัวร์ลงเอาง่ายๆ
นักการตลาดต้องหาทางช่วยให้กลุ่มเป้าหมายอยู่รอดแบบแฮปปี้ตามอัตภาพต่อไปให้ได้ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ดูแล้วจะยังไม่ดีขึ้นไปอีกยาวครับ
และนี่คือเทรนด์ผู้บริโภคที่ 3 จาก 5R Social Trends 2025 ในเทรนด์หน้าเราจะไปทำความเข้าใจเทรนด์ใหม่ที่มีชื่อว่า Researchable Marketing การตลาดยุคใหม่ต้องเอาใจนักสืบโซเชียล
เริ่มต้นอ่านเทรนด์การตลาด 5R Social Trends 2025 ตั้งแต่ตอนที่ 1
อ่านเทรนด์การตลาดที่ 2 Relaxable Marketing เทรนด์การตลาดยุคใหม่ต้องไม่เร่ง เพราะชีวิตรีบมากพอแล้ว