เบอร์เกอร์ ขนมปังแทรกด้วยเนื้อและผักหลายชนิด หนึ่งในอาหารที่เป็นขวัญใจผู้บริโภคหลากหลายช่วงวันและเผ่าพันธุ์ ในบทความ Data Research Insight นี้เราจะพามาสำรวจจักรวาลเบอร์เกอร์ผ่านมิติมุมมองต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารชนิดนี้กันค่ะ
โดยการใช้ Social listening tool อย่าง Mandala หนึ่งในสปอนเซอร์ ผู้ใหญ่ใจดีที่เอื้อเฟื้อให้ทีมการตลาดวันละตอนได้ใช้ประโยชน์ แปลง Data พลิกแพลงตะแคงออกมาเป็น Insight เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และบุคคลทั่วไปทุกคน เข้าถึงการทำ Data Research Insight และเก็บเกี่ยวข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้
บทความนี้จะเป็นไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่างกับ Mandala, MHA Makro, LINE MAN wongnai ,SME D BANK, Daikin รวมถึง Media partnership กับ Torpenguin และ Brand Communication ที่จะอยู่กับเราตลอดทั้งปี 2024 นี้
และในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ
ตัว Keyword ที่ใช้คือ เบอร์เกอร์ เบอร์เก้อ เบอเกอ เบอเก้อ และ Burger (เลือกใช้ทั้งคำที่เขียนถูกและผิด)
ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/01/2024 – 30/06/2024 รวมทั้งสิ้น 6 เดือนย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 13,547 Mentions
ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 13,547 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โพสต์โปรโมทซีรี่ส์ TheHeartKillers ที่มีคำว่าเบอร์เกอร์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “เบอร์เกอร์ ” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับเบอร์เกอร์ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘เบอร์เกอร์’ มากน้อยแค่ไหน
Social Data Stat Overview
เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘เบอร์เกอร์’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง เบอร์เกอร์ มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, Twitter, Instagram และ TikTok ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ กินไปเหอะ โพสต์รูปเบอร์เกอร์จากโปรฯ Burger king 29 บาทที่ไปซื้อมา
By Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง McDonald’s Thailand ซึ่งเป็นคลิปโฆษณา มั่งมีเบอร์เกอร์ Prosperity x Hello Kitty
By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ Facebook เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งเป็นคลิปจาก ชี้ช่องรวย คลิปรีวิว+สัมภาษณ์พ่อค้าฝรั่งขายเบอร์เกอร์ที่ไทย
VIDEO
Social Data By Timeline
มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ
ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงอย่างโดดเด่นคือ Facebook โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่ในแพลตฟอร์มนี้จะมาจากแบรนด์ Fast Food ชื่อดัง เช่น McDonalds ที่ทำคอนเทนต์โปรโมชั่นได้ดี ติดอันดับโพสต์ที่ได้รับ Engagement สูงหลายโพสต์ รวมไปถึงคอนเทนต์รีวิว+สัมภาษณ์ร้านขายเบอร์เกอร์แบบฝั่ง SME บ้าง เช่น ร้าน Captains Corner Burgers Kebabs, ทองดีเบอร์เกอร์ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความสนใจและสนับสนุนร้านเบอร์เกอร์ร้านย่อยไม่แพ้กับแบรนด์ยักษ์ใหญ่เลย
เมื่อมาดูในแง่ของไทม์ไลน์ เราจะเห็นได้เลยว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงกลางปี มีการมีส่วนร่วมเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการอัปเดตโปรโมชั่น /ข้อมูล สินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ (สังเกตได้จากรูปแบบ Content Pillar Top Post By Engagement ของ McDonalds ที่ติดอันดับหลายโพสต์) และกระแสร้านรวงต่าง ๆ ที่มาจากเพจรีวิว/ทำคอนเทนต์อาหาร
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #ชื่อแบรนด์ เป็นหลัก นอกจากนั้นก็จะเป็นชื่อโปรโมชั่น แฮซแท็กที่เกี่ยวข้องกับเบอร์เกอร์ เช่น #รีวิวอาหาร #อร่อยบอกต่อ เมื่อนำมาผนวกกับกลุ่มคำที่ที่การพูดถึงบ่อย ๆ ก็ยังเด่นชัดในเรื่องของการพูดถึงเบอร์เกอร์ ความอร่อย เมนูอื่น ๆ ที่สั่งควบคู่กันได้ เช่น ไก่ทอด
ดังนั้น ท่านใดที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือถ้าแบรนด์หรือผู้ประกอบการท่านใดที่อยากสืบเสาะ Insight ด้วยตัวคุณเอง สามารถนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลือก Keyword เพื่อดึงข้อมูลใน Social listening ได้ค่ะ
Top Post by Platform
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
VIDEO
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับเบอร์เกอร์ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 5 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 5 หัวข้อ ดังนี้
คำที่คนใช้เรียกเบอร์
ประเภทขนมปัง
ประเภทเนื้อสัตว์
Pain Point ของเบอร์เกอร์
เมนูอื่น ๆ ที่คนมักสั่งในร้านเบอร์เกอร์
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation เบอร์เกอร์ ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง
Insight #1 เบอร์เกอร์ เป็นคำที่คนใช้เรียกเบอร์เกอร์มากที่สุด
ถ้าให้ลองนึกถึงคำเรียกเบอร์เกอร์แบบไม่ใช่ Social listening ก็คงคาดไม่ถึงว่าจะมีคำเรียกเบอร์เกอร์มากกว่า 2 แบบ 1. เบอร์เกอร์ 2. Burger แต่ภาษาไทยดิ้นได้ร้อยแปดตลบจึงทำให้เราทราบว่า คำที่คนใช้เรียกอาหารชนิดนี้มีมากถึง 6 แบบด้วยกัน โดยทั้ง 6 แบบ มีดังต่อไปนี้
เบอร์เกอร์ 47%
Burger 36%
เบอเก้อ 10%
เบอเกอ 4%
เบอร์เก้อ 2%
เบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ <1%
ซึ่งทั้ง 5 คำแรกเป็นคำที่เราพบว่า 2 คำแรก เป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วกัน อย่างยิ่งในเพจของแบรนด์/อินฟลู ส่วนลำดับที่ 3-5 เป็นคำที่(อาจจะตั้งใจ)เขียนผิด ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นคำที่สื่อถึงเบอร์เกอร์ ทว่าที่น่าสนใจคือ เบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ โดยเราพบว่าเบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ เป็นคำใช้เรียกเบอร์เกอร์ที่ขายในสถานศึกษาที่มีต้นตอมาจาก TikToker: contentonetubfour ซึ่งเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากอีเทคชลบุรี
ถึงแม้ว่าสัดส่วนจะน้อยที่สุดแต่คลิปกลับมียอดวิวที่สูงถึง 8.1 ล้านในคลิปเดียว ทำให้แอคเคาท์นี้กลายเป็นดาวดังในชั่วข้ามคืน ทั้งนี้ทั้งนั้นจากการไล่ดูคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเบอร์เก้อเร่อเฮ้อร์/เบอร์เกอร์เร่อเฮ้อร์ คลิปทั้งหมดไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับเบอร์เกอร์ทุกคลิปโดยตรง แต่เพราะเป็นคำที่ไวรัล คนจึงนำมาปรับใช้ในแคปชั่นกันเป็นบางส่วน
เราสามารถนำ Insight นี้ไปปรับใช้ในการทำ SEO Content หรือหยิบยกมาเล่นให้กลายเป็นสีสันคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ของเราได้ เช่น คำแบบไหนที่คุณใช้เมื่อโพสต์ถึงเบอร์เกอร์ เป็นต้น เพื่อสร้าง Engagement และเข้าใจกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นค่ะ
Insight #2 แป้งประกบที่ไม่ได้มีเพียงแค่ขนมปัง ในเบอร์เกอร์
เบอร์เกอร์เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือแป้งประกอบบนล่างและจากการใช้ Social listening ก็ทำให้เราได้ Insight ประเภทขนมปังมาดังนี้ ขนมปังที่เป็นขนมปังแบบที่เราคุ้นชินกันทั่วไปมาเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วน 68% รองลงมาคือ ข้าวเหนียว 25% และข้าว 7%
จากการขุดลึกลงไป ขนมปังแบบปกติทั่วไปไม่ได้มีความแปลกใหม่มากหนักเพราะเป็นแป้งที่อยู่คู่กับเบอร์เกอร์มาอย่างช้านาน จะเรียกว่าตั้งแต่ยุคก่อกำเนิดเบอร์เกอร์ก็คงไม่ผิดจึงไม่แปลกที่จะมีการถูกพูดถึงบนโซเซียลเยอะมากที่สุด ทว่าที่น่าสนใจคือ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวและข้าว
ซึ่งเราจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนเลยคือ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวคือฝั่งไทย และเบอร์เกอร์ข้าวฝั่งเกาหลี ทั้งสองสไตล์ถูก Localized ให้เข้ากับพฤติกรรมการกินของคนพื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยม โดยเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวโดดเด่นจากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมู/ลาบหมูที่ขายใน7-11 และขนมปังที่เป็นข้าว มาจากเบอร์เกอร์สไตล์เกาหลี ที่มาจากร้านคือบับ
หากอยากปรับให้เข้ากับกลุ่มผู้บริโภคต่าง ๆ เบอร์เกอร์ข้าวเหนียว เบอร์เกอร์ข้าว ชูจุดเด่นเน้นกินอิ่ม อิ่มท้อง อิ่มนานก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ
Insight #3 เนื้อหมู นำโด่งในประเภทเนื้อสัตว์
มาต่อกันที่ประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุดในจักรวาลเบอร์เกอร์ โดย Insight นี้จะแบ่งเป็นภาพใหญ่แบบวงกว้างก่อน ซึ่งเราพบว่า เนื้อหมู คือประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 51% รองลงมาคือเนื้อวัว 33% เนื้อไก่ 11% และปิดท้ายด้วยสัตว์ทะเล 5%
และเมื่อเจาะลึกลงมาในเนื้อแต่ละประเภทแล้วเราก็จะพบว่า หมูสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภทด้วยกันคือ
หมูปกติ 55%
หมูย่าง 30% – มาจากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่างที่ขายใน 7-11
หมูกระทะ 15% – มาจากเบอร์เกอร์หมูกระทะของ Burger King
ถัดมาคือในส่วนของเนื้อวัว ในทีนี้เราพบแค่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
เนื้อวัวปกติ 55%
วากิว 45%
ในส่วนของเนื้อไก่ เราจะแบ่งได้อีก 3 ประเภทเช่นเดียวกันที่เจอจากการใช้ Social listening
ไก่ปกติ 62%
ไก่ทอด 31% – มาจากเบอร์เกอร์ไก่ทอดสไตล์หาดใหญ่ที่ขายใน 7-11
ไก่กรอบ 7%
ในส่วนของเนื้อสัตว์ทะเล จะแบ่งได้ 2 ประเภท
กุ้ง 69%
ปลา 31%
Insight #4 อร่อยนะ…แต่เปื้อนมือ/ปาก ก็ไม่ไหว
ทีนี้เรามาดู Pain Point การกินเบอร์เกอร์ของผู้บริโภคที่มีการพูดถึงบนโลกโซเซียลกันบ้างค่ะว่ามีแง่มุมไหนบ้าง เพื่อที่เราจะได้ปิดจุดอ่อน เสริมจุดเด่นให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ดีในการทานเบอร์เกอร์ โดย Social listening บอกกับเราได้ว่าปัญหาที่คนมักเจอเป็นอันดับแรกคือ กินเบอรเกอร์แล้วเปื้อนมือ เปื้อนปาก 46% เป็นปัญหาสุดคลาสิกไม่ว่าจะกินเบอร์เกอร์ที่ไทยหรือต่างประเทศก็เป็นเหมือนกันหมด สาเหตุมาจากการที่ไส้ไหลหรือซอสหกนั่นเองค่ะ
โดยกับกลุ่มคนบางส่วนที่กินเบอร์เกอร์บนรถ มือที่เลอะหรือปากที่เปื้อนเป็นอะไรที่มองดูแล้วน่าจะวิกฤต เพราะต้องใช้มือขับ หากมือเลอะแล้วไปจับพวงมาลัยคงไม่น่าดูเท่าไหร่ใช่ไหมล่ะคะ หากเราจะบอกว่า…งั้นก็ไม่ต้องกินบนรถสิ กินที่ร้านหรือไปนั่งทานดี ๆ หรือเลอะก็แค่ใช้ทิชชู่เช็ด แต่ในความเป็นจริงผู้เขียนมองว่าความสะดวกของคนเราต่างกัน บางคนอาจจะอยู่ในช่วงโมงเร่งรีบเลยต้องขับไปกินไป ติดไฟแดงก็จอดกินที (ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าเป็นการกระทำที่ดี เพราะเสี่ยงต่อเพื่อนร่วมทางแต่ก็มีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่จริง ๆ)
หากเราสามารถพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์กลุ่มคนทานเบอร์เกอร์แล้วไม่ชอบให้ไส้/ซอสเลอะเปื้อนมือก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ บางทีทิชชู่เช็ดมือ/ปากอาจจะไม่พอสำหรับคนบางกลุ่มที่รักความสะอาดอย่างมาก หากเรามีที่ให้พวกเขาได้ล้างมือ หรือผ้าเปียกเช็ดมือไว้คอยบริการด้วยก็คงทำให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดีค่ะ
รองลงมาจะเป็นขนมปังเหี่ยว 34% และเนื้อแห้ง 18% สาเหตุที่คนบ่นว่าขนมปังเหี่ยวมาจากการที่ตั้งทิ้งไว้ (ระยะเวลาของการตั้้งไว้ ไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ เพราะคนไม่ได้เจาะจงถึง) แล้วพอจะกินขนมปังกลับไม่เด้งฟูเหมือนตอนแรก หรือบางคนก็บอกว่าขนมปังเหี่ยวมาตั้งแต่ทำเสร็จเลยก็มีค่ะ
ส่วนเนื้อแห้ง บริบทจะเกี่ยวเนื่องกับการเคี้ยวบาก ติดฟัน กินแล้วไม่ได้รับรสชาตินอกจากความแข็งของเนื้อ โดยสาเหตุเหล่านี้ทำให้เสียอรรถรสในการกินนั่นเองค่ะ
ที่น่าสนใจคือ Pain Point ไส้แฉะ คิดเป็น 2% เราพบว่าคนมักพูดถึงในเชิงที่ว่าขนมปัง/ไส้แฉะส่วนหนึ่งมาจากผัก ที่อยู่ในเบอร์เกอร์ เช่น มะเขือเทศ ซึ่งมะเขือเทศมีน้ำเป็นส่วนกอบหลัก ไม่ได้เป็นผัก/ผลไม้ที่แห้ง พอมาเจอกับขนมปังที่ดูดซึมน้ำได้จึงทำให้แป้งแฉะในลำดับถัดมาทำให้บางครั้งความอร่อยของเบอร์เกอร์มันลดน้อยลงถึงแม้ว่าจะชอบกินมะเขือเทศที่อยู่ในนั้นก็ตาม
ตรงนี้ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าการที่ผู้บริโถคเผชิญกับปัญหานี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ซื้อแล้วไม่ได้กินเลยทันที หรือสั่งเดลิเวอร์รี่แล้วต้องรอการขนส่ง ระหว่างทางจึงทำให้เบอร์เกอร์มีความแฉะจากตัวน้ำของมะเขือเทศ พอจะมากินก็เลยเจอปัญหานี้
ดังนั้น หากเราอยากแก้ไขปัญหานี้สำหรับคนที่ชอบกินมะเขือเทศแต่ต้องสั่งออนไลน์หรือสั่งกลับบ้าน ถ้าเรามีตัวเลือกในการแยกผักที่น้ำเยอะออกต่างหาก พอจะกินค่อยเอามาประกอบรวมร่างกันกับเบอร์เกอร์ส่วนอื่นก็คงจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ในเบื้องต้นค่ะ หรือใครมีไอเดียที่ดีกว่านี้ก็สามารถแชร์กันได้ค่ะ เพื่อทำให้วงการเบอร์เกอร์ไปข้างหน้ามากขึ้น!
Insight #5 เบอร์เกอร์+เฟรนช์ฟรายส์ คือ Combo ฟ้าดินแยกไม่ขาด
มาถึง Insight สุดท้ายกันแล้วกับเมนูอื่น ๆ ที่สั่งในร้านเบอร์เกอร์ เรามาดูกันว่านอกเหนือจากเบอร์เกอร์แล้วคนสั่งอะไรมากินเป็น Side dish เพิ่มบ้าง ซึ่งข้อมูลชี้ชัดออกมาว่ามี 4 เมนูด้วยกันที่คนมักสั่งคือ เฟรนช์ฟรายส์ 63% ไอติม 34% นักเก็ต% ไก่ทอด <1%
เบอร์เกอร์กับเฟรนช์ฟรายส์เป็นอะไรที่ฟ้าดินแยกกันไม่ขาดอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมถึงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฟรนช์ฟรายส์ของ Mcdonalds, Burger Kings ได้รับการพูดถึงในเชิงบวกว่าเป็นเฟรนช์ฟรายส์ที่อร่อย
ที่น่าสนใจคือ นอกจากคนจะกินไอติมเพื่อล้างปากหลังกินเบอร์เกอร์กันแล้ว ผู้บริโภคบางคนไปซื้อไอติมที่ร้านขายเบอร์เกอร์ทั้งที่ไม่ได้ต้องการ ซื้อเบอร์เกอร์โดย Mos Burger ได้รับการพูดถึงมากที่สุดเกี่ยวกับไอติม โดยมี Positive Sentiment ค่อนข้างมากว่าเป็นไอติมที่อร่อย (แถมเพิ่ม: จากจำนวน Mentions ทั้งหมดคนพูดถึง Mos Burger ที่ตัวไอติมมากกว่าเบอร์เกอร์ แสดงให้เห็นว่าแบรนด์นี้ดังที่ตัวไอติมมากกว่า)
ซึ่งผู้ประกอบการหรือนักการตลาดท่านใดที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความอร่อยของไอติมหรือเฟรนฟรายส์ที่ได้รับการชมว่าอร่อยก็สามารถเลือกโฟกัสไปที่แบรนด์เหล่านี้ได้แล้วไปศึกษาต่อถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์ของพวกเขาแล้วนำมาปรับปรุงกับแบรนด์ของตนก็เป็นหนึ่งทางที่สามารถทำได้เช่นกันค่ะ
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
ชี้ช่องรวย 743K Engagement
McDonald’s 373K Engagement
Burger King Thailand 46K Engagement
CP Brand 37K Engagement
วงในบอกโปร 30K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
McDonald’s Thailand 9.1M View
หิวบ่อย สตูดิโอ 1.6M View
MOS BURGER TH 692K View
TwintravelOfficial 800K View
Natty_tyn 376K View
TOP5 Instagram channel ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
punpromotion 88K Engagement
fahhaha_ 58K Engagement
mickey.a.np 28K Engagement
tid_review 26K Engagement
talondak 15K Engagement
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
bankiii 353K Engagement
tid_review 64K Engagement
mickey.a.np 58K Engagement
cokecumtoto 54K Engagement
thefadd_official 53K Engagement
Data Research Insight สำรวจจักรวาล เบอร์เกอร์ By Social listening
Data Research Insight เบอร์เกอร์ในบทความนี้ ทำให้เราเห็นได้เลยว่า เบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่มีความหลากหลายทางความคิดของผู้คน บางคนชอบในสิ่งนี้ชอบคนไม่ชอบในสิ่งนั้น ทั้ง ๆ ที่ส่วนประกอบของอาหารก็ไม่ได้มีมากมาย แป้ง เนื้อ ผัก ซอส และปิดท้ายด้วยแป้ง แต่ความต้องการของผู้บริโภคนั้นมีมากกว่าชั้นแป้ง ผัก เนื้อ
ประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ได้ระหว่างการกิน เลอะมือ เปื้อนปาก ขนมปังเหี่ยว/นิ่ม ไส้แฉะ มองเผิน ๆ อาจเป็นสิ่งที่เราต้องเจออยู่แล้วแต่ถ้าเราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับผู้บริโภคได้ ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นการยกระดับทั้ง Branding และ Marketing ได้ดีทีเดียวค่ะ
และนี่ก็คือทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘เบอร์เกอร์’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ชาวเบอร์เกอร์กันค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI , MHA Makro , LINE MAN wongnai ,SME D BANK , Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication
Coming soon …
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ของดอง ผัดไทย ไอศกรีม ข้าวขาหมู ข้าวแกง ข้าวเหนียวมะม่วง หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยล้าน
————————–
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.co
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ