https://www.tiktok.com/@leeming1105/video/7239288744048610565
ซึ่งจากที่กล่าวไปก็ไม่น่าแปลกใจที่ “ข้าว” จะขึ้นนำเป็นอันดับหนึ่ง เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานในการกินกับขาหมูอยู่แล้ว ซึ่งบริบทส่วนมากก็จะเป็นทั้งจากร้านค้าที่โพสต์เพื่อเรียกลูกค้า หรือ ลูกค้าเองที่นำภาพของข้าวขาหมูมาแชร์บน Social Media ค่ะ รวมไปถึงเหล่านักรีวิวต่าง ๆ ด้วยค่ะ
ดังนั้น หากร้านค้าผู้ประกอบการอาหาร มีก๋วยเตี๋ยวขาหมูอยู่ในเมนูอยู่แล้วต้องนำมาสร้าง Engagement เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วยนะคะ รวมทั้งร้าข้าวขาหมูร้านไหนยังไม่มีเมนูก๋วยเตี๋ยวอาจพิจารณาเพิ่มทางเลือกนี้เข้าไปให้กับลูกค้าเพิ่ม แถมยังเป็นสร้างโอกาส สร้างความหลากหลายให้ร้านค้าอีกด้วยค่ะ
#4 รูปแบบการทานข้าวขาหมู ที่คนพูดถึงมากที่สุด
ในรูปแบบการทานจะมีทั้งการทานแบบจานเดียวที่ร้าน การทานแบบบุฟเฟ่ต์ รวมทั้งการทำทานเองค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าการทานแบบจานเดียวจะถูกพูดถึงมากที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าข้าวขาหมูเป็นอาหารที่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดอาการเลี่ยนได้ เพราะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน และ ความเค็มนัว
แต่ที่น่าแปลกใจคือการทานแบบบุฟเฟ่ต์ ที่มีเปอร์เซ็นสูงถึง 25% ผู้เขียนแอบตกใจเหมือนกันที่มีคนเลือกทานแบบบุฟเฟ่ต์ค่อนข้างเยอะกว่าที่คาดไว้ เพราะด้วยลักษณะของอาหารอย่างที่ได้กล่าวไป แต่อาจด้วยราคาที่เข้าถึงง่าย และแทบไม่ต่างกับราคาปกติมาก คนจึงเลือกทานแบบบุฟเฟ่ต์กันค่ะ
แต่คนที่ทำกินเองก็มีนะคะเพราะอยากกินแบบเต็มที่ ทั้งเนื้อขาหมูและเครื่องเคียงตามที่เตรียมไว้เอง รวมทั้งสามารถเลือกรสชาติความเค็มได้ตามใจด้วยค่ะ
เจาะลึกร้านข้าวขาหมูแบบ “จานเดียว” กับ TOP 5 อันดับ
หลังจากเรารู้แล้วว่าร้านข้าวขาหมูแบบจานเดียวจะพูดถึงมากที่สุด เราจึงมาจัด 5 อันดับร้านข้าวขาหมูแบบจานเดียวมาให้ดูกันค่ะ โดยจะมี
อันดับ 1 ร้านขาหมูฮ่องเต้ เฮียซ้ง
อันดับ 2 ร้านข้าวขาหมู ตรอกซุง
อันดับ 3 ร้านข้าวขาหมู พี่ญาคนรุม
อันดับ 4 ร้านเล่อข้าวขาหมู
อันดับ 5 ร้านเจ๊แอนข้าวขาหมู
ซึ่งร้านที่มาเป็นอันดับ 1 อย่างเฮียซ้ง เพราะมีการทำการตลาดบนช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะ IG ที่ไม่ค่อยมีร้านอะไรทำกันมาก แต่เฮียซ้งจะมีการโพสต์รูป รวมทั้งรีโพสต์คอนเทนท์ของนักรีวิวที่มาทานเสมอ แล้วให้มีเมนชั่นขึ้นมาเยอะที่สุดค่ะ
ดังนั้นผู้ประกอบการอาหารเองก็ต้องนำจุดนี้ไปปรับโดนการเพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น แล้วทั้งมีการรีโพสต์ ขอบคุณ นำ Footage ของนักรีวิวกลับมาใช้ด้วยค่ะ
VIDEO
VIDEO
VIDEO
VIDEO
เจาะลึกร้านข้าวขาหมูแบบ “บุฟเฟ่ต์” กับ TOP 5 อันดับ
หลังจากเรารู้แล้วว่าร้านข้าวขาหมูแบบบุฟเฟ่ต์เป็นอันดับ 2 เราจึงมาจัด 5 อันดับร้านข้าวขาหมูแบบบุฟเฟ่ต์มาให้ดูกันค่ะ ซึ่งส่วนมากร้านบุฟเฟ่ต์จะเป็นบริบทที่นักรีวิวไปทานและลงรีวิวกันค่ะ โดยจะมี
อันดับ 1 ร้านอรุณอมรินทร์
อันดับ 2 ร้านนายพัน
อันดับ 3 ร้านอาม้าอาป๊า
อันดับ 4 ร้านเจ๊หนึ่ง
อันดับ 5 ร้านอารมณ์บอย
อย่างที่บอกไว้ว่าส่วนมากคนที่มาทานในร้านบุฟเฟ่ต์ จะเป็นนักรีวิวอาหาร นักกินจุต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการเองก็สามารถนำกลยุทธ์การใช้ คนมีชื่อเสียงเข้ามาสร้างส่วนร่วมในธุรกิจของตัวเอง เพื่อสร้าง Engagement ให้คนรู้จักเพิ่มขึ้น รวมทั้งกระตุ้นยอดขายด้วยค่ะ
VIDEO
VIDEO
#5 ข้าวหมูแดง ข้าวแกง ข้าวหมูกรอบ TOP 5 เมนูที่ขายคู่ข้าวขาหมู
จากบริบทที่อ่านมา โดยส่วนใหญ่ข้าวขาหมูมักไม่ขายเดี่ยว ๆ แต่จะมีอาหารอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้เขียนก็ได้ทำ Top 5 เมนูที่ขายคู่ข้าวขาหมูที่ถูกพูดถึงมากที่สุดมาให้ดูกันค่ะ
อันดับ 1 ข้าวหมูแดง
อันดับ 2 ข้าวแกง
อันดับ 3 ข้าวหมูกรอบ
อันดับ 4 ก๋วยเตี๋ยวหมู / ไก่ / เป็ด
อันดับ 5 ข้าวมันไก่
ซึ่งก็ไม่ได้แปลกกว่าที่คิดไว้ เพราะปกติเราข้าวหมูแดง หมูกรอบ และ ข้าวขาหมู มักเป็นร้านที่ขายด้วยกัน เพราะมีวัตถุดิบหลักเป็นหมูเหมือนกันค่ะ แต่จะมีที่แปลกหน่อยคือร้านข้าวแกงและข้าวมันไก่ โดยร้านข้าวแกงส่วนมากจะเป็นร้านใหญ่ ทำหลากหลายเมนู จึงมีการทำข้าวขาหมูด้วยค่ะ ส่วนร้านข้าวมันไก่ เพราะมีลักษณะการกินคล้ายกันจึงขายคู่กันค่ะ มีจุดร่วมบางอย่าง เช่น น้ำซุปเป็นต้นค่ะ
@kinnkeng ข้าวหมูกรอบขาหมู คู่ความปัง กินข้าวขาหมูแบบเดิมมันเอ๊าท์ เพราะชาวกินเก่งอย่างเราชอบครีเอท จัดไปเลยจ่ะ ข้าวหมูกรอบขาหมู กินคู่กันฟินมาก น้ำราดไม่ได้ทำให้ขาหมูร้านนี้กรอบน้อยลงเลย ปังมาก ขาหมูก็คงคอนเซปท์ความฉ่ำ ความนุ่ม เป็นตำนานมาก ไปถึงสั่งเลยค่ะ ลุยยยยย กินเก่ง คนกินเก่ง2023
♬ เสียงต้นฉบับ – กินเก่ง รีวิวกินๆ – กินเก่ง รีวิวกินๆ
#6 นุ่ม จุดขายข้าวขาหมู ที่คนพูดถึงมากที่สุด
ในส่วนของจุดขาย จุดชูโรง ของข้าวขาหมู อันดับ 1 จะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจาก ความนุ่ม ซึ่งบริบทจะเป็นการกล่าวถึงความนุ่มในส่วนต่าง ๆ ของขาหมู เช่น หนังนุ่ม เนื้อนุ่ม และตามมาด้วย พูดถึงความเปื่อย ซึ่งบริบทส่วนมากจะเป็นการพูดถึงความเปื่อยของเนื้อ ตามด้วย น้ำราดเยอะ, น้ำจิ้มรสเด็ด และรสกลมกล่อม ตามลำดับ
ซึ่ง 2 อันดับแรก แสดงให้เห็นถึงความน่าทาน ทานง่ายของตัวข้าวขาหมูนั่นเองค่ะ ดังนั้นหากผู้ประกอบการคนไหนยังไม่นำจุดขายนี้มาชู ก็สามารถใช้ได้เลยนะคะ หรือ หากใครเบื่ออยากเปลี่ยนจุดขายใหม่ ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างก็สามารถสร้างจุดขายขึ้นมา หรือ เลือกจากจุดขายด้านบนที่คนยังไม่ค่อยพูดถึงก็ได้ค่ะ
#7 ราคา 51-60 เป็นช่วงราคาขายที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
ในช่วงราคาขายข้าวขาหมู ราคาที่มากที่สุดคือ 51-60 บาท เนื่องจากเพราะเป็นราคากลาง ๆ ทั้งร้านจานเดียวและร้านบุฟเฟ่ต์ก็เลือกใช้ราคานี้ในการขายทำให้ถูกเมนชั่นถึงมากที่สุดค่ะ โดยรองลงมาก็จะเป็น 61-70 บาท, 80 บาทขึ้นไป, 71-80 บาท, 41-50 บาท และ 31-40 บาท ตามลำดับค่ะ
ดังนั้น ร้านค้าผู้ประกอบการที่เลือกตั้งราคา 51-60 บาท อาจต้องดูว่าเราจะปรับกลยุทธ์อะไรในการสู้กับคู่แข่งทั้ง แบบร้านจานเดียวทั่วไป และร้านบุฟเฟ่ต์ หรือหากจะเพิ่ม/ลด ราคาก็ต้องกลับมามอง position ของร้านค้าใหม่ว่ายังไง รวมทั้งปรับจุดขาย และหาแนวทางสร้าง Engagements เพิ่มด้วยค่ะ
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
1.Mawinfinferrr 406.7K Engagement
2.Bangkok Foodie 396K Engagement
3.น้องตี๋ พี่โคโค่ สมชายบ้านไร่ 199.4K Engagement
4.KP ตะลอนแหลก 142.9K Engagement
5.ชีวิตติดรีวิว102.9K Engagement
TOP5 Instagram account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในแอคเคาท์ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
1.mawin_twp 194.8K Engagement
2.ginyuudai 129.9K Engagement
3.tid_review 113.2K Engagement
4.muummaam_ 43.5K Engagement
5.kp_talonlak 34.6K Engagement
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
1.kp_talonlak 238.7K Engagement
2.muummaam 225.1K Engagement
3.tid_review 219.9K Engagement
4.kinnkeng 197.9K Engagement
5.giantpanchef 170.5K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
1.โก้อีสาน พาแดก 3.85M views
2.NAT VS FOOD 1.87M views
3.ดมข้าว [Domkao] 983K views
4.TidReview ชีวิตติดรีวิว 979K views
5.ลุงอ้วน กินกะเที่ยว928K views
Data Research Insight ข้าวขาหมู
ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ข้าวขาหมู โดยทั้งเห็นเทรนด์การพูดถึงบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ทาน เครื่องเคียง การทานแบบบุฟเฟ่ต์ที่มีสัดส่วนเยอะเป็นอันดับสอง จุดขายต่าง ๆ ที่ร้านค้าและลูกค้ามักพูดถึง หวังว่าคำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ
และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^
*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทั้ง 5 เจ้าที่เข้ามาร่วมสนับสนุนโปรเจคนี้ ได้แก่ Mandala AI , MHA Makro , LINE MAN wongnai ,SME D BANK , Daikin รวมถึง Media partnership Torpenguin และ Brand Communication
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ผัดไทย ข้าวแกง สเต๊ก ชาไทย หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยร้าน
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย