กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization B2B รูปแบบสุดท้ายคือการปรับรูปแบบเนื้อหาตาม Location data หรือ IP Address ครับ
ลองคิดภาพดูนะครับว่าถ้ามีลูกค้าสองคนเข้ามาหน้าเว็บเราพร้อมกัน คนแรกอยู่กรุงเทพ คนที่สองอยู่สงขลา คุณคิดว่าระหว่างการขึ้นเนื้อหาหน้าแรกของเว็บหรือแอปแบบไหนจะได้ Conversion ดีกว่ากัน
- แสดงผลโปรโมชั่นหลักอย่างเดียว ซึ่งปกติก็คือกรุงเทพ
- แสดงผลโปรโมชั่นตามพื้นที่ที่ผู้ใช้งานเข้าเว็บหรือแอปเรา คนกรุงเทพได้เป็นโปรในสาขาที่ใกล้ที่สุด ส่วนคนสงขลาก็ได้เห็นโปรในพื้นที่สงขลา
เชื่อว่า 100 ทั้ง 100 จะตอบว่าก็ต้องแบบที่สองอยู่แล้ว ถ้าอย่างนั้นคำถามต่อมาคือ แล้วเราทำแบบนั้นกับเว็บหรือแอปเราหรือยัง ?
เรายังคงใช้เนื้อหาเดียวกันสำหรับลูกค้าที่เข้าใช้งานจาก Location ต่างกันอยู่หรือเปล่า ? ซึ่งวันนี้มีเครื่องมือ Marketing Technology มากมายที่ให้เราสามารถปรับแต่งเนื้อหาหรือโปรโมชั่นในเว็บหรือแอปเรา ให้ตรงกับ Location data ของผู้ใช้งานได้ไม่ยากแบบวันวานครับ
เราอาจจะกำหนดค่าจาก Geofencing หรือกำหนดจากเงื่อนไขอื่นๆ ที่แล้วแต่ว่าแต่ละเครื่องมือจะเอื้อให้เราตั้งค่าแบบไหน
จากนั้นก็แค่เชื่อมเครื่องมือ Location data เข้ากับ Marketing Automation เพื่อเอามาใช้กำหนดกลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization ตามบริบทพื้นที่ผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน
ถ้าผมเป็นธุรกิจร้านอาหารในต่างจังหวัด ผมว่าการตลาดแบบ Personalized Marketing จาก Location data ถือว่าเหมาะ ผมจะเลือกทำการตลาดจากคนที่กำลังเข้ามายังพื้นที่จังหวัดที่ผมมีสาขา แล้วก็คิดว่าจะทำการตลาดแบบไหนออกไปถึงจะเวิร์คที่สุด
ไอเดียแรกอาจจะเป็น “ร้านยอดนิมคนท้องถิ่น ที่มี 5 เมนูเด็ดที่นักท่องเที่ยวชอบกิน” ส่วนไอเดียที่สองอาจจะเป็น “อาหารอร่อย ที่จอดรถกว้างขวาง ห้องน้ำสะอาด เหมาะกับคนที่มาเป็นครอบครัว”
จากนั้นก็วัดผลว่าไอเดียไหนทำให้เกิด Conversion มากกว่ากัน ส่วนถ้าถามว่าจะวัด Conversion อย่างไรก็แค่ต้องเชื่อม Data กันระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ ในส่วนนี้ขอไม่ลงรายละเอียด เพราะคุณสามารถเสิร์จหาอ่านต่อได้ในเว็บการตลาดวันละตอนครับ
หรือถ้า Advanced กว่านั้นคือการทำ Personalization ในระดับ IP Address ซึ่งกลยุทธ์การตลาดรู้ใจรูปแบบนี้เหมาะกับกลุ่ม B2B อย่างมาก
เพราะ IP Address บริษัทส่วนใหญ่ล้วนเหมือนเดิม นั่นหมายความว่าเราสามารถรู้ได้ว่าคนที่เข้ามาดูเนื้อหาในเว็บเราตอนนี้มากจากบริษัทอะไร
แม้ยังไม่อาจรู้ว่าคนที่เข้ามาเป็นตำแหน่งอะไร เป็น Decision maker หรือไม่ แต่อย่างนั้นเราก็สามารถทำ Personalized Website ปรับเนื้อหาให้ตรงกับบริษัทที่กำลังเข้ามาอ่านอยู่ครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับกับกลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ 101 Personalization Strategy ที่เราสามารถปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้นกว่าเดิม เลิกใช้เนื้อหาแบบเดียวกับทุกคนเหมือนกัน เพราะเราสามารถ Personalzied Content ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ เพียงแค่ต้องรู้จักใส่ใจในการใช้ Customer data มากกว่าเดิม
อ่านบทความชุดกลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization Strategy 101 ในการตลาดวันละตอนต่อ
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 1 : https://everydaymarketing.co/knowledge/6-customer-data-collecting-for-start-personalization-101/
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 2 : https://everydaymarketing.co/knowledge/3-martech-for-personalization/
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 3 – 6 How to Start Personalization Strategy กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ 101 : https://everydaymarketing.co/knowledge/6-how-to-personalization-strategy-ep1-personalized-marketing-every-segment-of-customer-journey/
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 4 – Personalization Strategy กับ Anonymous ID การตลาดแบบรู้ใจได้แม้ไม่รู้จัก : https://everydaymarketing.co/knowledge/personalization-strategy-with-anonymous-id-with-cdp-customer-data-platform/
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 5 – กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalization เพิ่มยอดขายกับกลุ่ม Cart abandon ด้วย Remarketing : https://everydaymarketing.co/knowledge/personalization-strategy-101-personalized-marketing-with-remarketing-cart-abandonment-segment/
อ่านบทความชุด How to Personalization Strategy ตอนที่ 6 – กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ Personalized Website Landing pages ตาม Data : https://everydaymarketing.co/knowledge/personalization-strategy-101-personalized-website-landing-page-with-customer-data/