บทความวันนี้จะพามาดู Use Case หรือ Case Study ของธุรกิจใหม่ๆ ที่ใช้ Web3 เป็นหลัก ใช้การทำงานแบบ Decentralized บน Blockchain อย่าง Social Media ที่ชื่อว่า FWB และไปจนถึงเปิดโลก Decentraland พื้นที่การทำแคมเปญการตลาดใหม่ๆ ของแบรนด์ที่อยากเข้ามารู้จัก Metaverse หรือ Web3 ในวันนี้ครับ
แม้ยังไม่มี Product หรือ Service ที่เป็น Web3 แท้ 100% ในวันนี้ แต่มีตัวอย่างหนึ่งที่อยากให้ดูเพื่อจะได้เห็นภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจน นั่นก็คือเว็บไซต์สำหรับการเขียนบทความขึ้นไปเพื่อสร้างรายได้อย่าง Mirror ซึ่งเหมือนกับเว็บ Medium ที่หลายๆ คนก็ใช้งานกัน (ผมเองก็เคยใช้)
เพียงแต่ความต่างคือเว็บนี้ทำงานแบบ Decentrailization ทุกคนเป็นเจ้าของ Data และ Contnet โดยตรง เราสามารถทำเงินจากบทความเราได้โดยตรงไม่ต้องผ่านตัวกลางในการบริหารจัดการเก็บเงินให้
และเรายังสามารถช่วยกันเลือกได้ว่าคอนเทนต์ไหนควรโปรโทม หรือควรจะทำให้แพลตฟอร์มนี้เปลี่ยนแปลงไปยังทิศทางไหน
Photo: https://mirror.xyz/
Photo: https://ethereum.org/en/dao/
หลักการทำงานของ Web3 อย่างหนึ่งคือ DAO หรือ Decentralized Autonomous Organizations ก็เหมือนกับการทำงานของบริษัททั่วไป เพียงแต่ทำอยู่บน Blockchain ส่วนการตัดสินใจก็ใช้การโหวตของคนที่มีสิทธิ์ในองค์กรนั้น จากเดิมเคยถือหุ้น ก็กลายเป็นการถือ Token ขององค์กรนั้นแทน
ใครถือมากก็อาจจะมีสิทธิ์มาก หรือแล้วแต่ว่าจะกำหนดกติกาของแต่ละองค์กรอย่างไร ซึ่งการกำหนดกติกาของแต่ละองค์กรเดิมอาจต้องร่างออกมาเป็นพันธกิจ แล้วมีการบังคับใช้ แต่กับยุคของ Blockchain และ Web3 นั้นต่างออกไป เราเขียนกติกาขององค์กรเราออกมาในรูปแบบ Code หรือที่เรียกว่า Smart Contracts ได้เลย
Photo: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles/What-is-Smart-Contract.aspx?feed=590fb9ad-c550-4bc5-9a56-459ad4891d74
จากนั้นทุกคนจะสามารถตรวจสอบ Code หรือ กติกาที่จะบังคับใช้ได้อย่างโปร่งใส แล้วคนที่มีสิทธิ์ในองค์กรนั้นก็จะโหวตผ่าน Token ที่ตัวเองมี แล้วการบังคับใช้กติกานั้นก็จะเป็นผลโดยอัตโนมัติ ทำให้ความเป็น DAO สมบูรณ์โดยตัวเทคโนโลยีของมันเอง
สมมติว่าผมปรับเว็บการตลาดวันละตอนให้กลายเป็น Web3 และเป็นองค์กรแบบ DAO ผมมีการเปิดขาย Token การตลาดวันละตอนออกไปให้ทุกคนที่ถือสามารถโหวตได้เหรียญละ 1 สิทธิ์
มีการเสนอโปรเจคกันว่า ต่อไปนี้รายได้ของการตลาดวันละตอน 10% จะสมทบทุนเข้ากองทุนชานมไข่มุกเพื่อน้อง กติกานี้ถูกเขียนขึ้นมาเป็น Smart Contracts แล้วก็เปิดให้ทุกคนที่ถือ Token การตลาดวันละตอนโหวตเพื่อรับรองหรือปัดตก
เมื่อคนส่วนใหญ่โหวตรับรองกติกานี้ รายได้ของการตลาดวันละตอนก็จะไหลเข้ากองทุนดังกล่าวอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีใครมาตรวจสอบว่าเดือนไหนโอนไม่โอน แต่ Wallet ของเว็บการตลาดวันละตอนต้องเชื่อมต่อด้วยนะ และต้องรับเงินลูกค้าเป็นคริปโทด้วย การบังคับใช้จึงจะ Autonomous แบบสมบูรณ์
ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยี Web3 ที่อยู่บนพื้นฐานของ Blockchain นั้นหัวใจหลักคือความ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้ไม่ต้องไว้ใจกัน แต่ไว้ใจใน Code ของ Smart Contracts ก็เพียงพอครับ
ลองมาทำความรู้จัก DAO ให้หลากหลายมิติเพิ่มขึ้นเพื่อขยายมุมมองกันอีกสักหน่อยดีกว่าครับ
DAO กับการลงทุน ซึ่งมักเป็นอะไรที่ได้รับความสนใจจากสื่อไม่น้อย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก มีหลายโปรเจคที่ใช้ DAO ในการตัดสินใจร่วมกัน หรืออาจนิยามใหม่ว่า เอาความสนใจร่วมกันเป็นตัวตั้ง แล้วใช้ DAO เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเงินแทน
Constitution DAO เคยมีการระดุมทุนจากกลุ่มแฟนคริปโตรวมแล้วเป็นเงินมากกว่า 40 ล้านดอลลาร์ หรือตีเป็นเงินไทยก็ราวๆ 1,400 ล้านบาท ภายในระยะเวลาไม่ถึงเจ็ดวัน เพื่อเอาเงินไปประมูลรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าท้ายที่สุดแล้วกลับมีคนยอมทุ่มเงินที่สูงกว่าแล้วชนะการประมูลไป
น่าเอามาใช้ในการประมูลซื้อรถถัง เรือดำน้ำ หรือเครื่องบินรบบ้านเราแทนนะครับ ให้ประชาชนผู้เสียภาษีโหวตว่าอยากซื้อจริงหรือไม่ แทนการทำประชามติที่มีค่าใช้จ่ายทีละหลายพันล้าน แถมยังต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลที่นานและยุ่งยากเสี่ยงต่อการเจอคะแนนเขย่งอีก
Photo: https://gen.xyz/blog/flamingodaoxyz
FlamingoDAO ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่วมกันลงทุนในผลงาน NFT ก็มีพอร์ท NFT ที่ถูกประเมินว่าน่าจะมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ไปแล้ว (แต่ตอนนี้คริปโตราคาตก ไม่รู้มูลค่าจะลดลงมั้ยนะ)
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับตัวอย่างการใช้ Blockchain ในการระดมทุนและตัดสินใจว่าจะลงทุนกับอะไรของผู้คนจริงๆ ในโลกยุค Decentralization เมื่อคนตัวเล็กๆ มารวมกันในระยะเวลาสั้นๆ ก็มีอำนาจไม่แพ้องค์กรยักษ์ใหญ่ที่อยู่มานานเลย
ลองมาดู Use Case Study ที่เกิดขึ้นจริงกับ Social Network ในรูปแบบ Web3 กันดีกว่าครับ
Social Network แบบ Web3
Photo: https://thedapplist.com/learn/what-is-fwb-friends-with-benefits-dao/
FWB Friends With Benefits โซเชียลมีเดียแบบ Web3 ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของนอกจากคุณ
แน่นอนว่าโซเชียลมีเดียในเวอร์ชั่น Web3 ก็กำลังเป็นที่น่าจับตามอง เพราะโซเชียลมีเดียวันนี้ถูกยึดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่ราย หนึ่งในนั้นคือ Meta เจ้าของ Facebook และ Instagram ส่วนอีกบริษัทคือ Twitter อาจจะเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง Google ที่เป็นเจ้าของ YouTube ครับ
เมื่อ FWB หรือ Friends With Benefits เปิดตัวว่าเป็นโซเชียลมีเดียที่เป็น Web3 และเป็น Decentralized Social Network วิธีการใช้งานโซเชียลมีเดียแห่งนี้ก็ไม่ซับซ้อน เพียงแค่คุณต้องซื้อเหรียญ FWB จำนวน 75 FWB ซึ่งเป็นเงินประมาณสองพันดอลลาร์ (ก็แพงอยู่นะ) จากนั้นคุณจะได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกลุ่มบน Discord ที่เป็น Private แล้วคุณก็จะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งบนออนไลน์และออฟไลน์ได้
DAO ของ FWB ทำให้เราเห็นว่า นี่คือโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานเป็นเจ้าของ เป็นผู้ควบคุมและกำหนดนโยบายทิศทางต่างๆ เนื้อหาที่เราโพสล้วนเป็นของเราไม่ใช่ของใคร ผู้ก่อตั้งหรือบริษัทที่สร้างก็ไม่มีสิทธิ์ควบคุมจำกัดใดๆ
เรียกว่าเป็นพื้นที่ของผู้ใช้จริงๆ และไม่ต้องกังวลเรื่องการเซนเซอร์ ตราบใดที่ไม่มีการออกกฏใหม่ผ่าน Smart Contracts แล้วผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยอมรับกันในอนาคต
Decentraland DAO ที่แบรนด์ต่างๆ คุ้นเคย
Decentraland น่าจะเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่นักการตลาดคุ้นมากที่สุด แม้ว่า Decentraland จะเห็น Virtual Reality แพลตฟอร์มที่เราเรียกกันติดปากว่า Metaverse แต่หลักใหญ่ใจความของแพลตฟอร์มนี้คือใช้การกระจายอำนาจแบบ Decentralization บนเทคโนโลยี Blockchain ทำให้ Decentraland ถูกนับว่าเป็น Web3 ยุคแรกๆ
ดังนั้นเราจะเห็นว่า Metaverse และ Web3 เกี่ยวกันอย่างไร มันคือสองสิ่งที่มีส่วนเชื่อมโยงกัน ถ้าทำความเข้าใจง่ายๆ คือ Web3 คือเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกเอาไปต่อยอดสร้างเป็น Reality World Platform ที่ถูกเรียกตอนหลังว่า Metaverse ที่ใช้การทำงานแบบ Decentralization กระจายอำนาจการตัดสินใจผ่าน Token ใช้การบันทึกข้อมูลความเป็นไปลงบน Blockchain แล้วก็เปลี่ยน User Interface ให้กลายเป็น Metaverse นั่นเองครับ
ดังนั้นความต่างระหว่าง Decentraland กับเกมออนไลน์ก่อนหน้าอย่าง Roblox หรือ Fortnite คือการดำเนินการหรือปล่อยให้เกมดำเนินไปโดยไร้ศูนย์การควบคุมตัดสินใจ ไม่มีใครชี้เป็นชี้ตายเกมได้ Decentraland สร้างขึ้นมาแล้วจะปล่อยให้ผู้ใช้เป็นคนกำหนดทิศทางของมัน ผิดกับเกมในยุค Web2 ที่เอ่ยถึง บริษัทผู้สร้าง หรือทีมงานผู้สร้าง จะเป็นพระเจ้าผู้กำหนดชะตาชีวิตและทิศทางของแต่ละเกมไปครับ
พอเห็นภาพความต่างระหว่าง Web3 กับ Metaverse บ้างแล้วใช่ไหมครับ?
สรุปง่ายๆ Web3 มาก่อน Metaverse ต่อยอดให้ Web3 ดูสนุกขึ้นนั่นเองครับ
Marketing Campaign ของ Brand ต่างๆ บน Decentraland
Photo: https://techbriefly.com/2022/01/07/samsung-enters-the-metaverse-with-decentraland/
Samsung เองก็ลงทุนทำแคมเปญเปิดตัวสินค้าใหม่บน Decentraland มาแล้ว หรือทาง Decentraland เองก็อาสาเป็นเจ้าภาพจัดงาน Metaverse Fashion Week บน Decentraland เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็ได้รับความสนใจจากกลุ่ม Early Adopter ไม่น้อย เรียกได้ว่านับเป็นหนึ่งในงาน Fashion Show ขนาดใหญ่ ตั้งใจให้เทียบเท่ากับ Paris, Milan, New York และ London ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี
มีแบรนด์ดังๆ อย่าง Dolce & Gabbana กับ Tommy Hilfiger มาร่วมเปิดร้านค้า Pop-up store ในงาน Virtual Catwalk Show ครั้งนี้ด้วย
Photo: https://news.bitcoin.com/jpmorgan-opens-lounge-in-metaverse-1-trillion-market-infiltrate-every-sector/
แบรนด์ทางการเงินจากธนาคารอย่าง JP Morgan’s ก็มาสร้าง Virtual Lounge ใน Decentraland เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน แน่นอนว่านอกจากกลุ่มคนที่มีเงินมากๆ ที่เป็นหนึ่งในผู้ใช้งาน Metaverse วันนี้แล้ว ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่อาจจะกลายเป็นลูกค้าทางกลุ่ม Wealth ของ JP Morgan’s ได้ในอนาคต
แม้บรรยากาศใน Virtual Lounge ของ JP Morgan’s จะดูแปลกๆ หน่อยสำหรับชาว Metaverse แต่ทาง JP Morgan’s ก็เชื่อว่าการลงมือทำอะไรขึ้นมา แม้จะไม่ได้ดีเลิศไปเสียทุกอย่าง แต่มันย่อมดีกว่าการอยู่เฉยไม่ลงทำอะไร แล้วปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไปโดยไม่ได้เรียนรู้
ทาง JP Morgan’s เองก็คาดการณ์ว่าตลาด Metaverse น่าจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้ เพราะสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มคนชนชั้นได้จริงๆ เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในวันนี้ นี่คือโอกาสที่มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะลงทุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จบ้าง แต่มันจะเสี่ยงที่สุดถ้าเราไม่ทำอะไรเลยแล้วถูกทิ้งไว้ให้เป็นผู้ตามในวันหน้าเมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว
สรุป Web3 for Brand & Marketing โอกาสขุมทองในอนาคตสำหรับนักการตลาดที่กล้าก่อนในยุค Decentralization
Metaverse virtual reality futuristic web3 internet avatar augmented reality technology, virtual worlds, simulation, platform, nft, defi decentralized finance 3d illustration
เป็นอย่างไรครับกับโอกาสทางการตลาดของแบรนด์ต่างๆ บน Web3 และ Metaverse ที่เริ่มขึ้นแล้วน่าจะฉายภาพให้เราเห็นทิศทางความเป็นไปในอนาคต และนี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นของอนาคตยุด Decentalized Disruption เมื่อการคิดและตัดสินใจแบบ DAO Decentralized Autonomous Organizations ก้าวเข้ามาเป็นวิธีหลัก รู้ก่อน ลองก่อน เข้าใจก่อน คุณก็จะเจอวิธีการใช้ Web3 ในแบบของคุณเองก่อนคู่แข่งครับ
อย่ารอจนทุกอย่างพร้อมค่อยเริ่ม เพราะนั่นหมายถึงคุณช้ากว่าคนอื่นไปไกลแล้ว
อ่านบทความเรื่อง Web3 for Marketing ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://everydaymarketing.co/?s=web3
Source: https://www.coindesk.com/layer2/culture-week/2021/12/16/whats-next-for-friends-with-benefits/ https://www.fwb.help/ https://flamingodao.xyz/ https://www.coindesk.com/markets/2022/02/10/flamingodaos-nft-portfolio-is-now-worth-1b/ https://www.constitutiondao.com/ https://mirror.xyz/ https://decentraland.org/ https://decentraland.org/blog/announcements/metaverse-fashion-week-is-here/ https://www.samsung.com/us/explore/metaverse-837x/ https://news.bitcoin.com/jpmorgan-opens-lounge-in-metaverse-1-trillion-market-infiltrate-every-sector/