สรุป 5 Social Media Trends & Insights 2024 กับรายงานพฤติกรรมการออนไลน์ หรือการใช้โซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไปของผู้คนในปีหน้า จากรายงาน Think Forward 2024 ของ We Are Social ที่การตลาดวันละตอนนำมาสรุปและเรียบเรียงให้เพื่อนๆ นักการตลาดไทยได้รู้เท่าทันเทรนด์การออนไลน์ของผู้คนที่เปลี่ยนไป
ถ้าอยากรู้เทรนด์การออนไลน์ในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ลองอ่านจากลิงก์เหล่านี้ย้อนหลังดูได้ครับ
Social Behavior Trends & Insights 2023 : https://everydaymarketing.co/trend-insight/5-trends-social-behavior-insight-2023-think-forward-we-are-social/
Social Behavior Trends & Insights 2022 : https://everydaymarketing.co/trend-insight/5-digital-marketing-and-social-trends-2022-we-are-social/
Social Behavior Trends & Insights 2021 : https://everydaymarketing.co/knowledge/summary-6-key-social-media-trend-2020-from-think-forward-2020-we-are-social-part-1/
ถ้าอยากอ่าน Social Behavior Trends & Insights 2024 แล้ว เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลยครับ
The Social Reckoning ภาพรวม 2024
ในปีที่ผ่านมา 2022-2023 ที่ผ่านมา เราเห็นพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียแบบใหม่ๆ ที่ไม่ได้เน้นการดูอะไรสนุกๆ หรือไร้สาระเพื่อผ่อนคลายไปเรื่อยๆ แต่กลายเป็นเริ่มมีกลุ่มคนที่สนใจดูอะไรแบบเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง หรือที่เรียกว่าเป็น Niche Social มากๆ
อย่างกลุ่ม ButterTok กลุ่มคนที่หลงไหลในเรื่องเนยอย่างจริงจังแค่บนแพลตฟอร์ม TikTok เท่านั้น จนแฮชแท็ก #ButterTok มียอดวิวรวมกันเกือบ 700 ล้านวิวแล้วในเวลานี้
หรือกลุ่มคนที่ชอบโพสรูปที่ดูร้างใน Reddit ที่ใช้ชื่อเรียกว่า LiminalSpace ภาพที่ไร้ผู้คนอยู่ในสถานที่จริง เห็นแล้วก็ทำให้รู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยวอย่างบอกไม่ถูก หลายภาพดูร้างแบบน่ากลัว แต่กลุ่มนี้ก็กลับมาผู้คนเข้ามาโพสภาพแนวนี้มากมายจนเลื่อนดูเท่าไหร่ก็ไม่หมด
นี่คือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นอย่างจริงจังมาก่อนของการใช้หรือเล่นโซเชียลมีเดียในปีที่ผ่านๆ มา และดูเหมือนว่าการใช้โซเชียลมีเดียในปี 2024 นั้นจะขยับทิศทางไปเรื่องของการรวมกลุ่มคนเล็กๆ ที่เหนียวแน่น มากกว่าจะเป็นกลุ่มคนใหญ่ๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันจริงจัง แต่ละคนในกลุ่มเล็กๆ เหล่านั้นก็พยายามมีส่วนร่วมหรือแชร์แบ่งปันกันอย่างจริงจัง ดูเหมือนการเล่นโซเชียลมีเดียในปี 2024 ดูจะเป็นอะไรที่เน้นความสัมพันธ์ที่เริ่มจากความสนใจอะไรคล้ายๆ กันแบบเฉพาะเจาะจงหรือ Niche Social มากๆ ครับ
ในปี 2023 เองก็เป็นช่วงเวลาแห่งวิกฤตค่าครองชีพสูงที่พุ่งทะยานไปทั่วโลก และนั่นก็ทำให้โซเชียลมีเดียที่เราคุ้นเคยกันมาสิบกว่าปี เริ่มจะปรับตัวจากการปล่อยให้ผู้คนได้เล่นฟรี มาสู่การเก็บเงินเพื่อเล่นแบบเป็นรายเดือนเสียแล้ว
เริ่มต้นจาก Elon Musk เจ้าพ่อ Twitter คนปัจจุบันประกาศว่าจะเก็บเงินกับผู้ใช้งานทุกคนในอนาคตแทน เพื่อแลกกับการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่จะสาธารณะสุดๆ ลดการพึ่งพาเงินจากโฆษณาลง ส่วนคนที่เคยได้ Blue Stamp หรือตราประทับมาว่าเป็นเจ้าของ Profile นั้นในชีวิตจริง จากที่เคยได้รับฟรีก็กลายเป็นต้องเสียเงินเพื่อรักษาตราประทับสีน้ำเงินไว้
แน่นอนว่าล่าสุดก็เริ่มได้ยินข่าวนี้จากทาง Facebook เหมือนกัน ว่าอาจมีบริการให้จ่ายเงินเพื่อใช้งาน แลกกับการไม่ต้องเห็นโฆษณาอีกต่อไป ดูเหมือนว่าจากที่ YouTube ทำแล้วค่อนข้างเวิร์ค ก็เริ่มเป็นโมเดลต้นแบบให้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่นได้ลองทำดูครับ
ส่วนคอนเทนต์ที่จะเป็นที่รู้จักได้ก็ต้องปังมากๆ เพราะ Algorithm ของ TikTok เองก็ดูเหมือนจะออกแบบมาอย่างนั้น ทำให้คอนเทนต์กลางๆ ทั่วไปเริ่มถูกลดการมองเห็นลง หรือเอาเข้าจริงแล้วก็ต้องบอกว่าเราทุกคนต่างขยันกันทำคอนเทนต์มากขึ้นในทุกวัน ทีนี้เมื่อจำนวนดูเสพมีเท่าเดิม แต่คนสร้างกลับเพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกว่าทำไมเรามักบ่นว่าโพสไปก็ไม่ค่อยมีคนดู ก็ไม่ค่อยมีคนเห็นครับ
หรือกระแสดราม่าหรืออาจเรียกได้ว่าทัวร์ลงกับเหล่าแบรนด์และ Influencer ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ ในระดับโลกเองที่ประเทศอเมริกาก็มีเคสดราม่าและทัวร์ลงไม่น้อย อย่างเช่นตอนแบรนด์ Fast Fashion อย่าง Shein ที่ถูกเสียงต่อว่าเรื่องการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม โรงงานผลิตมีการใช้แรงงานหนักมาก แบรนด์ก็เลยจัดพา Influencer ที่มีผู้ติดตามมากๆ ไปทัวร์โรงงานจริงๆ เพื่อให้เห็นสภาพบรรยากาศการทำงานว่าไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ชาวเน็ตเขาพูดกัน
แต่กลายเป็นว่าคนยิ่งต่อว่าหนัก คนยิ่งไม่เชื่อ และบรรดา Influencer เองก็โดนทัวร์ลงเละเทะเป็นว่าเล่น
ลองกดเข้าไปอ่านต้นทางดูครับ : https://www.independent.co.uk/life-style/fashion/shein-factory-tour-influencers-trip-b2364739.html
เรื่องแบบนี้ในบ้านเราก็มีเรื่อยๆ อย่างกระแสร้านราเมง Ichiran ที่มาเปิดในไทยแล้วชวนเหล่า Influencer มากินพร้อมกับพูดรีวิวว่าเส้นสด หมูชาชู แต่พอดูของจริงกลายเป็นแค่หมูชาบู และก็ถูกตั้งคำถามว่าตกลงเส้นสดหรือแค่แกะจากซองมาต้มให้กินกันแน่ ทั้งนี้ยังไม่นับเคสอื่นๆ อีกมากมายที่มีกระแสทัวร์ลงจากการพยายาม PR แบบเก่าๆ ที่คิดว่ากลยุทธ์ยุค Analog จะยังได้ผลในยุค Social ที่ทุกคนเสิร์จหาทุกอย่างด้วยตัวเองได้แบบง่ายๆ
และดูเหมือนว่าวันนี้โลกโซเชียลจะขับเคลื่อนโลกจริงไปจนถึงเศรษฐกิจระดับมหาภาคจริงได้มากกว่าที่คิด ถ้าใครเคยดูภาพยนต์ Documentary เรื่อง Eat the Rich: The GameStop Saga
VIDEO
มันคือเรื่องราวของกลุ่มคนธรรมดาที่รวมตัวกันบนเว็บบอร์ดดังอย่าง Reddit (คล้ายๆ พันทิปบ้านเรา) เพื่อเอาคืน Broker บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่พยายาม Shot Sell หุ้นเพื่อเอากำไร แต่กลับเจ๊งหลายพันล้านเพราะถูกรายย่อยที่รวมตัวกันซื้อเข้าไปเรื่อยๆ จนราคาหุ้นพุ่งทะยานไม่ตกลงมาเลย
และนี่คือหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Eat the Rich หรือการปล้นคนรวยเพื่อให้คนทั่วไปมีกินมีใช้บ้าง ในวันที่ความไม่เท่าเทียมในสังคมถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ และโซเชียลมีเดียเองก็กลายเป็นพื้นที่ที่คนจริงเข้ามรวมตัวกันเพื่อร่วมก่อการปฏิวัติอะไรสักอย่างบนโลกจริง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ The GameStop Saga
อีกหนึ่งโซเชียลเทรนด์ที่สำคัญมากในปี 2023 ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือ Deinfluencing จากเดิมบรรดาชาวเน็ต หรือชาวโซเชียล หรือ Influencer ทั้งหลายมักจะทำคอนเทนต์ที่ชวนให้คนมาซื้อโน่นนี่นั่นกัน ไม่ว่าจะด้วยแฮชแท็ก #ของมันต้องมี ที่ถูกใช้มายาวนาน
ล่าสุดในปีนี้มีกระแสใหม่นั่นก็คือ #Deinfluencing หรือบอกกับคนดูตรงๆ ว่าไม่ต้องซื้อไอ้ของสิ่งนี้ก็ได้ จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ปัจเจกชนไป ถ้าอยากทำความเข้าใจเพิ่มเติม ลองอ่านบทความเรื่องกระแส Deinfluencing ที่การตลาดวันละตอนเคยเขียนไว้ก็ได้ครับ
ดูเหมือนกระแสชาวโซเชียลในปีนี้จะไม่ได้เน้นไปทางบริโภคนิยม ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำบวกกับค่าครองชีพสูงประกอบ เทรนด์โซเชียลในปีหน้าจะไปในทางการแสวงหาสมดุล การใช้โซเชียลเป็นส่วนหลักของชีวิตที่ไม่ใช่แค่ส่วนหนึ่งหรืออีกโลกที่ไม่เกี่ยวกันอีกต่อไป
อะไรดีก็ว่าดี อะไรชอบก็ว่าชอบ อะไรรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องมีก็บอกตรงๆ เพราะมันสิ้นเปลืองกับเงินที่จ่ายไป แต่อย่างไรก็ดีกับกระแสการซื้อตามโซเชียลก็ไม่ได้ตายจากไปเสียทีเดีย ยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่จะทำให้คนสนใจจนอยากซื้อได้นั้นต้องเป็นอะไรที่สุดจริงๆ อย่างกระแสของสินค้าจากภาพยนต์เรื่อง Barbie ทำให้สินค้าสีชมพูนั้นกลับมาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
มันคือยุคที่ทำอะไรต้องสุด ถ้ากลางๆ พอผ่านอย่าเสียเวลาทำ ไม่งั้นคุณจะไปต่อได้ยากในปีหน้า ถ้าจะเพี้ยนก็เอาให้มันสุดขั้วไปเลย เพราะคนรู้แล้วว่ามันคือเรื่อง Entertain ไม่ถือสาเอาสาระแต่อย่างไร
สุดท้ายเทรนด์ของ Social media trends & insight 2024 ปีนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับจากปีก่อน ผู้คนไม่ยอมรับในการกำหนดกรอบกติกาใดๆ จากแบรนด์หรือแพลตฟอร์มอีกต่อไป พวกเขาจะหาทางสร้างสรรค์อะไรที่แปลกใหม่ในแบบของตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ
ฟีเจอร์นึงอาจถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานวัตถุประสงค์นึง แต่เอาเข้าจริงผู้คนอาจใช้มันไปแบบคนละเรื่องเลย ในแบบที่แพลตฟอร์มเองก็คาดไม่ถึง
ส่วนแบรนด์บนโซเชียลที่คิดจะทำการตลาดให้เวิร์คในปี 2024 ก็ไม่สามารถใช้วิธีคิดหรือกลยุทธ์แบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป ทุกคอนเทนต์จาก Creator หรือ Influencer จะถูกจับผิดง่ายขึ้นว่าตกลงมันคือโฆษณาที่ถูกจ้างให้มาทำคอนเทนต์ หรือเป็นคอนเทนต์จริงๆ ที่อยากทำขึ้นมาเองด้วยความชอบหรือเหตุผลส่วนตัว
ดูเหมือนว่าการทำ Social Media Marketing ในปี 2024 จะไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป หรือจริงๆ ต้องใช้คำว่ามันยากยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากกว่า แต่ทั้งหมดนี้ผมอยากจะบอกเกริ่นก่อนจะเข้าสู่ 5 Social Behavior Trends & Insights 2024 ว่า เทรนด์การตลาดโซเชียลปีหน้ามันคือการกลับไปที่ความเป็นคนมากขึ้นในทุกด้าน และสิ่งใดๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก็จะถูกนำมาตีความใหม่ให้มีความเรียบง่ายบวกจริงใจมากขึ้น
เพราะเราเข้าสู่โลกยุค Metaverse แล้วจริงๆ แต่เป็นโลกที่ O&O หรือ Online and Offline กลายเป็น Online in everylife ที่เราทุกคนล้วนปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบนออนไลน์ไม่ได้ หรือชีวิตในโลกออฟไลน์เรานี่แหละที่ถูกออนไลน์หรือโซเชียลเป็นตัวขับเคลื่อนหลักแล้ว
ถ้าพร้อมแล้วเรามาทำความเข้าใจแต่ละเทรนด์โซเชียลปีหน้ากันครับ
Attention Layering
Post Representation
The Offline Internet
Everyday Fandom
Mischief Mode
1. Attention Layering หมดยุคคอนเทนต์ฉาบฉวย เข้าสู่ยุคคอนเทนต์ลุ่มลึก
ในเดือนมกราคม 2023 ดูเหมือนการทำ Video Content ปกติที่เคยทำกันมาจะไม่สาแก่ใจ ทาง TikTok เลยออกฟีเจอร์ใหม่ ให้เราสามารถนำคลิปวิดีโอต่างๆ มามิกซ์รวมกันได้ แล้วออกมาเป็นคลิปวิดีโอใหม่ที่ไม่แน่ใจว่าตกลงควรโฟกัสกับอะไรดี
เพราะมันคือการเปิดวิดีโอหลายหน้าจอแล้วเล่นพร้อมกัน แต่มันถูกจับมารวมไว้ในฟีดของ TikTok แค่โพสเดียว ผู้คนก็เอาไปใช้มิกซ์แอนด์มั่วกันอย่างสนุกสนาน หลายคลิปในโพสเดียวกันก็ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกัน อารมณ์แบบอยากใส่อะไรก็ใส่เข้าไป ขอแค่ทำให้คนหยุดดูให้ได้ และให้นานที่สุด เท่านี้คลิปเราก็สามารถติดเทรนด์จนได้ล้านวิวสบายๆ
แล้วคนดูอย่างเราหละ เสียเวลาดูไปแล้วจะได้อะไร ?!
และจากกระแสคอนเทนต์โซเชียลรูปแบบใหม่นี้ ทำให้กลุ่มคน Gen X, Y และ Baby Boomer เองก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเราเอาเสียเลย ลำพังแค่โพสรูปภาพให้สวยยังยาก จะให้โพสคลิปยังลำบาก แล้วจะให้มาทำคอนเทนต์แบบมิกซ์วิดีโอต่างๆ มากมายเข้าด้วยกัน ขอยอมแพ้ดีกว่า
กลับไปเล่นโซเชียลมีเดียแบบคนแก่ๆ กับเพื่อนเก่าๆ ในแพลตฟอร์มเดิมๆ ที่คนรุ่นใหม่ไม่เล่นแล้วก็ได้
ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะ Gen Z หรือ Alpha เองต่างก็ถูกใจวิธีการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ แบบนี้ไม่มากก็น้อย ดูเหมือนคนต่างเจนจะยิ่งอยู่คนละโลกกันอย่างชัดเจน ยุค Gen X กับ Gen Y ยังใช้โซเชียลมีเดียเดียวกัน แต่พอเป็น Gen Z หรือ Alpha เราแทบจะไม่มีทางรู้ความเป็นไปในชีวิตประจำวันของพวกเขาเลย
ไม่ต้องแปลกใจทำไมคนสมัยนี้ส่วนใหญ่จึงสมาธิสั้นมากขึ้น เราโฟกัสหรือจดจ่อกับอะไรๆ ได้น้อยลง เรื่องนี้ส่งผลถึงพฤติกรรมการดูภาพยนต์ในโรงหนังเรียบร้อย
อย่างภาพยนต์ฟอร์มยักษ์เรื่อง Oppenheimer ที่เน้นบทพูดอย่างมาก ทำเอาหลายคนไม่สามารถทดจดจ่อฟังหรืออ่านคำบรรยายได้นาน ทำให้ในโรงหนังมีคนจำนวนไม่น้อยที่อดหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาไถเล่นระหว่างดูหนังเรื่องนี้ไม่ได้
และจากการตัดต่อวิดีโอหลายๆ ตัวใส่เข้าไปได้ในคลิปเดียวกันที่ง่ายขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ทำให้เกิดคำถามว่าจากคำว่า Second Screen หรือ Third Screen เราจะต้องมีอีกกี่หน้าจอกันในอนาคต หรือหน้าจอเดียวของเราจะถูกยัดเข้ามาอีกกี่หน้าจอข้างในนั้น เราจะต้องอยู่ในยุคสมาธิสั้นไปได้อีกขนาดไหน
น่าเป็นห่วงเรื่องนี้ไม่น้อยนะครับ
และที่สำคัญกว่านั้นในฐานะนักการตลาดคือ บรรดาแบรนด์ทั้งหลายหละ จะต้องปรับตัวในการทำคอนเทนต์อย่างไรที่ดูจะยากขึ้นแบบทวีคูณไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า
เพราะลำพังการทำคลิปเดียวให้ดีว่ายากแล้ว ครั้นพอต้องเอาหลายคลิปมาใส่รวมกันมันจะยิ่งทำให้ออกมาดี กลมกล่อม เล่าเรื่องราวที่แบรนด์อยากบอกได้อยู่หรือเปล่า ?
แต่ยังดีครับ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้โซเชียลจะชอบคอนเทนต์ที่กระตุ้นความสนใจหนักๆ อยู่ตลอดเวลา กลายเป็นว่าอีกหนึ่งกระแสโซเชียลที่มีแรงก็คือการพยายามทำคอนเทนต์แบบไม่กระตุกความสนใจ เน้นความธรรมดาที่เรียบง่าย หรือเน้นเรื่องราวของคนธรรมดาในชีวิตประจำวัน
ดูเหมือนว่าคลิปคอนเทนต์แบบนี้จะได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เบื่อการเสพคอนเทนต์แบบขยันเรียกความสนใจจากเราเหลือเกิน
ท่ามกลางโลกที่หมุนเร็วมากๆ มากแบบเท่าทวีคูณขึ้นทุกวัน ทำให้หลายคนชื่นชมความเนิบช้า ความธรรมดาไม่พิเศษ เพราะมันคือความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในชีวิตจริงของเราทุกคน แล้วยิ่งบวกกับเมื่อดูคอนเทนต์บรรดา Super Content Creator ระดับโลกอย่างดาราดัง หรือ Mr.Beast นั้นยิ่งพบว่าเราไม่มีเงินจะไปทำคอนเทนต์ให้ปังแบบเขาหรอก
ก็ในเมื่อเราสู้ในเกมเค้าไม่ไหว ก็ปล่อยคนที่ชอบแบบนั้นให้เสพไป ส่วนพวกเขาขอมาทำคอนเทนต์แบบเรียลๆ ธรรมชาติ บ้านๆ ธรรมดาๆ เน้นความเป็นคนจริงๆ ชีวิตจริงๆ ในเรื่องราวหรือคลิปที่โพสออกไป ลองมาดูปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดเทรนด์การใช้โซเชียลแบบเรียลๆ ในปี 2024 กันดีกว่าครับ
เด็กยุคใหม่ที่เราเรียกว่า Generation Alpha จะเกิดมาพร้อมกับการเสพดิจิทัลคอนเทนต์หรือโซเชียลมีเดียเป็นปกติ และด้วยความที่พ่อแม่ของ Alpha ก็คือชาว Millennial หรือ Gen Y ก็มีความเป็น Digital Savvy หรือคุ้นเคยกับดิจิทัลเป็นอย่างดี ทำให้การใช้โซเชียลจากนี้จะไปจะมีความเป็นจริงเป็นจัง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริงๆ ไม่ได้แยกว่าอันนี้โซเชียลหรืออันนี้ชีวิตจริง แบบคน Generation อื่นๆ อีกต่อไป
Hyper Attention Content
https://www.tiktok.com/@pandkourt/video/7148937266843405611?embed_source=121355059%2C121351166%2C121331973%2C120811592%2C120810756%3Bnull%3Bembed_pause_share&refer=embed&referer_url=thinkforward.wearesocial.com%2F01-attention-layering.html&referer_video_id=7148937266843405611
โลกเรากำลังวิ่งเข้าสู่ยุคที่คอนเทนต์ต่างๆ เน้นตัดฉับๆๆ เพื่อเรียกความสนใจจากเราตลอดเวลา เมื่อเป้าหมายของ Algorithm คือทำอย่างไรให้คนหยุดดู และหยุดอยู่ในแพลตฟอร์มนั้นได้นั้นที่สุด บวกกับ TikTok เองก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำเรื่องนั้นได้ดีด้วย Short Video Content ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ทำให้วันนี้คอนเทนต์จำนวนมากกลายเป็นคลิปวีดีโอสั้นๆ แบบตัดฉับๆ ไวๆ ดูแล้วอาจไม่ได้สาระความเข้าใจอะไร แต่มันก็ทำให้คนดูรู้สึกเพลินๆ หรืออาจเป็นจุด Trigger ที่ทำให้คนต้องวนกลับมาดูอีกครั้ง
นี่คือยุคที่มนุษยชาติน่าจะมีสามาธิสั้นยิ่งกว่าปลาทอง ถ้าไม่สามารถสะกิดให้หยุดดูคอนเทนต์นั้นได้ภายใน 3 วิ สิ่งที่ทำไปก็แทบไร้ค่า ทำให้หลายคอนเทนต์นั้นเป็นการตัดวิดีโอวกไปวนมา โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรใหม่ ทั้งหมดก็เพื่อเพียงแค่เรียกความสนใจ ให้ดูเหมือนมีอะไรๆ ทั้งที่ไม่มีอะไรที่น่าสนใจเลย
เรื่องนี้เคยมีการทดลองเมื่อนานมาแล้วว่าจะทำรายการเกี่ยวกับเด็กอย่างไร ให้เด็กสนใจดูได้นาน จากเดิมคิดว่าต้องทำเนื้อหาให้สนุกขึ้น เพิ่มตัวการ์ตูนเข้าไปมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วพบว่าแค่ตัดวิดีโอให้ไวขึ้นก็พอ เป็นไงครับ วิธีเอาชนะเกม Attention Economy นั้นไม่ยาก แค่ขยับขึ้นไปเป็น Hyper Attention Content เท่านั้นเอง
และจากพฤติกรรมการพยายามแย่งชิงความสนใจจากชาวโซเชียลที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลให้เกิดเทรนด์การใช้โซเชียลใหม่ๆ ที่เป็นการพลิกอีกด้านของนิยามคำว่า Attention Economy มาสู่การพยายามทำให้คอนเทนต์นั้นมีความ Immersive หรือที่เราจะเรียกกันว่า Immersion Economy ในปี 2024 เป็นต้นไป
From Attention Economy to Immersion Economy
คอนเทนต์โซเชียลในปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้นแข่งกันว่าใครจะสามารถทำให้มันตื่นเต้น เร้าใจ น่าดู เพื่อสะกดให้คนดูหยุดสนใจได้ตั้งแต่ 6 วินาทีแรกได้ดีกว่ากัน แต่เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่หรือที่เรียกว่าชาวเน็ตในปี 2024 นั้นเริ่มเอียนและเบื่อคอนเทนต์แบบเดิมๆ เหล่านั้นมากขึ้นทุกวัน เลยเป็นที่มาของเทรนด์การเสพคอนเทนต์ที่มีความไม่หวือหวาแต่ลุ่มลึก เลยเป็นที่มาของการเปลี่ยนผ่านจาก Attention Economy มาสู่ Immersion Economy นั่นเองครับ
คอนเทนต์ที่จะได้รับความสนใจในปี 2024 จะไปในทิศทางการไม่เร่งรีบ เร่งเร้า แต่เป็นเสมือนการค่อยๆ นั่งคุย นั่งเล่าแบบชิลๆ แต่ลงรายละเอียดแบบลึกๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อกลุ่มคนที่เบื่อคอนเทนต์ประเภทฉึบฉับๆ ที่ทำกันมาหลายปีจนรู้สึกนานเกินไป
From Surreal to Real Life จากคอนเทนต์ประดิษฐ์พิศดาร สู่คอนเทนต์เงียบง่ายแต่งดงาม
เดิมทีเราชอบคอนเทนต์ประเภท #ของมันต้องมี หรือชอบดู Influencer หรือ Celeb ที่อวดชีวิตหรูหราแบบยากทำตามได้ ทำให้กระแสแบบคอนเทนต์ดีเกินจริงเริ่มเสื่อมความนิยมลงไป เทรนด์คอนเทนต์ในปีหน้าจะปรับมาสู่เรื่องราวที่แสนจะธรรมดาของผู้คนที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน
อาจจะเป็นใครสักคนนึงที่กำลังทำอะไรสักอย่างบนชานชาลาสถานีรถไฟ ที่ดูแล้วรู้สึกว่ามีอะไรให้น่าติดตามมากกว่าจะเป็นคลิปแบบตัดฉับๆ แล้วก็ไม่ได้สาระอะไรเลยนอกจากรู้สึกเปรียบเทียบกับชีวิตว่า “ทำไมชีวิตเขาดีกว่าเราจัง”
จากที่ผมทำ Data Research Insights 76 จังหวัดทั่วไทยในปี 2023 ก็พบว่า หนึ่งในคลิปวิดีโอของจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอย่างไม่น่าเชื่อก็คือคลิปที่ถ่ายคนเดินถนนธรรมดา บวกกับเพลงที่ฟังแล้วสบายลื่นหู ง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้คนเข้ามาดูหลายล้านวิวสบายๆ ครับ
หมดแล้วยุคคอนเทนต์ประดิษฐ์หนักๆ เพื่อเรียกให้เราสนใจ เพราะวันนี้ชาวโซเชียลนั้นหันมาสนใจชีวิตที่เรียบง่ายของคนธรรมดาด้วยกันมาขึ้นนั่นเอง
The Rise of Intellectual Influencer 2024
และเทรนด์ของ Influencer ยุคใหม่วันนี้ไม่ได้มีแค่กลุ่มคนที่อวดชีวิตดี๊ดี หรือเน้นสนุกเอาฮาไม่ได้สาระอีกต่อไป แต่กลายเป็น Influencer สาย Intellectual ที่ให้ความรู้จริงจัง เน้นการทำคอนเทนต์ยาวๆ ที่ต้องใช้เวลาเสพนานๆ
ตัวอย่างบ้านเราก็หนีไม่พ้น เฮียวิทย์ 8 Minute History ผู้ที่รู้แทบจะทุกเรื่องบนโลก แถมแต่ละคลิปก็ย๊าวยาว แต่คนก็ดูกันถล่มทลาย หรือกับช่อง Point of View ที่เล่าประวัติศาสตร์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สารภาพตามตรงตัวผมก็ติดฟังช่องนี้มาก แบบว่าต้องฟังทุกครั้งเวลาอาบน้ำ เพราะสามารถฟังจบได้ 1 ตอน 20 นาทีของเธอพอดี
VIDEO
VIDEO
นี่คือ Influencer ที่เด็กรุ่นใหม่ Gen Z ติดตาม ถ้าจะทำแคมเปญการตลาดก็ต้องมองว่ากลุ่มที่เป็น Intellectual Influencer แทน Content Creator ทั่วไปได้แล้วนะครับ
เมื่อรู้แบบนี้แล้วแบรนด์ควรปรับตัวอย่างไรกับ Social Media Strategy 2024 ในปีหน้า
อย่างแรกต้องเลิกทำคอนเทนต์แบบฉาบฉวย เลิกคอนเทนต์ประเภท Shortable Content ที่เน้นเร็ว สั้น กระชับ แต่หาสาระอะไรไม่ได้ เพราะผู้บริโภคนั้นถูกเร่งเร้าความสนใจมากเกินไปมานานเกินพอ แบรนด์ต้องรู้จักทำ Content Marketing แบบปล่อยชิลบ้าง ปล่อยให้คนอยู่กับเรานานๆ หรือที่เรียกว่า Immersive Content ให้ซึมเข้าไปในใจกลุ่มเป้าหมายแทน
ตัวอย่างแรกคือของ Nissan กับการทำคลิปวิดีโอคาแรคเตอร์ผู้หญิงคนหนึ่งขับรถไปเรื่อยๆ นานถึง 4 ชั่วโมง แต่กลับมีคนดูมากถึง 18 ล้านครั้ง!!
VIDEO
มีเสียงดนตรีประกอบชิลๆ เสมือนเรากำลังนั่งอยู่ในรถร่วมกับผู้หญิงคนนั้น เรียกได้ว่าสามารถเปิดไว้ประกอบระหว่างการนั่งทำงานก็ยังได้ แม้สายตาจะไม่ได้สนใจว่าเธอขับรถไปไหน ผ่านวิวทิวทัศน์อะไร แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนที่คอนเทนต์แนวใหม่แบบนี้คิดถึงแบรนด์ เปิดช่อง YouTube Nissan เข้ามาฟังเพลงชิลๆ ระหว่างวันดีกว่า
รู้แบบนี้แล้วเตรียมวางแผนทำคอนเทนต์ยาวๆ ชิลๆ ให้คนเปิดเราทิ้งไว้ทั้งวันแบบ Nissan ได้แล้วนะครับ
TikTok ก็ Long-form Content ได้
ใครที่เคยคิดว่าคอนเทนต์บน TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์ม Short Video นั้นจะต้องเน้นสั้น กระชับ เร็วๆ ไวๆ เท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ
ไม่อีกต่อไปในปี 2024 เพราะจากตัวอย่างของค่ายหนัง Paramount ที่ได้ปล่อยภาพยนต์เต็มๆ เรื่อง Meangirls ออกมาให้คนได้ติดตามดูเรื่อยๆ จนจบเรื่อง
และที่สำคัญกว่านั้นคือแต่ละคลิปที่ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ได้แค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น เรียกได้ว่าทำเอาผู้คนยิ่งต้องติดตามไปกันใหญ่ เพราะถ้าดูแล้วขาดตอนก็ต้องไปเสียเวลาหาดูเต็มๆ บนเน็ตอีกซึ่งก็ไม่ง่าย
เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สร้างความสนใจได้ดี ในเมื่อใครๆ ก็เน้นสั้นนัก ก็หันมาเน้นความสดและต่อเนื่องเพื่อทำให้ชาวโซเชียลสนใจแทน
Mixed Reality และ Parody ตัวเอง
ไหนๆ แพลตฟอร์มอย่าง TikTok ก็เปิดให้เราสามารถเอาคลิปมากกว่า 1 อันมารวมกันเป็นคลิปวีดีโอใหม่ตัวเดียวได้ ทำไมเราไม่เอาจุดนี้มาทำให้คอนเทนต์เดิมที่มีน่าสนใจยิ่งขึ้นหละ
NFL เองก็มีการเอาคลิปวิดีโอไฮไลท์การแข่งขันอเมริกันฟุตบอลมาตัดใหม่ ด้วยการผสมคลิปของเกม NFL เองที่ตั้งใจเล่นให้เหมือนกับในการแข่งขันจริง ผลคือสามารถเรียกความสนใจได้จากทั้งแฟนเกมเอง และแฟนฟุตบอลเดิมไปพร้อมกัน
ลองคิดต่อยอดดูนะครับว่าเราจะเอาฟีเจอร์ใหม่นี้มาใช้กับ Content Marketing Plan 2024 ของแบรนด์เราได้อย่างไร
2. Post Representation
คำว่า Mass นั้นตายสนิทในปี 2024 จะไม่มีใครที่เป็นที่รู้จักของทุกคนทั่วโลกหรือทุกคนทั่วประเทศได้โดยง่ายอีกต่อไป ยี่สิบปีก่อนผู้หญิงไทยอาจบอกอยากสวยเหมือนอั้ม หล่อเหมือนโดม เสียงดีเหมือนพี่เบิร์ด แต่วันนี้ไม่มีใครสามารถเป็น Mass Idol ที่จะ Represent ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ได้อีกต่อไป เพราะเราอยู่ในโลกที่มัน Fragmented แบบสุดๆ ใครๆ ก็สามารถเป็น Idol ของใครๆ ก็ได้
จากเดิมเราเคยทำการตลาดแบบใช้ไอเดียแบบ Stereotype ได้ ในปี 2024 ไปนั้นจะไม่ได้ผลกับชาวโซเชียลโดยสิ้นเชิง และที่สำคัญไปกว่านั้นคือกลุ่มคนชายขอบ คนที่เคยถูกลืม กลับมามีตัวตนบนหน้าจอโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อยๆ
ดูเหมือนว่าโลกออนไลน์จะเผยให้เห็นความหลากหลายในทุกมิติสังคม ไม่มีอีกแล้วว่าจะต้องผิวขาวเท่านั้นถึงสวย ผอมเท่านั้นถึงจะดูดี วันนี้นิยามคำว่าดูดีนั้นไปกว่านั้นมาก ดีไม่ดีมันคือความมั่นใจว่าตัวเองดูดีในแบบของตัวเอง จนรังสีนั้นเฉิดฉายออกไปทุกทิศทาง
เราไม่ได้ฟังเพลงเดียวกันกับคนส่วนใหญ่อีกต่อไป ละครยิ่งไม่ต้องพูดถึง เราต่างคนต่างดูในสิ่งที่ตัวเองชอบ จากนี้ไปจะหาได้ยากยิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมจะพูดถึงเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยกเว้นว่าเรื่องนั้นมันจะยิ่งใหญ่มากพอจนส่งผลกระทบต่อทุกคน หรือคนวงกว้างในสังคมได้จริงๆ
ในต่างประเทศเองกระแส LGBTQ+ ก็มาแรงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มเพศทางเลือกที่มีผิวสีที่เคยถูกมองข้ามมานาน ก็กำลังได้รับความสนใจบนโซเชียลมากขึ้นเรื่อยๆ (ย้ำในต่างประเทศ) เรื่องนี้สะท้อนถึงโซเชียลนั้นเปิดกว้างทำให้คนจำนวนมากมีโอกาสได้ถูกรับรู้ในสังคม ผ่านการทำคอนเทนต์ดีๆ ก็สามารถกลายเป็นไวรัลที่รู้จักได้ไม่ยาก
ส่วนกลุ่มผู้หญิงในสายงานหรืออาชีพต่างๆ ที่ถูกมองข้ามมานานจากสังคมก็เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นจากการใช้โซเชียลมีเดีย เพราะขนาด Midjourney เองถ้าเราให้มัน gen ภาพนักบอล หมอ วิศวกร หรือ ช่างเครื่องยนต์ขึ้นมา AI มันจะ gen ออกมาเป็นภาพผู้ชายส่วนใหญ่หรือทั้งหมด นั่นก็เพราะมันมี Bias ใน Data ที่ถูกนำไปใช้เทรน AI ตั้งแต่แรกครับ
เมื่อผู้คนรู้แบบนี้ก็เลยพยายามช่วยกันขยายกรอบความคิดหรือ Perception ให้มากขึ้น พยายามทำลายภาพจำเก่า Stereotype ออกไปให้มากที่สุด แน่นอนว่าในเทรนด์นี้จะฉายให้เห็นมิติความหลากหลายของผู้คนจริงๆ ในสังคม ผ่าน Social media trend 2024
และทั้งหมดที่เกริ่นมานี้จะส่งผลถึงแบรนด์ต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะถ้าคุณยังทำเฉย ยังฉายภาพ Stereotype แบบเดิมๆ ระวังนอกจากยอดขายจะไม่เพิ่มขึ้น อาจถูกดราม่าทัวร์ลงจนสังคมแบนไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์คุณเอาได้
ทั้งหมดนี้มาจากการที่ผู้คนไม่ได้ใช้เวลากับสื่อเก่าที่เคยเป็นสื่อหลักอย่าง TV ที่เคยมีไม่กี่ช่อง หรือวิทยุไม่กี่คลื่น หรือนิตยสารหนังสือพิมพ์ไม่กี่หัวอีกต่อไป แต่วันนี้เราทุกคนมี Personalized Screen ที่ป้อน Personalized Content ให้เราตลอดเวลาโดยไม่มีอะไรมาขวางกั้น (ยกเว้นแต่โฆษณาสำหรับคนไม่ยอมจ่ายพรีเมียม)
ถ้าอยากรู้ว่าเทรนด์ของ Post Representation นั้นจะส่งผลต่อการทำ Social Media Marketing 2024 อย่างไร เรามาทำความเข้าใจทั้งในแง่ของสังคมกับแพลตฟอร์มกันครับ
ในแง่ของสังคม
ชาวโซเชียลนั้นรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นจนสามารถสร้าง impact ต่อสังคมจริงๆ ในโลกออฟไลน์ได้มากมายในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างภาพยนต์สารคดีเรื่อง Eat The Rich: GameStop Saga ที่คนในเว็บบอร์ดอย่าง Reddit รวมตัวกันดัดหลังไม่ให้บริษัทการเงินช็อตหุ้นขาย จนผลทำให้บริษัทนั้นเสียหายหลายพันล้าน
หรือกับ Reddit ที่ประกาศจะเก็บเงินค่าเชื่อมต่อ API จากแอปนอก บรรดาผู้ใช้งานเดิมต่างก็พากันแบนและประกาศว่าจะเลิกใช้อย่างจริงจัง หลายคนที่เป็น Account ดังๆ ก็ถึงขั้นลบแอคตัวเองจริงๆ เลย
งานนี้จะเห็นว่าทัวร์โซเชียลนั้นน่ากลัวกว่าที่คิด อย่าคิดว่าชาวโซเชียลเป็นแค่ชาวเน็ตแบบวันวาน ไม่งั้นธุรกิจหรือแบรนด์คุณที่ปั้นมาอาจพังพินาศได้ภายในไม่กี่นาที
ในแง่ของเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์ม
ในวันที่เราก้าวเข้าสู่ยุค AI ถลำลึกโดยไม่รู้ตัวหนักมากในปีนี้ เราได้รู้จักทั้ง ChatGPT และ Generative AI ต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Image Generated AI ที่อยากได้ภาพแบบไหนก็แค่พิมพ์ Prompt บอกไป
ผลคือเมื่อผู้คนลองพิมพ์ว่านักบอล นักกีฬา นักบาส หรือวิศวกร ผลคือ AI จะเจนแต่ภาพผู้ชายขึ้นมา หรือแม้แต่นักบาสก็มักจะเจนออกมามีแต่คนผิวสีเท่านั้น แทบไม่มีนักบาสที่เป็นคนผิวขาวที่มีอยู่จริงให้เห็นเลย
สาเหตก็เพราะ Data Training ที่เอาไปสอน AI เองนั้นมี Bias ในตัวโดยที่ผู้สอนก็อาจไม่ทันรู้หรือตั้งใจสังเกตหา มารู้อีกทีก็ตอนที่มีคนเริ่มใช้งานและสังเกตเห็น ดังนั้นถ้า Generative AI ของเรามีให้แต่ผลลัพธ์ที่ Stereotype ก็อาจทำให้คนส่วนใหญ่จำนวนมากที่มีความหลากหลายนั้นปฏิเสธไม่ใช้งาน AI ของเราในระยะยาว
และทั้งหมดที่บอกมานี้ส่งผลต่อ Social Media Trend & Insight 2024 อย่างไร
1. #BlackAlt เกิดกระแสแฮชแท็กนี้ใน TikTok ด้วยความตั้งใจของกลุ่มคนผิวสีที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลาย แต่ถูกผู้คนมองข้ามไปนาน พวกเขาก็เลยออกมาทำคอนเทนต์ให้คนทั่วไปรับรู้ว่าคนผิวสีแบบพวกเขานั้นไม่ได้ Stereotype แบบที่เข้าใจกันแต่อย่างไร
บวกกับความ Bias Algorithm ของ TikTok ที่มักจะดันคอนเทนต์ของคนผิวขาวมากเกินไป ก็เลยทำให้บรรดาคนผิวสีพยายามทำคอนเทนต์ของตัวเองให้ติดเทรนด์เพื่อให้โลกได้รู้จักพวกเขามากขึ้น จะว่าไปมันก็คือสงความการแย่งชิงความสนใจจาก Algorithm Social Media ดีๆ นี่แหละครับ
2. เลิกเล่นมุขเหยียดเพศหญิงได้แล้ว
เดิมมีการเล่นมุขเหยียดเพศนั้นมีมานาน และก็เป็นไปทั่วโลกโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่มุขการขับรถที่เวลาหลายคนเห็นรถคันหน้า หรือคันข้างๆ ขับไม่ดี ก็มักจะคุยเล่นกับเพื่อนว่า “สงสัยผู้หญิงขับ” หรือคำล้อของผู้ชายด้วยกันว่า “ทำอะไรให้แมนๆ หน่อย ทำไมดูตุ้งติ้งเป็นผู้หญิงเลย”
ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยมีแบรนด์ทำโฆษณาออกมานานแล้วว่า Like a Girl ในความเป็นจริงนั้นทะมัดทะแมงยิ่งกว่าคนแมนๆ อย่างท่าวิ่งของเด็กผู้หญิงเองก็ดูกระฉับกระเฉงเหมือนเด็กผู้ชายไม่ต่างกัน
3. เรียนรู้ชีวิตด้วยโซเชียล
จากเดิมโซเชียลมีเดียมักเป็นพื้นที่ไว้พูดคุยเรื่องไร้สาระ เรื่องสนุกสนาน หรือเอาไว้หยอกล้อแกล้งกันกับคนอื่น แต่วันนี้ผู้คนใช้โซเชียลมีเดียกันเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะในการตั้งกระทู้หรือเขียนโพสเปิดประเด็นถามเรื่องจริงจังของชีวิต เช่น
ขอถามคนอายุ 30 หน่อย…. ขอถามคนอายุ 40 หน่อย….
เรามักเห็นโพสแบบนี้กันเยอะขึ้น มันเหมือนกับการได้ถามความเห็นจากคนที่มีประสบการณ์มากกว่า แม้จะเป็นคนแปลกหน้าบนโซเชียลมีเดียแต่เราก็กล้าที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันแบบจริงๆ จังๆ ผิดกับการใช้โซเชียลมีเดียแบบวันวาน
เรากำลังก้าวเข้าสู่เทรนด์ที่เปลี่ยนจาก “การเล่นโซเชียลมีเดีย” มาสู่ “การใช้โซเชียลมีเดีย” เมื่อคนสมัยนี้โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z นั้นมองว่าโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิต ไม่ใช่แค่พื้นที่ออนไลน์ไว้สนุกสนานกับเพื่อนเหมือนคนเจนอื่น
และนี่คือเทรนด์การใช้งานโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนไป แล้วถ้าถามว่าแบรนด์หรือนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไรกับเทรนด์ Post Representation นี้ มาลองดูกันครับ
Brand Content Strategy 2024 เลิก Stereotype และต้องจริงจังกับความ Diversity
1. Ford กับช่างผู้หญิงที่ไม่ได้มีดีแค่สวย แต่ยังเก่งเครื่องยนต์จริงๆ
ช่างเครื่อง หรือช่างรถยนต์ จะมีสักกี่คนที่พอพูดถึงคนทำอาชีพนี้จริงจังโดยเฉพาะความเป็นมืออาชีพนั้น จะคิดถึงช่างที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนตัวผมคิดว่าไม่น่าจะมีครับ เพราะเราถูกทั้งสื่อและโฆษณาต่างๆ ฝังหัวว่างานของช่างเป็นงานของผู้ชาย เป็นงานต้องใช้แรงหรือทักษะเฉพาะที่มีแต่ในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงเหรอเขาไม่ชอบงานเปรอะเปื้อนหรอก ให้เข้าไปอยู่สวยๆ ในออฟฟิศรอรับลูกค้ากับทำบัญชีดีกว่า
แต่ใน TikTok ก็มีผู้ใช้ Account หนึ่งที่ชื่อว่า @syds_garage หรือช่างเครื่องยนต์ที่เป็นผู้หญิงจริงๆ มีความรู้ความสามารถจริงๆ และก็สามารถซ่อมรถยนต์ให้ใช้งานได้จริงๆ ตัวเธอเองนั้นทำคลิปลง TikTok จนมีผู้ติดตามถึง 1.6 ล้านคน
โดยเธอก็ไม่ได้ทำคอนเทนต์เซ็กซี่หรือขายหน้าตาความสวยแต่อย่างไร สิ่งที่เธอทำออกไปก็มีแต่ความรู้และการซ่อมรถจริงๆ ในอยู่ของเธอ จนทำเอาผู้ชายหลายคนได้แต่อึ้ง บวกกับทำเอาผู้หญิงด้วยกันต่างภูมิใจที่เห็นว่าเราก็เป็นช่างที่เก่งได้ถ้าตั้งใจและพยายามมากพอ
ลองคิดต่อยอดจาก Ford ดูนะครับว่าเราจะใช้กลยุทธ์แบบเดียวกัน ดันผู้หญิงที่เป็นผู้ใช้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญตัวจริงผ่านแบรนด์เราได้อย่างไร
2. เปิดโลกใหม่ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ จากแคมเปญ The Unfiltered History Tour
VIDEO
นี่เป็นแคมเปญการตลาดที่ถูกพูดถึงในงานเทศกาลโฆษณามากมาย เว็บสำนักข่าว VICE ได้ทำ AR Filter ขึ้นมาแล้วก็สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย Gen Z ที่ชอบการใช้ฟีเจอร์นี้รู้ว่าเบื้องหลังข้าวของในพิพิธภัณฑ์ The British Museum นั้นไม่ได้สวยงามแบบที่แปะไว้บนกระดาษให้อ่านกัน
เพราะข้าวของหลายชิ้นนั้นถูกแย่งชิงมาอย่างโหดร้าย และจากแคมเปญนี้ก็เป็นการตีแผ่ประวัติศาสตร์อีกด้านให้กลุ่มเป้าหมาย Gen Z ได้เอาไปขบคิดกันต่อ ซึ่งก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของแคมเปญนี้
3. The Greatest Apple ไม่ต้องบอกว่าเรา Represent ใคร แต่ทำให้เห็นว่าเราช่วยใครให้ Represent ได้ดีขึ้น
https://www.youtube.com/watch?v=c2UF26YpPFg
จากแคมเปญการตลาดของ Apple ที่ฉายภาพให้เห็นว่าเทคโนโลยีใน iPhone ใหม่นั้นทำให้ผู้พิการหลายๆ นั้นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้นแบบที่คาดไม่ถึงมาก่อน แน่นอนว่าก่อนหน้าที่เล่ามามันคือการที่แบรนด์พยายามบอกว่าตัวเอง Stand for อะไร แต่กับเคสนี้ของ Apple นั้นไม่ได้บอกว่าตัวเอง Stand for อะไร แค่ทำให้เห็นว่าผู้คนเหล่านี้สามารถ Stand for ตัวเองได้ดีขึ้นด้วยสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง
นี่เป็นแคมเปญการตลาดที่ฉลาดหลักแหลมในการจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มักถูกมองข้ามในสังคม ถูกมองผ่านจากนักการตลาดไปอย่างช้านาน
ลองคิดภาพว่าถ้าคนพิการดูจะรู้สึกอยากได้ iPhone ขนาดไหน ลำพังคนปกติอย่างเราเองเห็นแล้วยังอดทึ่งไม่ได้ ว่าตกลงไอ้มือถือหลายหมื่นที่เราซื้อมาไว้เล่นโซเชียล ไลน์ และตอบอีเมลเป็นหลัก นั้นสามารถทำได้ขนาดนี้เลยหรือ เจ้า iPhone เครื่องเดิมในมือมันช่างดูเท่ห์ขึ้นมาอีกหลายขุมเลย
ดูเหมือนว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้นจะเปลี่ยนไปอีกระดับ จากที่เคยเอาไว้เล่นสนุกขำๆ กลายเป็นพื้นที่ของความจริงจัง โดยเฉพาะกับกลุ่ม Gen Z ที่ไม่ได้มีโซเชียลมีเดียไว้แค่เล่นสนุกๆ กับเพื่อน แต่มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นจริงๆ
1. Attention Layering เมื่อผู้คนหันเหความสนใจไปยังสิ่งที่มีความสำคัญหรือควรค่าแก่การสนใจจริงๆ มากกว่าแค่คอนเทนต์สนุกๆ ขำๆ หรือคอนเทนต์ขยะทั่วไปรายวัน
2. Post Representation หมดยุคของคำว่า Mass และนักการต้องต้องเลิกคิดแบบ Stereotype ในปี 2024 อย่างเด็ดขาด ถ้าคุณยังเหมารวมว่าผู้คนแบบนี้น่าจะเป็นอย่างนั้น หรือกลุ่มเป้าหมายเรานั้นน่าจะเป็นแบบนี้ บอกเลยว่าคุณจะพลาดโอกาสอีกมาก จนคู่แข่งคุณอาจเฝ้ารอให้คุณพลาดอยู่ก็ได้
ในบทความตอนหน้าจะพาไปดูอีก 3 Social Media Marketing Trends & Insights 2024 ว่านักการตลาดอย่างเราจะต้องปรับแผนกลยุทธ์การตลาดในปีหน้าอย่างไรครับ
อ่านบทความตอนที่ 2
Source: https://thinkforward.wearesocial.com/