สรุป 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 จาก We Are Social เทรนด์การตลาดออนไลน์ในปี 2022 กับแนวทาง Content Marketing 2022 ที่รื้อใหม่หมด

5 Digital Marketing & Social Trends 2022 เทรนด์การตลาดออนไลน์จาก We Are Social

กลับมาอีกครั้งเป็นประจำทุกสิ้นปี กับรายงานดีๆ Think Forward 2022 โดย We Are Social ที่รวบรวม Mega Trends หลักที่เกิดขึ้นในปีนี้และมีแนวโน้มจะส่งผลสำคัญถึงทิศทางของ Digital Marketing & Social Trends ในปีหน้า 2022 ปีนี้มี 5 ประเด็นใหญ่ที่เรียกได้ว่าสรุปภาพรวมของทั้งปีที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างครบถ้วน จุใจ แต่ไม่เยิ่นเย้อ ผมเลยใช้เวลากว่า 4 วันในการสรุปและเรียบเรียงใส่บริบทใหม่ เพื่อให้เพื่อนๆ นักการตลาดอ่านเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

ก่อนจะอ่านรายงานปีนี้ผมมีลิงก์ของรายงาน 6 Digital Marketing & Social Trends 2021 มาให้อ่านกันก่อนสำหรับคนที่อยากเห็นภาพความเปลี่ยนแปลง (คลิ๊กที่นี่) แต่ถ้าใครที่เคยอ่านแล้วหรืออยากอ่านสรุปเทรนด์ของปี 2022 เลยก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่ารายงานฉบับนี้จะยาวหน่อย น่าจะต้องใช้เวลากันประมาณนึงเลยจึงจะอ่านจบทั้งหมด แต่เชื่อเถอะครับว่าคุ้มค่าต่อเวลาที่เสียไป และที่สำคัญท้ายบทความผมมีลิงก์ไปสู่ต้นทางของรายงานนี้สำหรับคนที่ต้องการเก็บไว้ใช้ทำรีพอร์ทหรือ Presentation อีกด้วยครับ

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาแบบลงลึกในแต่ละเทรนด์ ลองมาทำความเข้าใจภาพรวมที่มาที่ไปของทั้ง 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 กันก่อนดีกว่าครับ

Brave New Worlds 2022 ยินดีต้อนรับสู่โลกใบใหม่ที่จะไม่มีวันถอยหลังกลับไปเหมือนเก่าอีกแล้ว

ปี 2021 ที่กำลังจะผ่านไปผู้ติดเชื้อใหม่ต่างลดลงทั่วโลก เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโรคระบาดนี้ให้ได้แม้จะเหนื่อยยากแสนสาหัส เราทุกคนต่างพยายามมองหาโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้า เราต่างช่วยกันพยายามมองหาว่าจะทำให้สังคมดีขึ้นได้ท่ามกลางการแพร่ระบาดได้อย่างไร

แต่การพูดหรือแสดงความเห็นที่มีมากมายนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะที่ยากคือการเปลี่ยนความคิดให้กลายเป็นจริงได้นั่นเองครับ

และปีนี้ก็เกิดประเด็นเทรนด์ใหม่ๆ มากมายหรือที่เรียกว่า New Normal 2021 ที่จะส่งผลต่อ 2022 อย่างนิยามใหม่ของคำว่าบ้านที่กลายเป็นทุกพื้นที่ของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไป จาก Work From Home เข้าสู่โหมด Hybird สลับกันเข้าออฟฟิศบ้างในบางวัน

หรือแม้แต่เทรนด์การลาออกครั้งใหญ่ของผู้คนมากมายที่เรียกว่า Great Resignation เพราะเมื่อผู้คนพบเป้าหมายใหม่ในชีวิตแล้วว่างานประจำเดิมที่ทำอยู่อาจไม่ได้ตอบจุดมุ่งหมายในชีวิตจริงๆ

การเกิดขึ้นของ Vaccine passports สำหรับคนที่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศ หรือแม้แต่คนที่แค่เบื่อบรรยากาศภายในประเทศอยากจะเดินทางไปเที่ยวใช้เงินต่างประเทศก็ตาม

และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือประเด็นเรื่อง Broken-system sentiments หรือผู้คนทั่วโลกเริ่มคิดตรงกันว่าระบบทั้งหลายในปัจจุบันนั้นช่างไร้ประสิทธิภาพเสียเหลือเกิน การเมืองที่ย่ำแย่ นักการเมืองที่คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน นำมาสู่การประท้วงมากมายในหลายประเทศในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตัวอย่างในบ้านเราก็มีให้เห็นตลอดสองปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ได้โควิด19 เป็นตัวเร่งให้เห็นว่าน้ำตาลที่เคลือบฉากหน้านั้นซ่อนความไร้ประสิทธิภาพไว้นานเกิน

สุดท้ายคือการอพยพออกจากเมืองครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก เมื่อเศรษฐกิจต้องล็อกดาวน์หลายรอบ แรงงานจำนวนมากไร้งานทำ ส่งผลให้ต้องกลับไปยังชีพที่บ้านเกิด แต่พอเปิดเมืองอีกครั้งกลับไม่สามารถหาคนทำงานมาได้เท่าเดิมอีกต่อไป

หลายคนเมืองหลายคนเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตนอกเมืองหลวงมากขึ้น บางคนถึงขั้นเปลี่ยนอาชีพไปจนถึงมุมมองต่อชีวิตว่าแท้จริงแล้วตัวเองต้องการอะไร

และปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตของเราทุกคนเปลี่ยนไปอย่างมากด้วย digital technology ตั้งแต่ที่เราเรียนรู้การก้าวเข้าสู่ digital ในช่วงล็อกดาวน์มา สังคมเปลี่ยนไป วัฒนธรรมเปลี่ยนไป และเศรษฐกิจก็เปลี่ยนไปเพราะเราส่วนใหญ่ล้วนทำอะไรๆ บนโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็ก หรือต้องทำผ่านระบบออนไลน์อินเทอร์เน็ตกันทั้งนั้น

และนั่นก็ก่อให้เกิด Mega Trend ใหม่ที่เรียกว่า Metaverse เมื่อโลก Physical ไม่อาจขาด Digital ได้อีกต่อไป หรือแม้แต่โลก Digital ก็ส่งผลต่อชีวิตจริงในโลกออฟไลน์ได้มากกว่าที่คิด ต่อไปนี้คงยากที่เราจะตัดสินว่าอะไรคือออนไลน์หรือออฟไลน์ เมื่อสองสิ่งหลอมรวมกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตเราส่วนใหญ่เรียบร้อยแล้ว

บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Facebook ก็ออกมาประกาศว่าจะเอาจริงเรื่อง Metaverse ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อบริษัทเลยทีเดียว หรือเกมดังอย่าง Fortnite ก็เคลมว่าตัวเองก็เป็น Metaverse เช่นกัน

แล้วไหนจะการเกิดของเทคโนโลยี Web 3.0 ที่ยกระดับอินเทอร์เน็ตไปอีกขั้นจากการเข้าถึงเทคโนโลยี Blockchain อย่างกว้างขวางผ่านการเก็งกำไรใน Cryptocurrency อย่างบ้างคลั่งใจปีนี้ และสุดท้ายที่จะขาดไม่ได้คือ NFT ที่ย่อมาจาก Non-Fungible Token ที่ทำให้เราสามารถแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่าง Digital ได้จริง จากเดิม 1 รูปภาพดิจิทัลสามารถก้อปปิ้งส่งให้กันได้เป็นล้านๆ แต่ ณ ตอนนี้เราสามารถบันทึกบน NFT ได้แล้วว่าภาพดิจิทัลหรือไฟล์เพลงนี้เป็นของใครกันแน่ และนั่นก็หมายความว่าเจ้าของสามารถเคลมลิขสิทธิ์ต่างๆ ในการนำไปใช้งานได้สบาย

เรื่องนี้ก็ส่งผลให้บริษัทประมูลงานศิลปะชั้นสูงมากมายยังอดลงมาเล่นในตลาด NFT ไม่ได้ครับ

ศัพท์ใหม่ๆ ทั้งหมดที่เราพูดถึงกันในปีนี้ไม่ได้เริ่มจากบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นตัวจุดกระแส แต่มาจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชายขอบที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักมาก่อน ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมกระแสหลักที่มักจะมาจากคนวงนอกแล้วก็ถูกยักษ์ใหญ่ผู้มองเห็นโอกาสหยิบจับขึ้นมาตีฟูต่อเพราะหวังประโยชน์ทางธุรกิจ

และนี่ก็คือโลกหลังโควิดที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว หรือถ้าพูดให้ถูกคือโลกในยุคโควิดที่เราต้องอยู่กับมันไปอีกพักใหญ่ (สายพันธุ์ใหม่อย่าง Omicron เพิ่งเปิดตัวเอง) เราอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญของศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมายที่รอให้คนที่มีวิสัยทัศน์ได้ฉกฉวยไป

ฉะนั้นเมื่อเต็มไปด้วยโอกาสจากสิ่งใหม่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้แน่ชัด ก็ย่อมเต็มไปด้วยความเสี่ยงและผู้ไม่หวังดีที่จะฉวยโอกาสนี้จากคนที่ไม่รู้อย่างมาก เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความไม่แน่นอน คำถามคือโลกใบใหม่นี้จะถูกนิยามโดยใคร? ยังคงเป็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่เดิมอย่าง Facebook, Google, Apple หรืออื่นใดหรือเปล่า

โลกใบใหม่นี้อาจจะนำมาสู่ความรุ่งเรืองของทุกคนที่เป็น Utopia หรืออาจจะเป็น Dystopia ที่ผู้คนจำนวนมากถูกกดขี่จากผู้มีอำนาจทางเทคโนโลยีที่เหนือกว่า แต่แน่นอนว่าต่อไปนี้จะไม่มีคำว่าออนไลน์หรือออฟไลน์แยกจากกัน เพราะเราต่างต้องพึ่งพาทั้งสองสิ่งในการดำรงชีวิตทุกวันอย่างขาดกันไม่ได้เสียแล้วครับ

แค่ introduction ของรายงาน Think Forward 2022 ปีนี้ก็ฟังดูทั้งเหนื่อยและหนัก แต่ก็ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผมเคยอ่านมาแล้วนะครับ และนี่ก็เป็น 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในปี 2021 เมื่อโลกทั้งใบจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปครับ

  1. In-Feed Syllabuses อยากเรียนรู้เรื่องไหนแค่เลือกตาม Influencer คนนั้น การเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ (แต่ทำไมผู้ใหญ่หรือคนสอนยังไม่เข้าใจ) ทำให้คนรุ่นใหม่เลือกที่จะติดตาม Influencers ที่ตัวเองสนใจในทักษะนั้นด้วยตัวเอง แล้วเรียนผ่านหน้าฟีดโซเชียลทุกวันในทุกครั้งที่หยิบมือถือ
  2. The Vibe Economy เมื่อชีวิตจริงเต็มไปด้วยความเครียด การใช้ดิจิทัลเพื่อผ่อนคลายจากความกดดันมากมายจึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนส่วนใหญ่เลือกทำกัน พอแล้วกับโพสไร้สาระหรืออวดชีวิตดี ขอเป็นคนชิลๆ ที่มีความสุขในชีวิตจริงบ้างได้ไหม และนั่นก็ทำให้วิธีทำ Content Marketing 2022 เปลี่ยนไปจากการเน้นสารที่จะสื่อ มาสู่อารมณ์ที่ต้องการส่งผ่านออกไป นี่คือเทรนด์สำคัญที่นักการตลาดต้องเรียนรู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้กับ Marketing Communication Strategy 2022 ของตัวเองครับ
  3. Prime Time Platforms ถ่ายทอดสดยังไม่ตาย แค่ย้ายไปบนแพลตฟอร์ม ใครบอกว่ารายการถ่ายทอดสดนั้นตายแล้ว? แต่ในความเป็นจริงแล้วมันถูกพัฒนาในรูปแบบ LIVE ถ้าแค่ดูคอนเทนต์นิ่งๆ แล้วไม่ได้มีส่วนร่วมก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเฝ้ารอหน้าจอ นี่คือยุคของ Live Streaming ที่แท้จริง หรือจะเรียกว่า Live Enagement ถึงจะถูก นักการตลาดที่ฉลาดต้องจำไว้ ที่ใดมีคน ที่นั่นมีเงิน จงไปอยู่ในที่ที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่ แล้วเราจะเห็นโอกาสใหม่อีกมากที่ไม่คิดว่ามีอยู่จริง เช่น เกม
  4. Social Cynicism เทรนด์การล้อเลียนที่ไร้สาระกลับมาอีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมการสู้กลับทางกฏหมาย เมื่อผู้คนจำนวนมากบอกว่ายิ่งเล่นโซเชียลมีเดียเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองเท่านั้น เพราะต่างคนต่างอวดชีวิตดีกันมากมาย จึงทำให้บรรดาแอคเคาท์หรือเพจประเภทล้อเลียนแดกดันคนอื่นกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง แบรนด์ต้องรู้จักช่วยให้คนลดความเครียดความกดดันในชีวิตจริงลง ด้วยการชูคอนเทนต์ไร้สาระขึ้นมาให้คนรู้สึกว่าเราต่าง และนั่นจะทำให้แบรนด์เราไปต่อได้ท่ามกลางความเครียดมากมายที่คนจำนวนไม่น้อยบอกพอแล้วกับสาระ
  5. New Materialists หรูหราบนออนไลน์ เมื่อคนมากมายยอมจ่ายเงินกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้จริง จากวิวัฒนาการของการจ่ายเงินเพื่อคอนเทนต์บางอย่างมาสู่การจ่ายเงินเพื่อครอบครองความเป็นเจ้าของ Digital Assets ด้วยเทคโนโลยีอย่าง NFT สิ่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำการตลาดไปอีกมาก ไปจนถึงเริ่มเห็นธุรกิจปรับตัวมาสร้าง Virtual Goods เพื่อดึงดูดให้คนซื้อ Physical Goods เพิ่มขึ้นครับ

1. In-Feed Syllabuses เรียนรู้จากหน้าฟีดเฝ้าติดเพจที่ทำให้เราเก่งขึ้น

https://thinkforward.wearesocial.com/in-feed-syllabuses.html

57% ของผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลกบอกว่าพวกเขาเรียนรู้ทักษะใหม่ที่ต้องการผ่านทางหน้าฟีดโซเชียลซึ่งมากกว่ามหาวิยาลัยซึ่งได้รับคำตอบที่ 51% เท่านั้น”

การเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในต่างประเทศและไทยต่างก็มีแพลตฟอร์มมากมายที่คนทั่วไปนิยมเข้าไปหาความรู้กัน ไม่ว่าจะพันทิป Reddit หรือ YouTube ที่อยากรู้อะไรก็มีให้ถาม หา หรือเรียน และไหนจะช่องทางที่พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันเฉพาะด้านอย่าง Kurzgesagt หรือ VSauce ที่มีคนสมัครสมาชิกหลักล้าน เรียกได้ว่าความรู้แบบลงลึกที่เรียกว่า Geek กลายเป็น New Norm ที่คนอยากเรียนรู้

แต่ในปีที่ผ่านมานี้กลับพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า Gen Z ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่หันมาใช้ Social media เป็นช่องทางหลักในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่นำไปใช้ได้ในชีวิตจริงเป็นจำนวนมากถึง 74% ซึ่งสูงกว่าคนใน Generation ก่อนหน้าอย่างมาก จะเห็นได้ว่านี่คือนิยามการมองโซเชียลที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้มองว่าโซเชียลคือพื้นที่เพื่อเล่น ผ่อนคลาย แต่ยังเป็นพื้นที่ในการหาความรู้ที่ต้องการเอาไปใช้จริงในชีวิตประจำวันมากขึ้น

หลังจากผ่านมาเป็นเวลาปีกว่าที่เราต่างเรียนรู้ที่จะเรียน ทำงาน และมีส่วนร่วมกับการเมืองผ่านช่องทางโซเชียลเป็นช่องทางหลัก ทำให้ Social media กลายเป็นเครื่องมือใหม่ของการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ไปโดยปริยาย

เพราะท่ามกลางความไม่พร้อมของเครื่องมือ ระบบ เทคโนโลยีต่อการเรียนออนไลน์ ทำให้คนรุ่นใหม่มากมายเรียนรู้ที่จะใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้แทน แม้โซเชียลทีเดียจะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว แต่ด้วยความคุ้นเคยกับการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างมากจึงทำให้ง่ายกว่าการเรียนรู้ระบบการเรียนออนไลน์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่แต่ใช้งานไม่ค่อยได้จริงสักเท่าไหร่ ผมคิดว่าก็เหมือนกับคนที่ไทยเล่นโซเชียลเก่งมากจนสามารถเอามาประยุกต์ขายของออนไลน์จน Facebook หรือ Instagram ต้องหันมาให้ความสนใจพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในเรื่อง Social Commerce มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

และจากการล็อกดาวน์ที่ยาวนาน ต้อง Work from home และ learn from home ที่ยาวนานส่งผลให้เราเรียนรู้ที่จะใช้โซเชียลเพื่อการเรียนรู้แทนการเล่นไปแล้ว

เราเลือกที่จะติดตาม Influencer หรือ Channel ที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในแต่ละเรื่องที่เราสนใจได้โดยง่าย เรียกได้ว่าต่อไปนี้ถ้าเราเห็นใครติดโซเชียลนานๆ อย่าถามว่าเขากำลังเล่นอะไร แต่ให้ถามใหม่ว่าเขากำลังเรียนรู้เรื่องอะไรจากใครอยู่มากกว่าครับ

แต่ก็อย่าเข้าใจผิดคิดไปว่าการเรียนรู้ทั้งหมดจะจบที่โซเชียลมีเดียอย่างเดียวเท่านั้น แต่ให้มองว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่มาจากการติดตามเพจหรือช่องที่สนใจ ที่จะกระตุ้นให้พวกเขาไปหาความรู้เชิงลึกขึ้นอีกทีจากช่องทางที่เป็นทางการมากขึ้นในอนาคตครับ

นี่เป็นเรื่องที่ดีนะครับสำหรับการเรียนรู้ในอนาคตของผู้คนจำนวนมาก เมื่อการเรียนออนไลน์จะกลายเป็น New Normal ใหม่ของผู้คนทั่วโลก การเรียนรู้จะกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายผ่านหน้า Social Feed ของเรา เราอยากเรียนรู้เรื่องไหนก็เลือกปักหมุดติดตามคนที่เราสนใจไว้ อยากรู้เรื่องการตลาดก็อาจจะปักหมุดตามการตลาดวันละตอน อยากรู้เรื่องลงทุนก็ปักหมุดตามลงทุนแมนเป็นต้น

การเรียนรู้จะไม่ได้เริ่มต้นที่แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์อย่างจริงจังแบบวันวาน แต่จะเริ่มต้นจากการไถหน้า Feed แล้วเจอว่าวันนี้มีอะไรใหม่ที่เราควรต้องรู้บ้างก่อนจะลงลึกในแต่ละช่องทางหรือแพลตฟอร์มเฉพาะทางอีกที

นิยามของการใช้งานโซเชียลมีเดียจะไม่เหมือนเดิมมากขึ้นทุกวัน จากเดิมมีไว้พูดคุยกับเพื่อน มีไว้อวดไลฟ์สไตล์ จะกลายเป็นช่องทางติดตามความรู้ใหม่ๆ ว่าฉันจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไรในโลกที่ความรู้หมดอายุไวขึ้นทุกวัน

What’s Driving it? สองตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเทรนด์เรียนรู้ด้วยโซเชียล

Guru Influencers เปลี่ยนความรู้ที่เข้าใจยากให้ง่าย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในวันนี้คนรุ่นใหม่จำนวนมากเรียนรู้และติดตามเรื่องการเมืองผ่านทางโซเชียลเป็นหลัก จากการเสียชีวิตของ George Floyd จนก่อให้เกิดการประท้องครั้งใหญ่ในอเมริกาและทั่วโลกที่ชื่อว่า Black Lives Matter หรือในบ้านเราก็คงเทียบได้กับ #คนเท่ากัน ส่งผลให้เกิดเพจหรือช่องที่ให้ความรู้เรื่องการเมืองการปกครองมากมายบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าถึงข้อมูลที่เคยเข้าถึงยากได้ง่ายขึ้น และก็อ่านเข้าใจด้วยภาษาไม่วิชาการได้สะดวกขึ้นกว่าเดิม

ตัวอย่างในต่างประเทศคือ Instagram account ที่มีชื่อว่า @shityoushouldcareabout หรือ @so.informed ที่เข้าไปดูเนื้อหาแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องราวหนักๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถทำให้อยู่ในฟอร์แมทของ Instagram ได้อย่างลงตัว

นี่คือตัวอย่างของการเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ที่ตัวเองสนใจทางหน้า Feed ก่อนจะเข้าไปหาคำตอบที่ลึกขึ้นด้วยตัวเองอีกครั้งครับ

Platform Evolution แพลตฟอร์มสั้นปรับตัวรับคอนเทนต์ยาว

ใครว่าโซเชียลต้องสั้น? เดิมทีเคยเชื่อกันว่าการจะทำคอนเทนต์บนโซเชียลให้รอด ให้ปัง ต้องเน้นความสั้น กระชับ เร้าความสนใจ แต่วันนี้เราพบแล้วว่าคอนเทนต์ยาวๆ หรือที่เรียกว่า Long-form contents ก็สามารถปังได้จนส่งผลให้แพลตฟอร์มต่างๆ ปรับตัวรับการคอนเทนต์รูปแบบยาวๆ หรือ Long-form formats

ซึ่งทาง Instagram, Twitter หรือ Facebook ก็มีการปรับตัวให้ Content Creator สามารถทำ Long-form content ได้ง่ายขึ้น ลองดูตัวอย่างจาก @FutureEarth บน Instagram account นี้ แล้วคุณจะพบว่ามันช่าง Impact เสียจริงจนตัวผมเองก็เริ่มอยากที่จะลองทำ Instagram บ้างเลย

The Behavioral Change

1. LIFE Skills from the feed เรียนเรื่องใหม่ผ่านหน้าฟีดได้ทุกวัน

การเรียนรู้จากหน้าฟีดบนโซเชียลมีเดียกลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่ มีตั้งแต่การเรียนรู้เรื่องการเงิน ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงการเรียนรู้ภาษาต่างชาติที่ตัวเองสนใจ ซึ่งจะเห็นว่าโซเชียลมีเดียวกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้กว่าที่ใครหลายคนโดยเฉพาะคนยุคก่อนคิด จากตัวอย่างที่ทางรายงาน Think Forward 2022 We Are Social หยิบขึ้นมาเล่าคือ Instagram account หนึ่งที่มีชื่อว่า @spainsays https://www.instagram.com/spainsays/ ที่สอนทักษะภาษาสเปนรายวันที่ผู้ติดตามสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ครับ

2. Learning as Leisure เรียนรู้อย่างรุ่มรวย

https://www.instagram.com/p/CV5DXmHDqIh/

คอนเทนต์ประเภท Edutainment ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากตัวอย่างที่รายงานนี้หยิบมาให้เราเห็นภาพคือ Instagram account ที่มีชื่อว่า @depthsofwikipedia ที่ทำมาเพื่อ wikitrivia สื่อยักษ์ใหญ่เยอรมันด้วยการหยิบเรื่องราวของ Sophie Scholl นักเคลื่อนไหวชื่อดังเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เล่าผ่านการโพสเรื่องราวต่างๆ ทั้งรูปภาพ คลิปวิดีโอสั้นๆ หรือแม้แต่ Story ที่ทำเสมือนกับว่าเธอยังมีชีวิตจริงร่วมยุคสมัยกับเราด้วยวัย 21 ปีในวันนี้ ทำเอาผู้คนมากมายให้ความสนใจทั้งผู้ที่สนใจในชีวประวัติของเธออยู่แล้ว ไปจนถึงคนที่ไม่รู้จักเธอมาก่อนแต่ก็สนใจในความแปลกใหม่ของการทำเนื้อหาเก่าให้ร่วมสมัยและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

3. Aesthetic Educations สื่อสารผ่านศิลป์

Instagram อาจเหมาะกับการเล่าเรื่องยากให้เรียบง่าย ให้ดูรุ่มรวยมีสไตล์ ทั้งนี้ก็เพราะบริบทของผู้ใช้งาน Instagram เป็นแบบนั้น แต่กับแพลตฟอร์มอย่าง TikTok นั้นต่างออกไป จะเน้นความอาร์ตมากขึ้น กล้าที่จะปล่อยของออกมามากกว่า ตัวอย่างคือนางแบบสาวชาวบราซิลที่มีชื่อว่า Isabelle Boemeke ที่ใช้แอคเคาท์ว่า @isodope ที่ตั้งใจทำวิดีโอคอนเทนต์บน TikTok เพื่อให้เหล่าผู้ติดตามและคนที่เล่นแพลตฟอร์มนี้ได้ตระหนักถึงประเด็นเรื่องพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์นั้นสำคัญต่อมนุษยชาติและช่วยลดโลกร้อนอย่างไร

ท่ามกลางความกังวลในประเด็นเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มากขึ้นทุกที การมี Creator ดีๆ มาช่วยสร้างคอนเทนต์ให้คนเข้าในแง่ดีของพลังงานนิวเคลียร์ถือว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ

ส่วน @reesabobeesa เองเธอก็เป็นนักวาดภาพประกอบหรือ Illustrator คนหนึ่งก็ทำให้วาทกรรมที่ส่งเสริม Femenist เป็นที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นด้วยการนำมาตีความใหม่ในรูปแบบงานศิลปะหรือภาพประกอบของเธอ นี่คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์แนวอาร์ตมาถ่ายทอดเรื่องราวยากๆ ไม่ใช่แค่ง่าย แต่ทำให้มีความรุ่มรวยและน่าสนใจยิ่งกว่าเดิมครับ

USE IT แนวทางการประยุกต์ใช้เทรนด์นี้ของแบรนด์

เมื่อการเรียนรู้กำลังก้าวผ่านจากเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา กับเฉพาะในช่องทางหรือแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้มาสู่การเปิดโซเชียลเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ตัวเองสนใจในทุกครั้งที่เปิดหน้าจอ หรือแม้แต่เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ที่ตัวเองสนใจในทุกก้าวที่กำลังเดินก็ตาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้คือพลัง และวันนี้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ก็เปิดโอกาสให้นักการตลาดมอบพลังให้กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นกว่าเดิมได้โดยง่าย เพราะการตลาดในวันนี้ไม่ใช่แค่ทำอย่างไรให้เขาอยากได้ แต่กลายเป็นทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเก่งขึ้นกว่าเดิมได้ด้วยสินค้าหรือบริการที่เรามีครับ

1. Learn from Ally Financial เรียนการเงินในเกม

การสร้างแบรนด์ในวันนี้ไม่ใช่แค่การสะท้อนภาพลักษณ์ออกมาผ่านการสื่อสาร แต่ยังเป็นการพยายามสร้างความรู้ให้กับผู้คน กลุ่มเป้าหมายในประเด็นสำคัญที่ธุรกิจตัวเองสามารถช่วยเหลือได้

เมื่อการให้ความรู้และการศึกษามีพลังที่จะทำให้สังคมดีขึ้นด้วยการยกระดับผู้คนทีละคนขึ้นมาพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่นธนาคารแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Ally Bank ได้ร่วมมือกับมูลนิธิของนักร้องเพลงแร็ป Big Sean ที่เข้ามาช่วยกันให้ความรู้ด้านการเงินหรือที่เรียกว่า Financial Literacy กับวัยรุ่นคนหนุ่มสาวชาวอเมริกัน ด้วยการสร้างพื้นที่การเรียนรู้เสมือนจริงขึ้นมาใน Minecraft หนึ่งในเกมยอดนิยมอันดับต้นๆ ของโลกครับ

และนั่นก็คือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ ด้วยการมอบความรู้ให้เต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจที่สามารถยกระดับสังคมได้ไปพร้อมกัน

2. Learn from Google หาคนเก่งๆ มาร่วมงานผ่านโซเชียลมีเดีย

แบรนด์ที่ฉลาดในปี 2022 จะไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียแค่เพื่อการสร้างไลฟ์สไตล์ แต่จะเน้นการให้ความรู้กับผู้คนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของตัวเอง

เมื่อคนรุ่นใหม่จำนวนมากใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยการติดตาม Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตัวเองสนใจ และนั่นก็ทำให้ Anna Lytical ที่เป็น Google Developer ได้ทำคลิปวิดีโอ TikTok สอนการ Coding ได้อย่างน่าสนใจจนมีผู้ติดตามมากมาย ซึ่งนั่นก็เปิดโอกาสให้ทาง Google เองสามารถรับสมัครคนเก่งๆ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ผ่านช่องทางนี้ได้ก่อน Tech Company คู่แข่งที่อาจจะเน้นแค่ LinkedIn ในการรับสมัครคนทำงานอย่างที่คุ้นเคยกัน

สรุป Digital Marketing & Social Trends 2022 ที่ 1 In-Feed Syllabuses เมื่อโซเชียลมีอะไรมากมายให้เรียนรู้

จากการใช้โซเชียลเพื่ออวดไลฟ์สไตล์ที่น่าอิจฉาเมื่อวันวาน มาวันนี้ผู้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นิยมหันมาใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ตัวเองสนใจมากขึ้น พร้อมกับการเกิดขึ้นของ Influencer เฉพาะด้านที่เป็นคนเก่งๆ มากมายที่น่าติดตาม ผ่านการทำคอนเทนต์ที่เล่าเรื่องยากให้ง่าย หรือเล่าเรื่องธรรมดาให้สนุกน่าสนใจด้วยการเติมความรู้ใหม่ๆ เข้าไปจนใครๆ ก็อยากติดตามกัน

คำถามคือนักการตลาดอย่างเราจะทำอย่างไรกับเทรนด์นี้ เมื่อ Purpose ของ Social media ในปี 2022 เริ่มเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ที่เน้นการเติมความรู้ใหม่ๆ ทุกวันเข้าไปแทนครับ

The Vibe Economy เศรษฐกิจอารมณ์บวก

https://thinkforward.wearesocial.com/the-vibe-economy.html

เมื่อผู้บริโภควันนี้เบื่อการอวดแต่มองหาอารมณ์บวกให้ชีวิตมีแรงบันดาลใจ การตลาดยุคใหม่ในปี 2022 คือการสร้างอารมณ์บวกให้กับผู้บริโภคอยากติดตามเรา เพราะนี่คือการวิวัฒนาการครั้งใหญ่ของการทำ Content marketing ที่เปลี่ยนจากสื่อสู่โสต ลดการคิด เน้นความรู้สึก

Vibe คำนี้ย่อมาจาก Vibration หรือการสั่นไหวที่สามารถส่งต่อถึงสิ่งรอบข้าง ในแง่หนึ่ง Vibe คือ Noun หรือคำนาม ที่หมายถึงอารมณ์บรรยากาศของสถานที่แห่งนั้น ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ที่คนรอบข้างรู้สึกถึง

อีกแง่หนึ่ง Vibe คือ Verb ที่เป็นกิริยาอย่างการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นไปยังคนที่เข้ามาเห็น อยู่ รู้ ฟัง ได้รู้สึกถึง

Vibe มาจากไหนหรือใครทำให้เป็นเทรนด์?

https://www.youtube.com/watch?v=JO6h-gkxr4k&t=2084s

ใน TikTok มีแคปชั่นหนึ่งที่เขียนว่า “Perfect sunset vibes…” กับภาพเด็กผู้หญิงสวมชุดสีข่าวล่องลอยไปตามท่าเรือยามเย็นที่พระอาทิตย์กำลังตกดิน บน YouTube เองก็มีวิดีโอที่เป็นเพลงที่ชื่อว่า Just Vibin ~ chill soft songs make you feel happy พร้อมกับภาพ Game Boy อารมณ์ดีขยับตัวล่องลอยไปมาท่ามกลางบรรยากาศท้องฟ้าสีพาสเทลดูคล้ายพระอาทิตย์กำลังตกดินเช่นกัน

บน Spotify ก็มีเพลย์ลิสต์ที่ชื่อว่า Chill Vibes ที่ได้รับความนิยมผ่าน 2 ล้าน Likes ที่ฟังแล้วชวนให้รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ดี และภาพหน้าปกเพลย์ลิสต์นี้ก็เป็นภาพท้องฟ้ายามเย็นให้อารมณ์พระอาทิตย์กำลังจะตกดินเช่นกัน

แล้วจากความนิยมในคอนเทนต์ประเภท Vibes จึงถูกจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ขึ้นมาอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มต่างๆ

และแม้เนื้อหาที่ถูกนิยามว่า Vibes จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แตกแขนงออกไปมากมาย แต่เมื่อนำมาวิเคราะห์ดูดีๆ ก็จะเห็นจุดร่วมกันที่ชัดเจนอย่างหนึ่งนั่นก็คือคอนเทนต์ที่นิยามตัวเองว่าเป็น Vibe เหมือนว่าจะกระตุ้นอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างที่เป็นอันรู้กัน ในที่นี้ก็คือารมณ์ในแง่บวก ความรู้สึกผ่อนคลาย ความรู้สึกชิลๆ สบายๆ ท่ามกลางโลกโซเชียลที่เต็มไปด้วยการอวดชีวิตดีๆ มากมายอย่างไรไม่รู้

และอารมณ์ความรู้สึกแบบ Vibes กับโซเชียลมีเดียก็อยู่ด้วยกันมาพักใหญ่ด้วยความรู้สึกผ่อนคลายสบายๆ อย่างเช่นตอนที่ Instagram เปิดตัวฟิวเตอร์ที่ชื่อว่า X-Pro II และ Clarendon ก็ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเปลี่ยนทุกภาพให้เข้ากับแฮชแท็ก #Vibe ได้ง่ายขึ้น (มาสังเกตุดูก็เพิ่งรู้ว่าผมเองเป็นคนหนึ่งที่ใช้ฟิวเตอร์ Clarendon เป็นประจำโดยไม่รู้ตัวครับ)

บน Tumblr เองก็เปิดโอกาสให้เจ้าของเพจตัวเองปรับแต่งอารมณ์ความรู้สึกที่อยากสื่อออกไปยังผู้เยี่ยมชมได้เต็มที่ และเปิดโอกาสให้คนที่รู้สึกแบบเดียวกันสามารถพบเจอและเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้นครับ

และตัวแปรสำคัญของเทรนด์นี้คือ TikTok โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่มีเสียงเป็นตัวนำทำให้คอนเทนต์ประเภท Vibe ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมหาศาล

และเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุค Metaverse การสามารถเข้าถึงความรู้สึกผ่าน Digital ได้มากขึ้นในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จะยิ่งเป็นตัวเร่งความรู้สึกที่ลึกซึงและหลากหลายมากกว่าโลกคอนเทนต์ดิจิทัลก่อนหน้าจะมอบให้ได้ครับ

วันนี้โลกของเนื้อหา การสื่อสาร หรือ Content Marketing 2022 จะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเรื่องราว การบอกเล่าเรื่องดี แต่ยกระดับไปอีกขั้นสู่การถ่ายทอดอารมณ์หรือความรู้สึกที่เฉพาะเจาะจงที่แบรนด์ต้องการ เราอยากให้คนรู้สึกอย่างไรเมื่อพบเราผ่าน Digital ผ่านหน้าจอ หรือผ่านอุปกรณ์บางอย่าง นี่คือยุคของการสื่อสารผ่านอารมณ์ ผ่านโสตสัมผัสที่เตรียมพร้อมปูเข้าสู่โลก Metaverse โดยที่เราไม่รู้ตัว

Digital Marketing Trends 2022 จากนี้ไปจะไม่ใช่แค่การสื่อ “สาร” ผ่านตัวหนังสือ ข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว จะไม่ใช่แค่การพูดถึงปัจเจกบุคคลตัวตนเท่านั้น แต่จะก้าวข้ามไปยังการถ่ายทอดโมเมนต์ จังหวะ ช่วงเวลา อารมณ์ ด้วยเสียงนำภาพ เราอยู่ในยุคที่เลือกเสียงก่อนค่อยเลือกภาพ จากที่เคยเน้นภาพก่อนค่อยหาเสียง

What’s Driving it? แล้วอะไรเป็นตัวชี้นำให้เกิดเทรนด์นี้ขึ้นมาหละ?

Social Nostalgia คิดถึงวันวานที่แสนเรียบง่ายไม่วุ่นวายซับซ้อน

https://www.tiktok.com/@violetvibelet/video/6988966609616391430

เมื่อการใช้โซเชียลมีเดียพักหลังกลายเป็นการโอ้อวดชีวิตแสนดี โชว์ภาพการใช้ชีวิตที่ดูแฟนซีจนน่าหมั่นใส้ ไปจนถึงเรื่องราวดราม่าพร้อมเหตุการณ์ทัวร์ลงมากมาย ส่งผลให้คนกลุ่มหนึ่งโหยหาความเรียบง่ายแบบวันวานที่ไม่วุ่นวายขนาดนี้

คนกลุ่มนี้มองหาชีวิตที่เรียบง่าย พวกเขาเลยหลีกหนีโซเชียลที่วุ่นวายมาสู่การเป็น Social Vibe ขึ้นมาแทน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z และ Millennials หรือ Gen Y ที่คิดถึงสมัยที่อินเทอร์เน็ตยังคงไม่ซับซ้อนมีแค่เว็บหน้าตาธรรมดา หรือยุคที่ยังคงเป็น Social media ’00 (ปี 2000) ที่เราสามารถกำหนดตีมต่างๆ ด้วยตัวเองได้แทนที่จะปล่อยให้อะไรๆ เป็นไปตาม Algorithm ฝ่ายเดียว

Sound-on คอนเทนต์วันนี้ตั้งต้นจากเสียงไม่ใช่ภาพ

จากการมาของโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มน้องใหม่ TikTok ส่งผลให้วิธีการคิดและทำคอนเทนต์ของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนไปหนักมาก จากเดิมต้องคอยหาภาพสวยๆ คิดแคปชั่นเก๋ๆ กลายมาเป็นเราจะทำคอนเทนต์อย่างไรให้เข้ากับเพลงนี้ ซาวน์นี้ หรือเสียงนี้มากที่สุด

เมื่อเสียงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Content Marketing 2022 โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ Gen Z เพราะจากข้อมูลบอกให้รู้ว่ากว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่อายุ 18-34 ปี หันมาเน้นการทำคอนเทนต์จากเสียงตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา

เสียงเพลง หรือเสียงประกอบ กลายเป็นแก่นหลักของการคิดและทำคอนเทนต์ จากการมาของ TikTok ก็ทำให้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ปรับตัวหนักมาก Facebook ออก Reel และ YouTube ก็ออก Short เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการทำ Digital Marketing โดยไม่รู้ตัวเรียบร้อยครับ

The Behavioral Change ชิลเหลือเกินแม่!

Cores and aesthetics unite teens online สุนทรีย์โซเชียล

Content Creator ตั้งแต่สายน่ารักไปจนถึงสายลุยป่า ไม่ว่าจะสายไหนต่างก็เน้นการสื่อสารไปยังอารมณ์ของคนดูมากกว่าเนื้อหาที่ต้องใช้การเล่าเรื่องแบบ Storytelling ที่เคยนิยมมา โดยเฉพาะการเน้นที่เสียงที่จะทำให้คนรู้สึกถึงภาพ ไม่ว่าจะด้วยการเล่าแบบหนังเก่า แฟชั่น ศิลปะ และไม่ว่าอะไรก็ตามที่เป็นที่นิยมในตอนนั้น

Multisensory Memes Transcend Generations มิติใหม่ของมีมคือเพลง

สุขได้แค่ไร้กังวล TikToker คนหนึ่งที่ใช้ชื่อ account ว่า @doggface208 ถ่ายคลิปวิดีโอที่ดูชิลๆ สบายๆ ด้วยการไถสเก็ตบอร์ดไปตามถนนแล้วก็จิบน้ำผลไม้ไป โดยลิปซิงค์เพลงที่ฟังแล้วดูผ่อนคลายชวนให้ Relax ตาม ได้รับการกดไลก์มากกว่า 13 ล้านครั้ง แชร์ไปเกือบ 700 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2021)

ซึ่งดูแล้วไม่น่ามีเหตุผลใดที่ทำให้วิดีโอนี้ได้รับความนิยมเอาเสียเลย นอกจากมันช่างดูชิลจนน่าอิจฉาจังเลยท่ามกลางโลกที่โกลาหลเหลือเกิน

Curators with Influence จัดหมวดหมู่ให้ใหม่

การจะเป็น Content Creator วันนี้ไม่จำเป็นต้องสร้างผลงานขึ้นมาใหม่เสมอไป เพียงแค่คิดใหม่ มีมุมมองใหม่ และจัดของเดิมที่มีอยู่ให้กลายเป็นหมวดหมู่ใหม่ก็ได้แล้ว

นี่คือเทรนด์ใหม่ของ Content Creator วันนี้ ที่ขยับมาสู่การเป็น Content Curator เพราะเมื่อภาพเก่าสามารถหยิบเอามาสร้างเรื่องราวให้ใหม่ได้ เอามาสื่อสารถึงอารมณ์ใหม่ได้ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นมากมายตั้งแต่ @meta_visions ที่เปลี่ยน Instagram ให้เป็นเหมือน mood boards คล้าย Pinterest ด้วยการใช้ Carousels รวมภาพหรือคลิปวิดีโอให้ถึงสิบอัน เพื่อเป็นการบิ๊วอารมณ์คนดูให้รู้สึกอินกับอารมณ์ที่เราจะสื่ออย่างเต็มที่

หรือหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือแบรนด์เสื้อผ้า Friday Beers ที่ทำคอนเทนต์ประเภท Mood Boards เป็นหลัก อย่างเช่นการบิ๊วอารมณ์เรื่อง Almost Friday (จะถึงวันศุกร์แล้ว) ด้วยการหยิบรูปภาพที่สื่อถึงอารมณ์นั้น ใส่แคปชั่นลงบนรูป แล้วก็ทำซ้ำหลายๆ ภาพในแบบอัลบั้ม Carousel เพื่อให้คนดูรู้สึกอินจริงๆ และบน TikTok ก็มี account ที่ชื่อว่า @vibes ก็ทำวิดีโอย้ำๆ ซ้ำๆ เพื่อสื่ออารมณ์เดียวกันให้เห็น

USE IT แบรนด์จะเริ่มต้นบิ๊วอารมณ์คนดูอย่างไร

ตอนนี้เราเห็นเทรนด์ Vibe มากขึ้นบนโซเชียลมีเดียแทบทุกแพลตฟอร์ม เราเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการทำคอนเทนต์แบบ Storytelling เน้นการเล่าเรื่อง ใช้ภาพนิ่ง เพื่ออธิบายเหตุการณ์ เรื่องราว หรือสารที่ต้องการจะสื่อ มาในรูปแบบการสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่แม้จะ Abstract แต่ก็ยังรับรู้ได้ว่าภาพนี้ วิดีโอนี้ กระตุ้นให้เรารู้สึกอย่างไร

และจากการเติบโตของ Content Marketing แนวใหม่ในปี 2022 นี้คือการเปลี่ยนผ่านจากการสื่อสาร มาสู่การสื่ออารมณ์ความรู้สึก นี่คือประเด็นสำคัญที่แบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Z ต้องรู้จักและประยุกต์ใช้ให้ไวเหมือนสองแบรนด์นี้ที่หยิบมาให้ดูเป็นแนวทางกันครับ

Rimova ให้ Creator หรือ Influencer ที่ใช่ช่วยบิ๊วให้ง่ายกว่า

https://www.instagram.com/p/CQ_W7vbrYle/

ถ้าไม่ถนัดทำเองก็สามารถ Collaborate กับ Influencer ที่ทำคอนเทนต์แนวนี้อยู่แล้วก็ได้ เหมือนที่ Rimova ทำกับ Instagram account ชื่อ SomeWhereMagazine ให้ช่วยหยิบสินค้าไปสร้าง Mood board เพื่อสื่ออารมณ์สไตล์แบรนด์ยังกลุ่มผู้ติดตามให้หน่อย ซึ่งเมื่อดูจากผลงานที่ออกมาเราก็พบว่าแม้ภาพจะไม่ได้สื่อสารใดออกมาอย่างชัดเจน แต่มันสามารถสื่อถึงอารมณ์ความหรูหราราคาแพงในแบบ Rimova ได้ชัดเจนจริงๆ ครับ

LEGO บิ๊วอารมณ์ให้อยากก่อนขาย

วิธีการเล่าอารมณ์ของแบรนด์นี้น่าสนใจเพราะต่างจากที่ Rimova ทำโดยชิ้นเชิง  เพราะเป็นการหยิบเอาสินค้าตัวเองมาสร้างอารมณ์ที่ต้องการได้ 100% โดยไม่มีอะไรปน และสิ่งที่ LEGO ทำคือการสร้างอัลบั้มแนว ASMR บน Spotify ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายได้ผ่อนคลายไปกับอัลบั้มที่ถูกครีเอทโดยแบรนด์เพื่อให้คนเข้าใจถึงอารมณ์ที่ LEGO ต้องการสื่อ และจากนั้นทางแบรนด์ก็ได้ออกชุดคอลเลคชั่นใหม่เพื่อเปลี่ยนอารมณ์ให้กลายเป็นยอดขายขึ้นมา

หรือ Tinder เองก็มีการสร้าง Custom date night Playlists ขึ้นมาบน Spotify ที่ต้องการสะสื่อถึงอารมณ์ของคนที่กำลังเดทกันใหม่ๆ แทนที่จะทำคอนเทนต์บอกเล่าเรื่องราวการเดทแบบเดิม มาเป็นการบิ๊วให้อยากเดทมากขึ้น เดทเร็วขึ้น และนั่นก็กลับมาที่การใช้งาน Tinder

สรุป Digital Marketing Trends 2022 ที่ 2 The Vibe Economy อยากขายดีต้องบิ๊วอารมณ์

จากเดิม Content Marketing คือการเน้นสื่อที่ตัวสาร แต่ในปี 2022 เป็นต้นไปจะเน้นการสื่อความรู้สึกที่แบรนด์ต้องการออกไปมากขึ้น หรือแม้แต่เข้าไปจับความรู้สึกใดก็ตามที่แบรนด์เห็นว่าสามารถพลิกมาเป็นโอกาสเพิ่มยอดขายได้ เหมือนที่ LEGO ทำด้วยการสร้างอัลบั้มให้คนผ่อนคลายแล้วก็ป้ายยาขายชุดต่อใหม่แบบเนียนๆ

ทั้งหมดนี้คือการพยายามหลีกหนีวิถีโซเชียลแบบเดิม มาสู่การใช้โซเชียลเพื่อความสุนทรีย์เพิ่มขึ้น และจุดตั้งต้นคือมาจากเสียง จากการเข้ามาของ TikTok ที่ต้องสร้างคอนเทนต์ตามเสียง จากเดิมที่เน้นเนื้อหาหรือข้อความแล้วค่อยหาเสียงมาประกอบ

ผมว่าเทรนด์นี้สำคัญมากต่อการทำ Digital Marketing ในปี 2022 เพราะคอนเทนต์กำลังมีวิวัฒนาการไปอีกระดับโดยที่เราอาจไม่ทันรู้ตัวแต่ผมอยากให้คุณรู้ทัน

ในตอนหน้าเราจะมารู้จักกับอีก 3 เทรนด์สำคัญที่เหลือกัน บอกได้เลยว่าจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นกว่าที่คิด เพราะโลกดิจิทัลและโซเชียลวันนี้จะไม่เหมือนเมื่อวานมากขึ้นทุกทีครับ

บทความ 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 ตอนที่ 2 > https://everydaymarketing.co/trend-insight/5-digital-marketing-social-trends-2022-think-forward-we-are-social/

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *