data research insight pizza social listening

Data Research Insight พิซซ่า พร้อมเสิร์ฟร้อนๆ by Social Listening

เปิดเตา Data Research Insight พิซซ่า อัปเดตทุกมิติของธุรกิจและเทรนด์พิซซ่า ซึ่งรีพอร์ตนี้เราจะใช้ Social Listening Tools กวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘พิซซ่า’ อย่างเจาะจงค่ะ เราจะมาค่อย ๆ เจาะข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่อยากอ่านเทรนด์เกี่ยวกับตลาดพิซซ่าในไทยปัจจุบันว่ามีเทรนด์แบบไหนบ้าง แป้งแบบไหน หน้าอะไร ขอบชีสฮอตจริงไหม แม้กระที่ยงแบรนด์ที่เป็นตัวท็อป Engagement จะใช่แบรนด์ที่คุ้นหูคุ้นตาทุกคนหรือเปล่า

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเล่มโปรเจค #Dataอร่อยร้อยร้าน ที่ผ่านมาแล้วหลายเมนู ตัวอย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ผัดไทย ของดอง ข้าวแกง ราเม็ง ไอศกรีม ข้าวเหนียวมะม่วง ก๋วยเตี๋ยวเรือ ลูกชิ้น สเต๊ก สปาเก็ตตี้ และจะยังมีอีกหลายความอร่อยที่จะตามมา อยากให้ทุกคนติดตามกันอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะมีข้อมูลมากให้อ่านกันทุกเดือนอย่างแน่นอนค่ะ

และอย่างที่เกริ่นไปว่าเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data พิซซ่าคือ Social Listening เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม​ Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่ เพราะทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ใช้ช่องทางออนไลน์ Social Media ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะบ่นหิว บ่นร้านอาหาร สูตรอาหาร หรือรีวิวก็มีให้เห็นตลอดเวลา โซเชียลเลยกลายเป็นแหล่งข้อมูลให้เราทำรีเสิร์จแบบเข้ากับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีกค่ะ

ซึ่งโปรเจค #​Dataอร่อยร้อยร้าน จากการตลาดวันละตอนของเราได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ใจดีอย่าง SME D BANK ต้องขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ซึ่งเราจะใช้ 8 ขั้นตอนที่เราใช้กับเครื่องมือ Social Listening เพื่อเริ่มหา Insight จาก Social Data ออกมาค่ะ

STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำคีย์เวิร์ด คือ พิซซ่า และ Pizza ก็ครอบคลุมบริบทที่เราต้องการรู้แล้วค่ะ

โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/01/2024 – 31/08/2024 หรือประมาณ 8 เดือนย้อนหลัง มีข้อมูลประมาณ 49,434 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok 

และข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ

STEP 3 Cleansing Data

อย่างไรก็ตาม เวลาเราเลือกใช้ Keyword เพื่อถึงโพสต์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในโปรเจค และใส่ exclude เพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่ต้องการไว้อยู่แล้ว แต่คำว่าดองนั้นอาจมาจากโพสต์ความหมายอื่น หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ ตัวอย่างแคมเปญนี้ผู้เขียนต้องทำการคลีนข้อมูล หรือลบโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออก การวิเคราะค์ Social Data จะได้มีความแม่นยำมากขึ้น เช่น ดองที่หมายถึงเก็บซีรีย์ไว้ดูหลายเรื่อง เป็นระยะเวลานานแล้ว

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอนคลีนซิ่งดังกล่าวเพื่อเคลียสิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาด และมีคุณภาพ ก็เหมือนเราเลือกคนสัมภาษณ์มาดี เป็นต้นค่ะ 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคลีนดาต้าอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

STEP 4 Conversation Analysis

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่หลังไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้พอจะเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงพิซซ่าริง ๆ คัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้าวแกง มีข้อมูลแบบไหนบ้างและอยากมาเล่าต่อในรีพอร์ตเล่มนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อนทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรกไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ 

Social Data Stat Overview

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นเลยนะคะว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงเมนูต่าง ๆ ของพิซซ่า ชื่อแบรนด์พิซซ่า แฮชแท็กที่ถูกใช้บ่อย ๆ อย่าง #อร่อยบอกต่อ หรือชื่อพรีเซ็นเตอร์พิซซ่า และโปรโมชั่นพิซซ่าที่เกิดขึ้น

Facebook – Cafe Story รีวิวร้าน บ้านยายเวียง เมนูพิซซ่าทรัฟเฟิล

Twitter – Twitter Account อีตาลีเพิ่งทำใจกับสับปะรดบนพิซซ่าได้

Instagram – healthybypraw เมนูสุขภาพ Potato pizza cup

X – cinmhef ทำพิซซ่าในหอพักจีน

YouTube – The Pizza Company พิซซ่าชีสซี่แมกซ์ ชีสสุดขอบ กรอบสุดขีด

STEP 5 Categorize Data 

การจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจน ซึ่งโจทย์ควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี เราจะได้อ่านจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการคลีน อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่ายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

STEP 6 Data Visualization

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation

ทุกคนจะได้อ่านข้อมูลที่ผ่านขั้นตอนที่ผ่านมาเพื่อ Summary & Insight / Recommendation ข้าวแกง ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง นะคะ

Categories ที่แบ่งออกมา แบ่งตามข้อมูลที่เจอหลังอ่านและวิเคราะห์ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ใช้ Social Listening ก็สามารถกำหนดหัวข้อหลัก และ Insight ที่ตัวเองอยากรู้ได้เช่นกัน มาดูกันว่า 49,434 Mentions คลีนข้อมูลที่ไม่ต้องการบางส่วนออกแล้ว นั้นเมื่อแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เราจะเจออะไรบ้าง 

ซึ่งผู้เขียนได้เลือก Analysis การพูดถึงข้าวแกง จัดเป็น 7 กลุ่มตามภาพด้านบน โดยไม่ได้จากมากไปน้อย แต่เรียงโดย Journey ที่ต้องการ

  1. ความหนาของแป้ง 5%
  2. หน้าพิซซ่า 10%
  3. TOPPING (MEAT) 19%
  4. Topping (Vegetables) 12%
  5. ขอบพิซซ่า 3%
  6. โปรโมชั่น 37%
  7. TOP Brand 19%

#1 แป้งบางกรอบ เยอะกว่าหนานุ่มเล็กน้อย

#2 พิซซ่าหน้าซีฟู้ดมาแรงที่สุด

#3 แฮม กุ้ง เบคอน ไส้กรอก ปูอัด หอย คือท็อปปิ้งยอดนิยม

#4 ข้าวโพด ผักโขม และเห็ด ควรใส่บนพิซซ่าด้วย

#5 ขอบชีสมากับแบรนด์ดัง

#6 โปรโมชั่นแบรนด์พิซซ่า ส่งฟรี และ 1 แถม 1 มาแรงสุด

#7 TOP3 Brand ที่เดาได้ไม่ยาก

TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. The Pizza Company 1112 470K Engagement
  2. Pizza Hut 296K Engagement
  3. ชอบโปร – ShobPro 283K Engagement
  4. Cafe Story รีวิวคาเฟ่ ทุกวัน 251.5K Engagement
  5. Wongnai 208.6K Engagement

TOP5 Instagram account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในแอคเคาท์ที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. healthybypraw 97.8K Engagement
  2. pun promotion 90.5K Engagement
  3. minnawinda 81.8K Engagement
  4. aff_taksaorn 66.7K Engagement
  5. ชอบโปร – ShobPro 64.7K Engagement

TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในช่องที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น

  1. cinmhef 623K Engagement
  2. kp_talonlak 173.7K Engagement
  3. bankiii 162.5K Engagement
  4. shibacook 104K Engagement
  5. gindaieek 102K Engagement

TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น

  1. The Pizza Company 6.7M views
  2. PMZTHUNDER​ 2.7M views
  3. กิ๊กอินเมกา 2.7M views
  4. PAKGun 1.9M views
  5. Fun to Tell 1.6M views

Data Research Insight ข้าวแกง ร้านเด็ด เมนูกันตายของคนไทย

ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ข้าวแกง โดยทั้งเห็นเทรนด์การพูดถึงบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหารผัด > ต้ม > ทอด วัตถุดิบสุดฮิตหมู > ไก่ > ปลา ไปจนถึงท็อปปิ้งไข่ดาวที่ครองอันดับ 1 ในใจคนไทย คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณผู้สนับสนุน SME D BANK อย่างมากครับ

คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > #Dataอร่อยร้อยร้าน


หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics 

ลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

นุ่น, Business Data Research & Analyst Specialist | MarTech Aficionado With 6 years of experience in Social Data Research, I specialize in analyzing and listening to customer sentiments across all social media platforms for both governmental and business sector clients. Personal trick: K-POP is my driving force.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *