วิเคราะห์ Marketing AI ผ่าน STP ที่เปลี่ยนความฝันให้เป็นภาพจาก Coway

เมื่อพูดถึงการตลาดที่ใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการ connect the dots กับลูกค้า Coway ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในแบรนด์ที่น่าสนใจ เพราะล่าสุดทาง Coway ได้นำเสนอแคมเปญที่เปลี่ยนความฝันเป็นภาพศิลปะด้วย AI ถือเป็นการใส่ใจในรายละเอียดของความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้แบบรู้ใจเลยทีเดียว ในบทความนี้ ผู้เขียนจะใช้ STP เพื่อวิเคราะห์ว่า Coway ทำอย่างไรในการเปลี่ยน Marketing AI ให้กลายเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้

เล่าให้ฟังก่อนว่า Coway เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1989 ที่ประเทศเกาหลีใต้ Coway มีความตั้งใจและจุดมุ่งมั่นว่าต้องการที่จะสร้างสรรค์และมอบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนทั่วโลก ผ่านการพัฒนาและผลิตเครื่องฟอกอากาศและเครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพสูงให้กับผู้คนน

ซึ่งเจ้าเครื่องกรองน้ำและเครื่องฟอกอากาศก็เป็นสินค้าหลักที่ทำให้ Coway ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดในช่วงหลายหลายปีที่ผ่านๆ มา 

Coway มีชื่อเสียงในฐานะแบรนด์ที่ใส่ใจเรื่องของในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกค้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็เหมือนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจว่าสินค้า Coway มีการพัฒนาสิาค้าผลิตภัณฑ์อยู่สม่ำเสมอนะ

และปัจจุบัน Coway ได้ขยายธุรกิจไปยังกลุ่มสินค้าที่ช่วยเรื่องการนอนมากขึ้น เช่น ที่นอน เครื่องปรับอากาศ และเก้าอี้นวด ซึ่งในมาเลเซีย Coway ได้รับการตอบรับที่ดีและประทับใจอย่างมากจากชาวมาเลเซีย โดยทางแบรนด์ถูกมองว่าเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจพัฒนาและมุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดและสุขภาพที่ดีของครอบครัว ถือว่า Coway ได้ครองใจชาวมาเลเซียไปแบบเต็ม ๆ เลย

เพิ่มเติมจากข้อมูล Award Winning Customer Experience of Coway Malaysia ที่มีรายงานว่ามีลูกค้ากว่า 2 ล้านรายในประเทศมาเลเซียใช้ผลิตภัณฑ์ของ Coway และพวกเขาบอกว่าพวกเขามีความชื่นชอบกับผลิตภัณฑ์อย่างมาก ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลยถ้าเทียบกับประชากรของมาเลเซียที่มีประมาณ 33 ล้านคน (จำนวนประชากรมาเลเซียอัปเดทล่าสุด2565) อธิบายให้เห็นภาพหมายความว่าประมาณ 6.25% ของประชากรมาเลเซียและครอบครัวใช้ผลิตภัณฑ์ของ Coway ตัวเลขไม่เคยโกหกจริง ๆ

ถึงแม้ว่า Coway จะมีชื่อเสียงด้านเครื่องฟอกอากาศและเครื่องกรองน้ำใช่ไหมคะ แต่ในตลาดสินค้าการนอนหลับ Coway ยังถือว่าเป็นผู้เล่นน้องใหม่ที่ต้องแข่งขันกับแบรนด์ดังที่มีมานานมาก เช่น Tempur-Pedic, Simmons, King Koil และ Omazz อีกด้วย

และตอนนี้สิ่งที่ Coway เผชิญอยู่นั่นก็คือ คนมาเลเซียส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ จากการศึกษาพบว่า 9 ใน 10 คนมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับในระดับต่าง ๆ  ที่แตกต่างกันออกไป

ซึ่งปัญหาการนอนก็มีแตกต่างกันออกไป เช่น Source

  • การนอนไม่หลับ (Insomnia) หมายถึงการมีปัญหาการหลับไม่ที่สนิท ซึ่งก็ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ในระหว่างวัน
  • หรือการนอนมากเกินไป (Hypersomnia) หมายถึงการที่นอนหลับมากเกินไปแต่ยังรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ นอนเท่าไหร่ก็รู้สึกไม่เพียงพอ

ซึ่งนี่ก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญ ‘Dreams Decoded’ ที่ทาง Coway เล็งเห็นว่า ความฝันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความรู้สึกได้และเพื่อให้ความต้องการของลูกค้าเป็นจริง Coway เลยใช้ความฝันนี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

แคมเปญ ‘Dreams Decoded’ ของ Coway Malaysia เริ่มต้นด้วยการชวนให้ผู้คนเข้ามาเล่าความฝันของตัวเองผ่านแพลตฟอร์มที่ Coway เตรียมไว้ และหลังจากที่ส่งเรื่องราวของตัวเองเข้ามาแล้วทาง Coway ก็จะใช้เทคโนโลยี AI แปลงความฝันให้เป็นภาพศิลปะที่สื่อถึงความหมายของความฝันให้เป็นภาพแบบเฉพาะคนแบบ Individual แน่นอนว่าภาพที่ได้ออกมาผู้รับจะได้ภาพที่ไม่ซ้ำใครแน่นอน

นอกจากจะได้ภาพศิลปะจากความฝันของเราเองแล้ว ลูกค้ายังจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการนอนของตัวเองอีกด้วย เรียกได้ว่าแคมเปญนี้สร้างความตื่นเต้นและสร้างความสนใจให้กับชาวมาเลเซียไม่มากก็น้อยเลย

การตลาดเทรนใหม่

ต้องบอกว่าแคมเปญ ‘Dreams Decoded’ ของ Coway เป็นการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่เป็นการเข้ากันอย่างลงตัว 

ซึ่งความสำคัญของแคมเปญนี้อยู่ที่การเข้าใจลูกค้าในระดับที่ว่า Coway เข้าใจลูกค้ามากกว่าแค่การมองระดับผิวเผินไม่ได้มองแค่พฤติกรรมการซื้อหรือความต้องการพื้นฐานของลูกค้า แต่มองลึกถึงความต้องการที่แท้จริงและสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ส่งมอบให้กับลูกค้า

การตลาดเทรนใหม่

วิเคราะห์ Marketing AI ผ่าน STP กับแคมเปญ Dreams Decoded ของ Coway

อธิบายง่าย ๆ กันก่อน STP คือเครื่องมือวิเคราะห์การตลาดที่ประกอบด้วย Segmentation Targeting และ Positioning โดยกลุ่มเเรงที่เราจะวิเคราะห์กันก็คือ 

ซึ่งการแบ่งกลุ่มจะเป็นการแบ่งจากตลาดขนาดใหญ่ไล่จนไปถึงเล็ก (นึกถึงภาพสามเหลี่ยมหัวกลับ) ในที่นี้เราจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ, เพศ, รายได้, พฤติกรรม, ความสนใจ, หรือปัญหาที่ลูกค้าพบเจอนั่นเอง

และถ้าถามต่อไปว่า ‘เอ๊ะ’ แล้วจุดประสงค์ของการแบ่งกลุ่มลูกค้าคืออะไร อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ เป็นการเเบ่งเพื่อให้เข้าใจว่าลูกค้าของเรามีความต้องการและพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้สามารถเจาะกลุ่มทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมได้

Key ที่ผู้เขียนใช้ในการวิเคราะห์ ? ผ่านการตั้งคำถามว่า Coway ต้องการที่จะเข้าใจลูกค้าของเขาแบบไหน โดยเริ่มจากการเข้าใจว่าลูกค้าของเขาก่อนว่าคือใคร และกลุ่มไหนที่เขาต้องการเข้าถึง

ในที่นี้การเเบ่งกลุ่มลูกค้าของ Coway จากผู้เขียนวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 2 หลัก ๆ กลุ่มก็คือ กลุ่มที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และ กลุ่มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความฝัน

  • กลุ่มที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน 

Coway โฟกัสกลุ่มคนที่มีปัญหาการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia) หรือนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหานี้ 

  • กลุ่มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความฝัน

คนกลุ่มนี้โดยส่วนตัวพวกเขาจะชอบนวัตกรรมใหม่ ๆ และชอบทดลอง Trend ที่แปลกใหม่ การนำ AI มาแปลงฝันให้เป็นภาพศิลปะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มนี้ได้ดีเลยทีเดียว

แน่นนอนว่าหลังจากแบ่งกลุ่มแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะศึกษาหรือเข้าถึงกลุ่ม ๆ นั้น ซึ่งการเลือกกลุ่มตรงนี้ สิ่งที่ควรไฮไลท์และโน้ตไว้ก็คือ พยายามเลือกกลุ่มที่มีโอกาสซื้อสินค้าของเรามากที่สุด หรือกลุ่มที่เรามีศักยภาพในเข้าถึงและให้บริการกับเขาได้

วิเคราะห์ต่อจากกลุ่มที่แบ่งไว้ Coway เลือกที่จะเจาะกลุ่มคนที่มีปัญหาการนอนเป็นหลักเป็นหลักใช่ไหมคะ เพราะเขารู้ดีว่าคนกลุ่มนี้ต้องการวิธีแก้ปัญหาและต้องการได้รับการแก้ปัญหานี้อย่างรวดที่สุด 

  • Coway เลือกใช้แคมเปญ ‘Dreams Decoded’ เป็นตัวเชื่อม

แทนที่จะขายของตรง ๆ แต่ Coway เลือกที่จะใช้แคมเปญให้ลูกค้าเล่าความฝันของตัวเอง แล้วนำมาแปลงเป็นภาพศิลปะผ่าน AI ซึ่งทำให้ตัวลูกค้าเองรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมและถูกให้ความสำคัญของคุณค่าในตัวเขามากขึ้น

  • เจาะกลุ่มลูกค้าโดยใช้สื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย

‘Dreams Decoded’ ถูกโปรโมตผ่านสื่อ Social Media เป็นการช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบกว้างและรวดเร็ว ทำให้แคมเปญนี้สามารถเข้าถึงและมีการตอบรับที่ดี

  • มีการให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์แบบเฉพาะบุคคล

นอกจากจะแปลงภาพฝันออกมาแบบตามความฝันของแต่ละคนแล้ว ความพิเศษที่ Coway แอดเพิ่มให้ก็คือผู้ใช้จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการนอนของตัวเองที่ออกแบบให้เป็นรายคน ต้องบอกเลยว่าเห็นแบบนี้แล้วยอมเทใจให้ ​Coway กันบ้างแล้วหรือยังง  

อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือการวางตัวสินค้าหรือแบรนด์ให้ชัดเจนว่าอยู่ตรงไหน และอยู่ในใจของกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกไหม

ต้องพยายามวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามีอะไรบ้างที่ต่างจากคู่แข่งและต่างจากเขาอย่างไร เพราะอะไรแบรนด์เราถึงเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ตัวอย่างเพิ่มเติมให้เห็นภาพ เช่น การใช้ข้อความโฆษณา สโลแกน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์นี้แหละโจทย์เขาได้มากกว่าแบรนด์อื่น

อย่างที่ทราบว่า Coway ได้วางตำแหน่งของตัวเองว่าเป็นแบรนด์ที่เข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่งใช่ไหมคะ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเป็นจุดเด่นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์

  • ตั้งตัวเองว่าเป็นแบรนด์ที่มากกว่าแค่ขายสินค้า 

Coway ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูอบอุ่นและเป็นมิตร ด้วยการสื่อสารที่บอกว่าพวกเขาเข้าใจปัญหาของลูกค้าในระดับที่คนอื่นไม่เข้าใจนะ 

ซึ่งการแปลงความฝันเป็นภาพศิลปะที่แบบให้เฉพาะคนทำให้ Coway ได้ใจในส่วนนี้ไปเต็ม ๆ เป็นการสร้างภาพจำแบรนด์ได้ดีเลยทีเดียว ส่วนตัวมองว่าเป็นการสื่อสารที่ Creative มาก ๆ

แคมเปญ ‘Dreams Decoded’ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากรายงานพบว่ามีผู้ส่งความฝันเข้ามาทั้งหมด 5,278 คน มีตำนวนมากถึง 4,379 คนที่ตัดสินใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ของ Coway ในอนาคตซึ่งคิดเป็นอัตราสูงถึง 83% เลยทีเดียว

ต้องยกให้ Coway จริง ๆ ในการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เพราะ Coway เข้าใจความต้องการของลูกค้าจริง ๆ และแคมเปญนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ไอเดียสร้างสรรค์ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้ากับการตลาดเทรนใหม่ได้ดีเลยทีเดรยว อีกทั้งยังสามารถทำให้แบรนด์โดดเด่นและเป็นที่น่าจดจำในวงการการตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้อย่างไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

สรุป

Coway กับแคมเปญ ‘Dreams Decoded’ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยี AI มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการเชื่อมต่อกับลูกค้าในยุคที่ Marketing AI กำลังมาแรงได้ดีเลยทีเดียว และแทนที่จะขายสินค้าตรง ๆ Coway เลือกใช้ความฝันมาถ่ายทอดเป็นภาพศิลปะที่ออกแบบเฉพาะคน ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้รับความพิเศษและถูกเอาใจใส่ จากการใช้ STP Marketing วิเคราะห์ในบทความนี้ผู้เขียนมองว่าแคมเปญนี้แสดงให้เห็นว่า Coway ไม่ใช่แค่แบรนด์ที่โฟกัสแต่จะขายของนะ แต่ยัง Coway ยังเป็นเพื่อนที่เข้าใจและตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้แบบได้จริง ๆ

และถึงแม่ว่า Coway ‘Dreams Decoded’ อาจไม่ได้ครองใจทุกคน แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าแคมเปญนี้จะอยู่ในความทรงจำของทุกผู้หรือคนที่พบเห็นอย่างแน่นอน

สำหรับผู้อ่านที่น่ารักทุกคนที่อยากติดตามข่าวสารทางการตลาด และไม่อยากพลาดแหล่งรวมความรู้ดี ๆ ที่อัปเดททุกวัน สไตลด์การตลาดวันละตอนทางผู้เขียนเองก็มีช่องทางแนะนำเพิ่มเติมให้ผู้อ่านทุกท่านแวะไปทักทายพูดคุยกันได้สามารถติดตามได้ไม่ว่าจะเป็นจาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง เว็บไซต์ Twitter Instagram และ YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ

การตลาดวันละตอนขอเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่ไม่ว่าจะเพศไหน อายุเท่าไหร่ ก็สามารถเเวะเข้ามาอัพเดทความรู้กันได้แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ see you kaヽ(•‿•)ノ เยิ้ฟ ๆ

อ้อนแอ้น น้องคนเล็กแห่งบ้านการตลาดวันละตอน ชอบกินชอบเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ รักในการเขียนบทความและสรุปภาพอัลบั้ม ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานให้กับคนทุกคนที่น่ารัก ๆ ปล.ขอฝากเนื้อฝากตัวรักเอ็นดูหนูด้วยนะคร้าบบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *