เมื่อมี Data Research Insight ChatGPT ไปแล้ว ในวันนี้เราจะพามาอัปเดตเจาะข้อมูลเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างตัว GPT-4o ที่หันไปทางไหนก็เจอ ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นกระแสมาก ๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ เปิดตัวได้ไม่นานก็มีคนเข้าไปทดลองใช้กันอย่างล้นหลาม ทำให้รีพอร์ตเล่มนี้เกิดขึ้นมาเพราะจะพามาเจาะดูว่ามีการพูดถึงในแง่มุมไหน ประเด็นไหนที่น่าสนใจบ้าง ใครบ้างที่เข้ามาใช้ เป็นต้น
โดย Insight ในบทความนี้ เราใช้ Social listening tool อย่าง Mandala ที่ทีมการตลาดวันละตอนใช้อยู่เป็นประจำมาเสาะหาว่า คนพูดถึงเกี่ยวกับ GPT-4o อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์และไอเดียให้กับนักการตลาด ผู้ประกอบการ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ
ในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ
Keyword ที่ใช้มีดังนี้ : GPT-4o, GPT+4o โดยสองคำนี้สามารถสื่อถึงหัวข้อที่เราต้องการได้ทั้งหมดและสามารถเก็บข้อมูลมาให้เราได้มากถึง 33,781 mentions (สาเหตุที่เลือกใช้ GPT+4o เพราะคนบางกลุ่มเลือกเขียนห่างกัน หรือเขียนแบบไม่มีเครื่องหมาย – คั่นกลาง)
ระยะเวลาที่ใช้ในการดึงข้อมูล : 01/01/2023 – 31/05/2024 หรือประมาณ 5 เดือนย้อนหลัง (สาเหตุที่ดึงไทม์ไลน์ลากยาวเพราะต้องการดูเทรนด์ก่อนหน้าว่ามีกระแสไฮป์ก่อนหน้านั้นหรือไม่ เพื่อเปรียบเทียบกับช่วงเปิดตัว)
ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 33,781 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โพสต์ไลฟ์ของ VTuber ท่านหนึ่งที่บอกเวลา GPT +7 และลิงก์ที่มีคำว่า 4o อยู่ในแคปชั่น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “GPT+4o ” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับ GPT-4o ที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง GPT-4o มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในทีนี้เราจะขอแบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. Global; โฟกัสทุกภาษาทั่วโลก 2. โฟกัสแค่โพสต์ที่เป็นภาษาไทย
เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ Ey Engagement ignore view ในมิติของระดับ Global กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘GPT-4o ’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง GPT-4o มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, Facebook, Instagram และ TikTok ตามลำดับ โดยโพสต์ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อข่าว ข่าวสารอัปเดตเกี่ยวกับการเปิดตัวและฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่สามารถทำได้
By Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ ซึ่งประเภทคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องไปในทางเดียวกันกับ By Mention กล่าวคือ เกกี่ยวกับการเปิดตัวเป็นหลักค่ะ
VIDEO
By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด โดยคอนเทนต์จะมีความแตกต่าง ไม่เป็นข่าวทางการเหมือนกับในสองมิติก่อนหน้า จะเป็นโพสต์เกี่ยวกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยคลิปที่ได้เอนเกจเมนต์สูงสุดมาจากช่อง fabianluxe ที่เป็นหญิงวัย 90 ปีพูดคุยกับ GPT-4o เป็นครั้งแรก
ถัดมาดูในฝั่งของคนไทยกันบ้างค่ะ โดยเราจะดูในแง่ของส่วนแบ่งที่คล้ายกันตอนแรกคือ Mention, Engagement และ Ey Engagement ignore view เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนในไทยที่คนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘GPT-4o’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง GPT-4o มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ Twitter, YouTube, Instagram, YouTube และ TikTok ตามลำดับ โดยรูปแบบโพสต์ส่วนใหญ่จะมาจากเพจ Tech/ IT เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นประเภทข่าวสารอัปเดต
By Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ Facebook และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง 9arm เป็นคลิปพูดคุย/เปรียบเทียบเกี่ยวกับ GPT-4o vs Gemini
VIDEO
By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ ซึง Facebook ยังเป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุดและเป็นคอนเทนต์เดียวกันกับใน By Mention ที่ได้รับเอนเกจสูงสุดค่ะ
เมื่อเราลองมาเปรียบเทียบกับระหว่าง Global กับ Thai เราจะเห็นแพทเทิร์นของการใช้มีเดียเกี่ยวกับประเด็น GPT-4o ได้ในเบื้องต้นเลยว่า คอนไทยนิยมใช้ Facebook ในการอัปเดตข่าวสารเป็นหลัก ในทางกลับกันในระดับ Global จะเน้น Twitter ซึ่งเป็นมีเดียที่กว้างขว้าง อัปเดตมาไวไปไว
ทางด้าน Engagement ยังคงเป็น YouTube ที่คงอันดับหนึ่ง เพราะมีการนับยอดวิวเข้าไปด้วยจึงไม่แปลกที่จะนำโด่งขนาดนี้ แต่เมื่อเราตัด YouTube ออกไป เราก็จะเห็นได้เลยว่าในระดับทั่วโลกและในประเทศไทยแตกต่างกันอย่างชัดเจน
หากเป็นในระดับ Global จะเป็น TikTok และคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะมาจากผู้ใช้โดยตรงที่ทดลองใช้แล้วมาแชร์ประสบการณ์หรือทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ GPT-4o (ตามที่ได้เห็นในตอนต้นที่เป็นคลิปคุณยายวัย 90 ปีทดลองคุยกับ GPT-4o)
สำหรับในประเทศไทยจะยังคงเป็น Facebook ที่กอบโกย Engagement ไว้มากที่สุด แสดงให้เห็นและสามารถอนุมานได้ในเบื้องต้นว่า Facebook เป็นกลุ่มที่คนติดตามหรือสนใจ Tech ไปรวมอยู่ในนั้นนั่นเองค่ะ ดังนั้นใครที่จะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ Tech ไม่ควรมองข้าม Facebook
มาต่อกันด้วย Social Data Top Post Engagement By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย ทำให้กินสัดส่วนของแพลตฟอร์มอื่น ๆ จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ
โดยในทีนี้เราจะแบ่งเป็นสองมิติเช่นเดียวกันคือ 1. Global; โฟกัสทุกภาษาทั่วโลก 2. โฟกัสแค่โพสต์ที่เป็นภาษาไทย โดยแบบ Global เราจะเห็นได้เลยว่าคอนเทนต์ใน TikTok มาแรง ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่มาในรูปแบบของการรีวิวโดยผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับในฝั่งไทยที่มาแรงใน Facebook ที่เป็นคอนเทนต์จากเพจสาย Technology
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มใน Global ประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
Facebook : ขบวนการ AI มัดรวมฟีเจอร์ของ GPT-40
Twitter : OpenAI เธรดเปิดตัว GPT-4o พร้อมอธิบายฟีเจอร์ใหม่ ๆ
Instagram : a3noticias (สเปน) ข่าวอัปเดตการเปิดตัว, ฟีเจอร์ของ GPT-4o
TikTok : fabianluxe หญิงวัย 90 ปีพูดคุยกับ GPT-4o เป็นครั้งแรก
YouTube : OpenAI Live demo ฟีเจอร์พูดคุยกับ GPT-4o
VIDEO
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มในฝั่งคนไทยประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
Facebook : ขบวนการ AI มัดรวมฟีเจอร์ของ GPT-40
Twitter : @kafaak โพสต์อัปเดตฟีเจอร์ GPT-4o พร้อมตัวอย่างที่ลองใช้
Instagram : ihavecpu_official โพสต์อัปเดตการเปิดตัวของ GPT-4o
TikTok : thesecretsauceth อัปเดตความสามารถของ GPT-4o
YouTube : 9arm คลิปพูดคุย/เปรียบเทียบเกี่ยวกับ GPT-4o vs Gemini
VIDEO
Keywords ส่วนใหญ่เด่นเรื่องการเปิดตัว เนื่องด้วยไทม์ไลน์ของข้อมูลที่ดึงมาตรงกับช่วยเปิดตัว GPT-4o ประเด็นที่น่าสนใจคือ เสียง ที่คนมีการพูดถึงมาก เพราะเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเข้ามาและคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในส่วนของ Hashtags ส่วนใหญ่มาจากเนื้อหาประเภทข่าว อัปเดตข่าวสารการเปิดตัวของ GPT-4o นอกจากนั้นก็จะเป็น Ai Tools ต่าง ๆ ที่มีการพูดถึงในเชิงเปรียบเทียบ นั่นเองค่ะ
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับ GPT-4o ว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 4 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา ดังนี้
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด เช่น Power Bi, Looker Studio, Excel, Tableau เป็นต้น อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
Top 5 Language Distribution
มาเริ่มด้วย Fast Fact อย่างภาษาที่มีการพูดถึง GPT-4o กันมากที่สุด 5 อันดับแรก จากการใช้ Social listening ทำให้เราได้พบว่า ภาษาอังกฤษคือ ภาษาที่ถูกใช้เพื่อพูดถึงมากที่สุดเป็นอันดับแรก คิดเป็น 48.6% รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 39.1% ตุรกี 5.7% สเปน 5% และปิดท้ายด้วยไทย 2.1% ที่ติด Top 5 จากทั่วโลก
ที่น่าสนใจคือ ภาษาไทยที่ตีตื้นขึ้นมาติด 5 อันดับแรกได้ แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็ตื่นตัวกับเทคโนโลยีกันพอสมควรเลยทีเดียว โดยบริบทของภาษาอังกฤษจะเน้นเป็นเนื้อข่าวสารการอัปเดตและการรีวิวจากผู้ใช้จริงเป็นส่วนมาก ในส่วนของภาษาญี่ปุ่นจะเป็นข่าวสาร
ทางด้านของภาษาตุรกีและสเปน เนื่องจากผู้เขียนไม่มีความรู้ในภาษานี้จึงไม่สามารถถอดความมาแชร์ให้กับผู้อ่านได้ ทั้งนี้ผู้เขียนได้มีการปรับใช้ GPT-4o ในการช่วยถอดความทำให้รู้บริบทได้ในเบื้องต้นว่าส่วนใหญ่เป็นการอัปเดตข่าวสารการเปิดตัวและฟีเจอร์ต่าง ๆ นั่นเองค่ะ
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อจากนี้จะเป็นในมิติของคนไทยอย่างเดียวเพียงเท่านั้น
เนื่องจากข้อมูลในภาษาอื่น ๆ ที่ทาบเกี่ยวในไทม์ไลน์ของข้อมูลที่เลือกดึงอยู่ในช่วงเปิดตัว เช่น ข้อมูลของภาษาอังกฤษ ยังไม่มีความหลากหลายเท่าภาษาไทย เนื้อหาค่อนข้างไปในแพทเทิร์นเดียวกัน
*หากมีการอัปเดตในอนาคตผู้เขียนจะมานำเสนอในรูปแบบของภาษาอื่น ๆ ถ้ามีโอกาสเห็นสมควร
Insight #1 คนไทยใช้ GPT-4o คุยเล่นเรื่อยเปื่อย แก้เหงากันมากที่สุด
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่าจาก Social listening data บ่งชี้มาว่าในช่วงไทม์ไลน์ของการเปิดตัว GPT-4o คนไทยใช้คุยเล่น คุยไปเรื่อย แก้เหงากันมากที่สุด คิดเป็น 26.2% อันเนื่องมาจากฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ที่สามารถพูดถึงด้วยระบบเสียงได้ และแถมเสียงของ Ai ก็หล่อทุ้มละมุนจึงไม่แปลกที่สาว ๆ หนุ่ม ๆ จะเข้าไปลองคุยเล่นแก้เหงากันนั่นเองค่ะ
ซึ่งในทีนี้การคุยเล่นนอกจากจะไปการถามสารทุกข์ ปัญหาทั่วไปแล้ว คนโสดคนเหงา ยังใช้ GPT-4o ในการคุยแบบฟีลแฟนอีกด้วย! เรียกได้ว่าเป็น Ai Boyfriend ที่แท้จริง ผู้เขียนมองว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและน่าจับตามองในอนาคตเป็นอย่างมากค่ะ หรือนี่อาจจะเป็นเทรนด์คนโสดในอนาคตก็เป็นได้
นอกจากนั้นก็จะเป็นการใช้ทั่วไปที่เราพอจะเดาได้และคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล ทำการบ้าน แปลภาษา ฝึกภาษา IT Coding ต่าง ๆ เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจที่ได้จาก Social listening คือ คนไทยใช้เพื่อแต่งกลอนค่ะ ซึ่งเราพบว่าเหตุผลของการใช้ในประเด็นนี้คือ ต้องการทดสอบว่าระบบของภาษาไทยนั้นดีจริงหรือไม่ หากดีจริงต้องแต่งกลอนได้แต่สุดท้ายก็แต่งออกมาได้ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ คนเห็นแล้วตลกทำให้คนแห่กันไปทดลองให้ GPT แต่งกลอนกันนั่นเองค่ะ
Insight #2 สิ่งที่คนว้าวคือ เหมือนมนุษย์ขึ้นกว่าเดิม
Social listening ทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่คนว้าวเกี่ยวกับ GPT-4o มากที่สุดในช่วงของการเปิดตัวคือ มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น คิดเป็นสัดส่วน 41.3% บ้างก็ขนานนามให้เป็นจาร์วิสในชีวิตจริงกันเลยทีเดียว รองลงมาคือ เสียง Ai หล่อ 38.1% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเข้าไปคุยเล่นกันมากที่สุดนั่นเองค่ะ ปิดท้ายกันด้วยโต้ตอบไวขึ้น 20.6% ไม่อืดเหมือนเวอร์ชั่นก่อน ๆ
ดังนั้น Developer แบรนด์ใดที่กำลังพัฒนา Ai อยู่ลองนำปัจจัยเหล่านี้ไปปรับใช้กับ Ai ได้นะคะ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ให้มากที่สุด เพราะปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ใช้มองว่าดีและมี Positive Experience ด้วยนั่นเองค่ะ
Insight #3 คนทั่วไปใช้ GPT-4o มากที่สุด
ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อคุยเล่น, Ai เสียงหล่อ, อยากทดลองแต่งกลอนสนุก ๆ เล่นตามเทรนด์จึงไม่แปลกที่ข้อมูลจาก Social listening จะชี้ชัดมาว่าคนทั่วไปคือ กลุ่มคนที่เข้ามาใช้ GPT-4o กันมากที่สุดในช่วงเปิดตัวแรก ๆ ที่ผ่านมา โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 30.6% ทิ้งห่างจากอันดับที่สองอย่าง นักเรียน/นักศึกษาเกือบครึ่งต่อครึ่งกันเลยทีเดียว
กลุ่มอื่น ๆ รองลงมาเราก็จะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเฉพาะเจาะจงในสายงานต่าง ๆ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายงานไอที โปรแกรมเมอร์ นักลงทุน สายงานดาต้า นักเขียน นักการตลาด นักวิจัย คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และปิดท้ายด้วยสายราชการอย่างคุณครูที่ปรับใช้ GPT-4o ในด้านของเอกสาร ช่วยเช็กคำ หาข้อมูล
VIDEO
VIDEO
การเปิดตัวของ GPT-4o ในครั้งนี้เรียกได้ว่าเขย่าวงการเทคฯ กันเลยได้ทีเดียวจึงไม่แปลกที่จะมีการเปรียบเทียบ Performance ข้อดีข้อด้อยกับ Ai Tools อื่น ๆ โดยเราพบว่าในช่วงเปิดตัวแรก ๆ มีการพูดถึง Ai ตัวอื่น ๆ อยู่ 2 ตัว คือ Gemini และ Claude โดยคิดเป็น 68% และ 32% ตามลำดับ
ซึ่งคอนเทนต์ส่วนใหญ่เป็นการเปรียบเทียบ Performance & Feature ระหว่าง ChatGPT-4o, Gemin, Claude ว่าตัวไหนดีกว่า ตอบโจทย์สายงานได้ดีว่านั่นเองค่ะ เมื่อเราดูจาก Social listening แล้วพบว่าคนไทยชื่นชอบ Gemini กันมากเลยทีเดียว
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
ขบวนการ AI 32.6K Engagement
Techsauce 10.9K Engagement
BT Beartai แบไต๋ 3.4K Engagement
เทพเอ็กเซล Thep Excel 2.6K Engagement
Blognone 2.1K Engagement
TOP5 Instagram Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
ihavecpu_official 1.9K Engagement
thestandardwealth 1.8K Engagement
btbeartai 1.3K Engagement
businesstomorrow.ig 1.23K Engagement
100wealth 1.06K Engagement
TOP5 YouTube Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
9arm 578K Engagement
THE SECRET SAUCE 216K Engagement
DroidSans 67K Engagement
THE STANDARD WEALTH 62 K Engagement
spin9 36K Engagement
Data Research Insight เจาะเทรนด์ ChatGPT-4o by Social Listening
ในช่วงการเปิดตัว GPT-4o ที่ผ่านมาทำให้เราเห็นกระแสจาก Social listening ได้เลยว่าทั้งคนไทยและทั่วโลกให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้กันมากจริง ๆ ถึงแม้รีพอร์ตในบทความนี้จะเจาะลึก Insight คนไทยเป็นหลักแต่เครื่องมือ Social listening สามารถเจาะลึกได้ทุกประเทศที่เราอยากค้นหา ไม่ได้จำกัดแค่ภาษาไทยเพียงอย่างเดียว
บริบทการใช้ของคนไทยถือว่ามีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากเปิดตัวได้ไม่นานก็มีพฤติกรรมการใช้ที่หลากหลายและน่าสนใจที่ควรจับตามองในอนาคต คนไทยเน้นคุยเล่น ตามเทรนด์ เน้นเข้าร่วมไม่เน้นเข้ารอบ หากชอบก็ไปต่อ หากไม่ชอบก็แยกย้าย ตอบโจทย์สายงานต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไอที สายดาต้า นักการตลาด นักเขียน นักวิจัยที่เข้ามาปรับใช้เทคโนโลยีชนิดนี้
ผู้เขียนเชื่อว่าหากศึกษาต่อในไทม์ไลน์ของข้อมูลที่ยืดยาวออกไปต่อจากนี้ มุมมองต่าง ๆ ที่ได้เห็นหรือ Insight คาดว่าน่าจะมีความแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอนค่ะ
และนี่ก็คือ Data Research Insight ทั้งหมดที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะดาต้า ChatGPT-4o ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์กันในบทความนี้ค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
❖ ————————————— ❖
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21
คลิกอ่านต้นโพสต์ได้ที่นี่
คุณอุ้มเป็นผู้เรียน Social Listening Analytics รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง
เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ Social Listening โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง
Set Objective & Research Keywords
Set Social Listening & Collecting Data
Cleansing Data
Conversation Analysis
Categorized Data
Visualization
Summary Insights
Strategy & Recommendation
ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลยครับ