จากรายงานสรุป 10 Trends 2024-2025 สำคัญทั่วโลกจากรายงาน The Future 100 ของ VML ที่การตลาดวันละตอนเรียบเรียงมา ประกอบด้วย 10 Culture & Consumer Trends , 10 Technology Trends , 10 Travel Trends , 10 Branding & Marketing Trends และ 10 Beauty Trends มาถึงตอนนี้เราจะมาดู 10 Retail Marketing Trends 2024-2025 เทรนด์ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงคอมมูนิตี้มอลล์จากทั่วโลกว่าพวกเขากำลังทำอะไรกันอยู่บ้าง
เพื่อที่ใครมีหน้าร้าน มีร้านค้าปลีก มีร้านค้าของตัวเองจะได้เห็นแนวทางการเอาเทรนด์นี้ไปต่อยอดในแบบของตัวเอง ถ้าพร้อมแล้วเรามาทำความรู้จัก 10 Retial Trends 2025 กันนะครับว่าเทรนด์การค้าการขายกับผู้บริโภคของโลกยุคใหม่นับจากนี้ไปกำลังจะไปทิศทางไหนกัน
1. Retail Guides บริการลูกค้ากลุ่ม VVIP ด้วยโปรแกรม CRM ที่ Luxury กว่า
เมื่อห้างสรรพสินค้าจำนวนมากต้องหาทางดึงดูดกลุ่มลูกค้าชั้นดีระดับ Top 5% บนให้มาใช้เงินกับตัวเองมากที่สุด ก็เลยออกโปรแกรม VVIP CRM ขึ้นมาให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่ก็คือ Retial Trend ที่ 1 ที่เราจะคุยกันในวันนี้
แบรนด์ห้างหรูและดังอย่าง Harrod ได้ทำการเปิดตัวพื้นที่พิเศษ The Residence ในเมืองเซียงไฮ้ สำหรับสมาชิกสุดพิเศษที่ได้รับเชิญเท่านั้นจึงจะเข้ามาใช้บริการได้
ใน The Residence นี้จะมีทั้งบาร์ มีเลาจน์ ห้องพักรับรอง มีห้องอาหารแบบส่วนตัวที่รังสรรค์จากเชฟดัง Gordon Ramsay และมีพื้นที่สวนพักผ่อนด้านนอก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำให้กลุ่มลูกค้าระดับ VVIP หรือ Ultra Luxury ได้รับบริการที่เหนือกว่าลูกค้าชั้นดีทั่วไป เพื่อสร้างความประทับใจขั้นกว่าทำให้เกิดความรู้สึกหรูหราแตกต่างเมื่อได้มาใช้บริการ
แถมนอกจากพื้นที่ให้บริการแบบไพรเวทภายใน The Residence แล้วก็ยังมีบริการรับจัดหาเครื่องบินหรือสายการบินให้เมื่อต้องการ มีบริการด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มด้วยสำหรับใครที่อยากซื้อบ้านหรือเพนท์เฮ้าส์เพิ่มสักหลัง แล้วก็ยังมีบริการออกแบบอินทีเรียพร้อมให้บริการ ไปจนถึงผู้ช่วยจัดหาสิ่งของที่ต้องการให้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนหรือไอเท็มอะไร ทั้งหมดนี้สามารถจัดหาให้ได้ขอแค่คุณมีเงินจ่ายก็พอ
แถมยังมีคลาสที่น่าสนใจจากบรรดาพาร์นเนอร์มากมายที่ตอบสนองทุกความชอบไลฟ์สไตล์ของกลุ่มสมาชิก VVIP ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคลาสสำหรับนักสะสมวิสกี้ตัวยง หรือคนที่ชอบเรื่องภาพยนต์ฟิล์มเก่าๆ ไปจนถึงงานศิลปะหายาก นี่คือพื้นที่สุดพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังจ่ายมากเป็นพิเศษจึงจะสามารถเข้าร่วมได้
ห้าง Selfridges เองก็มีการเปิดโปรแกรมสมาชิกใหม่ที่ชื่อว่า Selfridges Unlocked ที่ไม่ได้สร้างพื้นที่ใหม่แสนพิเศษให้เหมือน The Residence ของ Harrods ที่เซียงไฮ้ แต่จะมีการให้สิทธิพิเศษกับสมาชิกในโปรแกรมดังกล่าวเพื่อออกไปใช้บริการพื้นที่นอกห้างสรรพสินค้าแทน
ไม่ว่าจะเป็นสามารถเข้าร่วมการรับประทานอาหารเย็นสุดพิเศษได้ ชมภาพยนต์ได้ แล้วก็มีคลาสเรียนด้านความสวยความงาม ทั้งหมดคือ VVIP CRM ที่พิเศษกว่าลูกค้าสมาชิกทั่วไปในห้างสรรพสินค้าแห่งนี้
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 1 Retail Guides บริการลูกค้ากลุ่ม VVIP ด้วยโปรแกรม CRM ที่ Luxury กว่า
เมื่อลูกค้าชั้นดีเป็นที่หมายปองของทุกแบรนด์ เพราะคนกลุ่มนี้แม้จะมีสัดส่วนน้อย แต่ทำยอดขายให้กับแบรนด์อย่างมาก บรรดาห้างสรรพสินค้าเลยพยายามสร้างโปรแกรม Exclusive หรือ VVIP ขึ้นมาเพื่อสร้างความพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มนี้
เหมือนในบ้านเราก็จะมีอย่าง Central ที่สร้าง The 1 Exclusive สำหรับลูกค้าที่ช้อปปิ้งกับทางห้างรวมเกินปีละ 250,000 บาท ก็จะมีบริการพิเศษต่างๆ นาๆ มีที่จอดรถพิเศษแยกให้ (แม้จะเต็มเร็วไม่แพ้ที่จอดรถทั่วไป)
และยังมีอีกหนึ่งโปรแกรมสมาชิก VVIP ของ Central อีกอันที่ชื่อว่า Central Diamond Society Club ที่ต้องใช้เงินกับทางห้างเยอะมากกว่า The 1 Exclusive อย่างน้อยอีกเท่าตัว ส่วนที่จอดรถเองก็จะเห็นว่ามักอยู่ข้างๆ จุดจอดรถยนต์ Super Car
เรียกได้ว่าสร้างความรู้สึกพิเศษขั้นกว่า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าที่ยอมช้อปกับห้างเซ็นทรัลแห่งนี้มากกว่าจะไปห้างอื่นที่บางทีอาจราคาถูกกว่าหรืออยู่ใกล้กว่าด้วยซ้ำ
ในโลกดิจิทัลหรือว่าโลกออนไลน์ เคยถูกขนานนามกันว่าเป็นแรกที่ไร้ขีดจำกัด แค่มีจินตนาการก็สามารถสร้างอะไรขึ้นมาก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วในโลกดิจิทัลก็ยังเต็มไปด้วยข้อจำกัด แม้จะไม่ใช่ข้อจำกัดทางกายภาพ แต่เป็นข้อจำกัดของความสามารถในการสร้างสรรค์
ไม่ใช่ทุกคนจะออกแบบเป็น ไม่ใช่ทุกคนจะทำสิ่งที่คิดให้ออกมาเป็นภาพได้ งานสร้างสรรค์หรือ Creativity จึงยังถูกสงวนไว้กับกลุ่มคนที่มีความสามารถในด้าน Digital Craftmanship อยู่เหมือนกัน แต่ในปัจจุบันนี้ดูเหมือนข้อจำกัดในการสร้างสรรค์จะถูกทลายลงแทบจะราบคาบด้วย Generative AI
คนวาดรูปไม่เป็น ใช้ Photoshop หรือ Illustrator ไม่ได้ ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สวยเกินจินตนาการได้ด้วยการเขียน Prompt แบบง่ายๆ หรือเขียนอธิบายภาษาคนให้ AI ทำภาพดังกล่าวให้
และนั่นเองก็ทำให้บรรดาแบรนด์ต่างๆ เริ่มกลับเข้ามาเรียนรู้การใช้ Generative AI เพื่อสร้างโลกดิจิทัลหรือที่เคยเรียกว่า Metaverse ให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง
AI-generated Nike concept store on Mars, Benjamin Benichou
นี่คือตัวอย่าง Nike Concept Store ที่สร้างด้วย Generative AI ที่ดูยากถ้าจะสร้างขึ้นมาในโลกจริง หรือแม้แต่โลกดิจิทัลเมื่อ 3 ปีก่อน เพราะต้องใช้ Graphic Designer หรือ Visual Designer ที่เก่งมากๆ จึงจะสามารถทำให้ภาพดูจริงได้ แต่มาวันนี้แค่เขียน Prompt อธิบายให้ชัดๆ ที่เหลือปล่อยให้ AI ทำขึ้นมาในเวลาไม่กี่วินาที
AI-generated Nike concept store on Mars, Benjamin Benichou
เป็นภาพร้าน Nike บนสภาพภูมิอากาศแบบดาวอังคาร ในสไตล์สถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นหน่อยๆ นี่คือตัวอย่างการสร้างภาพในหัวออกมาเป็นภาพที่ทุกคนเห็นได้จริง แม้จะไม่อาจสร้างบนโลกจริงใบนี้ได้ แต่สามารถเอาไปต่อยอดสร้างบนโลก Metaverse ได้หลังจากนี้
และจากผลงานการสร้างสรรค์ Concept Store ก็จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับการสร้าง Physical Store จริงๆ อีกทีหนึ่ง แต่อาจต้องมีการลดทอนบางสิ่งที่ไม่อาจทำขึ้นมาจริงได้ แต่ถ้าเราคิดให้ลึกขึ้นอีกนิดในอนาคตอันใกล้ภาพที่ Gen ขึ้นมาด้วย AI อาจสามารถทำจริงขึ้นมาเลยก็ได้ ถ้าเราอธิบาย AI ถึงข้อจำกัดทางวัตถุดิบ สิ่งก่อสร้าง วิศวกรรมว่าขอให้ออกแบบเฉพาะร้านที่น่าจะทำได้จริงขึ้นมา พร้อมกับอธิบายว่ามันสร้างได้จริงอย่างไร
ส่วนเครื่องมือ Generative AI ทั้งหลายไม่ว่าจะ Dalle-E หรือ Midjourney เองก็พัฒนาไปไกลจากวันแรกมาก มีตัวช่วยให้เราสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ในจินตนาการได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องมานั่งเรียน Prompt ให้ยุ่งยากแบบวันแรกๆ
VIDEO
ส่วนบริษัทที่ทำเครื่องมือสำหรับนักออกแบบระดับโลกไม่ว่าจะ Adobe ก็มีการเปิดตัว Adobe Firefly ที่ช่วยให้ Designer ทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ทางสต็อกโฟโต้อย่าง Shutterstock และ Getty Images เองก็มีการเปิดตัวเครื่องมือ Generative Image ของตัวเองให้ลูกค้าองค์กรสามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ
ดังนั้นโลก Creativity วันนี้เข้าสู่ยุคจินตนาการสำคัญกว่าความรู้แล้วก็ว่าได้ คุณมีจินตนาการอย่างไร ที่เหลือแค่อธิบายเล่าจินตนาการนั้นให้ AI ฟัง แล้วรอให้มันทำภาพในจินตนาการคุณออกมาครับ
บวกกับเทรนด์อุปกรณ์สวมใส่ประเภท VR Device ที่กำลังมาครึกครื้นอีกครั้งจากการเปิดตัวของ Apple Vision Pro แม้จะราคาสูงเกินเอื้อมสำหรับคนทั่วไปอย่างมากในวันนี้ แต่มันก็ทำให้เราได้เห็นภาพของโลกเสมือนจริงที่อยู่ตรงหน้าได้แล้วจริงๆ และส่วนตัวผมเชื่อว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะมีราคาถูกลงโดยความสามารถใกล้เคียงหรือเทียบเท่า Apple Vision Pro ในเร็ววัน
ส่วนตัวเดาว่า Apple อาจออกเวอร์ชั่นไม่ Pro ในราคาหลักหมื่นในอนาคตอันใกล้
VIDEO
VIDEO
แบรนด์หรูอย่าง Ralph Lauren ก็มีการเปิดตัว The 888 House ที่เป็น Virtual Store กลางทะเลทรายในแบบที่ไม่สามารถสร้างจริงได้แน่นอน ส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการเตรียมตัวพร้อมสู่กลุ่ม Digital Luxury รูปแบบใหม่ที่เป็น Gen Z หรือ Alpha ในอนาคต ในวันที่ Metaverse อาจกลับมาอยู่ในกระแสหลักอีกครั้ง
AI-generated Nike concept store on Mars, Benjamin Benichou
57% ของ Millennials อยากจะลองเข้าไปสำรวจ Virtual Store แบรนด์ต่างๆ และอีก 63% ก็บอกว่าสนใจจะซื้อของผ่าน VR Commerce ถ้าเป็นไปได้
ดังนั้นแบรนด์ต้องเริ่มกลับมาสนใจ Metaverse อีกครั้งแล้วหรือไม่ หรือถ้ายังไม่อยากทุ่มสุดตัวจนเกินไป เริ่มจากการเรียนรู้ที่จะใช้ Generative AI ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้มากกว่านี้จะง่ายกว่า
สินค้าใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะทำ ลองสั่ง AI ให้ทำออกมาแล้วทดสอบตลาดดูว่ามีใครอยากซื้อมั้ย ถ้ามีมากพอค่อยผลิตจริงๆ ออกมาขาย ทำแบบนี้ก็ดูจะเป็นอีก 1 Solution ที่จับต้องได้ครับ
3. Next-Gen Collectors คนรวยยุคใหม่เน้นสะสมมากกว่าบริโภค
จากเดิมความรวยวัดกันว่าใครจับจ่ายใช้สอยได้แพงกว่ากัน กินของแพงกว่า ซื้อบ้านหลังแพงกว่า หรือซื้อรถคันที่แพงมากๆ มาสู่การสะสมสินค้าราคาแพงแทน
ของแพงใครๆ ก็หาซื้อได้ แต่ของเพื่อสะสมที่มีจำกัดจำนวนหรือปริมาณต่างหากที่เป็นตัวสะท้อนชี้วัดความรวยของคนยุคใหม่สมัยนี้
การสะสมข้าวของแพงๆ กลายเป็นงานอดิเรกของคนรวยๆ วันนี้กระเป๋าแบรนด์แนมอาจไม่ได้เร้าใจเท่ากับกระเป๋าแบรนด์เนมรุ่นพิเศษที่ทั้งประเทศอาจจะมีแค่ไม่กี่สิบใบเท่านั้น
หรือแม้แต่นาฬิกาหรูที่แค่แพงอย่างเดียวก็อาจไม่มีใครอยากได้มากนัก เมื่อเทียบกับนาฬิกาหรูที่ยากจะเป็นเจ้าของได้ บางแบรนด์หรูเริ่มเอาจุดนี้มาใช้กับการออกกระเป๋ารุ่นพิเศษที่คุณจะมีสิทธิ์ซื้อได้ก็ต่อเมื่อคุณใช้เงินซื้อเค้ามาได้มากพอ
บางแบรนด์หรูเริ่มเปลี่ยนวิธีการออกคอลเลคชั่นใหม่ จากเดิมเปิดตัวตามฤดูกาลต่างๆ กลายมาเป็นอยากออกเมื่อไหร่ก็ออก ออกแบบสุ่มเดาไม่ได้ ยิ่งทำให้คนรู้สึกว่าอยากได้มากขึ้นเพราะด้วยจำนวนจำกัดในการผลิต นอกจากแค่มีเงินแล้วยังไม่มีพอ ยังต้องมีความรวดเร็วในการซื้อ ไปจนถึงต้องมีเส้นสายมากพอจึงจะสามารถซื้อของเหล่านั้นได้
บางแบรนด์ก็ขยับไปสู่การผลิตสินค้าที่มีความคงทนและทนทานแทน เพื่อบอกให้ลูกค้ารู้ว่าของแบรนด์เราไม่ต้องซื้อบ่อยนะ แต่ชิ้นเดียวก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้ตลอดกาลแล้ว แต่ราคาก็เท่ากับซื้อเปลี่ยนใหม่ตลอดชีพแหละ
https://www.baccarat.com/en_us/the-world-of-baccarat/news-and-events/black-bee.html
บางแบรนด์อย่าง Guerlain ได้ทำการออกน้ำหอมสุดคราฟแบบจำกัดสุดๆ ที่ชื่อว่า Black Bee Prestige Edition วางขายแค่ 22 ขวดเท่านั้น และแต่ละขวดก็ขายในราคาสูงถึง 25,000 ยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณหนึ่งล้านบาทเท่านั้นเอง (ตรงไหน)
Gucci ก็ปรับ Execution ใหม่จาก Physical Limited Edition มาสู่ Digital Limited Edition ด้วยการสะสมงานศิลปะดิจิทัลแบบ NFT เพื่อบ่งบอกภาพลักษณ์ของแบรนด์ว่าพวกเขาเป็นแบรนด์หรูของคนยุคใหม่ ยุคแห่ง Blockchain หรือ Crypto นั่นเอง
บางโรงแรมที่ผมเคยไปพักตอนไปปารีสก็ไม่ได้มีแค่งานศิลปะมาโชว์ตามห้องอาหาร แต่เอาผลงาน NFT มาแสดงโชว์แทนผ่านหน้าจอคุณภาพสูงนานแล้ว
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 3 Next-Gen Collectors คนรวยยุคใหม่เน้นสะสมมากกว่าบริโภค
ดูเหมือนว่าบทบาทของ Luxury Brand นับจากนี้จะเปลี่ยนไปจากสมัยก่อนอย่างมาก จากการผลิตแค่สินค้าราคาแพงอาจไม่ดึงดูดใจให้กลุ่มคนรวยยุคใหม่อยากจับจ่ายใช้สอยเงินกับคุณเท่าไหร่
เพราะวันนี้พวกเขาพัฒนาจากการเป็น Consumer มาสู่การเป็น Collector นักสะสมสิ่งของหายากจากแบรนด์ดัง ลองดูว่าเราจะเอา Storytelling มาใช้งานอย่างไร จะเอาความเป็น Craftmanship มาต่อยอดคุณค่าแบรนด์เราแบบไหน แล้วเราก็ต้องจำกัดจำนวนหรือใช้กลกยุทธ์ Scarcity อีกด้วย
อีกหนึ่งเทรนด์ของ Retail ที่น่าสนใจคือผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มเบื่อการเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่แล้ว จากจำนวนคนเดินห้างต่างๆ เริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั่วโลกต้องปรับตัวกันยกใหญ่ไม่เว้นแต่ของประเทศไทย
ส่วนคนที่หายไปไม่ได้หนีแค่ไปช้อปออนไลน์ แต่เลือกจะไปเดินช้อปปิ้งตามถนนคนเดิน หรือตลาดนัด ผู้คนชอบที่จะเดินเล่นไปเรื่อยๆ เจอร้านค้ารายย่อย เจอร้านเล็กๆ ร้านลับๆ ไม่ใช่ร้านจากแบรนด์ดังหรือเชนใหญ่ที่สามารถหาซื้อที่ไหนก็ได้อีกต่อไป
ในประเทศอังกฤษก็กำลังประสบกับปัญหานี้ แต่ก็มีบางพื้นที่สามารถปรับตัวได้ตามเทรนด์ใหม่ ด้วยการเชิญบรรดาร้านค้าขนานเล็ก และร้านค้าของคนทั่วไปในพื้นที่ให้เข้ามาเปิดในพื้นที่นั้น ด้วยการคิดค่าเช่าที่ต่ำกว่าปกติมาก จนสามารถพลิกฟื้นให้คนกลับมาเดินเยอะขึ้นได้
เพราะผู้คนวันนี้ชอบที่จะเดินสำรวจเจอร้านค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะได้เจอกับเจ้าของธุรกิจรายย่อยด้วยตัวเองจริงๆ คนไม่ได้ชอบเข้าร้านกาแฟดังที่หากินที่ไหนก็ได้ แต่คนชอบร้านกาแฟโลคัลแบบ Specialty Coffee มากกว่า หรือผู้คนชอบที่จะเดินซื้อเครื่องประดับจากแบรนด์ท้องถิ่นจริงๆ มากกว่าจะเป็นแบรนด์ดัง
อารมณ์ก็เหมือนกับเวลาผมไปเที่ยวญี่ปุ่นที่มักมีตลาด หรือถนนช้อปปิ้งที่เต็มไปด้วยร้านค้าโลคัลท้องถิ่นมากมาย มันทำให้เรารู้สึกว่ากำลังเดินผจญภัยค้นหาอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
มันคือบรรยากาศของการเดินตลาดแบบวันวาน แต่ยังคงมีมาตรฐานไม่ว่าจะความสะอาด หรือความปลอดภัยของบรรดาร้านค้าข้างใน นี่คือเทรนด์ของผู้คนที่กำลังย้อนกลับไปหาความเป็นโลคัลหรือร้านค้ารายย่อยมากๆ ในวันที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้าและสร้านสะดวกซื้อมากมาย พวกเขากำลังมองหาสเน่ห์แบบใหม่ๆ ในวัยเด็กอีกครั้ง
ในสหรัฐอเมริกาเองก็เจอปัญหานี้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อห้างหรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่คนเดินลดลงอย่างมาก แต่ศูนย์การค้าที่กลับเต็มไปด้วยคนอเมริกาเดินกลับเป็นห้างหรือตลาดสไตล์เอเซีย ที่เต็มไปด้วยสีสันจากความหลากหลายของร้านค้า
ห้างหรือศูนย์การค้าสไตล์เอเซียในอเมริกาจะเต็มไปด้วยร้านค้าที่มีความหลากหลาย มีตลาดกลางคืนบ้าง มีร้านอาหารที่หลากหลายแนวให้เลือกกิน อาจมีกระทั่งพื้นที่นั่งฟังเพลง พื้นที่เต้นรำออกกำลังกาย ไปจนถึงศูนย์รวมแฟนคลับศิลปิน K-Pop
เมื่อผู้คนจำนวนมากกำลังโหยหาชีวิตแบบ Work Life Balance ทำงานเสร็จก็อยากหยุดพัก ด้วยการไปเดินระแวกบ้านเพื่อสำรวจว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง ไม่ใช่เลิกงานเสร็จก็เข้าห้างขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย แต่กลับไม่มีความหลากหลายของร้านค้าแต่อย่างไร
แบรนด์ต้องเริ่มคิดแล้วว่าเราจะปรับตัวให้โลคัลกว่าเดิมได้อย่างไร เราจะออกสินค้าใหม่เพื่อคนในพื้นที่นั้นโดยเฉพาะได้หรือไม่ ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากเริ่มบอกว่าเบื่อการเดินห้างขนาดใหญ่ บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่หรือ Developer ต้องรีบคิดหากลยุทธ์เติมร้านโลคัลเข้ามาเพื่อเพิ่ม Traffic ให้มากขึ้นได้แล้วนะครับ
5. The Thrift Economy การตลาดยุคอัตคัด แบรนด์ต้องช่วยประหยัดให้มากที่สุด
กว่า 2 ใน 3 ของผู้คนทั่วโลกต่างบอกว่าปัญหาค่าครองชีพคือหนึ่งใน 5 ปัญหาใหญ่ที่พวกเขากังวลมากในวันนี้ ก็ไม่แปลกหรอกครับเพราะโลกเรากำลังเจอปัญหาเงินเฟ้ออย่างหนักหน่วงและต่อเนื่องมาสักระยะ แถมยังดูไม่มีท่าทีว่าจะหยุดปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างไร
และแน่นอนว่าเมื่อเงินเฟ้อก็ส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่รายได้กลับไม่ขยับตัวตามรายจ่ายได้ทัน แล้วไหนจะบวกกับภาวะสงครามที่เกิดขึ้นย่อมๆ ทั่วโลก แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศเราเองหรือประเทศข้างเคียง แต่ก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งโลกที่เชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และทั้งหมดที่เล่ามาจึงส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคทุกวันนี้เปลี่ยนจากปีก่อนๆ อย่างมาก จากเดิมที่ชอบซื้อของฟุ่มเฟือยกันเป็นประจำ ถึงเวลารัดเข็มขัดกันหนักกว่าเดิมจนทำให้เกิดเป็นเทรนด์การขายของลดราคา หรือแม้แต่จะเป็นการลดขนาดเพื่อทำให้ยังได้ของดีเท่าเดิม แต่ต้องลดปริมาณการใช้สักหน่อย
ในประเทศจีนเองที่แม้เศรษฐกิจจะโตแบบพุ่งทะยานดูไม่มีวันชะลอ ก็ยังเจอกับภาวะที่ผู้คนเริ่มออกมาประกาศว่าจะลดการใช้เงินลงผ่านกระแสแฮชแท็กที่แปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า “ลดการใช้เงิน” ซื้อให้ถูกลง น้อยลง และก็ลดลงควบคู่กัน
และจากกระแสการซื้อให้น้อยลงหรือว่าถูกลงส่งผลให้แพลตฟอร์มการซื้อสินค้าราคาถูกแบบเหมาๆ อย่าง Pinduoduo เติบโตอย่างมาก สะท้อนผ่านรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 63% เทรนด์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y หรือ Gen X ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น แต่ยังลามไปถึง Gen Z เช่นกัน เมื่อกว่า 80% บอกว่าจะพยายามลดการใช้เงินเปลี่ยนไปซื้อของที่ถูกลง ยอมลดคุณภาพของที่เคยใช้เพื่อแลกกับการประหยัดเงินแม้จะเล็กน้อย
และนั่นก็ทำให้บรรดาแบรนด์ต่างๆ หันมาออกสินค้ากลุ่มใหม่ที่สามารถวางขายได้ในราคาถูกลงมากขึ้นเรื่อยๆ หรือบางแบรนด์อาจไปออกแบรนด์ใหม่ที่เป็นแบรนด์ลูก เพื่อจะได้ขายของถูกลงได้สบายใจโดยไม่กังวลว่าแบรนด์ที่ปั้นมาให้ดูแพงจะเสียมูลค่าทางใจในกลุ่มเป้าหมายไป
VIDEO
SkipTheDishes บริษัทแอปสั่งอาหาร Food Delivery ใน Canada ก็ได้ทำแคมเปญการตลาดเพื่อช่วยผู้บริโภคให้ประหยัดเงินได้ง่ายขึ้น แต่คุณภาพชีวิตไม่ได้ลดลงตามตัวเงินแต่อย่างไร ผ่านแคมเปญที่ชื่อว่า Inflation Cookbook ร่วมกับร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำแบรนด์ดังใกล้ตัว ให้สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบทำอาหารราคาถูก แต่สามารถเอามาปรุงทำเมนูหรูราคาแพงระดับมิชลินได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน
ด้วยการเก็บรวบรวม Data แล้วเอามาวิเคราะห์คาดการณ์ว่าช่วงนี้มีวัตถุดิบอะไรบ้างที่ราคากำลังถูกอยู่จากทั้งหมด 400 กว่าชนิดในร้านขายของกว่า 100 สาขา
ที่ประเทศฝรั่งเศสเองห้างสรรพสินค้า Carrefour ก็ได้ทำแคมเปญการตลาดที่ต่อต้านการ Shrinkflation เทคนิคของแบรนด์ที่มักแอบลดปริมาณสินค้าแต่ยังคงราคาเดิม ให้ลูกค้ารู้สึกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ติดป้ายป่าวประกาศบอกลูกค้าว่ามีแบรนด์ไหนบ้างที่แอบลดปริมาณสินค้าลงโดยยังคงราคาเดิม
เป็นการตลาดแบบใจๆ ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค แต่ไม่รู้ว่าบริษัทพาร์ทเนอร์ที่เอาของวางขายจะรู้สึกอย่างไรกับแคมเปญนี้
กับกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์เองก็มีปัญหาเรื่องค่าครองชีพไม่น้อยเช่นกัน เราคงคุ้นกับประโยคที่ชอบพูดเล่นเป็นมีมกันว่า “เราอดได้ แต่ลูกอดไม่ได้” ลูกในที่นี้คือน้องหมาหรือน้องแมว บางแบรนด์ก็เลยทำแคมเปญการตลาดชวนคนมาบริจาคให้เป็นอาหารน้องหมาน้องแมว แต่ไม่มีบริจาคให้เป็นอาหารคนเลี้ยงโดยตรงนะครับ
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 5 The Thrift Economy การตลาดยุคอัตคัด แบรนด์ต้องช่วยประหยัดให้มากที่สุด
ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ คงไม่มีทางหายไปในอนาคตอันใกล้แน่ ดังนั้นแบรนด์ต้องรีบปรับตัวหากลยุทธ์ปรับราคาสินค้าออกมาขายใหม่ในราคาที่ถูกลง เพราะวันนี้ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคปรับไปใช้ของที่คุ้มค่าขึ้น แต่พวกเขายอมที่จะตัดใจไปใช้ของที่ไม่ดีเท่าเดิม ถ้ามันทำให้พวกเขาประหยัดเงินได้แม้จะเล็กน้อย
คำว่า Metaverse เหมือนจะถูกนิยามใหม่ ไม่ใช่แค่การใส่อุปกรณ์สวมหัวแบบ VR เท่านั้น แต่อะไรก็ตามที่จากหน้าจอสามารถเข้ามาสู่ชีวิตจริงได้ ก็ล้วนแต่เป็น Metaverse ทั้งนั้น
เพียงแต่สมัยก่อนสิ่งที่เห็นผ่านหน้าจอในเกม ก็มักจะเป็นแค่การซื้อไอเท็มภายในเกมเท่านั้น ไม่สามารถเอามาใช้ในชีวิตจริงได้ แต่ถ้าวันนี้ผมบอกว่าคุณสามารถซื้อของในเกมแล้วเอาออกมาใช้ในชีวิตจริงได้แล้วหละ ?
หรือถ้าพูดให้ถูกมันคือคุณสามารถซื้ออะไรก็ตามที่เห็นบนหน้าจอระหว่างเล่นเกมหรือดู Streaming โดยไม่ต้องข้ามแพลตฟอร์มไปไหน และไม่ต้องสลับหน้าจอไปแอปใด ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ในเกมที่เล่น หรือ Streaming ที่กำลังดูได้ทันที
คิดภาพว่าถ้าคุณกำลังซื้อไอเท็มสักอย่าง เช่น นม หรือ เครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อเติมพลังชีวิตในเกมอยู่ ขณะเดียวกันคุณก็สามารถได้รับไอเท็มแบบเดียวกันในชีวิตจริง โดยอาจจะมีคนเอามาส่งให้คุณถึงหน้าประตูบ้านอะไรแบบนั้น
Amazon แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของอเมริกาก็ได้เปิดบริการให้ลูกค้าที่กำลังเล่นเกมยอดนิยมอย่าง Peridot สามารถซื้อสินค้าจริงๆ ของ Amazon ผ่านในเกมได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืดทีเชิ้ต หมอน หรือสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย
VIDEO
โดยทางแพลตฟอร์มเจ้าของเกมที่เข้าร่วมกับบริการนี้ก็จะได้รับส่วนแบ่งจากยอดขาย อารมณ์ก็เหมือน Affiliate Marketing รูปแบบหนึ่งแหละครับ ลองคิดภาพดูว่าถ้าคุณกดซื้อไอเท็มอย่างไก่เพื่อเติมพลัง แล้วภายใน 30 นาทีก็จะไม่ไก่ทอด KFC ร้อนๆ มาเสิรฟหน้าประตูบ้านมันจะสนุกขนาดไหน
หรือถ้าไม่อยากกินตอนนั้นก็สามารถเก็บโควตาไว้ให้มาส่งตอนที่คุณอยากกินเมื่อไหร่ก็ได้ ก็คงจะดีมากๆ
หรือในแอป Streaming Online อย่าง Prime Video ของ Amazon เองก็เอาซีรีส์ยอดนิยมอย่าง Gen V มาต่อยอดสร้างฉากในเกมขึ้นมาเพิ่ม จากนั้นก็มีสินค้าที่อยู่ในซีรีส์พร้อมให้คนดูกดสั่งซื้อได้ทันที
จากนั้นของจากหน้าจอก็จะถูกมาส่งถึงหน้าบ้านคุณในไม่กี่วัน ส่งผลให้เวลาคุณดูซีรีส์หรือทีวีแล้วเกิดอยากได้ของชิ้นนั้นขึ้นมา ไม่ต้องหยุดซีรีส์แล้วหยิบมือถือขึ้นมาเสิร์จหา ก็กดสั่งซื้อผ่านแอปที่กำลังดูมันอยู่ไปเลย
ดูเหมือนนิยมของคำว่า Metaverse จะเริ่มไม่หวือหวาว้าวมากในด้านเทคโนโลยีเท่าตอนเปิดตัว แต่ดูเหมือนว่ามันจะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เส้นแบ่งระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ยิ่งพร่าเลือนลางลงไปทุกที
จากเดิมคำว่า Metaverse Commerce มักถูกมองว่ามีแต่การซื้อสิ่งที่เป็นดิจิทัลอย่าง NFT ดูเหมือนในวันที่ NFT ยังกินไม่ได้ จับต้องได้ไม่จริง สินค้าที่เป็น Physical กลับถูกนำไปขายบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ผู้คนใช้เวลากับมันมากกว่าแค่โซเชียลมีเดียแบบวันวาน
ถ้าคนชอบเล่นเกมกันนัก ก็ทำไมไม่ซื้อของที่ต้องกินต้องใช้จริงๆ จากในเกมมันไปเลยหละ หรือถ้าใช้ไอเดียสักหน่อยก็ทำให้ของที่ซื้อในเกมนั้นสามารถใช้ได้ทั้งในเกมและชีวิตจริงควบคู่กันไปหละ
การเปิดตัวของ Amazon Anywhere จะเป็นการเปิดจินตนาการของนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก และแน่นอนว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ คงจะหันมาทำแบบเดียวกันในระยะเวลาไม่นาน แล้วเราก็จะก้าวเข้าสู่ยุคของ Metaverse มากขึ้น เมื่อโลกออนไลน์และออฟไลน์หลอมเป็นเนื้อเดียวกันยิ่งกว่าที่เคย
7. Luxury Retail Temples จากร้านค้าสู่มหาวิหารของแบรนด์หรู
อีกหนึ่งในเทรนด์ร้านค้าปลีกของกลุ่ม Luxury Brand ที่น่าสนใจก็คือวันนี้พวกเขาไม่เน้นเปิดร้านเพิ่ม แต่พวกเขาเน้นปรับปรุงร้านใหม่ขยายพื้นที่ให้ใหญ่โตมโหฬารยิ่งขึ้น
ด้วยแนวคิดที่ว่าแบรนด์หรูทั้งหลายคงไม่ได้มีสาขาเกลื่อนเมืองแบบสตาร์บั๊ค เพราะนั่นมันจะทำให้แบรนด์หรูกลายเป็นแบรนด์ดาษๆ การควบคุมจำนวนให้พอเหมาะจึงเป็นหัวใจสำคัญ สิ่งที่แบรนด์หรูทั้งหลายทำจึงหันมาเร่งสร้าง Flagship Store ที่มีพื้นที่ใหญ่โตมโหฬารระดับมหาวิหารแด่สาวกแบรนด์แทน
ร้าน Gucci หรือ Chanel ในสหรัฐอเมริกาก็มีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่ให้มีขนาดใหญ่ระดับหลายพันตารางเมตรเป็นอย่างน้อย หรือหลักหมื่นตารางเมตรต่อสาขาเป็นปกติ
แทบจะพูดว่าพวกเขาเปิดห้างย่อมๆ ของตัวเองก็ว่าได้ อย่างร้าน Chanel ที่เป็น Flagship Store ในย่าน Beverly Hills ก็มีพื้นที่ถึง 4 ชั้น รวมแล้วใหญ่กว่า 3,000 ตารางเมตร ชั้นบนถูกสงวนไว้เป็นห้องพักระดับ Penthouse ขนาด 250 ตารางเมตร สำหรับลูกค้าคนดังเกรด VVIP ก็จะสอดคล้องกับ Branding & Marketing Trends 2025 ก่อนหน้า ที่แบรนด์หรูหันมาเปิดโชว์รูมให้ลูกค้าคนสำคัญเข้ามานอนพักผ่อนเล่นได้
มันคงไม่มีอะไรมากไปกว่าคนที่รักแบรนด์นั้นต้องการมากไปกว่าการได้นอนอยู่ท่ามกลางสินค้าของแบรนด์ที่ตัวเองรักรายล้อมรอบตัว เพราะมันคือประสบการณ์ที่แค่มีเงินทั่วไปซื้อไม่ได้ แต่คุณต้องใช้เงินกับแบรนด์นี้หนักมากจนติดระดับกลุ่ม A Listed หรือ VVIP จึงจะได้รับเชิญให้เข้าไปนอนพักสักคืน
ในแง่มุมของ ROI ถ้าถามว่าทุ่มเงินไปขนาดนี้จะได้อะไร อย่าลืมว่าแบรนด์หรูทั้งหลายเราแข่งกันที่ภาพลักษณ์ ใครสร้างความสูงส่งหรูหราได้มากกว่ากัน คนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะได้เงินจากกลุ่มเป้าหมายที่มีอันจะกินไปได้มากที่สุดโดยไม่ต้องสงสัย
แบรนด์เครื่องเพชรระดับโลกอย่าง Tiffany & Co ก็เปิดสาขา Flagship Store ที่กรุงนิวยอร์คเมื่อเมษายน 2023 หลังจากใช้เวลาปรับปรุงนานถึง 4 ปี ก็กลับมาพร้อมกับพื้นที่ใหญ่ถึง 10,000 ตารางเมตรสำหรับสาขานี้
ใช่ครับ หนึ่งหมื่นตารางเมตร เรียกได้ว่าเป็นร้านค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งก็ว่าได้ แถมชั้นบนสุดของร้านก็ยังถูกทำเป็นห้องพัก Penthouse สำหรับลูกค้า VVIP ที่ได้รับเชิญเท่านั้น
ที่ประเทศฝรั่งเศสต้นกำเนิดแบรนด์หรูก็ไม่น้อยหน้า อย่าง Dior ก็มีการเปิด Flagship Store ขนาดกว่า 10,000 ตารางเมตร ในกรุงปารีสที่ไม่ได้มีไว้แค่ขายของ แต่ยังกลายเป็นพิพิธพัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์
ตอนที่ผมไปเที่ยวปารีสเมื่อปี 2023 ก็มีโอกาสได้ผ่านไปยืนต่อแถวรอ แต่สารภาพตรงๆ ว่าคนเยอะมากต้องยืนรอหลายชั่วโมงถึงจะได้เข้าไป ตัวผมเลยรอไม่ไหวได้แต่มองจากข้างนอกเห็น Display หน้าร้านก็ยังรู้สึกถึงความเป็นมหาวิหารของสาวก Dior ที่ต้องหาโอกาสมาเยี่ยมชมสักครั้งจริงๆ
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 7 Luxury Retail Temples จากร้านค้าสู่มหาวิหารของแบรนด์หรู
เมื่อ Luxury Brand ต่างเน้นเรื่องการสร้างประสบการณ์และความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์มากกว่าแค่การเน้นขายหรือการตลาดทั่วไป
บรรดาแบรนด์หรูจึงหันมาเร่งสร้างความอลังการกันมากขึ้น ไม่เน้นการเปิดสาขาให้เยอะขึ้น แต่เน้นการสร้างสาขาให้มีความอลังกาลดาวล้านดวงยิ่งกว่าแบรนด์คู่แข่งแทน
ลองดูนะครับว่าเราจะนำกลยุทธ์แนวคิดของแบรนด์หรูในการทำร้านมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเราได้อย่างไรบ้าง ผมเชื่อว่าถ้าคุณคิดออกก็น่าจะยกระดับแบรนด์เราขึ้นมาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้
8. Retail Membership เทรนด์จ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิก CRM VIP
เดิมทีแบรนด์ต่างๆ อยากให้ลูกค้าสมัครสมาชิกมากที่สุดเพื่อจะได้เก็บข้อมูล ไปจนถึงกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำเพราะจะได้สะสมแต้มอะไรก็แล้วแต่
แต่ในความเป็นจริงแล้วดูเหมือนว่าระหว่างลูกค้าธรรมดา กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกแทบไม่ได้มีสิทธิพิเศษอะไรแตกต่างกันขนาดนั้น จนกระทั่งโลกได้รู้จักระบบสมาชิกแบบต้องเสียเงินจึงจะได้รับสิทธิเศษอย่าง Amazon Prime ที่ลูกค้าต้องยอมจ่ายเงินค่าสมาชิกพิเศษแบบรายเดือน เดือนละประมาณ 500 บาท จึงจะได้รับสิทธิพิเศษอย่างส่งฟรี รับส่วนลดพิเศษสำหรับสินค้าบางชนิด ไปจนถึงดู Streaming หรือเล่นเกมฟรีอีกด้วยครับ
จากการสำรวจผู้บริโภคชาวอเมริกันจาก Clarus Commerce พบว่า 95% ของร้านค้าหรือแบรนด์ที่มีระบบ CRM หรือ Loyalty Program สะสมแต้มที่สมัครได้ฟรีไม่เสียเงิน กำลังจะเปลี่ยนมาใช้ระบบสมาชิกแบบเสียเงินเพื่อได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างมากขึ้นจริงๆ
ระบบนี้เรียกว่า Paid-for Membership ที่ลูกค้าต้องยอมจ่ายเงินจะเป็นรายปีหรือรายเดือนเพื่อสมัครสมาชิก เพื่อจะได้รับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษแบบจริงๆ เพราะจาก Data ก็บอกให้รู้ว่าลูกค้ากลุ่มที่เสียเงินเป็นสมาชิกนั้นมีแนวโน้มจะซื้อบ่อยกว่า ไปจนถึงซื้อครั้งละเป็นจำนวนเงินเยอะกว่าลูกค้าทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิกแบบเสียเงิน
ส่วนหนึ่งในแง่จิตวิทยาก็มาจากการที่คนเรากลัวการสูญเสีย เมื่อเสียเงินค่าสมาชิกไปแล้วก็เลยรู้สึกอยากใช้ Privilege ให้คุ้มมากที่สุด บางแบรนด์อาจบอกว่าส่งฟรีด้วยเงื่อนไขว่าต้องสั่งเท่านี้บาทขึ้นไป ก็เลยส่งผลให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกแบบเสียเงินต้องซื้อเยอะเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ จนสุดท้ายด้วยยอดการซื้อที่มากขึ้นก็คุ้มต้นทุนค่าส่งไปโดยปริยาย
แบรนด์ร้านขายยาชื่อดังในอเมริกาอย่าง CVS ก็มีการเอาระบบสมาชิกแบบเสียเงินมาใช้งานเช่นกัน โดยคิดค่าสมาชิกเดือนละ 5 ดอลลาร์ แต่ลูกค้าจะได้รับเครดิตเงินคืน 10 ดอลลาร์ แล้วก็มาพร้อมกับสิทธิพิเศษมากมายเมื่อซื้อยาที่ร้าน CVS เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้าติดหนึบด้วยเงินลูกค้าเอง
และค่อนข้างมั่นใจได้ว่าถ้าลูกค้าเป็นสมาชิกแบบเสียเงินกับแบรนด์หนึ่งแล้ว ก็ยากจะย้ายไปซื้อแบรนด์คู่แข่งเพราะรู้สึกเงินดายเงินที่สมัครสมาชิกไปกับอีกแบรนด์ก่อนหน้า
แบรนด์แฟชั่นอย่าง H&M เองก็มีการแบรนด์พิเศษ Singular Society สำหรับสมาชิกเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ซื้อได้ ทำให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกแบรนด์นี้รู้สึกพิเศษที่ได้มีสิทธิ์ในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของแบรนด์ดังกล่าว
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 8 Retail Membership เทรนด์จ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิก CRM VIP
ระบบสมาชิกธรรมดาที่เคยทำมาไม่เร้าใจให้คนอยากซื้อมากขึ้นอีกต่อไป การสะสมแต้มเริ่มไร้ความหมาย เพราะมันนานมากกว่าแต้มจะมากพอเอาไปทำอะไรต่อได้ แต่กับระบบสมาชิกรูปแบบใหม่ที่จ่ายเงินเพื่อรับสิทธิพิเศษทันทีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งจากฝั่งลูกค้าและแบรนด์เอง
เรามี Case Study มากมายหลากหลายแบรนด์ที่ทำแล้วเวิร์คให้เราได้เห็นเป็นแนวทาง ในเมืองไทยบ้านเราก็มีแบรนด์ที่ทำแบบนี้ไม่น้อย ไม่ว่าจะ MK ที่ต้องเสียค่าสมาชิกรายปีถึงจะได้รับสิทธิ์ส่วนลด หรือร้านหนังสือ Kinokuniya ที่คิดค่าสมาชิกปีละ 500 บาท สมัยที่ผมยังเป็นสมาชิกร้านนี้อยู่รู้สึกว่าต้องเดินเข้ามาหาหนังสือบ่อยขึ้น เพื่อจะได้รับสิทธิ์ส่วนลดที่คิดเป็นเงินแล้วไม่น้อยกว่า 500 บาท
แต่หัวใจสำคัญของการใช้กลยุทธ์นี้แล้วเวิร์คคือการออกแบบสิทธิพิเศษหรือส่วนลดที่เร้าใจมากพอที่จะทำให้คนยอมจ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิกได้ เพราะถ้ายังคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ให้แบบเดิม แจกแบบเดิม ต่อให้สมัครแล้วแจกเงินไปก็คงไม่มีลูกค้าคนไหนอยากกลับมาใช้เงินซ้ำกับเราบ่อยๆ หรอกครับ
9. Euphoric Retail หยิบความสุขเป็นจุดขาย
ในโลกที่เต็มไปด้วยความเครียด ความเร่งรีบ การแข่งขัน ทำให้ภาวะโรคซึมเศร้ากระจายตัวไปอย่างมากยังผู้คนทุกวันนี้ ความสุขจึงเป็นหนึ่งสิ่งที่คนตามหา ดังนั้นเราจึงเริ่มเห็นเทรนด์ของร้านจากบางแบรนด์ ที่หยิบเอาความสุขเป็นจุดขายด้วยการออกแบบสินค้า ประสบการณ์ ไปจนถึงการตกแต่งร้านให้แค่เห็นก็มีความสุข ยิ่งได้เดินเข้ามาดูใกล้ๆ ก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น
Ultra Beauty คือหนึ่งในร้านที่ว่า คอนเซปหลักพวกเขาในการทำแบรนด์นี้ขึ้นมาคือต้องการเพิ่มความสุขเข้าไปยังชีวิตคนของรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความเครียดไปจนถึงความเศร้า
พวกเขาอยากให้ลูกค้าได้มีความสุขมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น หรือจะเรียกว่ารักตัวเองมากกว่าเดิมก็ไม่ผิดนัก
Find Joy Within กับ Liberty London เป็นการจัดแสดงสินค้าบนถนน Regent Street ด้วยการตกแต่งดิสเพลย์หน้าร้านเป็นรอยยิ้มที่หลากหลายสีสัน แล้วก็มีการออกคอลเลคชั่นที่ชื่อว่า feel-good fashion ที่เติมเครื่องประดับสีสันสดใสมากมาย
Terez แบรนด์ที่มาจาก Ecommerce ได้มีการเปิดหน้าร้านเป็นครั้งแรกที่นครนิวยอร์ค กับคอนเซปการตกแต่งที่เต็มไปด้วยสีชมพูเต็มร้าน และลูกโป่งมากมายที่นำมาใช้แทนโคมไฟภายใน
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 9 Euphoric Retail หยิบความสุขเป็นจุดขาย
เมื่อผู้คนทุกวันนี้ต้องการมีชีวิตชีวิต ไปจนถึงมีความสุขมากขึ้นกว่าผู้คนยุคก่อนหน้าอย่างมาก บางแบรนด์เริ่มมองออกเลยหยิบความสุขขึ้นมาเป็นจุดขายก่อนคู่แข่ง
แม้เรื่องนี้ฟังดูง่ายแต่การทำจริงให้คนจำได้นั้นยาก เพราะมันต้องการกลยุทธ์ที่ชัดเจน แนวทางที่ชัดเจน ไปจนถึงการทำสิ่งนี้จนนานพอที่ผู้คนกลุ่มเป้าหมายจะจำได้ว่า แบรนด์เราเท่ากับความสุข หรือคิดถึงความสุขให้คิดถึงแบรนด์เราก่อนคู่แข่งนั่นเอง
10. AI Try-Ons ลองเสื้อผ้าทางออนไลน์แม่นยำด้วย AI
https://bods.me/#howItWorks
เมื่อเทคโนโลยี AI ก้าวหน้าไปมากจากไม่กี่ปีก่อน ทำให้การจะลองดูว่าสินค้าที่จะซื้อนั้นมีขนาดเป็นอย่างไร เข้ากับบ้านได้ไหม ทุกวันนี้เราแค่หยิบมือถือขึ้นมาส่องไปรอบๆ บรรดาแอป Ecommerce เจ้าใหญ่ๆ ก็เปิดโอกาสให้คุณได้ทดลองสินค้าผ่าน AR มาสักระยะแบบที่ IKEA ทำ แต่วันนี้เมื่อ AI พัฒนาไปอีกขั้นก็ขยับเข้ามาสู่ธุรกิจแฟชั่นที่กำลังต้องการเทคโนโลยีนี้อย่างมาก
เพราะหนึ่งในต้นทุนสำคัญของธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าก็คืออัตราการคืนสินค้า ถ้าลูกค้าเห็นจากภาพแล้วรู้สึกว่าสวย ต่อให้เช็คขนาดไซส์ไปดีแล้วก็ตาม แต่ถ้าได้ลองใส่จริง ลองถือจริง ลองใช้จริงแล้วรู้สึกไม่ชอบ ก็ต้องขอส่งคืนสินค้า และนั่นก็คือต้นทุนของธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าที่ถ้าหาทางลดการคืนสินค้าได้ก็จะสามารถเพิ่มกำไรสบายๆ หรือสามารถลดต้นทุนให้ต่ำกว่าคู่แข่งได้แบบง่ายๆ เลยทีเดียว
VIDEO
บริษัทเทคโนโลยีเลยพยายามพัฒนาการลองเสื้อผ้าผ่านทาง Avatar หรือ Virtual ให้มีความแม่นยำและดูเสมือนจริงมากขึ้น สามารถถ่ายภาพตัวเราเข้าไปแล้วจากนั้นเจ้า AI ก็จะคำนวนว่าเรามีขนาดร่างกายเป็นอย่างไร ถ้าเสื้อผ้าชุดนี้มาอยู่บนตัวเราออกมามีหน้าตาแบบไหน
ตัวอย่างบริษัท Bods สตาร์ทอัปด้านนี้ที่ร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นหรูอย่าง Balmain ของฝรั่งเศส ก็เปิดให้บริการลองชุดเสื้อผ้าผ่านทางออนไลน์ เราสามารถสวมเสื้อผ้าของ Balmain ที่สนใจเข้ามาใน Digital Avatar ที่มีรูปทรงหน้าตาตัวเราเอง
และไม่ใช่แค่เสื้อผ้าแต่ยังสามารถลองดูว่าถ้าเราซื้อกระเป๋า Balmain ไปถือแล้วจะใหญ่หรือเล็กเกินมือเราไปไหม เรียกได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าก่อนมาร้าน หรือแม้แต่ทำให้มั่นใจได้ว่าถ้าสั่งออนไลน์มาก็ไม่ต้องทำการส่งคืนกลับให้เสียเวลา
และแน่นอนว่าถ้าอัตราการส่งคืนสินค้าต่ำบริษัทก็สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้สบายๆ นี่เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจคือการเอา AI มาช่วยใช้ลองสินค้า กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น และลดอัตราการส่งคืนสินค้าที่เป็นต้นทุนสำคัญของธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าในปัจจุบัน
https://internetretailing.com.au/exclusive-princess-polly-launches-virtual-fitting-room-tech-australian-first/
สรุป Retail Marketing Trends 2024-2025 ที่ 10 AI Try-Ons ลองเสื้อผ้าทางออนไลน์แม่นยำด้วย AI เพิ่มกำไรแค่ลดการส่งคืน
เทรนด์การลองเสื้อผ้าแบบเดิมๆ กำลังจะกลับมา ที่ผมบอกว่าเป็นแบบเดิมๆ ก็เพราะว่าการเปิดให้ลูกค้าได้ลองเสื้อผ้าหรือสินค้าแฟชั่นทาง Virtual หรือออนไลน์ เป็นสิ่งที่แบรนด์พยายามทำกันมานานมาก
เพียงแต่ในสมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่พร้อม ความแม่นยำต่ำ ทำให้ลองไปก็เท่านั้น สู้ขับรถออกไปลองที่ร้านจริงเลยจะดีกว่า แล้วพอเมื่อเข้าสู่ยุคช้อปปิ้งออนไลน์ Ecommerce เกลื่อนเมือง ธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าเลยต้องปรับตัวด้วยการรับประกันการส่งคืนสินค้าฟรีหากลูกค้ารู้สึกใส่จริงแล้วไม่สวยเหมือนอย่างที่คิดไว้
และนั่นก็คือต้นทุนการทำธุรกิจแฟชั่นขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าลดอัตราการคืนสินค้าลงได้ก็จะทำให้ธุรกิจพลิกกลับมาทำกำไรได้สบายๆ
ในวันนี้เทคโนโลยี AI ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ทำให้ธุรกิจแฟชั่นเริ่มกลับมาสนใจการเปิดให้ลูกค้าได้ลองสินค้าทางออนไลน์กันอย่างจริงจังอีกครั้ง เราจะได้เห็นการลองสินค้าทางออนไลน์ที่ง่ายแต่ก็แม่นยำเสมือนได้ใส่หรือจับของจริงอย่างมาก
และนี่คืออีกหนึ่งเทรนด์สำคัญสุดท้ายของธุรกิจร้านค้าปลีกหรือ Retial ในปี 2025 ไปครับ
สรุป 10 Retail Marketing Trends 2024-2025 เทรนด์ธุรกิจค้าปลีก ร้านค้ายุคใหม่นับจากนี้ไป
Retail Guides บริการลูกค้ากลุ่ม VVIP ด้วยโปรแกรม CRM ที่ Luxury กว่า
Imagination Stores ขยายจินตนาการสินค้าและร้านใหม่ด้วย Generative AI สู่ Metaverse
Next-Gen Collectors คนรวยยุคใหม่เน้นสะสมมากกว่าบริโภค
Community Centric Retail เทรนด์เดินตลาดนัด ถนนคนเดินกลับมา คนเบื่อห้างหรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่
The Thrift Economy การตลาดยุคอัตคัด แบรนด์ต้องช่วยประหยัดให้มากที่สุด
Metaverse Shopping ชอบปุ๊บช้อปปั๊บ Commerce in Game & Streaming
Luxury Retail Temples จากร้านค้าสู่มหาวิหารของแบรนด์หรู
Retail Membership เทรนด์จ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิก CRM VIP
Euphoric Retail หยิบความสุขเป็นจุดขาย
AI Try-Ons ลองเสื้อผ้าทางออนไลน์แม่นยำด้วย AI
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 10 เทรนด์สำหรับหน้าร้าน ร้านค้า ช้อป ห้างสรรพสินค้า อะไรก็ตามที่เป็นช่องทางออฟไลน์ระหว่างคุณกับลูกค้า ในบทความตอนหน้าเราจะไปสำรวจ 10 Luxury Marketing Trends 2024-2025 มาสำรวจโลกแบรนด์หรูแบบลงลึกกันนะครับว่าลูกค้ากลุ่มเงินหนากำลังจะขยับไปทางไหน
อ่านบทความชุด 10 Beauty Trends 2025
อ่านบทความชุด 10 Branding & Marketing Trends 2025
อ่านบทความชุด Consumer Trends 2025
Source: https://www.vml.com/insight/the-future-100-2024