Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025

เมื่อธุรกิจกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำต้องปรับตัวให้ทันกับความท้าทาย เทคโนโลยี และความคาดหวังของพนักงาน การตลาดวันละตอนได้มีโอกาสไปร่วมงาน Future Trends Ahead Summit 2025 และใน Session New Rules of Leadership: Adapting to a New World โดยคุณนภัส ศิริวรางทูรจาก Hewitt จะพูดถึงเทรนด์ของการเป็นผู้นำในยุคใหม่ว่าเป็นยังไงค่ะ

Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025

ซึ่งใน Session นี้ได้ชี้ให้เห็นถึง 3 เทรนด์หลักที่กำหนดลักษณะของผู้นำในอนาคต ได้แก่ The Anatomy of Future Leaders (โครงสร้างของผู้นำแห่งอนาคต) , Insights – The Most Powerful “C’s” for Leading the Future (ปัจจัยสำคัญของความสามารถในการนำองค์กร) และ The Imperfect Leader Era (ยุคของผู้นำที่ไม่สมบูรณ์แบบ) บทความนี้จะอธิบายแนวโน้มเหล่านี้และผลกระทบต่อการพัฒนาภาวะผู้นำและความสำเร็จขององค์กรค่ะ

ต้องบอกว่าเรื่องของภาวะผู้นำในสมัยใหม่นั้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ประสบการณ์หรือคุณสมบัติเชิงเทคนิคอีกต่อไปค่ะ แต่ต้องมีมุมมองที่ครอบคลุมในหลายด้าน โมเดล Iceberg Leadership จะแสดงให้เห็นถึง 4 องค์ประกอบสำคัญ ที่กำหนดความสำเร็จที่ผู้นำควรจะมีค่ะ โดยโมเดลนี้คุณนภัสเล่าว่าได้แกะความสำเร็จมาจากคนที่เป็น Cream เป็น Cherry ของแต่ละองค์กรมาจนได้เป็น Iceberg Leadership โดยมีองค์ประกอบ 4 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้

1. ส่วนที่มองเห็นได้ (Above the Iceberg)

  1. Critical Experience (ประสบการณ์สำคัญ) เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้ เป็นผลงานและความเชี่ยวชาญที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการงานและความรับผิดชอบ ผลงานที่เคยทำสำเร็จ ความสามารถในการบริหารโครงการ และบทบาทที่เคยรับผิดชอบ ใช้เป็นตัววัดศักยภาพในการก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
  2. Capability (สมรรถนะและความสามารถของผู้นำ) ทักษะหลักที่ผลักดันความสำเร็จในอนาคต เช่น การบริหารกลยุทธ์ ความสามารถในการตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา รวมทั้งความสามารถในการบริหารทีม ขับเคลื่อนองค์กร และสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพค่ะ

2. ส่วนที่ซ่อนอยู่ (Below the Iceberg)

  1. Capacity (ศักยภาพของผู้นำ) เปรียบเสมือนภาชนะที่รองรับการพัฒนา ยิ่งมีศักยภาพสูง ผู้นำก็จะสามารถเติบโตและรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้มากขึ้น การเปิดรับเทคโนโลยี การมี Mindset ที่ยืดหยุ่น และความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ รวมทั้งความสามารถในการพัฒนาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
  2. Character & Culture Style (คุณลักษณะเฉพาะตัวและวัฒนธรรมองค์กร) มุมมอง ทัศนคติ รูปแบบการทำงานที่ส่งผลต่อความเป็นผู้นำในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และแรงจูงใจของผู้นำความสามารถในการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และการเป็นแรงบันดาลใจให้กับทีม

คุณนภัสยังเล่าอีกว่าจากที่มีการเก็บข้อมูลมาในอดีตที่ผ่านมา เวลาที่จะหาผู้นําคนหนึ่งขึ้นมาในองค์กร สิ่งที่เราเห็นเยอะที่สุดเลยเวลาตัดสินใจจะเลือกใครขึ้นมา จะดูเรื่องของ Critical Experience เป็นหลักค่ะ แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่เค้าทําไปแล้ว อาจจะไม่สามารถที่จะ Predict ในอนาคตได้ว่าเค้าจะประสบความสําเร็จในตําแหน่งงานใหม่หรือเปล่า

ดังนั้น ในมุมมองที่เวลาที่คุณนภัสเองประเมินคนที่จะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 เบอร์ 2 ขององค์กร จะให้ความสําคัญกับการดูเรื่องของ Capibility และก็เรื่องของ Capacity ของคน ๆ นั้นด้วยเหมือนกัน ซึ่งอันนี้เป็นส่วนที่เราจะดู Future Success นอกจากตัว Passive Present ที่เป็นตัว Critical Experience

ฉะนั้นเนี่ยองค์ประกอบที่เราเห็นว่าเป็นเทรนด์ในอนาคตเนี่ย Capibility และก็เรื่องของ Capacity 2 จะเป็นตัวที่สําคัญ ในขณะที่ตัวล่างสุดที่เป็นเรื่องของ Character&Culture Style ตรงเนี้ย จะวางคน Put The Right Man ใน Into The Right Job ในสถานการณ์ที่เหมาะสมด้วยค่ะ หมายความว่า องค์กรต้องพิจารณาคุณลักษณะของผู้นำให้ลึกซึ้งมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ผลงานที่ผ่านมา แต่รวมถึงศักยภาพในการเติบโตและรับมือกับอนาคตอีกด้วยค่ะ

เมื่อข้างต้นเราได้พูดถึง Capibility และ Capacity ว่าเป็นปัจจัยที่เราจะสามารถ Predict ว่าผู้นำคนนั้นจะสามารถเติบโต และประสบความสำเร็จในอนาคตได้มั้ย เราเลยจะพามาดูในแต่ละส่วนว่า Capibility และ Capacity นั้นควรมีอะไรบ้าง

เริ่มจาก Capibility ความสามารถ สมรรถนะของผู้นํา จากเป็นข้อมูลที่คุณนภัสมีการรวบรวมมา เป็นข้อมูลของ Post Covid ในช่วงตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา จะเห็นชุดของสมรรถนะหรือทักษะที่สําคัญของผู้นํา 7 ทักษะสำคัญ แบ่งเป็น 3 หมวดด้วยกันนะคะ

Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025

1. ภาวะผู้นำทางธุรกิจ (Business Leadership)

Strategic Solutions – ความสามารถในการมองเห็นแนวโน้มอนาคตและกำหนดกลยุทธ์ คือในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นว่าผู้นําที่เราต้องการเนี่ยคือเป็นคนที่มี Vision หรือวิสัยทัศน์ แต่ว่าสิ่งที่เราพยายามที่อยากจะเห็นความสามารถของผู้นําในยุคถัดมาตรงนี้มากขึ้น

ก็คือเรื่องของ Be Vision สามารถที่จะอ่านเกมธุรกิจได้ รู้ว่าจะสามารถดึงตัวที่เป็น solution ที่สําคัญตรงนั้น ออกมาจากเทรนด์ สถานการณ์ หรือโจทย์ทางธุรกิจนี้ออกมาได้อย่างไร

Driving Breakthrough Results – ผลักดันนวัตกรรมและผลลัพธ์ที่เหนือกว่าการทำงานแบบเดิม ความสามารถในการที่จะ
ขับเคลื่อนผลลัพธ์ได้ ไม่ใช่แค่ Drive Result นะคะ เดี๋ยวนี้เป็น Drive Reverse To Result ที่ไปไกลกว่าตรงนั้น

Digital Acumen – การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรค่ะ ซึ่ง 3 ส่วนนี้จะเป็น Part ของตัวที่เป็น Business Leadership ในขณะที่ตัวหมวดที่สองคือเรื่องของ Transformational Leadership คือ

2. ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)

Fostering Agility – กระตุ้นการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลง การขับเคลื่อนผลักดันต่างๆ ที่มีความสามารถในแง่ของ Activity ในการขับเคลื่อนงานให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้

Hyper Collaboration & Communication – ส่งเสริมความร่วมมือและการสื่อสารข้ามหน่วยงาน ส่วนสุดท้ายคือเรื่องของตัวที่เป็น People Leadership ค่ะ

3. ภาวะผู้นำด้านบุคคล (People Leadership)

Leading People – สร้างแรงบันดาลใจให้ทีม สามารถที่จะ Engage สร้างความผูกพัน Inspire Team ได้

Growing People – พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ก้าวหน้าในองค์กร พัฒนาคนให้เกิดการเรียนรู้และเติบโต

สิ่งที่เห็นก็คือว่า ถ้าเป็นช่วงหลังโควิด 19 ในช่วงปี 2022 – 2023 ตัวที่สําคัญมากเลยที่คาดหวังจากผู้นํา คือเรื่องของ Business Leadership เพราะว่าในช่วงนั้นเป็นช่วงที่เรากลับมาขับเคลื่อนงาน แล้วยังมีฝุ่นตลบอยู่ก็ต้องการคนที่จะสามารถมีวิสัยทัศน์มีความสามารถในการที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้ชัดเจนขึ้นท่ามกลางความขมุกขมัวและยังมองภาพไม่เห็นมากนัก

ถัดมาพอมีการเปลี่ยนแปลง มีเรื่องของ transformation เยอะขึ้น ตัว Transformational Leadership ก็เป็นตัวที่มีบทบาทเข้ามา แต่ในรุ่นของปี 2025 ตัวที่เป็น People Leadership เนี่ยเป็นตัว Classic อยู่แล้ว แล้วก็สําคัญมาแต่ไหนแต่ไร แต่ว่าหลาย ๆ องค์กรอาจจะยังไม่ได้สามารถทําเรื่องนี้ได้ดีมาก

ซึ่งในส่วนของ People Leadership ตรงนี้เนี่ยเป็นส่วนที่สําคัญมาก โดยเฉพาะยุคนี้ที่มีเรื่องของ AI ต่างๆ เข้ามาแล้วก็ Active มาก ก็อาจจะมีพนักงานมีกลุ่มคนที่รู้สึกว่าพอมันมี AI เข้ามาแล้วเนี่ย มันจะส่งผลกระทบอย่างไรกับตัวสวัสดิภาพ หรือเรื่องของการที่จะต้องเร่งพัฒนาความสามารถของตัวเองมีขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง

ตัว Leader หรือผู้นําเองต้องสามารถที่จะเป็นผู้นําที่ลงไป Connect กับพนักงาน เข้าไป Entertain แล้วก็ช่วยในการที่จะพัฒนาความสามารถของคนในองค์กรตรงนี้ขึ้นมาได้ ทําความเข้าใจสิ่งที่พนักงานเป็น แล้วก็สามารถที่จะให้เขาได้พัฒนาเรียนรู้ขึ้นมา เราเรียกความสามารถในยุคนี้ที่เป็นเรื่องของ Leadership ว่าอยากให้เป็น Human centric leadership ค่ะ

Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025

อันนี้คือเป็น Research ที่เป็นข้อมูลที่ทางทีมงานได้เก็บข้อมูลกับทางผู้บริหารหลาย ๆ องค์กรนะคะ ซึ่งในทาง Leader เอง แท่งที่เป็นสีส้มนะคะ เราแบ่งเป็นกลุ่มที่เป็น Executive ซึ่งก็หมายถึง n ก็คือเป็น CEO นะคะ แล้วก็ Minus -1 คือประมาณเบอร์ 1 เบอร์ 2 ขององค์กร ในขณะที่กลุ่มแท่งสีน้ำเงินจะเป็น Middle Management อาจจะมองถึงประมาณ n -2 หรือ -3

เราจะเห็นว่าในแง่ของตัวที่เป็น Key Gap ในแง่ของความสามารถหรือ Leadership Capibility ที่ยังไม่เยอะนักนะคะ จะอยู่ในเรื่องของตัวที่เป็นความสามารถในการที่จะ Engage รวมถึงเรื่องการพัฒนา แล้วก็จะมีเรื่องของ Digital Acumen ด้วย ซึ่งในมุมของผู้นําเอง อาจจะเป็นคนที่สามารถติดตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ แต่ว่าการที่จะขับเคลื่อนให้มี Use Case หรือว่ามีการที่จะให้คนในองค์กรได้เรียนรู้พัฒนาในเรื่องของตัวที่เป็น Digital หรือเรื่อง AI ต่าง ๆ เหล่านี้ ยังเป็นแก่นที่สําคัญอยู่นะคะ

ทีนี้มาในเรื่องของตัวที่เป็นความสามารถในการ Engage People เพราะว่านี่เป็นโจทย์ของผู้นําทั้งหลายในทุกๆ องค์กร เวลาที่ทํางานแล้วอยากที่จะให้คน Engage กับองค์กร โดยเฉพาะคนที่เป็น High Impact Group ของเราที่เป็นคนที่จะขับเคลื่อนงานไปพร้อม ๆ กับเรา หรือว่ากลุ่มที่เป็น Key Talent ของค์กรที่จะขับเคลื่อนองค์กรได้

Engagement Behaviors ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีส่วนร่วม โมเดล BEST-P แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีพนักงานที่ผูกพันและทุ่มเทมี 5 ปัจจัยสำคัญ

  • Belonging – พนักงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
  • Esteem – ภูมิใจในองค์กรและงานที่ทำ
  • Strive – มีความตั้งใจทำงานให้ดียิ่งขึ้น
  • Thrive – เติบโตทั้งในอาชีพและชีวิตส่วนตัว
  • Purpose – เป้าหมายของพนักงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025

ซึ่งถ้าเกิดเรามีพนักงานที่เป็นคนที่เราอยากให้อยู่ด้วย แล้วเขามีครบทั้ง 5 ด้านตรงนี้ นั่นหมายความว่าเราจะมีพนักงานที่เรียกว่าผูกพันแล้วก็ขับเคลื่อนไปพร้อมกับองค์กรของเราได้ ซึ่งโจทย์กลับมาก็คือว่า สิ่งที่ผู้นําในองค์กรจะทําเพื่อจะให้คน Engage ทั้ง 5 พฤติกรรมตรงนี้ได้อย่างไร 

มันก็จะมี 9 เรื่องที่ผู้นําต้องใส่ใจมาก ๆ เลย อาจจะลองคิดแล้วก็ประเมินดูว่าในองค์กรของเราทําเรื่องนี้ได้ดีหรือยัง เราส่งมอบประสบการณ์ทั้งเก้าเรื่องนี้หรือยัง ในท่อนบนทั้งสามด้านเลยคือ Lead, Inspired และก็ Support จะเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า Top executive จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นให้ได้ 

ในขณะที่ภาพรวมด้านล่างเลยคือ Manage, Empower แล้วก็ Connect เป็นสิ่งที่หัวหน้างานโดยตรง ต้องลงไปสร้างให้เกิดกับพนักงาน ท่อนกลางคือสิ่งที่เป็นพลังจากข้างบน และพลังจากหัวหน้างานเข้ามาด้วย ฉะนั้น ถ้าทําได้ทั้ง 9 เรื่องนี้ จะสามารถสร้างประสบการณ์ให้พนักงานเกิดความผูกพันได้ 

คุณนภัสยัแชร์อีกว่าข้อมูลที่มีการเก็บมา พบว่าองค์กรโดยเฉลี่ยในประเทศไทย ระดับของความผูกพันในองค์กรจะอยู่ที่ประมาณ 70% หมายความว่า ถ้าเรามีพนักงาน 100 คนในองค์กร จะมี 70 คนในองค์กรที่มีพฤติกรรม 5 ด้านครบเครื่องโดยค่าเฉลี่ยนะคะ แต่ว่าองค์กรแต่ละแห่งจะพบว่าจะแตกต่างไป แต่ละ industry ก็จะมีความท้าทายที่แตกต่างกันด้วย 

ส่วนองค์กรที่ทําได้ยอดเยี่ยมจริง ๆ เราเรียกว่า Thailand Top Quartile Companies ทําได้ถึง 86% ซึ่งสุดท้ายเราเชื่อว่า Engagement มันจะมี Link กับเรื่องของผลประกอบการทางธุรกิจอยู่ส่วนหนึ่งเหมือนกัน อาจจะไม่ได้ 100 นะคะ แต่ว่าส่งผลค่ะ  แล้วก็ประสบการณ์ที่องค์กรต่าง ๆ สามารถทําในแง่ของ 9 ประสบการณ์ ตัวที่น้อยที่สุดคือเรื่องของการ Support หรือการ Enable ในแง่ของทรัพยากร เรื่องของการขับเคลื่อนเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ และก็ทําได้ดีคือในแง่ของการ Main power นะคะ

จากภาพจะเห็นว่าพอเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมีผลกระทบต่อประสบการณ์ของพนักงานมากกว่าคนที่เป็น Manager หรือหัวหน้างานถึง 5 เท่า  ฉะนั้น Leader ในองค์กรถือว่าเป็นคนที่มีความสําคัญอย่างยิ่งเลยต่อการสร้างประสบการณ์ หรือ Engagement นะคะ

มันเป็นส่วนที่เปรียบเสมือนเป็นภาชนะนะคะแล้วก็ทําให้คนเนี่ยสามารถที่เราจะเห็นว่าคน ๆ นึงเนี่ยมีศักยภาพที่จะไปได้ไกลและได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ คือ 2 ส่วนนี้ก็คือเรื่องของ Growth Mindset แล้วก็เรื่องของ EQ นะคะ

ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่เวลาไปประเมินให้กับผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะดูข้อมูลในส่วนนี้ด้วยว่าใต้ภูเขาน้ําแข็งของผู้บริหารคนนั้นมีเรื่องของ Growth Mindset เป็นอย่างไรในแต่ละตัว ซึ่งมีเรื่องของ Learning Agility, Mental Agility เรื่องของ Awareness, Grit แล้วก็เรื่องของ Resillience นะคะ 

ส่วนตัวคุณนภัสแชร์มุมมองว่าตัวที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญเลย ถ้าผู้นําคนนั้นมีแล้วเป็นตัวที่ทําให้สามารถเปิดประตูทุกอย่าง แล้วก็ลงไปพัฒนาเขาทําให้เขาเติบโตเป็นผู้นําที่เรียกว่ายอดเยี่ยมได้ คือจุดเริ่มต้นคือเรื่องของ Awareness มี Self Awareness เข้าใจตนเอง และรู้ว่าจะต้องเพิ่มเติมอะไร ยอมที่จะให้ Feedback และให้มุมมองที่เห็นในการพัฒนาต่อนะคะ ส่วนตัว EQ ก็เป็นความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม ซึ่งมีถึง 5 ตัวด้วยกันที่เราดูนะคะ

ตัวที่เป็นน้ําแข็งต่ำสุดเลยคือ สิ่งที่จะทําให้เราเห็นถึงคาแรคเตอร์ของคน ๆ นั้น เรามีการแบ่ง segment คนออกเป็น 8 กลุ่มด้วยกันนะคะ ซึ่งอันนี้มีการเก็บข้อมูลตัวเลขที่เป็นเปอร์เซ็นต์ข้างล่างเป็นการเก็บข้อมูลจากผู้นําในประเทศไทยขององค์กรชั้นนําที่มีการเข้ามาทําการประเมิน Personality Assessment นี้ เรามี Database ประมาณ 2,500 คน 

พบว่าสัดส่วนของคนที่เป็นผู้นําในประเทศไทยขององค์กรชั้นนํา ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเป็น Optimizer แล้วก็ Controller แต่ในขณะที่กลุ่มที่เป็น Entrepreneur เป็นกลุ่มคนที่มีคาแรคเตอร์น้อยที่สุดนะคะ ความสำคัญของคาแรคเตอร์สําคัญต้องบอกว่าจริง ๆ ผู้นําที่จะช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรอาจจะมีความเหมาะสมของ Character ที่เหมาะในการขับเคลื่อนธุรกิจใน Life Cycle ที่แตกต่างกันออกไป 

คุณนภัสยกตัวอย่างว่ามีองค์กรที่เป็นลูกค้าอยู่แห่งหนึ่งบอกว่า ตอนนี้กําลังที่จะไปขยายธุรกิจ จะไป Set Up ธุรกิจในประเทศเวียดนาม เขาก็มองว่า เขาจะส่งคนที่เป็นผู้นําที่มีคาแรคเตอร์ไหนให้ไปขับเคลื่อน เพราะว่าถ้าเกิดดูจากองค์ประกอบอื่น ๆ เรียกเจอคนที่ใช่แล้ว แต่ว่ามันมีคาแรคเตอร์บางอย่าง ที่เราอยากจะพิจารณาประกอบเพิ่มเติมด้วย 

สุดท้ายเขาส่งคนที่เป็น Architect กับ Entrepreneur เนี่ยไป Lead โปรเจกต์ที่มันเพิ่งสตาร์ทอัพขึ้นมา ซึ่งก็จะเป็นกลุ่มคนที่น่าจะเหมาะที่สุดในที่จะไปขับเคลื่อน หลังจากที่อยู่ในช่วง Set Up เสร็จแล้วพอที่จะส่งคนที่จะไปขับเคลื่อนการเติบโตต่อไป เขาส่งคนที่เป็นกลุ่ม Optimizer, Facilitator ไป นี่ก็คือเป็นสิ่งที่การที่เราจะวางคน ให้เหมาะสมกับ Business Life Cycle ขององค์กรตรงนี้ด้วยเหมือนกันนะคะ 

สุดท้ายก็คือเรื่องของ Culture นะคะ ก็เป็นส่วนที่เอาเข้ามาดูประกอบ ในการที่เราจะ Drive Culture ขององค์กรไปสู่องค์กรที่เราตั้งเป้าไว้ว่าเราอยากจะเป็น ในโมเดลนี้เราต้องให้เครดิตมาก เป็นโมเดลเรื่องของ Culture Style ซึ่งก็เขามีการทําออกมาว่าในองค์กรทั่วโลกเลยเนี่ย มี Culture Style อยู่ 8 Culture Style ด้วยกัน

ซึ่งถ้าเราจะขับเคลื่อนไปสู่องค์กรที่จะไปสู่ Innovation งั้นในแง่ของผู้นําที่จะขับเคลื่อนไปได้ ก็น่าจะเป็นผู้นําที่มีลักษณะของสไตล์ที่เป็น Learning Style ในการที่จะขับเคลื่อนได้ เพราะผู้นําจะกําหนดทิศทางของคนขององค์กรนั่นเองค่ะ

อันนี้จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Culture Style แต่ละสไตล์นั้น ซึ่งในโลกนี้ข้อมูลที่เก็บมาในแต่ละ Industry เขาบอกว่าอันดับหนึ่งคือเป็น Result นะคะ มุ่งเน้นผลลัพธ์กับตัว Caring นะคะ ที่เป็นแบบที่ 2 นอกนั้นก็จะสลับกันตามแต่ละ Industry ค่ะ

ฉะนั้นเทรนด์สุดท้ายเลยที่อยากจะเห็นว่า ถ้าเราดูไอซ์เบิร์กโมเดล เราก็จะพบว่ามีองค์ประกอบ 4 อย่างด้วยกันที่จะทําให้ผู้นําประสบความสําเร็จในการขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กร ซึ่งต้องบอกว่าด้วยการสร้างผู้นําขององค์กรขององค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะคนไทยที่คุณนภัสมีโอกาสเห็นเยอะ บางองค์กรไม่ได้สร้างเลยหรือว่าสร้างน้อยมาก 

ฉะนั้นตอนนี้ลีดเดอร์ไม่ได้ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน เราอาจจะเรียกว่าเป็นอีกร่างของ Imperfect Leader ที่ไม่ได้มีใครสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ประการตามที่เราต้องการ อาจต้องใช้การทำงานเป็นทีม ดูองค์ประกอบของทีม จะต้องเอามือซ้ายมือขวาเข้ามาประกอบ ทําให้ทีมนั้นเป็นทีมที่จะเลือกทําให้ประสบความสําเร็จค่ะ

ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator
Prompt : A futuristic business leader standing confidently on a high-tech digital iceberg, representing the Future Leadership Model. The iceberg consists of two parts: the visible top section showing tangible skills like experience, achievements, and leadership capabilities, and the submerged section highlighting hidden qualities such as growth mindset, emotional intelligence, and adaptability. The scene features a modern business environment with digital elements, holographic data interfaces, and AI-driven technology. The leader is illuminated by a futuristic blue and purple light, symbolizing innovation and strategic vision. The background is sleek and abstract, emphasizing leadership evolution and the dynamic future of work.

และนี่คือทั้งหมดของ Leadership ในยุคใหม่ต้องเป็นยังไง จาก Future Trends Ahead Summit 2025 ส่วนตัวเองผู้เขียนก็มองว่าการที่จะเป็น Leader ในปัจจุบันหากมีครบทั้ง 4 องค์ประกอบ จะเป็นอะไรที่ Perfect มาก แต่หากยังไม่ครบทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ ก็ต้องทำในส่วนที่มีหรือเป็น Imperfect Leader ไปก่อน

ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ 

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง Twitter Instagram YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก Future Trends Ahead Summit 2025

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ ● ⋏ ● เป็น Marketing Content Creator & Data Research Insight ของการตลาดวันละตอน ٩(◕‿◕)۶ ทำงานด้าน Merchandiser / Digital Marketing / Ads optimizer / Data Research Insight ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *