Branding to Win ส่อง 3 หลุมพลาง 2 ทางรอดในการทำแบรนด์ดิ้ง พร้อมเคล็ดลับปั้น Winning Brand ให้แตกต่างและชนะใจลูกค้า ที่สายแบรนด์ไม่ควรพลาด! พากันไปหาคำตอบในงาน MITCON2024 Conference ที่ Marketers และ Business People of the Future ทุกคนต้องมา ซึ่งผู้เขียนตัวแทนจากการตลาดวันละตอนได้รับโอกาสไปร่วมงานในครั้งนี้ และสรุปความรู้จาก Session ต่าง ๆ มาฝากคุณผู้อ่านค่ะ
ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาคุณผู้อ่านไปเก็บตกประเด็นกับ Session Branding to win: How to differentiate your brand & win customer’s hearts สร้างแบรนด์ให้ชนะในสมรภูมิรบของตัวเองและชนะใจลูกค้า โดย 2 ผู้รู้ตัวจริงในวงการแบรนด์ดิ้ง คุณโอ๋ โอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ และคุณแดน ศรมณี จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปดูกันเลย!
3 หลุมพลาง ในการทำ Branding
1. ไม่เข้าใจ Meaning คำว่า Brand
คนไม่เข้าใจคำว่า Branding คืออะไร และสับสนระหว่าง Branding VS Marketing แม้แต่คนภายในองค์กรเองก็ตาม ซึ่งถ้าเรายัง Definition สิ่งเหล่านี้ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกมันจะทำให้เราหลงทางตั้งแต่เริ่ม รวมถึงแบรนด์ดิ้งไม่ได้มีแค่งาน โลโก้ หรือ Visual อื่นๆ แต่มีองค์ประกอบมากกว่านั้น
โดยคุณแดนได้ให้คำจำกัดความว่า Brand คือ ตัวตน ดังนั้น Branding (Brand + ing) ก็คือ Action ของแบรนด์ หรือเราจะ Express ตัวตนออกมาอย่างไร ซึ่งถ้าตัวตนของเรายังไม่ชัดเจน การจะสะท้อนตัวตนผ่านการกระทำต่างๆ คงเป็นเรื่องที่ยากและไม่เป็นที่จดจำ เพราะฉะนั้นก่อนจะทำแบรนด์ดิ้งให้ถามตัวเองก่อนว่า เรามีแบรนด์หรือยัง หรือ มีแค่ Product เพราะบาง Product ก็ไม่ต้องทำแบรนด์ดิ้งก็สามารถอยู่รอดในตลาดได้
2. วิ่งหา The MAN ไม่เจอ
คุณโอ๋ ขยายความ The MAN ว่าเป็นคนที่มี Money Authority Need หรือเป็นคนที่มีเงิน มีอำนาจในการบริหาร กำหนดทิศทาง ตัดสินใจ และมีความต้องการ (ในการทำแบรนด์ดิ้ง) ซึ่งสาเหตุที่เราจะต้องวิ่งหา The MAN ให้เจอ เพราะเขาจะทำให้การทำแบรนด์ดิ้ง Flow และ Success
3. ทิ้ง Business Model ให้ไม่ Clear
จากประสบการณ์ของคุณโอ๋ พบว่า คนส่วนใหญ่มองแบรนด์เป็นเรื่องไอเดียมากเกินไป แต่จริงๆ แล้วแบรนด์ดิ้งที่ดีต้องเริ่มจากการมี Business Model หรือ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ชัดเจนก่อน ดังนั้นอย่าเพิ่งไป Celebrate หรือ Debate ไอเดีย จนกว่าเราจะมี Business Model ที่แข็งแรง
2 ทางรอด ในการทำ Branding
1. อย่ารีบ อย่าวู่วาม
คุณแดนและคุณโอ๋เห็นพ้องเกี่ยวกับทางรอดแรกนี้ โดยคุณแดน กล่าวว่า อย่ารีบขยายหรือแตกแบรนด์ เพียงคิดว่าลูกค้าจะต้องหลงมาซื้อสักแบรนด์ แต่ควรทำแบรนด์นึงๆ ให้ชัดเจนและปังก่อน เพราะถ้าแบรนด์แม่ยังไม่แข็งแรงและถ้าเกิดล้มขึ้นมา มันจะพากันล้มทั้งเครือ
นอกจากนี้คุณแดนได้เปรียบเทียบการทำแบรนด์ดิ้งเหมือนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ให้กับต้นไม้ที่ชื่อว่าแบรนด์ เพื่อให้ต้นไม้ต้นนี้ออกผลผลิตที่ยังคงสามารถรักษาคุณภาพของมันได้อยู่
ในขณะที่นักสร้างแบรนด์เหมือนพระสงฆ์ พระสงฆ์ทุกองค์เรียนหลักธรรมเหมือนกัน และตั้งใจให้เกิด Result คือ อยากสอนให้คนเป็นคนดีเหมือนกัน แต่พระสงฆ์แต่ละองค์จะมีจริตการสอนแตกต่างกัน ก็ขึ้นอยู่กับสาวกเป็นคนเลือกเองว่าจะชอบใคร ซึ่งเปรียบได้ว่า นักสร้างแบรนด์มี Theory และตั้งใจให้เกิด Result แบบเดียวกัน แต่สไตล์การทำไม่เหมือนกัน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของแบรนด์จะเลือกทำงานกับใคร
และ Brand Success ต้องมองกันใน Long Term รวมถึงไม่ใช่แค่เรื่องของยอดขาย เพราะถ้าอยากได้ยอดขายเร็วๆ มันคือ การทำ Promotion ไม่ใช่การทำแบรนด์ดิ้ง นอกจากนี้การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อ หรือ รัก ไม่รักแบรนด์ใดๆ จะขึ้นอยู่กับ Emotional ดังนั้นนักสร้างแบรนด์จะต้องเป็นคนที่คอย Balance Need ด้าน Functional และ Emotional เข้าไปใน Product ด้วย
ในขณะเดียวกันคุณโอ๋ กล่าวว่า แบรนด์ดิ้งเป็นศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมและมานุษยวิทยา เราต้องเข้าใจก่อนว่าเราทําแบรนด์ไปเพื่ออะไร เพื่อใคร แล้วมันต้องโจทย์การทําธุรกิจอย่างไร เพราะนักสร้างแบรนด์เองนั้นทำหน้าที่แทบจะเป็นแม่คนหนึ่ง ทำทั้งทําคลอด (Launch แบรนด์) คุมกําเนิด (มีลูกเมื่อพร้อม ชะลอการเกิดแบรนด์ใหม่) ดูแลลูก ๆ (จัดแบรนด์ Portfolio) และพาลูกไปทําศัลยกรรม (Rebrand) ซึ่ง Execution เหล่านี้จะทำได้อย่างเหมาะที่เหมาะเวลาได้นั้น เราก็ต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนด้วย
โดยกลยุทธ์ด้านลูกค้าคุณโอ๋ มองว่า Brand Transaction หรือ Customer Journey กระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเคยเป็นแบบ Linear เชิงเส้นตรงธรรมดา
แต่ทุกวันนี้มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แบรนด์จึงต้องเข้าใจ Consumer Developing Motivation ต้องหา Motivation ของลูกค้าในแต่ละ Life Stage ให้เจอ
และต้องเข้าใจว่าแบรนด์เรา Interact กับ Need state ของลูกค้าแบบไหน ด้วย
รวมถึงเวลาทําแบรนด์ดิ้งอย่านำข้อมูลทุกอย่างมาเป็น Solution เราต้องทำให้กลมกล่อมและสมดุล โดยสมดุลมาจากการ “คิด พูด ให้ ทํา” ที่ลงตัว
เมื่อ Business Strategy ของเราชัดเจนแล้ว เราจึงค่อยทำ Brand Strategy สุดท้ายการทําแบรนด์ เราต้องไม่วู่วาม มีความรอบคอบในการจัดเรียง Structure ความคิด ทำ Alignment ให้ถูกต้อง และสำคัญที่สุดคือต้องหา The MAN ให้เจอ
เพราะการทำแบรนด์ดิ้ง คือ การ Built หรือ Make People Feel ไปกับเรา เมื่อเราทำแบรนด์ดิ้งได้ถูกต้องก็เปรียบเสมือนการมี Passive Income หรือก็คือ แบรนด์จะสามารถดูแลตัวมันเองได้
2. Rebrand แบบมีที่มาที่ไป ไม่ใช่อยากทำก็ทำ
อีกทางรอดนึงที่คุณแดนพูดถึงคือการ Rebrand ถ้าวันใดวันหนึ่งอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแบรนด์เลย มันต้องมีเหตุผลว่าทําไมมันถึงต้องทำเช่นนั้น ไม่ใช่นึกจะเปลี่ยนจึงเปลี่ยน
เคล็ดลับการเป็น Winning Brand
1. ตั้งคำถามที่ถูกต้อง
นักสร้างแบรนด์เราเริ่มต้นจาก How we see the question เราต้องเห็นคําถามก่อนเห็นคําตอบ เพราะ Right Question ทำให้ได้ Right Answer ถ้าเราเห็นคําถามที่ถูกต้อง เราจะได้ทางออกไปแล้วครึ่งนึง
2. ฟังให้เยอะ
เวลาเราจะเอาชนะใจใคร เราต้องฟังก่อน แบรนด์ดิ้งที่ดีจึงต้องฟังให้เยอะ โดยเฉพาะฟังเสียงจาก Stakeholders ของแบรนด์
3. อย่า Invest กับเทคโนโลยีมากเกินไป
การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป สิ่งที่จะหายไป คือ สัญชาตญาณของนักการตลาด (Sense of Marketer) เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของเทคโนโลยี ดังนั้นในปัจจุบันเราควรใช้เทคโนโลยีเป็น Tool หา Clue เพื่อเจอกับลูกค้า แต่หลังจากนั้นเราก็ยังคงต้องอาศัย Sense of Marketer + Humanization ศาสตร์ของควมเข้าใจมนุษย์ + Storytelling ขายของให้เขาอยู่ดี
สรุป
3 หลุมพลางที่ทำให้แบรนด์ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การไม่เข้าใจความหมายของแบรนด์ หา The MAN ไม่เจอ และไม่มีกลยุทธ์ธุรกิจที่ชัดเจน ซึ่งเราจะเอาตัวรอดจาก 3 หลุมพลางนี้ได้ด้วย 2 ทางรอด ได้แก่ การไม่รีบร้อน และ Rebrand อย่างมีเหตุผล และสุดท้ายเคล็ดลับในการปั้นแบรนด์ให้ชนะ คือ การตั้งคำถามที่ถูกต้อง ฟังเสียงจากผู้เกี่ยวข้องให้เยอะ และใช้เทคโนโลยีอย่างสมดุล
สำหรับใครที่สนใจอ่านบทความอื่นๆ หรือ ต้องการอัปเดตความรู้การตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ช่องทาง Website , Facebook , Instagram , Twitter , YouTube และ TikTok ของการตลาดวันละตอนตามนี้ได้เลยค่ะ
บทความที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม