Data-Research-Insight-GSB-cove

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

ถ้าพูดถึงธนาคารเพื่อสังคม เชื่อว่าหนึ่งในธนาคารที่ทุกคนนึกถึงคงไม่พ้น ธนาคารออมสิน บทความนี้จะพาทุกคนมาดู Data Research Insight ธนาคารออมสิน กัน โดยเราจะใช้ Social Listening Tools กวาด Social Data โพสต์ที่มีคำว่า ‘ออมสิน’ อย่างเจาะจงกันค่ะ

แล้วเราจะมาค่อย ๆ เจาะรายละเอียดยิบย่อยของธนาคารออมสินกัน อยากให้ทุกคนอ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายเลยนะคะ แอบกระซิบว่าใครกำลังมองหาสินเชื่ออยู่ห้ามพลาดเลยนะคะ

และอย่างที่เกริ่นไปว่าเครื่องมือที่เราใช้กวาดข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ Social Data ธนาคารออมสิน คือ Social Listening : Mandala เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้เราได้เห็นเทรนด์ทั้งหมดมากขึ้น และสามารถเจาะการพูดถึงแบบลงลึก จากแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีลูกค้าของทุกธุรกิจรอให้เราใช้ประโยชน์อยู่ค่ะ 

ต้องยอมรับเลยนะคะ ว่าทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ใช้ช่องทางออนไลน์ Social Media ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในส่วนของลูกค้า ที่ใช้บ่นเรื่องสัพเพเหระ หรือ แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาทำแคมเปญ โปรโมท ทำให้ Social Media กลายเป็นแหล่งข้อมูลให้เราทำ Reseach แบบเข้ากับยุคสมัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีกค่ะ

ซึ่งการใช้ Social Listening Tools เพื่อหา Insight ในครั้งนี้ เราจะมีขั้นตอนอยู่ทั้งหมด 8 ขั้นตอนค่ะ โดยผู้เขียนจะขออธิบายขั้นตอนเป็นลำดับดังนี้ค่ะ

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

Research Keyword เป็นตัวหลักในการกวาดข้อมูลบนเครื่องมือ โดยใช้คำ Keywords คือ ออมสิน, GSB และ Government Savings Bank รวมทั้งคำที่คาดว่าจะมีความเกี่ยวข้องอย่าง แบงค์+ชมพู, แบงก์+ชมพู และแบง+ชมพู เป็นต้น จะเห็นว่าผู้เขียนมีการใช้ คำว่า Bank ในภาษไทยทั้ง แบงค์, แบงก์ และแบง เพื่อในกรณีที่คนสะกดหลายแบบ รวมทั้งการสะกดผิดนั่นเองค่ะ ซึ่งตรงนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความด้านล่างได้เลยค่ะ

หลังจากได้ Keywords เราจะได้ข้อมูลที่มีคำว่า ออมสิน, GSB และ Government Savings Bank รวมทั้งคำอื่นที่ระบุไปค่ะ โดย Collecting Data ดึงข้อมูลย้อนหลัง : 01/05/2024 – 15/08/2024 หรือประมาณ 3 เดือนครึ่ง มีข้อมูลประมาณ 54,645 Mentions บนช่องทาง Facebook Twitter Instagram Youtube และ TikTok ค่ะ 

จะเห็นว่าเราดึงข้อมูลย้อนหลังประมาณ 3 เดือนครึ่ง ข้อมูลที่เข้ามาจะมีถึง 54,645 Mentions ผู้เขียนมองว่า เนื่องจากการดึง keywords ที่หลากหลาย และคำว่า ออมสิน เองก็ใช้กันในหลายบริบทอีกด้วยค่ะ และนอกจากนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ค่ะ

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เวลาเราเลือกใช้ Keywords เพื่อดึงโพสต์ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในโปรเจค แต่คำว่า ออมสิน นั้นอาจมาจากโพสต์ความหมายอื่น หรือเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับที่เราต้องการได้ค่ะ

ตัวอย่างแคมเปญนี้ผู้เขียนต้องทำการ Clean ข้อมูล หรือลบโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออก การวิเคราะค์ Social Data จะได้มีความแม่นยำมากขึ้น เช่น ออมสิน ที่พูดถึงบุคคล

ซึ่งในการดึงข้อมูลเข้ามาเราอาจเจอทั้งโพสต์ที่เกี่ยวข้อง และบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เลยเกิดขั้นตอน Cleansing Data ดังกล่าว เพื่อ Clear สิ่งที่เราไม่ต้องการใช้วิเคราะห์ออกไป ยิ่ง Data สะอาดและมีคุณภาพ ก็ทำให้การวิเคราะห์ของเราตรงจุด และได้ Data ตรงตามที่เราต้องการมากขึ้นค่ะ

ถ้าเปรียบก็เหมือนเราเลือกคนที่จะมาแฟน
เราก็ต้องคัดคนที่ตรงตามคุณสมบัติเราต้องการที่สุดใช่ไหมค่ะ

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Clean Data อย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากที่สุดมาวิเคราะห์ Trend & Insight ได้ที่บทความนี้ค่ะ > https://everydaymarketing.co/trend-insight/top10-influencers-investment-money-2023-on-tiktok/

อย่างที่เห็นใน STEP 3 ในระหว่างที่ทำความสะอาดข้อมูล จะได้อ่าน Social Data ที่ไหลเข้ามาจาก Keyword จนทำให้สามารถเหลือเฉพาะโพสต์ที่เราต้องการ ต่อมาก็อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อหาว่าการพูดถึงธนาคารออมสินจริง ๆ

คัด insight ที่จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจ รวมทั้งนักการตลาดและบุคคลทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารออมสิน เพื่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อ ซึ่งจะมีข้อมูลแบบไหนบ้าง ผู้เขียนจะเล่าต่อจากนี้ ซึ่งตอนนี้โซเชียลจะมีข้อมูลดังกล่าวกระจัดกระจายอยู่มาก ไม่เป็นกลุ่มก้อน ทำให้เรายังใช้มาวิเคราะห์ insight อะไรไม่ได้ลึกนัก ณ ตอนนี้ค่ะ ต้องมาเริ่ม STEP ที่ 5 กันต่อค่ะ 

ซึ่งในการอ่านข้อมูล เรามักจะเริ่มจากฟีเจอร์พื้นฐานในหน้า Dashboard แรก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Top post เพื่อรู้ภาพรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมค่ะ

สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) – เพจ GSB เอง รวมไปทั้งเพจข่าวต่าง ๆ จะเน้นไปที่แพลตฟอร์ม Facebook ค่ะ รองลงมาคือ X (Twitter) เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน รวมทั้งมี KOL เข้ามาพูดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของออมสิน อย่างเช่น สลากออมสินนั่นเองค่ะ

การมีส่วนร่วม (Engagement + YouTube views) – บน Youtube จะเป็นการให้ความรู้ รวมทั้งโปรโมทผลิตภัณฑ์ของออมสิน รองลงมาจะเป็นแพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งจะมีเพจ GSB เอง รวมไปทั้งเพจข่าวต่าง ๆ และเพจดังที่มีการลงข่าวแล้วแนบการโปรโมทผลิตภัณฑ์เข้าไปท้ายแบนเนอร์ด้วยค่ะ

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

การมีส่วนร่วม (Engagement ignore view) – จากไทม์ไลน์จะเห็นว่าความนิยมจะค่อย ๆ ลดลงไป โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มียอด Engagement อันดับ 1 อย่าง Facebook โดยจากกราฟจะเห็นได้เลยว่าช่วงเดือนพฤษภาคมปีจะมียอดในช่วงนี้เยอะมาก และทยอยลดลงเรื่อย ๆ ในส่วนนี้ผู้เขียนมองว่า

ในเดือนพฤษภาคมจะมีการออฉลากที่มีเงินรางวัลสูงถึง 111 ล้านบาท ทำให้ช่วงนี้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้ทั้งใน Facebook และ X(Twitter) นั่นเองค่ะ

ต่อมาในเดือนมิถุนายนก็จะเป็นการโปรโมทของเพจข่าว รวมทั้งเพจดังที่มีผู้ติดตามเยอะ ทำให้มียังค่อนข้างเยอะใน Facebook แต่ใน X(Twitter) จะลดลงเพราะไม่ได้มีหัวข้อให้พูดคุยอย่างในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าเดือนถัดมาการพูดคุยลดลงอย่างชัดเจนแต่จะมีการโปรโมทใน Facebook อยู่บ้าง ในเรื่องการเปิดตัวบัตรออมสินอุ่นใจค่ะ

ส่วนในเดือนสิงหาคมจะมีข้อมูลเพียงแค่ 15 วันเท่านั้น จึงไม่ได้มีข้อมูลมากหนัก รวมทั้งยังเป็นข้อมูลก่อนการออกสลากในวันที่ 16 จึงทำให้ไม่ได้มีการพูดคุยและข่าวสารมากนั่นเองค่ะ

จากภาพรวมจะเห็นว่า Content ในแพลตฟอร์ม TikTok ยังค่อนข้างน้อยอยู่ ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่น่าทำการตลาดเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าที่อยู่ใน TikTok หรืออาจมีการทำ Challenge ในช่วงวันพิเศษ เช่น วันออกฉลาก เพื่อสร้างกระแสการพูดถึงในแพลตฟอร์มค่ะ หรือ แม้แต่ Content Creator ที่ลงมาทำความรู้ในเรื่องของสินเชื่อและการลงทุนในแพลตฟอร์มนี้เหมือนใน Youtube แต่เน้นสั้น กระชับ ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจค่ะ

เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ทำให้เห็นว่าภาพรวมของ Social Data ทั้งหมดกำลังพูดถึงออมสินแบบไหนกันบ้าง ผลิตภัณฑ์ใดได้รับการพูดถึง แฮชแท็กไหนได้รับความนิยม ก็มี pop-up ขึ้นมาบ้างแล้วค่ะ

เรามาค่อย ๆ เจาะดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น

  • Facebook: อีจัน โพสต์ข่าว และโปรโมทสลากออมสินพิเศษ 1 ปี
  • Instagramnanon_korapat นักแสดงนนนโปรโมทสลากออมสินพิเศษ 1 ปี
  • Twitter@Kafakk KOL บนทวิตเตอร์ซื้อสลากออมสิน
  • TikTokmonai_y ผู้ใช้ TikTok มาบอกว่าออมสินออกสินเชื่อเปิดเทอม
  • YouTubeThan Money Trick แนะนำบัตรเดบิตออมสินอุ่นใจ

ต่อมาเป็นการจับกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เห็นตัวเลขสัดส่วนชัดเจนค่ะ ซึ่งโจทย์ที่เราจะนำมาตั้งเป็นกลุ่มนั้นควรจะตั้งมาจาก Social Data ที่มี ซึ่งเราก็จะได้อ่านข้อมูลจำนวนมากอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการ Clean Data พอจะทำให้ทราบว่ามีข้อมูลไหนบ้าง แล้วจะสามารถจับกลุ่มได้อย่างไร

อีกทางคือโจทย์จากสิ่งที่เราต้องรู้ สิ่งที่จะมีประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และใช้ฟีเจอร์ Tag บนเครื่องมือ Social Listening เพื่อรวมข้อมูลให้เป็นกลุ่มก้อนค่ะ 

ตัวอย่างเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดแท็ก ลองดู ที่นี่ ค่ะ หรือจะมาอัปเดตเทคนิคกับเครื่องมือเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ในคลาสออนไลน์ของเราก็ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายบทความค่ะ 

ทำข้อมูลที่มีมหาศาลให้อ่านง่ายขึ้น วิธีนี้สำคัญไม่แพ้กันเพราะสิ่งที่คุณทำมาทั้ง 5 ขั้นตอนจะแทบไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่สามารถนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจได้ บางคนอาจถนัดทำใน PPT,​ Power Bi, Data Studio หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำข้อมูลไปลองทำต่อได้เลยค่ะ

ผลิตภัณฑ์ของออมสินที่ถุฏพูดถึงมากที่สุดก็คือ ฉลากออมสิน หรือ สลากออมสิน 49% บริบทส่วนมากจะเป็นการพูดถึงเงินรางวัล รวมทั้งการแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสลากค่ะ

ตามมาด้วยสินเชื่อ 29% เงินฝาก 16% ทั้ง 2 ส่วนจะเป็นการแนะนำเงินฝาก สินเชื่อต่าง ๆ ค่ะ และสุดท้ายบริการอื่น ๆ อีก 6% จะเป็นส่วนของบริการเสริม เช่น GSB Now ค่ะ ซึ่งเราจะขอพาไปดูในแต่ละผลิตภัณฑ์ในส่วนต่อไปกันเลยค่ะ ขอเริ่มจากสลากออมสินที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดอันดับ 1 โดยเราจะในส่วนของมุมมอง 5 อันดับแรกที่คนมีต่อสลากออมสินกันค่ะ

อันดับแรกก็คือ การพูดถึงการลุ้นรางวัล 62% เป็นการพูดว่าสลากออมสิน ซื้อแล้วจะได้ลุ้นรางวัลด้วย หรือ ทำนองว่าขอให้ถูกรางวัลรอบนี้ รวมถึงการแชร์ว่าตัวเองถูกรางวัลค่ะ

ต่อมาเป็นเรื่องของการลงทุน 25% โดยคนมองว่าสลากออมสินเป็นการลงทุนที่ดี ถึงผลตอบแทนไม่มาก แต่ลงทุนง่ายเหมาะสำหรับคนเริ่มต้น รวมทั้งความเสี่ยงไม่มาก รองมาเป็นเรื่องของการกระจายรางวัล 5% ควรกระจายรางวัลมากกว่านี้ ใช้เป็นหลักค้ำ 3% และความคุ้มค่า 2% ค่ะ

ต่อมาในเรื่องของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายออมสินที่ถูกพูดถึงอย่าง หวยเกษียณ 65% จะถูกพูดถึงในเชิงเปรียบเทียบ เช่นความคุ้มค่า ความเหมือนหรือต่างกัน ต่อมาเป็นสลากธกส 25% และ สลากธอส 10% ซึ่งในส่วนของ ธกสและธอส จะถูกพูดคู่ขึ้นมากับสลากออมสิน เช่น สลากออมสิน สลากธกส แต่ในส่วนของธกสจะถูกพูดถึงมากกว่าค่ะ

รู้หรือไม่ คนเขียนคำว่า สลากออมสิน เป็น ฉลากออมสิน มากถึง 10%

และนี่ก็คือ Data Research Insight ธนาคารออมสิน ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ฮิตมากที่สุดอย่าง สลากออมสินค่ะ ในส่วนต่อไปจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการพูดถึงรองลงมาอย่าง สินเชื่อค่ะ

#2 สินเชื่อ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับ 2

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

โดยจากข้อมูลจะพบว่า สินเชื่อ นั้นมีสินเชื่อที่ถูกพูดถึงประมาณนี้ค่ะ อันดับ 1 คือ สินเชื่อบุคคล 54% ซึ่งส่วนมากจะเป็นการแนะนำสินค้า รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นเรื่องสินเชื่อ รองมาเป็นสินเชื่อบ้าน 33% ส่วนมากเป็นการแนะนำสินเชื่อ และสุดท้ายเป็น สินเชื่อธุรกิจ13% ซึ่งส่วนมากเป็นข่าวและแนะนำสินเชื่อค่ะ

ซึ่งสินเชื่อตัวแรกที่เราจะพูดถึงคือ สินเชื่อบุคคล โดยแบ่งเป็น สินเชื่อเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ 48% ซึ่งส่วนมากจะเป็นการแสดงความคิดเห็น สามารถแบ่งเป็น Negative 90% ในเชิงสินเชื่อผ่านยาก และ Positive 10% ในเรื่องของการสนใจ และบอกว่าผ่านตลอด รอบนี้ก็จะกู้อีกค่ะ

รองลงมาสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม 44% ก็มีทั้งการแนะนำสินเชื่อแและความสนใจจากผู้ใช้ค่ะ ต่อมาก็จะเป็นสินเชื่อ Go Green 6% และสินเชื่อสวัสดิการเพื่อพนักงานเอกชน 2% ค่ะ ซึ่งส่วนมากเป็นแนะนำและโปรโมทสินเชื่อค่ะ

ต่อมาจะเป็นในส่วนสินเชื่อบ้านจะแบ่งเป็น สินเชื่อเพื่อคนไทย 61% สินเชื่อบ้านแลกเงิน 27% สินเชื่อมีที่มีเงิน 6% และสินเชื่อบ้านเติมตังค์ 6% ซึ่งส่วนมากจะเป็นการแนะนำสินเชื่อค่ะ

ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจที่พบจะมี 3 สินเชื่อ คือ IGNITE Thailadn 54% ซึ่งส่วนมากจะเป็นการพูดถึงข่าวการอนุมัติสินเชื่อของครม. และการแนะนำสินเชื่อค่ะ ต่อมาเป็น Green Biz 36% และ Boots Up Plus 10% ค่ะ

#3 เงินฝาก ผลิตภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับ 3

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

ต่อมาในส่วนเงินฝากที่พบจะเป็นเงินฝากเผื่อเรียกพิเศทั้งหมด โดยจะเจอเป็นเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 11 เดือนเยอะสุดอยู่ที่ 56% ต่อมาเป็นเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 10 ปี 27% และ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 4 เดือน 17% ซึ่งส่วนมากจะเป็นการแนะนำสินค้า รวมทั้งโปรโมทสินค้านี้ค่ะ

#4 บริการอื่น หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ที่ถูกพูดถึง

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

ในส่วนของผลิตภัณฑ์อื่นนั้นจะเป็น บัตรเดบิตออมสิน อุ่นใจ 65% เป็นข่าวการเปิดตัวและการตอบคำถามที่คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นค่ะ และรองมาเป็น GSB Now 19% จะเป็นการแนะนำบริการแจ้งเตือนค่ะ ต่อมา Mymo Secure Plus 15% จะเป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง และประกันโรคร้ายแรง 1% ค่ะ

#5 โครงการ CSR ของธนาคารเพื่อสังคม

ในส่วนของโครงการ CSR นั้นจะมี 3 อย่างที่ขึ้นมา คือ เปิดวาร์ปธุรกิจ 60% เป็นการสนับสนุนการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยการนำธุรกิจมาออกในรายการนี้ค่ะ ลิบงสุขใจ ออมสินพัฒนา 24% เป็นการต่อยอดพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม และสุดท้าย ปันสุข ปันน้ำใจ ให้สังคม 16% เป็นการทำ CSR ในจังหวัดนครราชสีมาค่ะ

Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม

ทั้งหมดนี้หวังว่าทุกคนที่ได้อ่าน Data Research Insight ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม หวังว่าทุกท่านจะได้คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่วิเคราะห์จากดาต้านี้จะนำไปต่อยอดเป็นได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจกันไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เต็มอิ่มสำหรับตัวอย่างการใช้เครื่องมือ Social Listening และใช้ 8 ขั้นตอนแบบย่อเพื่อคลอด Insight เผยแพร่ฟรีในบทความนี้นะคะ ^^

ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator
Prompt : A heartwarming depicting social banking and community support. In the foreground, two figures are shaking hands, one wearing a pink polo shirt with the Government Savings Bank logo, representing a bank employee, and the other dressed as a traditional Thai farmer in simple clothing and a straw hat. The background shows a rural Thai landscape with rice fields and a small village, symbolizing hope and prosperity. The composition should convey a sense of partnership, trust, and mutual support between the bank and rural communities. The overall style should be realistic yet slightly stylized, with a focus on the emotional connection between the two main figures

*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ

─── ⋆⋅☆⋅⋆ ──

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง
รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28

นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง

จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก

ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา

เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%

และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี

ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂

ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram และ YouTube ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ ヽ(•‿•)ノ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่

มิวมิ้น เรียก มิ้น ก็ได้ ● ⋏ ● เป็น Marketing Content Creator & Data Research Insight ของการตลาดวันละตอน ٩(◕‿◕)۶ ทำงานด้าน Merchandiser / Digital Marketing / Ads optimizer / Data Research Insight ตั้งใจสรรสร้างทุกบทความ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ และ ชอบนะคะ ʕっ•ᴥ•ʔっ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *