กลยุทธ์การตลาด Zen Group 2025

ส่อง 6 กลยุทธ์การตลาด Zen Group 2025 จากร้านอาหารสู่แบรนด์ที่อยู่ในใจผู้บริโภคในทุกวัน

ในยุคที่แบรนด์อาหารไม่ได้แข่งกันแค่ความอร่อยแต่ต้องอยู่ในใจผู้บริโภคทุกวัน Zen Group ก็ออกมาชิงพื้นที่ความทรงจำด้วยแนวคิด Everyday Zen ที่อยากให้ผู้บริโภคคิดถึงแบรนด์ในเครือเซ็นทุกมื้อ ทุกอารมณ์ ทุกไลฟ์สไตล์ ปีนี้ Zen Group ปล่อยกลยุทธ์เด็ดออกมาทั้งการรีแบรนด์ ขยายแฟรนไชส์ บุกต่างประเทศ ไปจนถึงการเข้าตลาดสินค้าปลีกแบบครบสูตร พามาดูกันดีกว่าว่า 6 กลยุทธ์การตลาด Zen Group มีอะไรบ้างที่จะทำในปี 2025

กลยุทธ์หลักของปีนี้คือการวางคาแรกเตอร์ให้ Zen Group = อาหารดี ที่คิดถึงได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นมื้อเร่งรีบ มื้อพิเศษ หรือมื้อ hang-out กับเพื่อน ก็ต้องมีร้านในเครือ Zen Group อยู่ในหัวเสมอครับ เหมือนการสร้าง Brand Recall ให้เกิดกับ Segment ของผู้บริโภค โดยอิงจากความหลากหลายของแบรนด์ในมือ ไม่ว่าจะญี่ปุ่น สตรีทฟู้ด หรือโอมากาเสะครับ ซึ่งบอกเลยว่าตจอยบโจทย์ได้หลายสไตล์เลยทีเดียว

แนวคิดนี้คือการเลื่อนตำแหน่งแบรนด์จากแค่ตัวเลือก ไปเป็นความคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ซึ่งน่าสนใจตรงที่ Zen Group ไม่ได้โฟกัสแค่การครองตลาด Special meal หรือมื้อพิเศษ เหมือนที่หลายแบรนด์ร้านอาหารทำกัน แต่กลับตีโจทย์ให้ครอบคลุมทุกโมเมนต์ของผู้บริโภคแทน นี่คือการวางตัวเองให้กลายเป็น Default ที่ลูกค้าคิดถึงทุกครั้งที่หิวครับ

ผมมองว่านี่คือกลยุทธ์สร้าง Top-of-Mind แบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ยั่งยืน เพราะการเป็นที่รักของคนกินไม่ได้ต้องดังกว่าเสมอไป แต่ต้องใกล้กว่า เข้าใจมากกว่า และพร้อมกว่า ซึ่ง Zen Group กำลังใช้ความหลากหลายของแบรนด์ในเครือมาเป็น Asset สำคัญในการทำให้ Everyday Zen เป็นจริงครับ

Zen Group ปีนี้ไม่ได้เล่นแค่ Zen หรือ AKA แต่ดันหมดทั้ง 10 แบรนด์ โดยโฟกัสแบรนด์หลักอย่าง

  • Zen – ญี่ปุ่นพรีเมียม เน้นปลาดิบดี ๆ ถูกปากคนไทย
  • AKA – ปิ้งย่างสายเด็ก มหาลัย-วัยทำงาน
  • On the Table – Japanese Cafe ที่คนชอบเม้ากับเพื่อนต้องแวะ
  • เขียง – สตรีทฟู้ดเร็วทันใจ
  • ตำมั่ว – ตำแซ่บ จัดจ้าน
  • ลาวญวน – ผสมผสาน 3 ชาติ รักสุขภาพต้องมาลอง
  • Sushi Cyu – Hi-end omakase สำหรับคนที่เสพประสบการณ์
กลยุทธ์การตลาด  Zen Group 2025

ซึ่งแต่ละแบรนด์ชัดเจนเรื่อง Positioning ซึ่งทำให้แผน go-to-market ของปีนี้เฉียบคมมากครับ แทนที่จะเน้นทุ่มทุนปั้นแบรนด์เดียวให้ดังที่สุด Zen กลับเลือกเล่นครบทุกตัวละครในจักรวาล แล้วกระจายไปตาม Target Market อย่างแม่นยำ กลยุทธ์นี้คล้ายกับการสร้าง Brand Portfolio ที่ตอบโจทย์ทุกสไตล์ของการกิน และเป็นวิธีลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากเกินไปครับ

ที่ผมชอบคือการจัดวาง Positioning ให้แต่ละแบรนด์ชัดมาก เช่น Sushi Cyu ขึ้น Hi-end, เขียงเกาะตลาด speed & budget, On the Table ทำ Emotional connect กับสาย Hangout ทุกอย่างชัดเจน ไม่มีใครทับซ้อนกัน ทำให้ไม่เกิด Product Cannibalize ครับ เพราะแต่ละแบรนด์ล้วนแต่มีคุณค่าเฉพาะตัว

ปีนี้ Zen Group เริ่มขยายแฟรนไชส์จริงจังครับ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเปิดตัว “เขียง” ไปแล้วหลายสาขาในต่างประเทศ เช่น ลาว, ญี่ปุ่น และกำลังจะเปิดเพิ่มในฟิลิปปินส์อีกครับ น่าสนใจว่าโมเดลแฟรนไชส์ของเขียง จะไม่ใช่แค่การเน้น Delivery เหมือนเดิม แต่จะปรับให้มี dine-in มากขึ้น เพื่อให้ประสบการณ์ร้านใกล้เคียงต้นฉบับในไทยครับ

กลยุทธ์การตลาด Zen Group 2025

ผมมองว่า Zen วางกลยุทธ์ได้ดีที่เริ่มจาก เขียง เพราะแบรนด์นี้ทำหน้าที่เป็น Ambassador ได้ดี ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย รสชาติจัดจ้านแบบไทย ๆ ที่ต่างชาติก็อิน และมีต้นทุนการขยายต่ำ ถ้าแฟรนไชส์โตสำเร็จ จะทำให้ Zen เปลี่ยนบทบาทจากผู้ประกอบการในประเทศ ไปสู่ Regional food empire ได้ไม่ยากครับ

นี่คือเกมใหม่ที่ Zen Group เล่นนอกกรอบธุรกิจที่เป็นร้านอาหาร ด้วยการส่งน้ำปลาร้าสูตรเด็ดแบรนด์ตำมั่ว เข้าห้าง Makro และ Lotus คู่กับชุดผักส้มตำพร้อมปรุง มีทั้งแบบปลาร้าและแบบไทย

นี่เป็นกลยุทธ์ที่เชื่อมแบรนด์จากร้านอาหารมาสู่ตู้เย็นบ้านลูกค้าได้อย่างเนียน ๆ และเปิดโอกาสในการสร้าง Brand Experience จากที่บ้าน เป็นหนึ่งในก้าวสำคัญของ Zen ที่ผมมองว่าไม่ใช่แค่เพิ่มรายได้แต่คือการ สร้าง Touchpoint ใหม่ ๆ กับลูกค้า เพราะการขายชุดผัก-น้ำปลาร้าในห้าง คือการพาลูกค้าไปสัมผัสแบรนด์ในครัวของตัวเอง โดยไม่ต้องมาที่ร้านครับ

และการเลือกใช้แบรนด์ ตำมั่ว ก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะภาพจำชัด วัตถุดิบมีเอกลักษณ์ และสามารถขายคู่กับวัตถุดิบท้องตลาดได้เลย ไม่ต้องอธิบายเยอะ ผมมองว่าจุดนี้ถ้า Zen เองสามารถพัฒนาต่อให้ไปถึง E-commerce หรือสร้างสินค้าพร้อมทานเพิ่ม ก็มีโอกาสกลายเป็น Cultural Food Icon ได้ในระยะยาวครับ

แบรนด์อาหารบางเจ้าอยู่มาเกิน 30 ปี แล้วภาพจำอาจเริ่มเก่า Zen Group เลยเดินหน้าปรับภาพลักษณ์ให้ทันผู้บริโภครุ่นใหม่ ทั้งในแง่ดีไซน์ บรรยากาศ และแม้แต่พฤติกรรมการกิน ที่ไม่ใช่แค่แต่งร้านให้สวยขึ้น แต่คือการสื่อสารใหม่ให้ Relatable กับคนรุ่นใหม่มากขึ้นครับ

หลายแบรนด์พังเพราะลูกค้ารู้สึกว่า Out ก่อนคุณภาพอาหารจะตกเสียอีก ซึ่งทาง Zen มองเกมนี้ทัน และไม่กลัวการรื้อแล้วสร้างใหม่เพื่อให้ทันกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า สิ่งที่ Zen กำลังทำคือการขยับจาก Brand ที่มี Legacy ให้กลายเป็น Modern Living Brand ซึ่งถือเป็นการวางโครงสร้างระยะยาวที่น่าจับตา เพราะเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนทุกปี แบรนด์ที่ไม่เคลื่อนไหว คือแบรนด์ที่กำลังหายไปครับ

Zen Group ไม่ลืมด้าน ESG โดยจัดแคมเปญใหญ่ “ZEN ปันอิ่ม ปันสุข” ทุกไตรมาส แจกอาหารให้กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ประสบภัย เป็นการใช้อาหาร เป็นสื่อกลางแทนความห่วงใย และสร้าง Emotional connection กับสังคม ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ในระยะยาว

การใส่ใจ ESG ไม่ใช่แค่ทำเพื่อภาพลักษณ์อีกต่อไป แต่มันคือการสร้างแบรนด์ที่มีความหมายในระยะยาว การจัดกิจกรรม ZEN ปันอิ่ม ปันสุข ทำให้แบรนด์มีมิติมากกว่าธุรกิจ คือมีบทบาทในสังคม และเชื่อมโยงกับความรู้สึกของผู้บริโภคได้ลึกขึ้นครับ

โดยเฉพาะในยุคที่ลูกค้าคาดหวังว่าแบรนด์ต้องมีจุดยืน และมีบทบาทบางอย่างในสังคม ผมมองว่า Zen กำลังวางรากฐานให้แบรนด์เป็นมากกว่าเรื่องอาหาร ซึ่งจะสร้าง Brand ได้ในระยะยาวครับ

ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator: A heartwarming scene of volunteers from a restaurant brand handing out fresh, delicious meals to vulnerable groups such as children, elderly, and disaster victims. The setting is outdoors in a community area with warm lighting and smiles all around.
กลยุทธ์การตลาด  Zen Group 2025

Zen Group ปี 2025 กำลังขยับจากร้านอาหารธรรมดาไปสู่การเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจผู้บริโภคทุกวัน ผ่านแนวคิด Everyday Zen ที่ไม่ได้เน้นแค่ “มื้อพิเศษ” แต่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาของชีวิต พร้อมเสริมพลังด้วย Brand Portfolio ที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และขยายแฟรนไชส์สู่ต่างประเทศแบบมีชั้นเชิง ขณะเดียวกันก็ไม่หยุดแค่ธุรกิจร้านอาหาร แต่เดินหน้าสู่ตลาดรีเทลด้วยสินค้าอย่างน้ำปลาร้าตำมั่วที่พาความอร่อยไปถึงบ้านลูกค้า

เสริมด้วยการรีแบรนด์ให้ทันยุคและแคมเปญ ESG อย่าง “ZEN ปันอิ่ม ปันสุข” ที่สะท้อนจุดยืนของแบรนด์ในฐานะผู้เล่นที่มีหัวใจและความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งหมดนี้คือการวางหมากแบบรอบด้านที่ไม่เพียงทำให้ Zen เป็นที่จดจำในปัจจุบัน แต่กำลังสร้างแบรนด์ให้อยู่ในวัฒนธรรมการกินของคนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนครับ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

ชื่อเติ้ลครับ เป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^ มีงานอดิเรกเป็นผู้ช่วยนักวิจัยฝั่ง Consumer Insights ที่คณะวิทยาศาตร์การกีฬา ที่จุฬาครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *