การตลาดบาร์บีคิวพลาซ่า ผ่านมุมมอง Consumer Buying Process

ถ้าพูดถึงร้านอาหารบุฟเฟต์ ผมว่าบาร์บีคิวพลาซ่าถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์การกินบุฟเฟต์ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมในประทศไทย โดยเฉพาะบุฟเฟต์ปิ้งย่าง วันนี้เราจะมาวิเคราะห์ การตลาดบาร์บีคิวพลาซ่า “รีฟิลปิ้งอย่างไทย” ผ่านมุมมอง Consumer Buying Process กันครับ ว่าบาร์บีคิวพลาซ่าใช้กลยุทธ์อะไรบ้างในการดึงดูดความสนใจของลูกค้า

ล่าสุดบาร์บีคิวพลาซ่า เปิดตัวโปรโมชั่นใหม่ “รีฟิลปิ้งอย่างไทย” อิ่มไม่อั้นสไตล์หมูกระทะ 21 วันเต็ม ๆ   รอบมิตรรักเพื่อน GON ตั้งแต่วันที่ 4 – 24 พฤศจิกายน 2567 โดยมีให้บริการที่ บาร์บีคิวพลาซ่าทุกสาขาทั่วไทย เตรียมตัวเตรียมพุงให้พร้อมแล้วไปลุยกันครับ

การตลาดบาร์บีคิวพลาซ่า

คำว่า “ปิ้งอย่างไทย” : ตั้งใจดีไซน์ ตัว อ อ่างใน (อ)ย่างไทยเป็น Texture การปิดทอง เพื่อให้แตกต่างและอ่านได้สองอย่างคือ ปิ้ง-ย่าง และปิ้งอย่างไทย ตามชื่อแคมเปญ

การเลือกใช้โทนสีที่ฉูดฉาด:  เลือกใช้โทนสีที่ฉูดฉาด (Color Pop) เพื่อแสดงถึงความจัดจ้านที่เหมือนนางเอกของแคมเปญนี้ คือ “รสชาติน้ำจิ้มหมูกระทะ”

เพิ่มการรับรู้ : บาร์บีคิวพลาซ่าเหมารถพุ่มพวง ตะลอนไปหาแฟน ๆ ทั่วเมืองเชิญชวนไปกินรีฟิล เพราะรถพุ่มพวงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของการกินและความเป็นอยู่ของคนไทย ลูกค้าสามารถเลือกเมนูจาก วัตถุดิบสดใหม่ ที่จัดเตรียมไว้บนรถพุ่มพวง และมีการแจกใบติ๊กเมนู ที่เป็นใบเดียวกับที่ใช้ในร้าน

Consumer Buying Process คือ กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เป็น Steps ที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจในการซื้อสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่การรับรู้ถึงปัญหาหรือความต้องการ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดให้ตัวเอง จนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อและใช้สินค้า หรือบริการนั้น ๆ รวมไปถึงความประทับใจหลังจากการเลือกบริโภค

การที่บาร์บีคิวพลาซ่าเข้าใจถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ช่วยให้สามารถเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ออกโปรโมชั่นที่ตรงใจลูกค้า และที่สำคัญคือทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกที่จะกินบุฟเฟต์ที่บาร์บีคิวพลาซ่าได้สำเร็จนั่นเองครับ

1. การรับรู้ปัญหา (Recognition of need)

บาร์บีคิวพลาซ่าได้ “สำรวจพฤติกรรมและความต้องการ” ของลูกค้า พบว่าในช่วงที่ผ่านมา ลูกค้าต้องการความหลากหลายของอาหาร อิ่มอร่อยแบบไม่อั้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังต้องการความคุ้มค่าในการใช้จ่าย 

บาร์บีคิวพลาซ่าต้องการที่จะตอบสนองความต้องการเหล่านั้น จึงได้ออกโปรโมชั่น “รีฟิลปิ้งอย่างไทย”กินได้ไม่อั้นตลอด 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการกินบุฟเฟ่ต์หมูกะทะครับ

2. การค้นหาข้อมูล (Information Search)

เมื่อลูกค้าต้องการที่จะทานบุฟเฟ่ต์ ลูกค้าก็จะเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูล หาร้านอาหารที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาทางออนไลน์ สอบถามจากเพื่อน หรือการสังเกตร้านอาหารในพื้นที่ใกล้เคียง 

ดังนั้นบาร์บีคิวพลาซ่าจึงทำให้ลูกค้า “เข้าถึงข้อมูลและโปรโมชั่นได้ง่าย” โดยการเผยแพร่ข้อมูล และประชาสัมพันธ์ไว้ในทุกช่องทางทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์  ทำให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการรกินบุฟเฟ่ต์นั่นเองครับ

3. การประเมินทางเลือก (Evaluation of Alternatives)

ขอขอบคุณรูปภาพ จาก บาร์บีคิวพลาซ่า

หลังจากลูกค้าหาข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะเริ่ม “เปรียบเทียบ” ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความหลากหลายของเมนู คุณภาพของอาหาร ราคา และเวลาในการรับประทาน เพื่อตัดสินใจเลือกร้านที่ตรงกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด 

บาร์บีคิวพลาซ่าเพิ่มทางเลือกในด้านราคาให้กับลูกค้าโดยการออกโปรโมชั่น กินได้ไม่อั้น โดยโปรโมชั่นจะมีตั้งแต่ราคา 399, 499, 529 และ 599 ตามลำดับ โดยลูกค้าสามารถเลือกโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์ตัวเอง และความต้องการในครั้งนั้น 

4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision)

จากการเปรีบเทียบและพิจารณาในปัจจัยต่างๆ แล้ว ลูกค้า ”ตัดสินใจ” เลือก ทานบุฟเฟต์ที่บาร์บีคิวพลาซ่า เพราะว่า

# ราคาคุ้มค่า และ ได้ทานอาหารที่หลากหลาย 

โดยไม่ต้องกังวลเรื่องราคาต่อจาน  บุฟเฟต์มีทั้งเนื้อสัตว์ อาหารทะเล สลัด ขนมหวาน ซึ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการลองหลายๆ อย่างได้เป็นอย่างดี

# บุฟเฟต์บาบีก้อนที่นาน ๆ มีที (Scarcity Effect)

ขอขอบคุณรูปภาพ จาก  Bar B Q Plaza

เมื่อเราวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดบุฟเฟ่ต์ที่นาน ๆ มีที เราอาจตีความได้ว่าเป็นเพราะการแข่งขันที่สูงในตลาดบุฟเฟ่ต์ ต้องใช้ต้นทุนการดำเนินการสูง หรือ ความต้องการของผู้บริโภคไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ล้วนน่าเชื่อถือ และ make sense มาก ๆ ครับ

แต่ถ้าหากมองอีกมุมนึง บาร์บีคิวพลาซ่าใช้การทำบุฟเฟต์ที่นาน ๆ มีที เช่น เดือนละครั้ง หรือเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ ผู้บริโภคจะเกิดความรู้สึกว่ามันหายากและมีความพิเศษ (Scarcity Effect) ทำให้อยากไปรับประทานมากขึ้น เมื่อเทียบกับการที่จัดบุฟเฟ่ต์ในทุก ๆ วัน  เพราะเราจะไปกินเมื่อไรก็ได้

 ดังนั้น พฤติกรรมของลูกค้าที่ตอบสนองต่อสิ่งที่ “นาน ๆ มีที” มักจะเป็นการรีบไปใช้บริการเมื่อรู้ว่าโอกาสนั้นมีจำกัด และ กลัวว่าจะพลาดโอกาสนั้นไปครับ

5. พฤติกรรมหลังการซื้อ (Post-Purchase Behavior)

หลังจากที่ลูกค้าได้ทานอาหารที่บาร์บีคิวพลาซ่าแล้ว ลูกค้าจะประเมินประสบการณ์ที่ได้รับหลักๆ 2 แบบ

# พึงพอใจ

หากลูกค้ารู้สึกว่าการทานบุฟเฟต์ที่ร้านบาบีก้อนนั้นคุ้มค่า มีคุณภาพอาหารที่ดีและการบริการที่ยอดเยี่ยม ลูกค้าอาจจะกลับมาใช้บริการซ้ำในอนาคต และแนะนำให้เพื่อนๆ หรือครอบครัวมาที่ร้าน

#ไม่พึงพอใจ

หากลูกค้ารู้สึกผิดหวังจากคุณภาพอาหารหรือการบริการ เช่น อาหารไม่สดใหม่ หรือ บรรยากาศไม่ดี ลูกค้าอาจจะไม่กลับมาใช้บริการอีกและอาจจะมีการแชร์ประสบการณ์ไม่ดีให้กับเพื่อนๆ หรืออโพสต์ใน Social Media อาจทำให้ความนิยมลดลงได้

สรุป

จากการวิเคราะห์ การตลาดบาร์บีคิวพลาซ่า ผ่านมุมมอง Consumer Buying Process จะเห็นได้ว่า บาร์บีคิวพลาซ่าได้มีการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี ด้วยการเปิดให้บริการบุฟเฟต์ที่ให้ลูกค้าได้ “กินได้ไม่อั้น” ซึ่งสามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี 

ส่งผลให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการของบาร์บีคิวพลาซ่าในครั้งต่อๆไป และพร้อมที่แนะนำให้เพื่อนๆ มาลองอีกด้วย ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อ่านบทความเพิ่มได้ที่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *