เพราะการเก็บ collect data ของลูกค้าคุณมาเพื่อใช้งานก็ว่าสำคัญแล้ว แต่การทำให้ทีมงานหรือองค์กรคุณพร้อมและมั่นใจว่าจะสามารถเอา Data ที่ได้มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้จริงนั้นสำคัญกว่า ไม่อย่างนั้นทุกคนก็คงหมดกำลังใจแย่ครับ
How to analyze data 2 วิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่มีให้เกิดคุณค่า
จากทั้งหมดที่เล่ามาบอกให้รู้ว่ามันเป็นการง่ายมากที่จะเก็บ Data มาวิเคราะห์ แต่มันก็เป็นง่ายยิ่งกว่าเช่นกันที่ Data ที่เก็บมานั้นจะไม่สะเปะสะปะจนไม่สามารถเอามาใช้วิเคราะห์ได้จริง ทั้งวางข้อมูลผิดตำแหน่ง ทั้งข้อมูลไม่ถูกเก็บให้เป็นระเบียบ และสุดท้ายคือทำให้วิเคราะห์แล้วออกมางงๆ จนพาลให้คิดว่าวิเคราะห์ไปก็ไม่เห็นจะช่วยอะไรได้เลย
เพราะการทำ Data Analytics ให้ออกมาดีได้ก็ขึ้นอยู่กับ Data ที่ใส่เข้าไป ถ้าคุณมี Data ที่ดีและตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ คุณก็สามารถพบคำตอบที่ต้องการ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นยำในองค์กรเลยก็คือ รู้ก่อนว่าจะเก็บ Data ไปทำอะไร เป้าหมายวัตถุประสงค์หรือคำถามที่ต้องการรู้จาก Data คืออะไร จากนั้นก็ค่อยๆ หาทางเก็บ Data จากแหล่งต่างๆ มาประกอบกันเพื่อสามารถวิเคราะห์ให้ได้เป็นคำตอบของคำถามที่ต้องการ
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้การเอา Customer data มาวิเคราะห์นั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จอย่างที่ต้องการ ก็เพราะมีข้อมูลที่สับสนมากเกินไป ทั้งมาจากหลายช่องทาง รวมถึงความสามารถในการทำ Data ให้พร้อมใช้งานครับ
ดังนั้นถ้าคุณอยากเอาข้อมูลทั้งหมดของลูกค้ามารวมไว้ในที่เดียวเพื่อทำให้คุณเข้าใจลูกค้าแต่ละคนจริงๆ หรือที่เรียกว่า Single Customer View คุณอาจจะต้องลงทุนกับสิ่งที่เรียกว่า CDP หรือ Customer data platform นั่นเองครับ
และเมื่อพูดถึงการเอา Data ที่ว่านี้ไปพรีเซนท์ให้คนอื่นฟัง ก็ต้องระวังความยุ่งยากและยืดยาวของ Data ไว้ให้ดี เอาเป็นว่าอย่าเล่าเรื่อง Data ให้น่าเบื่อ ก่อนหน้านี้ผมเคยลงบทความเรื่อง “3 วิธีเล่า Data เรื่องยากให้ฟังง่าย” ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ แล้วคุณจะรู้ว่าการ Present Data นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะ Data จะมีค่าก็ต่อเมื่อคุณสามารถสื่อสารคุณค่าของ Data นั้นให้คนอื่นเข้าใจได้ครับ
1. Data mining การขุดเอาข้อมูลทั้งหมดขึ้นมาดู
คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงคำว่า Data mining มักจะคิดว่าต้องมี Data มากมายมหาศาลในระดับ Big Data ก่อนจึงจะสามารถทำ Data mining ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำ Data mining นั้นหมายถึงการเอาข้อมูลทั้งหมดมาดูว่ามันมี Insight ที่มีค่าซ่อนอยู่มั้ยต่างหากครับ
Data mining คือการช่วยให้คนที่มีข้อมูลซับซ้อนสามารถเอามาวิเคราะห์หา insight อย่างเร็วๆ และง่ายๆ ด้วยการใช้หลักวิชาสถิติ หรือใช้ AI หรือใช้ Machine learning วิธีการทำ Data mining นี้เป็นตัวเลือกที่เร็วและง่ายกว่าการค้นหาบางสิ่งบางอย่างใน Data นั้นด้วยตัวเอง แล้วยิ่งคุณมี Data ที่ซับซ้อนมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีโอกาสเห็น Insight ที่มีค่ามากเท่านั้น
2. Data visualization เปลี่ยน Data ให้กลายเป็นภาพ(หรือทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้)
การเปลี่ยน Data ที่ยุ่งยากซับซ้อนให้กลายเป็นสิ่งที่คนอื่นเข้าใจได้นั้นสำคัญมาก ดังนั้นคุณต้องแบ่งเวลาไว้สำหรับการเปลี่ยน Data ที่มีให้กลายเป็นกราฟ ชาร์ท หรือแม้แต่ Infographic ในรูปแบบต่างๆ ก็ตาม เพราะหัวใจสำคัญของเรื่อง Data visualization คือการเอาข้อมูลที่ซับซ้อนให้สามารถเห็นแล้วเข้าใจได้ในทันที หรืออย่างน้อยก็ต้องเข้าใจได้เร็วขึ้นกว่าการนั่งอ่าน Data เดิมๆ
ถ้าถามว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร ก็บอกได้เลยว่าถ้าเราสามารถทำให้ทุกคนในมีส่วนในงานนี้เข้าใจ Data นั้นได้อย่างง่ายดาย คุณก็จะได้รับมุมมองใหม่ๆ ที่บางครั้งคุณเองอาจคาดไม่ถึงว่าเราสามารถบิด Data ให้ออกมาในอีกรูปแบบได้ด้วย มากกว่าแค่มุมมองของ Data scientist เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ถ้าคุณกำลังติดปัญหาว่าจะเปลี่ยน Data set หรือชุดข้อมูลที่มีให้ออกมาเข้าใจง่ายได้อย่างไร ในวันนี้มีวิธีการและเครื่องมือมากมายที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ออกมาเข้าใจง่าย และเมื่อคุณทำสำเร็จคุณก็จะรู้ว่าคุณควรจะต้องทำอย่างไรกับลูกค้าแต่ละคนดีในที่สุดครับ
ทำ Customer Data Analytics แล้วทำอย่างไรต่อ…
เมื่อคุณตั้ง objective ก่อนทำ data analytics ได้ถูกว่าอะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้จาก data แล้วสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็นได้เพียงพอต่อการวิเคราะห์ และคุณสามารถทำ data นั้นให้คนอื่นเข้าใจได้ หรือที่เรียกว่า data visualization เท่ากับว่าคุณต้องเอาสิ่งที่ได้ไปใช้งานได้แล้วครับในตอนนี้
เพราะคุณจะทำอะไรกับผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ data analytics นั้นก็เป็นเรื่องของคุณกับทีมงาน บางครั้งคุณอาจพบว่าคุณไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ หรือบางครั้งคุณก็อาจพบว่าคุณต้องรีบลงมือทำบางอย่างเพราะเห็น insight บางอย่างจาก data แล้วในตอนนี้
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME หลังจากคุณทำ Data analytics แล้วอาจพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่คุณอยู่บน Twitter มากกว่า Facebook อย่างเห็นได้ชัด แต่ที่ผ่านมาคุณมัวแต่เอาเวลาไปเฝ้าฟูมฟัก Facebook เพราะคิดว่านั่นคือช่องทางหลักที่ทำให้คุณได้ลูกค้ามา ดังนั้นถ้าคุณไม่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าออกมา คุณก็จะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นั้นคุ้มค่าต่อการเสียเวลามั้ย หรือถ้าหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วทำให้พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของธุรกิจคุณอยู่บนเฟซบุ๊กจริง ก็เท่ากับว่าคุณกำลังเดินมาถูกทางแล้วครับ
แต่ถ้าคุณเป็นองค์กรใหญ่หรือต้องการจะจริงจังในเรื่องนี้ ถ้าคุณต้องการมี data ประกอบก่อนทุกการตัดสินใจที่สำคัญ ถ้าคุณต้องการความแม่นยำและรายละเอียดของรายงาน นั่นหมายถึงคุณต้องพร้อมลงทุนกับการมี UX/UI Designer มี Data Scientist และ Project Manager คนที่จะมาทำหน้าที่จริงนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่งานเสริมที่จะไปฝากใครที่มีงานประจำทำอยู่แล้วมาดูแล เพราะเขาคนนี้จะเป็นคนเข้ามากำหนดกรอบในการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าทั้งหมด เพื่อให้ตรงกับ Business objective และก็ช่วยในการตัดสินใจว่าถ้าเจอปัญหาอย่างนี้จะต้องทำอย่างไร หรือวางเป้าหมายในอนาคตของหน่วยงานนี้ครับ
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ทำ Customer Data Analytics แล้วประสบความสำเร็จ
ดังนั้นในรายการเดียวกัน ซีรีส์เดียวกัน หรือภาพยนต์เดียวกันก็อาจมีตัวอย่างให้ดูได้เป็นร้อยเป็นพันแบบ ขึ้นอยู่กับว่าที่ผ่านมาเราเคยป้อน Data ให้กับ Netflix ไปอย่างไร จากนั้นเขาก็จะเอาผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ Data ที่ได้มาป้อนกลับให้เราอยู่ในวังวนความชอบของตัวเราเองอีกครั้งครับ
Amazon เจ้าพ่อ E-Commerce ที่ไม่ได้มีดีแค่ถูก แต่รู้ว่าควรจะให้ราคาถูกแค่กับใคร และควรจะขายราคาแพงกับใครจาการทำ Customer Data Analytics
จากตัวเลขสมาชิก Amazin Prime ล่าสุดที่หาได้คือน่าจะมีจำนวนราวๆ 150 ล้านคนในวันนี้ครับ และยังมีลูกค้าอีกมากที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Amazon ที่พวกเขาก็เก็บ Data ไว้เพื่อเอามาวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาครับ
อย่างที่เรารู้กันดีว่า Amazon นั้นมีทำ Data Analytics ลูกค้าจาก Big Data จริงๆ จนออกมาเป็นระบบแนะนำสินค้าอันโด่งดังแบบที่ช่างรู้ใจเราเสียจริง เช่น ถ้าเมื่อไหร่ที่เรากดสั่งซื้อไม้กวาด อีกไม่นานมันก็จะแนะนำเครื่องดูดฝุ่นให้เรา เพราะไม้กวาดมันไม่สะดวกสบายเหมือนเครื่องดูดฝุ่นหรอก
แต่เบื้องหลังระบบนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่พูด เพราะมันต้องใช้ Data จำนวนมหาศาลผ่านการวิเคราะห์ที่แสนจะซับซ้อน เพราะถ้า Amazon ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำพอจนถึงจุดคุ้มทุน ธุรกิจก็คงจะเจ๊งหรือไม่ก็ต้องยกเลิกแล้วเจ้าระบบส่งสินค้าล่วงหน้านี้ไปในที่สุดครับ
สรุปส่งท้าย Data ที่มากกว่าก่อให้เกิดความได้เปรียบที่มากตาม
ด้วย Data ส่วนใหญ่ที่เรามีมักไม่มากพอที่จะทำให้เกิดความแตกต่างใดๆ และหลายแบรนด์ก็ประสบปัญหาในการเข้าถึง Data ที่ต้องการเหลือเกิน เพราะ Data ใครๆ ก็หวง ไม่มีใครให้ Data กันยืมเหมือนเงินหรอกครับ
แต่ในขณะเดียวกันผู้บริโภคในวันนี้ก็ยินดีมอบ Data ให้กับแบรนด์ ถ้าแบรด์สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะทำให้พวกเขาสะดวกสบายมากขึ้น หรือได้รับ Customer Experience ที่ดีขึ้นกว่าเดิมจริงๆ ครับ ดังนั้นคุณมีโอกาสมากมายที่จะเข้าถึง Customer Data ได้มากพอ ขึ้นอยู่กับว่าคุณสามารถทำให้ลูกค้าวางใจที่จะให้ Data มากกว่าเดิมได้มากน้อยเท่าไหร่ คุณมีความพร้อมทั้งเครื่องมือ ทรัพยากร และทีมงานสำหรับการทำ Customer Data Analytics แล้วหรือยัง บอกได้เลยว่าเรื่องนี้ใครทำสำเร็จก่อนจะเป็นการได้เปรียบอย่างยากที่คู่แข่งจะไล่ตามได้ทัน ดังนั้นผมเลยมีคำถามสำคัญคือคุณพร้อมที่ลุยเรื่อง Data จริงจังแล้วหรือยังครับ