ทุกวันนี้ นักการตลาด ครีเอเตอร์ หรือทีมคอนเทนต์ต้องสร้างสไลด์กันแทบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นสไลด์พรีเซนต์ สรุปแผน หรือรีพอร์ต แต่รู้ไหมว่างานที่ซ้ำซากเหล่านี้สามารถ ให้ AI + Automation ทำให้แทนได้ ด้วยเครื่องมือที่คุณมีอยู่แล้วใน Google Workspace วันนี้เราจะมาแชร์วิธี สร้างสไลด์อัตโนมัติ ใน Google Slides โดยใช้ข้อมูลจาก Google Drive ด้วยการใช้ ChatGPT ช่วยเขียน Google Apps Script ให้คุณแบบไม่ต้องแตะโค้ดเองเลย
ในยุคที่การนำเสนอข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ การสร้างสไลด์ที่มีคุณภาพและตรงประเด็นสามารถช่วยเสริมความเข้าใจและความน่าสนใจให้กับผู้ชมได้ อย่างไรก็ตามการสร้างสไลด์ด้วยตนเองอาจใช้เวลานานและซ้ำซาก โดยเฉพาะเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องนำเสนอ
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator Prompt : A person sitting at a desk working on a laptop. On the laptop screen, a Google Slides presentation is open, showing a slide with a full-screen image. The workspace is bright and modern, with tech and productivity elements. Flat illustration style, clean and minimal.
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำพรีเซนเทชันจากภาพจำนวนมาก เช่น ภาพถ่ายงาน, Moodboard, ภาพโปรดักชัน หรือสื่อคอนเทนต์ต่าง ๆ การลากภาพทีละไฟล์เข้า Google Slides อาจเป็นงานที่ทั้งน่าเบื่อและเสียเวลา โดยเฉพาะเมื่อจำนวนภาพมีมากเกิน 10–20 ไฟล์ขึ้นไป ส่วนตัวผู้เขียนเคยทำถึง 200 สไลด์ก็ใช้เวลานานเลยทีเดียว
วันนี้เรามีวิธีช่วยให้คุณไม่ต้องทำแบบนั้นอีกต่อไป ขอแนะนำทางลัดง่าย ๆ ด้วยการใช้ ChatGPT + Google Apps Scriptt ที่ช่วยดึงภาพจากโฟลเดอร์ใน Google Drive แล้วสร้างสไลด์ให้อัตโนมัติ แบบภาพเต็มจอในแต่ละหน้า และยังจัดเรียงตามชื่อไฟล์เพื่อให้ตรงตามลำดับที่เตรียมไว้
ขั้นที่ 1 ตั้งโจทย์ให้ GPT เขียนโค้ด
สิ่งที่ต้องบอก ChatGPT มีแค่นี้ “ช่วยเขียน Google Apps Script ที่ดึงรูปภาพทั้งหมดจากโฟลเดอร์ IDแล้วสร้าง Google Slides โดยไม่มีข้อความ มีแต่ภาพทีละภาพบนแต่ละสไลด์ ให้จัดเป็น 1 สไลด์ต่อ 1 ภาพแบบเต็มจอ” GPT ก็จะให้โค้ดมาแบบนี้
โค้ด Apps Script สำหรับสร้างสไลด์ภาพ
function createSlidesFromImages_FullSize() { const folderId = "1A2B3C4D5E6F7G8H9I"; // ← เปลี่ยนเป็น Folder ID ของคุณ const folder = DriveApp.getFolderById(folderId); const files = folder.getFiles(); const presentation = SlidesApp.create("สไลด์จากภาพ (เต็มจอ)"); while (files.hasNext()) { const file = files.next(); const mimeType = file.getMimeType(); if (mimeType === MimeType.JPEG || mimeType === MimeType.PNG) { const imgBlob = file.getBlob(); const slide = presentation.appendSlide(SlidesApp.PredefinedLayout.BLANK); const image = slide.insertImage(imgBlob); const pageWidth = presentation.getPageWidth(); const pageHeight = presentation.getPageHeight(); // ปรับให้ภาพพอดีกับสไลด์ image.setWidth(pageWidth); image.setHeight(pageHeight); image.setLeft(0); image.setTop(0); } } // ลบสไลด์หน้าแรก (ที่ระบบสร้างให้ตอนแรก) presentation.getSlides()[0].remove(); Logger.log("สไลด์พร้อมแล้ว: " + presentation.getUrl()); }
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมโฟลเดอร์ภาพใน Google Drive
ไปที่ Google Drive ของคุณ สร้างโฟลเดอร์ใหม่ เช่นชื่อว่า MySlideImages
อัปโหลดภาพ .jpg
หรือ .png
เข้าไป (จะกี่ภาพก็ได้) คลิกขวาที่โฟลเดอร์ > กด “Share” แล้ว “Copy link” > วางลิงค์แล้วจะเจอ Folder ID > คัดลอก Folder ID (ตัวอักษรยาว ๆ ท้ายลิงก์) หรือดูในช่อง URL ก็ได้
เช่น https://drive.google.com/drive/folders/1A2B3C4D5E6F7G8H9I ดังนั้น 1A2B3C4D5E6F7G8H9I นี่คือ Folder ID ที่เราต้องใช้
ตัวอย่าง Google Drive ที่อัพเข้าไป
ขั้นตอนที่ 3 วางโค้ดใน Google Apps Script
ไปที่ https://script.new เพื่อเปิด Google Apps Script
วางโค้ดด้านล่างนี้
แก้ folderId
ให้ตรงกับโฟลเดอร์ของคุณ
อย่าลืมตั้งชื่อ Drive แล้วกดบันทึก
ขั้นตอนที่ 4 รันสคริปต์เพื่อสร้างสไลด์
ในหน้าต่าง Apps Script ให้คลิกที่ไอคอน Run (รูปลูกศร)
ครั้งแรกระบบจะขอให้คุณอนุญาตสิทธิ์การเข้าถึงบัญชี Google ของคุณ ให้ทำตามขั้นตอนเพื่ออนุญาต
ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบผลลัพธ์
ไปที่เมนู View > Logs เพื่อดูลิงก์ของ Google Slides ที่สร้างเสร็จ
Copy ไปวาง แล้วเปิดดูและใช้งานได้ทันที
ซึ่งในการทำครั้งนี้มี 271 สไลด์ ใช้เวลาไป 9 นาที แต่พอเรามาเช็คไฟล์แล้วจะเห็นว่า ไฟล์ไม่ได้มีการเรียงลำดับ เลยอาจต้องมีการสั่ง GPT เพิ่มว่าให้เรียงลำดับ ตามเลขใน Google Drive ด้วย
ก็จะได้ Code ประมาณนี้
โค้ดใหม่ เรียงตามชื่อไฟล์ใน Google Drive
function createSlidesByExtractedNumberOrder() { const folderId = '1r2SvxCh0lXzObl-sKg8XUmNxAuxPAcYg'; // 🔁 เปลี่ยนเป็น Folder ID const slidesTitle = 'Slides Ordered by Number in Filename'; const folder = DriveApp.getFolderById(folderId); const files = folder.getFiles(); const imageFiles = []; while (files.hasNext()) { const file = files.next(); if (file.getMimeType().startsWith("image/")) { const name = file.getName(); const match = name.match(/\d+/); // ดึงตัวเลขจากชื่อ เช่น "10.png" ได้ 10 const number = match ? parseInt(match[0], 10) : 0; imageFiles.push({ name: name, number: number, file: file }); } } if (imageFiles.length === 0) { Logger.log('ไม่พบภาพในโฟลเดอร์'); return; } // 🔢 เรียงตามตัวเลขที่ดึงได้จากชื่อไฟล์ imageFiles.sort((a, b) => a.number - b.number); // สร้าง Presentation const presentation = SlidesApp.create(slidesTitle); const slideWidth = presentation.getPageWidth(); const slideHeight = presentation.getPageHeight(); presentation.getSlides()[0].remove(); imageFiles.forEach(item => { const slide = presentation.appendSlide(SlidesApp.PredefinedLayout.BLANK); const blob = item.file.getBlob(); const image = slide.insertImage(blob); const imgWidth = image.getWidth(); const imgHeight = image.getHeight(); const scale = Math.min(slideWidth / imgWidth, slideHeight / imgHeight); image.setWidth(imgWidth * scale); image.setHeight(imgHeight * scale); image.setLeft((slideWidth - image.getWidth()) / 2); image.setTop((slideHeight - image.getHeight()) / 2); }); Logger.log('✅ Slides สร้างเรียงตามเลขในชื่อไฟล์: ' + presentation.getUrl()); }
พอเราใส่ Code ใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว สไลด์ก็จะเรียงใหม่ตามลำดับใน Google Drive รอบนี้ก็จะเวลา 8 นาที ในการสร้างแบบนี้ จุดเด่นของสคริปต์นี้ คือไม่เพียงแค่ลดเวลาทำสไลด์ แต่ยังช่วยให้การจัดระเบียบภาพเป็นไปอย่างแม่นยำ เช่น หากตั้งชื่อไฟล์ตามลำดับเวลา หรือหัวข้อที่เตรียมไว้ เช่น 001.jpg
, 002.jpg
, … ไปจนถึง 010.jpg
แล้ว App Script ก็จะสร้างสไลด์ให้ตามลำดับเหล่านั้นโดยไม่ต้องจัดเอง นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งให้แสดงภาพเต็มหน้าจออย่างพอดีโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลากหรือปรับขนาดเองอีกด้วย
เราจะเห็นว่า หากมีอะไรเพิ่มเติม เราก็สามารถขอ Code ใหม่จาก GPT ได้ อย่างด้านบนจะเป็นการขยายภาพเเต็มหน้าจอ แต่ถ้าอยากให้ภาพ “พอดีโดยไม่บิดสัดส่วน”สามารถเปลี่ยนไปใช้ฟังก์ชันแบบคำนวณอัตราส่วน (maintain aspect ratio) ได้เช่นกัน โดยบอก GPT ว่า “ช่วยเขียนโค้ดให้ขนาดภาพพอดีจอโดยรักษาอัตราส่วนไว้” GPT ก็จะคำนวณให้อัตโนมัติเลย
บทความ สร้างสไลด์อัตโนมัติ Google Drive ไป Google Slides ด้วย ChatGPT + Apps Scriptนี้คุณจะได้เห็นว่า ChatGPT ไม่ได้แค่ช่วยคิดไอเดีย แต่สามารถ “เขียนโค้ดจริง” ที่ทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อทำงานกับ Google Workspace เพียงคุณรู้ว่า จะตั้งคำถามยังไง
ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการใช้ AI แบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วย หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลย
สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง Twitter Instagram YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลย ส่วนใครอยากอ่าน Data ครีมกันแดด สามารถอ่านเพิ่มเติม Data Research Insight เจาะลึกครีมกันแดด โดย Social Listening แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า