จาก Explore GPTs สู่การสร้าง My GPTs เปลี่ยนจากเครื่องมือธรรมดาเป็นผู้ช่วยให้งานเร็วขึ้น

ในยุคที่ทุกอย่างต้องการความเร็ว การทำงานด้านการตลาดก็ไม่ได้ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการคิดแคมเปญ การเขียนแผนโปรโมชั่น การสรุปข้อมูลลูกค้า หรือแม้แต่การวางระบบ CRM ทุกอย่างล้วนต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์บวกกับความแม่นยำไปพร้อมกัน และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้หลายคนหันมาใช้ AI หรือ สร้าง My GPTs เป็นผู้ช่วยส่วนตัวมากขึ้นครับ

ทำไม My GPTs หรือ Explore GPTs ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รวม GPTs เฉพาะทางที่คนในวงการต่าง ๆ สร้างไว้จึงจำเป็น เพราะปัญหาก็คือ AI ทั่วไปไม่ได้เข้าใจโจทย์เฉพาะทางเท่าไหร่นัก ถ้าเราพิมพ์ถามแบบกว้าง ๆ ก็มักจะได้คำตอบแบบทั่วไป นั่นจึงเป็นที่มาของฟีเจอร์นี้ใน ChatGPT เพื่อให้ AI ทำงานได้ลึกและแม่นยำมากกว่า GPT ปกติที่เราเคยใช้งาน หรือแม้แต่การสร้าง My GPTs ของเราเอง โดยเฉพาะสายการตลาด ยิ่งมี GPT ที่ “รู้จักภาษาของนักการตลาด” ได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

Explore GPTs คืออะไร? ทำไมคนทำงานควรรู้จัก

Explore GPTs คือพื้นที่ที่รวม GPT แบบเฉพาะทาง ซึ่งไม่ใช่แค่แชทบอททั่วไป แต่คือ “ผู้ช่วยเฉพาะเรื่อง” ที่ถูกตั้งค่ามาให้เข้าใจบริบทของงานแต่ละสาย เช่น การคิดแผนธุรกิจ, วิเคราะห์ข้อมูล, คิดแคมเปญ หรือช่วยสื่อสารกับลูกค้า โดยเราไม่จำเป็นต้องสอนทุกอย่างใหม่ตั้งแต่ต้น

เมื่อเข้าไปในหน้า Explore GPTs เราจะเห็น GPT หลายตัวที่คนทั่วโลกสร้างไว้ และถ้าเราคลิกเข้าไปดู ก็จะเห็นว่าบางตัวตอบเราแบบใช้ Framework, ถามเรากลับเพื่อเก็บข้อมูล, หรือบางอันมีเมนูให้คลิกเลือกว่าอยากให้ช่วยด้านไหน เรียกได้ว่าฉลาดกว่าการพิมพ์คุยทั่วไปเยอะครับ

และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ว่า AI ไม่ได้มีไว้แค่ถามตอบ แต่มีไว้ร่วมคิดกับเราในระดับกลยุทธ์ได้เลย ต่างจากการใช้ GPT แบบเดิม ๆ ที่ต้องป้อนคำสั่งเองทุกครั้ง

เราสร้าง My GPTs เองได้ไหม?

ได้ครับ! และง่ายมากกว่าที่หลายคนคิด ChatGPT เปิดให้เราสร้าง GPT ส่วนตัวได้ผ่านหน้า “Explore GPTs” แค่คลิก “Create” แล้วตอบคำถามไม่กี่ข้อว่า GPT ของเราจะทำหน้าที่อะไร พูดโทนแบบไหน และต้องการข้อมูลประกอบหรือไม่ (เช่นแนบเอกสาร, โค้ด, หรือไฟล์อ้างอิง)

โดย ChatGPT เปิดให้เราสร้าง My GPTs ได้ผ่าน 2 รูปแบบหลัก ๆ

แบบ Chat-based (เริ่มจากการพูดคุย) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ระบบจะถามคำถามทีละข้อ เช่น “อยากใช้ GPT ของคุณทำอะไร”, “อยากให้พูดแบบเป็นทางการหรือเป็นกันเอง” หรือ “อยากให้มีข้อมูลเฉพาะทางอะไรไหม” แล้วเราแค่ตอบไปตามลำดับ ระบบจะสร้าง GPT เวอร์ชันเบื้องต้นให้ทันที เหมาะกับคนที่อยากเริ่มไว ไม่ซับซ้อน

แบบ Configure (ปรับตั้งค่าเองแบบละเอียด) วิธีนี้เหมาะกับคนที่ต้องการปรับ GPT อย่างละเอียด หรืออยากใส่ แนวทางการพูด, คำแนะนำเฉพาะ (Instructions), ตัวอย่างคำถามเปิดบทสนทนา (Conversation Starters) และแม้กระทั่งอัปโหลดเอกสารหรือข้อมูลเฉพาะเข้าไปให้ GPT ใช้อ้างอิง (ส่วนที่เรียกว่า Knowledge ซึ่งอยู่ในปุ่ม Upload files)

จาก Explore GPTs สู่การสร้าง My GPTs เปลี่ยนจากเครื่องมือธรรมดาเป็นผู้ช่วยให้งานเร็วขึ้น

อย่างในหน้าจอที่เห็นนี้คือส่วนของ Configure ซึ่งจะให้กรอกชื่อ GPT, คำอธิบายสั้น ๆ, วิธีการที่ GPT ควรตอบ, และสิ่งที่ไม่ควรทำ รวมถึงสามารถใส่ “ไฟล์แนบ” ได้ เช่น PDF, PowerPoint หรือเอกสารการตลาดของบริษัท เพื่อให้ GPT ใช้เป็นฐานความรู้ตอบคำถามได้ตรงมากขึ้นครับ

เช่น ถ้าต้องการ GPT ที่ช่วยตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับแพ็กเกจบริการของบริษัท ก็สามารถอัปโหลดไฟล์แนะนำสินค้าแล้วใส่ Instruction กำกับว่า “ให้ตอบเป็นภาษามืออาชีพแบบกระชับ และไม่แนะนำโปรโมชั่นเกินจากในเอกสาร” GPT ที่ได้ก็จะมีพฤติกรรมตามนั้นทุกครั้งครับ

หรือ ถ้าเราเป็นนักการตลาดที่อยากได้ GPT ช่วยวางแผนโปรโมชันสำหรับร้านอาหาร เราสามารถกำหนดให้มันถามเรากลับเกี่ยวกับลูกค้า, ทำเล, เมนูเด่น ฯลฯ แล้วค่อยประมวลผลพร้อมตัวอย่างแคมเปญ แบบนี้เราจะได้ผู้ช่วยที่พูดภาษาเดียวกับเรา ไม่ต้องเริ่มใหม่ทุกครั้งครับ

และข้อดีคือ GPT เหล่านี้ยังแชร์ให้คนในทีมใช้งานได้ เช่น ใช้ใน workspace ของบริษัท หรือแชร์เป็นลิงก์ให้ลูกค้าลองใช้ ทำให้การทำงานร่วมกันมีมาตรฐานเดียวกัน ใครอยากอ่านการสร้าง GPTs เพิ่มเติม อ่านได้ที่ สอนตั้งค่า GPTs สร้าง Personalized ChatGPT ขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ

ตัวอย่าง GPTs ที่เราใช้งานจริงใน “การตลาดวันละตอน”

ในทีม EverydayMarketing.co เราได้สร้างชุด My GPTs ทั้งด้านวางกลยุทธ์ คิดแคมเปญ และออกแบบระบบลูกค้าสัมพันธ์ โดยแต่ละ GPT ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย และ คิดตาม Framework ดังนี้ครับ

จาก Explore GPTs สู่การสร้าง My GPTs เปลี่ยนจากเครื่องมือธรรมดาเป็นผู้ช่วยให้งานเร็วขึ้น

1. EverydayGPT for Marketing

GPT ที่ช่วยคิดไอเดียแคมเปญอย่างเป็นระบบ โดยจะแบ่งเป็น 3-5 ขั้นตอน พร้อมยกตัวอย่างแบรนด์ที่เคยใช้แนวคิดนี้มาแล้ว ทำให้คนใช้มองเห็นภาพ ไม่ต้องตีโจทย์ใหม่เองทั้งหมด เหมาะกับคนที่อยากได้แนวทางเร็ว ๆ โดยไม่หลุดโฟกัสจากเป้าหมายธุรกิจ

2. Everyday Promotion Mix

GPT ที่ช่วยคิดแผนโปรโมชั่นผ่านคำถาม 9 ข้อ เช่น จุดเด่นของสินค้า, กลุ่มเป้าหมาย, จุดกระตุ้นให้คนซื้อ ฯลฯ จากนั้น AI จะประมวลผลและเสนอแผน Promotion Mix ที่เหมาะกับสินค้านั้นแบบครบถ้วนทั้ง Product–Price–Place–Promotion

3. Everyday Collecting Data

ใครกำลังทำ Customer Research GPT นี้จะช่วยออกแบบแผนเก็บข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ โดยอิงจาก Data Collection Canvas ของการตลาดวันละตอน และจะแนะนำให้เราคิดข้อมูลแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณไปพร้อมกัน

4. Personalized RFM Model

GPT ที่ช่วยปรับ RFM Model ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เช่น ร้านค้าออนไลน์, คลินิก, หรือคอร์สเรียน โดยจะถามคำถามเชิงสถานการณ์ แล้วนำเสนอโมเดล Personalization พร้อมวิธีสื่อสารกับลูกค้าแต่ละกลุ่มแบบเข้าใจง่าย

5. EverydayCRM

GPT ที่ช่วยคิดโครงระบบ CRM และ Loyalty Program โดยอ้างอิงจาก Customer Data Attribute เช่น Frequency, Segment หรือพฤติกรรมการซื้อ เพื่อออกแบบระบบสมาชิก, โปรโมชั่น หรือ Journey ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละประเภท

สรุป จาก Explore GPTs สู่การสร้าง My GPTs เปลี่ยนจากเครื่องมือธรรมดา ให้กลายเป็นผู้ช่วยวางกลยุทธ์ ที่ทำให้เราทำงานเร็วขึ้น

การใช้งาน GPT ในปัจจุบันไม่ควรจำกัดอยู่แค่การถามคำถามพื้นฐานหรือหาข้อมูลทั่วไปเท่านั้น แต่ควรมองว่า GPT สามารถเป็นผู้ช่วยวางกลยุทธ์ที่ทำงานร่วมกับเราได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าใจวิธีการใช้ฟีเจอร์ Explore GPTs และเริ่มสร้าง My GPTs ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับบริบทของธุรกิจหรือรูปแบบการทำงานของเราเอง

หากคุณเป็นนักการตลาด GPT สามารถกลายเป็นเพื่อนร่วมคิดที่ช่วยให้การวางแผนแคมเปญมีความชัดเจนและเฉียบคมมากขึ้น หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ GPT ก็สามารถช่วยคิดภาพรวม วางโครงสร้าง และประเมินแนวทางการดำเนินงานได้โดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกมากเกินไป

ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator
Prompt : A person typing seriously on a laptop at a tidy desk, next to a cup of coffee and an open notebook with handwritten notes. Their screen slightly reflects on their glasses. Background shows a creative home-office corner with minimal decor. Realistic lighting, soft contrast, warm tones.

เมื่อเราคิดว่า GPT คือ “ทีมร่วมงาน” ไม่ใช่แค่เครื่องมือ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ใช่แค่คำตอบจาก AI แต่จะเป็นแนวทางที่ต่อยอดได้จริงกับเป้าหมายของเราอย่างมีทิศทางและประสิทธิภาพครับ  ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยครับ

สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึง Twitter Instagram YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ

การตลาดวันละตอน เว็บรวมความรู้การตลาดด้าน Data และ Personalization

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *