#StopMithani แคมเปญ PR ระดับโลก รณรงค์ให้คนมาบริจาคเลือดแบบไม่ต้องร้องขอ

สวัสดีค่าาา ในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับ แคมเปญ PR ระดับโลกที่มีชื่อว่า #StopMithani ใครก็ได้หยุดชายคนนี้ให้หยุดบริจาคเลือดที แก้ปัญหาใช้งบประมาณในการ PR แทบตายแต่คนก็ไม่ยอมมาบริจาคเลือดให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้สักที เป็นแคมเปญที่ผู้เขียนมองว่าน่าสนใจและเป็นการแก้ปัญหาไดีในแบบที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว!

ที่มาที่ไปของแคมเปญ #StopMithani

จุดเริ่มต้นของแคมเปญ #StopMithani เกิดจาก HDFC Bank ธนาคารใหญ่ในอินเดียที่ทำแคมเปญประจำปีรณรงค์ให้คนอินเดียมาบริจาคเลือด ทว่าในแต่ละปีธนาคารใช้งบไปกับ Mass media มากมายในการทำการสื่อสาร แต่กลับพบว่ายอดผู้บริจาคไม่ได้สูงขึ้นตามงบประมาณที่ใช้ซะนี่

แถมสี่ปีให้หลังมานี้ กลับมียอดการบริจาคเลือดที่ลดลงเรื่อย ๆ อีกด้วย ทางธนาคารจึงทำการสืบเสาะหาต้นตอของปัญหาต่อไปจนพบว่า

คนอินเดียจะบริจาคเลือดให้กับคนรักหรือคนสนิทเท่านั้น

เพราะฉะนั้นไม่ว่าแบรนด์จะพูดรณรงค์ขนาดไหน ก็ทำให้คนอินเดียยอมบริจาคเลือดไม่ได้อยู่ดี งบประมาณที่ทุ่มใช้ไปก็เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายหลักอย่าง Gen Y (18-35ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มี Potential มากที่สุด เพราะมีสุขภาพร่างกายที่พร้อมบริจาคเลือด แต่กลับเป็นกลุ่มที่มาบริจาคเลือดน้อยที่สุด

ทางธนาคารจึงมองหาทางออกจนปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่าหากเราจะจูงใจให้คนเจนนี้ออกมาบริจาคเลือดได้ เราจะต้องมองหาจุดเชื่อมโยงและสร้างแคมเปญที่กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ยอมออกมาบริจาคเลือด โดยไอเดียที่ว่านั่นก็คือการออกแคมเปญ #StopMithani ใครก็ได้ช่วยหยุดลุงคนนี้ให้หยุดบริจาคเลือดที

จูงใจด้วยการสร้างวาระแห่งชาติจากความผูกพันและความห่วงใย

#StopMithani แคมเปญ PR ระดับโลก รณรงค์ให้คนมาบริจาคเลือดแบบไม่ต้องร้องขอ

#StopMithani เป็นแคมเปญที่ถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของวิดีโอตัวหนึ่งที่ทำให้คนทั้งประเทศ(ในออนไลน์) ได้รู้จักกับชายที่ชื่อว่า Mithani มีไลฟ์สไตล์ที่สนุกสนาน ร้อง เล่น เต้นรำ และเขาบริจาคเลือดมาแล้วกว่า 151 ครั้ง ตลอด 30 ปี  จนปีนี้เขาอายุ 65 ปี คุณหมอและคนใกล้ตัวเริ่มเตือนเขาให้หยุดบริจาคเลือดเพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้

แต่คุณลุง Mithani เองก็ยังคงยืนยันที่จะบริจาคเลือดต่อไป! และปิดท้ายด้วย #StopMithani เพื่อสร้าง Voice บนออนไลน์ให้คุณลุงหยุดบริจาคเลือด

หลังจากวิดีโอตัวนี้ถูกปล่อยออกไป ลุงเริ่มได้ไปออกรายการ Talk Show ออกรายการวิทยุ และรายการข่าว นอกจากนี้ยังตอกย้ำด้วยวิดีโอที่ให้เพื่อนและคนใกล้ตัว รวมถึงคุณหมอออกมาพูดถึงความกังวลในสุขภาพของลุง Mithani ทำให้ตอนนี้คนทั้งประเทศพูดถึงลุงด้วยความรักและความเป็นห่วงกันทั้งนั้น

สุดท้ายแคมเปญนี้ก็ปล่อยหมัดเด็ดออกมา นั่นก็คือข้อเสนอของลุง Mithani ว่าจะหยุดบริจาคเลือดก็ได้

ถ้ามีคนออกมาบริจาคเลือดกันถึง 100,000 คน! ทำให้ข้อเสนอนี้กลายเป็น Mission ระดับชาติอย่างรวดเร็ว 

ด้วยพลังของ Online Video และพลังของ Gen Y บนโลกออนไลน์ ที่ทำให้เรื่องราวดี ๆ ของลุง Mithani เกิดเป็นวาระแห่งชาติขึ้นมา ทำให้คนออกมาบริจาคเลือดกันมากจนต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ 310,749 คนภายใน 1 วัน! โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะคนอินเดียจะบริจาคเลือดให้กับคนรักหรือคนสนิทเท่านั้น ซึ่งลุง Mithani ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวชาวอินเดียที่ทำให้ทุกคนต้องออกมาบริจาคเลือดเพื่อช่วยหยุดคุณลุงนั่นเองค่ะ

สรุป #StopMithani แคมเปญ PR ระดับโลก รณรงค์ให้คนมาบริจาคเลือดแบบไม่ต้องร้องขอ

#StopMithani แคมเปญ PR ระดับโลก รณรงค์ให้คนมาบริจาคเลือดแบบไม่ต้องร้องขอ

#StopMithani นอกจากจะเป็น แคมเปญ PR ที่ประสบความสำเร็จแล้วยังเป็นแคมเปญที่ใช้งบประมาณไม่เยอะอีกด้วย และที่สำคัญเป็ญแคมเปญที่คว้ารางวัล Silver Lion ในหมวด Use of Celebrity, Influencers & Key Opinion Leaders จาก Cannes Lions อีกเช่นเดียวกัน

เราจะเห็นได้เลยว่าการ PR ที่ดีต้องมาจากไอเดียที่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ และ Insight เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แคมเปญนี้ได้รับผลตอบรับที่ดีขนาดนี้ได้ ดังนั้น การจะทำแคมเปญหรือการตลาดออกไปนั้น เราจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราให้ได้อย่างถ่องแท้ซะก่อนนั่นเองค่ะ

หวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source: https://www.unblock.coffee/campaign/stopmithani/

https://www2.spikes.asia/winners/2019/health/

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *