วันนี้ผมขอเอา Data Collection Canvas หนึ่งหน้าสำคัญจากหนังสือ Data-Driven Marketing การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้ามาแชร์ให้เพื่อนๆ นักการตลาดที่สนใจเรื่อง Data ได้เอาไปเป็นแนวทางกรอบความคิดว่าจะทำแคมเปญการตลาดเพื่อเก็บ Data นั้นเราจะต้องเริ่มอย่างไร
ในยุคของ Data-Driven Marketing ไปจนถึง Everything ก็ว่าได้ ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ว่าเราจะใช้ Data อย่างไร แต่ยังมีอีกปัญหาใหญ่นั่นก็คือแล้วเราต้องใช้ Data อะไรเพื่อแก้ปัญหา ไปจนถึงการคิดให้ออกว่าแล้วเราจะหา Data ที่ต้องการมาได้อย่างไร และนั่นก็เลยทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่เรียกว่า Creativity-Driven Data นั่นก็คือเราจะทำแคมเปญการตลาดอย่างไรเพื่อให้ได้ซึ่ง Data ที่ต้องการกลับมา
วันนี้ผมเลยมี Data Collection Canvas ที่อยู่ในหนังสือ Data-Driven Marketing มาแชร์ให้เอาไปใช้กัน พร้อมกับจะอธิบายด้วยว่านักการตลาดอย่างเราจะใช้แคนวาสนี้เป็นแนวทางในการทำแคมเปญการตลาดเพื่อเก็บ Data อย่างไรครับ
Data Collection Canvas นี้แบ่งออกเป็น 6 ช่องหลัก ผมขอไล่อธิบายไปทีละช่องเพื่อให้เพื่อนๆ นักการตลาดได้เข้าไปใจพร้อมกันนะครับ
1. Problem of Business ปัญหาจริงๆ ของคุณคืออะไร?
สิ่งสำคัญอย่างแรกก่อนจะเริ่มต้นทำงานกับ Data หรือใดๆ ก็ตาม คุณต้องเข้าใจก่อนว่าแท้จริงแล้วปัญหาของคุณคืออะไร?
ในข้อนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาเราคืออะไร การขาดความรู้จักและเข้าใจลูกค้า ดังนั้นในช่องนี้เป้าหมายของการทำงานกับ Data ของผมคือ Customer data จะทำให้ผมรู้จักและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ถ้าผมมี Customer data ตรงโดยไม่ต้องง้อแพลตฟอร์มคนกลาง ผมก็จะสามารถปรับ Marketing plan หรือ Develop New Product ใหม่ออกมาได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
จริงๆ ช่องนี้มีความใกล้เคียงกับช่องบน แต่ผมตั้งใจทำแบ่งออกมาให้ชัดๆ อยากให้เราทุกคนได้ระบุปัญหาจริงๆ ที่เราต้องใช้ Data ก่อน แล้วค่อยมาระบุต่อว่าจากปัญหานี้ Data จะเข้ามาช่วยข้อบนได้อย่างไรครับ
3. Data Required จากปัญหาที่มีเราต้องการ Data อะไรบ้าง
ใน Data Collection Canvas ช่องนี้จะเป็นช่องที่ให้ความสำคัญมากกว่าปกติ(ดูจากขนาดก็ได้) เพราะเมื่อคุณสามารถระบุได้แล้วว่าปัญหาของเราคืออะไร แล้ว Data จะเข้ามาช่วยได้อย่างไร ทีนี้เราก็ค่อยๆ ลิสต์รายการ Data ที่เราต้องใช้ที่จะเข้ามาตอบคำถามหรือโจทย์ในช่อง Objective of Data ครับ
เช่น ถ้าผมบอกว่าปัญหาคือผมไม่เคยรู้จักลูกค้าเลย รู้แต่ขายได้หรือขายดี ผมต้องการ Data เข้ามาช่วยให้ผมได้รู้จักลูกค้ามากขึ้นว่าตกลงลูกค้าผมแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม ลูกค้าผมมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง
ดังนั้น Data ที่ผมต้องการก็น่าจะมี
customer name หรือ customer id
contact (email, เบอร์โทร, LINE)
date (วันที่ซื้อ)
time (เวลาที่ซื้อ)
item (สินค้าที่ซื้อ)
address
สำหรับผมในโจทย์นี้ในช่วงเริ่มต้นเก็บ Data เพื่อรู้จักลูกค้าก็น่าจะเพียงพอแล้ว ส่วนถ้าจะขาดเหลืออย่างไรทำไปสักพักก็จะเริ่มเรียนรู้ไประหว่างทางว่าเราต้องการ Data แบบไหนเพิ่มขึ้นอีกบ้างครับ
เมื่อเราเริ่มระบุได้แล้วว่าเราต้องการ Data อะไรบ้างเพื่อจะเป็นคำตอบแก้โจทย์ธุรกิจของเรา ก็เข้าสู่ช่องที่ 4 ซึ่งสำคัญไม่แพ้ช่องนี้ นั่นก็คือ…
4. Collecting Data Campaign จะทำแคมเปญการตลาดอย่างไรเพื่อให้ได้ Data ที่ต้องการ
ตอนนี้เราผ่านมาได้ครึ่งทางแล้ว เข้าสู่ครึ่งทางหลังที่ทั้งสนุกและท้าทายไปพร้อมกัน เมื่อเราระบุปัญหาที่ต้องการแก้ได้ บอกได้ว่า Data จะช่วยแก้ปัญหานั้นอย่างไร แล้ว Data อะไรบ้างที่จะเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้ ทีนี้สำหรับการทำแคมเปญเพื่อเก็บ Data แน่นอนว่าเพราะในธุรกิจเราไม่มี Data เหล่านั้นอยู่ นี่เลยเป็นความท้าทายเรื่องของ Creativity ว่า เราจะใช้ไอเดียอย่างไรที่จะทำให้คนอยากป้อน Data ที่เราต้องการให้กลับมา
เช่น ถ้าผมอยากได้ข้อมูลตามด้านบนในช่อง Data Required ทั้งหมด ผมอาจจะต้องทำแคมเปญการตลาดที่ให้คนยอมส่งข้อมูลมาด้วยตัวเอง แต่คำถามคือการขอให้คนส่งข้อมูลมาด้วยตัวเองอาจใช่เรื่อง ผมอาจจะต้องคิดหา Incentive ว่าอะไรจะเป็นแรงจูงใจให้คนยอมให้ Data กับเรา
เช่น ผมอาจจะทำเป็นแคมเปญเก็บคะแนนสะสมแต้มลุ้นรับของรางวัล เพื่อกระตุ้นให้คนอยากจะ input data ที่เราต้องการให้เราด้วยตัวเอง
ซึ่งความยากง่ายก็แล้วแต่เลยครับว่า Data ที่เราต้องการนั้นต้องใช้พลังของ User มากน้อยแค่ไหน ถ้าเค้าต้องพยายามมากในการให้ข้อมูลกับเรามา ทำใจไว้เลยครับว่าเราน่าจะได้น้อยมาก ตามมาด้วยความแม่นยำต่ำ และก็ตามมาด้วยการไม่ effective ของแคมเปญก็เป็นได้
ดังนั้นในช่องนี้พยายามคิดแบบใจเขาใจเรา อย่าคิดเข้าข้างตัวเองว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเค้าจะพยายามป้อน data กลับมาให้เรา เอาเป็นว่าถ้าตัวเราเองยังไม่ชอบยังไม่อยากทำ ก็อย่าคิดในแง่ดีมากๆๆๆ ว่าคนอื่นเขาจะยอมทำให้กับเรานะครับ
5. Applied Tech เทคโนโลยีที่จะใช้ในการเก็บข้อมูล
เมื่อเราคิดออกแล้วว่าเราต้องการ Data อะไรบ้าง และเราจะทำแคมเปญการตลาดอย่างไรเพื่อให้ได้ Data ที่ต้องการมา ทีนี้ก็มาถึงส่วนที่เป็นเทคโนโลยีสักเล็กน้อย นักการตลาดอย่างเราอาจไม่ต้องถึงขั้น Dev เองเป็นก็ได้ แต่อย่างน้อยก็ควรพอจะรู้บ้างว่าไอเดียแบบนี้เราต้องใช้เทคโนโลยีแบบไหนเข้ามาครับ
รู้ เพื่อให้รู้ว่าจะไปคุยกับเขาต่ออย่างไร เขาที่ว่าก็คือทีมที่ช่วยทำงานต่อให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็น Dev หรือทีม Data ก็แล้วแต่ ช่องนี้จะยากถ้าคุณเป็นนักการตลาดที่ไม่ค่อยอ่านอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ๆ เท่าไหร่
เมื่อเราได้เทคโนโลยีที่ตอบกับโจทย์และเหมาะกับงบการตลาดที่เรามีได้อย่างลงตัวแล้ว ก็มาถึงช่องสุดท้ายของ Data Collection Canvas นั่นก็คือ…
6. Data-Driven Marketing Campaign เอา Data ที่ได้ไปต่อยอดกันเถอะ!
เมื่อเราทำแคมเปญเพื่อเก็บ Data ที่ต้องการได้เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เราก็มี Data ในมือพร้อมให้เอาไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ สมมติว่าปัญหาผมยังเป็นเรื่องเดิมคือผมอยากรู้จักลูกค้าให้ดีกว่าเดิมด้วย Data เมื่อผมทำแคมเปญการตลาดเพื่อให้คนป้อนข้อมูลการซื้อสินค้าแต่ละครั้งเข้ามาเพื่อแลกกับการรับคำทำนาย
ทีนี้ผมพอรู้แล้วครับว่าลูกค้าผมจาก Data ที่มีนั้นแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ กลุ่มไหนบ้างที่คุ้มค่าต่อการใช้งบการตลาด หรือกลุ่มไหนบ้างที่ไม่ต้องทำอะไรพวกเขาก็เป็นลูกค้าชั้นดีเราอยู่