ปลื้มเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จัก PDPA หรือ Personal Data Protection Act กันมาบ้างแล้ว หากยังงงๆ อยู่ ปลื้มขออธิบายสั้นว่ามันเป็น พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่สร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน หรือง่ายๆ ก็คือถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก็ไม่สามารถถ่ายหรืออัดวิดีโอได้ ประกาศใช้ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานี้
ปลื้มใช้ Mandala Analytics ในการสำรวจการพูดถึง PDPA และ ข้อมูลส่วนบุคคล บนโซเชียลมีเดียว่ามีการคิดความคิดเห็นหรือกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง โดยปลื้มดึงเดต้าตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม 2565 เจออะไรน่าสนใจบ้างมาดูกันค่ะ
ระหว่าง PDPA กับ ข้อมูลส่วนบุคคล คนใช้คำไหนมากกว่ากัน ต้องบอกว่าช่วงเวลาที่เราดึงข้อมูลมานั้นเป็นช่วงเวลาที่กระแส PDPA กำลังมา จึงทำให้หลายคนค้นหาหรือศึกษาเกี่ยวกับ PDPA กันมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่คนจะเมนชันถึงมากกว่า ซึ่งจากกราฟยังเห็นอีกว่าผู้คนตื่นตระหนกมากในช่วง ประกาศใช้ เพราะอาจจะเป็นกฎหมายใหม่ที่หลายคนต้องการรู้ขอบเขตในการปฏิบัติ
และเมื่อเราพูดถึง PDPA คุณคิดว่าชาวโซเชียลออกมาแสดงความคิดเห็นกันรูปแบบไหน ซึ่งปลื้มได้ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala ที่ทำให้เป็นโพสต์ยอดนิยมในแต่ละแพลต์ฟอร์มว่าช่วงที่กราฟพุ่งๆ นั้นเขาคุยเรื่องกันอย่างไร
Top Engagement Post เป็นโพสต์ที่พูดถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy) ใน Google Maps ที่เบลอหน้าคนยันหน้าสุนัข จึงเห็นถึงความจริงจังของสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของน้องหมาด้วย หลายคนก็เข้ามาคอมเมนต์เอ็นดูในความเบลอนี้ นี่ก็เป็นโพสต์หลังจาก PDPA ประกาศใช้มาเกือบเดือนค่ะ
ทวิตนี้โพสต์ในวันประกาศใช้กฎหมาย PDPA เลยค่ะ เป็นการบอกทริกในการเลี่ยงถ่ายภาพติดคนอื่นๆ โดยการโหลด SnapEdit App เพื่อลบคนที่ไม่ต้องการให้อยู่ในรูปออก พร้อมรีวิวรูป Before & After เปรียบเทียบภาพที่ลบคนออกแล้วว่าเนียนขนาดไหนนั่นเอง และบอกเลยว่าปลื้มเองก็โหลดแอปฯ นี้ไว้ในโทรศัพท์เหมือนกันค่ะ
เป็นโพสต์รายงานข่าวเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย PDPA จากไทยรัฐ ถึงความรู้และขอบเขตในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบบรรยายตัวหนังสือ ซึ่งในขณะเดียวกันในคอนเมนต์กลับมีคำถามมากมายมายถึงการถ่ายติดโดยไม่ได้ตั้งใจ และมองว่ากฎหมายประหลาดขึ้นทุกวัน นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยยังอาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิส่วนบุคคลอย่างแท้จริง
คลิปของคุณเจนจินดานี้ก็เป็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งคนให้ความสนใจอย่างมาก เมื่อดูจากคนที่กดใจถึง 285.8K แม้ยังไม่ได้นับยอดการมองเห็น เพราะมีประเด็นดราม่าที่หลายคนมองว่ากฎหมายนี้เข้าทางโจร รวมถึงการใช้กฎหมาย PDPA พร่ำเพื่อ หรือการใช้สิทธิ์ในการเอาผิดคนเผยแพร่เพื่อลดความผิดตัวเอง แบบนี้เป็นต้น ทำให้คอมเมนต์ในโพสต์นี้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้เลยค่ะ
VIDEO
โดยคลิปข่าวนี้อาจมีหลายประเด็น และหนึ่งในนั้นมีประเด็นข่าว PDPA ที่ถูกประกาศใช้มาแล้ว 5 วัน ซึ่งมาถกกันในหัวข้อ รู้จัก “PDPA” …กฎหมายที่รัฐบาลบอก “อย่ากลัวจนเกินไป” ซึ่งปลื้มการเข้าไปสำรวจยันคอนเมนต์ทำให้เห็นอีกแง่มุมของประชาชนที่มองว่า PDPA เป็นการป้องกันไม่ให้พลเรือนบันทึกการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงประเด็นทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้อง เช่นใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปิดหูปิดตาประชาชนหรือไม่
ซึ่งจะเป็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า PDPA ไม่ปลอดภัยกับตัวเองทั้งที่เป็นกฎหมายคุ้มครองพวกเขาด้วยซ้ำ นั่นเกิดจากอะไร หากลองเปลี่ยนเป็นแบรนด์ นี่เท่ากับเป็น Crisis ของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์อาจจะต้องกลับไปดูที่ต้นเหตุของการสื่อสาร ว่าเหตุเกิดตรงและรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้พวกเขากลับมาเข้าใจในกระบวนมากที่สุด
สุดท้ายนี้จะเป็นว่าประเด็นเดียวกันสามารถทำให้เห็นผู้ชมในแต่ละบริบท การแสดงความคิดเห็นที่ต่างกัน จากการใช้ Social Listening สำรวจ หากถามว่าการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะเป็นการผิดต่อกฎหมาย PDPA หรือไม่ ปลื้มต้องบอกว่าในแต่ละแพลตฟอร์ม มีขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถสมัครเรียนได้นะคะ
ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้
https://bit.ly/soc iallisteningclass
ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน
ปล. สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ