ส่อง Popularity ของ Popcat เดือนสิงหาที่ผ่านมา

เรียกได้ว่าเป็นปัญหาและวาระระดับชาติที่หลายคนแทบจะยกให้ Popcat เป็นเหมือนสงครามโลกในรูปแบบแมวเหมียวไปแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ? มีใครได้เล่นเจ้าแมวป๊อปแคทในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาบ้างไหม? เพลินเองก็เล่นจนนิ้วล็อกอยู่เหมือนกัน และเหมือนเคยกับกระแสเทรนด์ดังๆ แบบนี้ พอมันเริ่มซาแล้ว เพลินก็เลยจะพาทุกคนมาใช้ Mandala Analytics หรือตัว Social Listening Tools ในการสรุปเทรนด์ที่เกิดขึ้นกันค่ะ ว่ามีคนพูดถึงป๊อปแคทอย่างไรบ้าง?

และแน่นอนว่าทุกอย่างก็ต้องเริ่มจากการคิด Keywords ที่คนจะพูดถึงป๊อปแคทก่อน ซึ่งหลักๆ คีย์เวิร์ดที่เพลินใช้สำหรับกระแสนี้ก็คือคำว่า ‘Popcat’ ที่เป็นภาษาอังกฤษและ ‘ป๊อปแคท’ ที่เป็นภาษาไทยค่ะ ส่วนช่วง Timeframe บอกเลยว่าเพลินเองก็ไม่ทราบว่ากระแสนี้มันเริ่มขึ้นตอนไหน แต่เพราะมั่นใจว่ามันอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 แน่ๆ เลยตัดสินใจดึงข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหา – วันที่ 31 สิงหาคม 2564

กระแส popcat พุ่งขึ้นวันที่ 14 สิงหาคม 2564

หลังจากที่เราดึงข้อมูลมาแล้ว เราก็จะเห็นได้เลยว่ากระแสของป๊อปแคทในไทยนั้นมันเริ่ม ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2564 จากเส้นกราฟที่นิ่งเงียบมาตลอด อยู่ๆ ก็พุ่งขึ้นทันที แถมยังเห็นได้ว่าคนไทยพูดถึงเรื่องนี้ได้อยู่ประมาณ 10 วันเน้นๆ หลังจากนั้นก็มีเรื่องบ้านเมืองอื่นๆ เข้าแทรก ทำให้คนไทยเราต้องพักเรื่องน้องแมวที่ไม่รู้เล่นแล้วได้อะไรไปก่อน แล้วยอมให้ประเทศอื่นเค้าชนะเราไปค่ะ

Top 3 Topic ที่คนไทยพูดถึง Popcat

ใช้ Social Listening tools ดู Word Clouds เกี่ยวกับ popcat

ในการที่เราจะดูว่าคนไทยพูดถึงเรื่องป๊อปแคทอย่างไรมากที่สุด ตรงนี้เพลินจะใช้ข้อมูลจาก Word Cloud และ Hashtag Cloud ของระบบเลย ซึ่งหากดูจากภาพของกลุ่มคลาวด์ก็จะเห็นได้ว่า คนไทยพูดถึงเรื่องของ ‘อันดับ’ มาเป็นอันดับแรก หากไม่นับคำที่เป็น Mian Keyword อยู่แล้วอย่างคำว่าป๊อปแคทค่ะ ซึ่งเรื่องของอันดับที่คนพูดก็คือการอัพเดทและถามกันถึงว่า ตอนนี้ประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไรแล้ว หรือว่าประเทศอันดับ 2 ห่างจากเราอยู่ที่เท่าไร หรือเราอันดับหนึ่งหรือยัง อันดับตกหรือยัง ใครว่างช่วยกันไปดันอันดับให้ประเทศไทยหน่อย เป็นต้น และถ้าหากดูจากตัวจาก Mention ด้านล่างก็จะเห็นได้เลยว่า เพียงแค่ใน Tweet เดียว เราก็สามารถที่จะพูดคำว่า ‘อันดับ’ ได้ถึง 3 ครั้งด้วยกันค่ะ

อันดับ 2 ต่อมาคือคำว่า ‘ไต้หวัน’ ค่ะ ซึ่งถ้าใครเล่นป๊อปแคทในช่วงนั้นก็ต้องทราบกันดีว่า ไต้หวันก่อนที่คนไทยจะเข้าไปเล่นนั้นอยู่อันดับ 1 ของกระดานคะแนนมาโดยตลอด แล้วแล้วหลังจากที่คนไทยระดมพล เพียงหนึ่งวันก็สามารถโค่นแชมป์อันดับ 1 ของไต้หวันลงมาได้ ทำให้ Mentions ที่เกี่ยวกับไต้หวันนั้นถูกพูดถึงกันเป็นจำนวนมาก ยิ่งในช่วงที่ไทยกับไต้หวันแข่งกันแบบคแนนสูสีด้วยแล้ว ตรงนั้นคำว่าไต้หวันยิ่งถูกเมนชั่นเยอะขึ้นเป็นพิเศษเลยค่ะ

บริบทอื่นๆ ของการพูดไต้หวันก็ยังมีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนะคะ อย่างในเรื่องของ Milk Tea Alliance ที่คนไทยก็มี Tweet พูดคุยกันว่าอย่าให้ป๊อปแคทมาทำลายความสัมพันธ์ของพันธมิตรชานมนี้เลย หรือจะเป็นการแชร์เคล็ดลับของคนไทยเชิง Irony ว่าที่คนไทยสามารถเอาชนะไต้หวันได้ภายใน 1 วันนั้นก็เป็นเพราะประเด็นทางการเมืองอย่าง การแย่งสิทธิ์ลงทะเบียนโครงการรับเงินเยียวยาอย่างคนละครึ่ง เราชนะ หรือจะการแย่งสิทธิ์จองฉีดวัคซีนในโครงการรัฐอื่นๆ นั่นเอง

เรื่องที่ 3 ที่เราแกะได้จาก Word Cloud ก็คือคำว่า ‘นิ้ว’ ค่ะ ซึ่งจะเป็นประเด็นอะไรไม่ได้อีกนอกจากประเด็น ‘รัวนิ้วจนนิ้วล็อค’ ซึ่งก็มีหลายคนที่เล่นไปบ่นไปว่า เล่นจนนิ้วพันไปหมดหรือนิ้วแทบล็อคแล้ว นอกจากนี้ยังมีคุณหมอหรือเพจข่าว ให้ความรู้ต่างๆ ที่เข้ามาสอนวิธีรักษาอาการนิ้วล็อคจาก Popcat ด้วย จำได้เลยว่าที่บ้านเพลินยังนั่งบริหารนิ้วด้วยกันตามคลิปอยู่เลย แล้วมันช่วยได้นะ แต่ก็ต้องมีลาไปพัก หยุดเล่นบ้าง

Popcat ไม่ชอบ ชอบ Pop อื่นแทน

อีกหนึ่ง Data ที่เราเจอบนเครื่องมือแล้วพบว่ามันช่าง Creative เสียเหลือเกินก็คือการเปลี่ยนรูปภาพน้องแมวจากป๊อปแคทให้เป็นภาพอื่นๆ แทน ซึ่งหากดูจาก Hashtag Cloud ก็จะเห็นตั้งแต่ PopDog ไปจนถึง PopYut เลยค่ะ แต่ถ้าใครเจาะ Data เข้าไปอีก ก็มีกลุ่มคนที่ใช้ภาพ PopLee สำหรับแม่หญิงลีหรือพระมหาเทวีเจ้าด้วยค่ะ

popcat หรือจะสู้ Popdog
popcat แล้วก็มี Popyut ด้วย

Channel ไหนพูดถึงป๊อปแคทเยอะที่สุดจนจะเป็น Influencer ป๊อปแคทแล้ว

เพจและ twitter ที่พูดถึง popcat มากที่สุด 10 อันดับ

อีกหนึ่งฟีเจอร์ของ Mandala Analytics ที่ทำให้เรารู้ได้เลยว่าใครอินเกี่ยวกับเรื่องป๊อปแคทบ้างก็คือ ฟีเจอร์ Top Channel ที่จะบอก 10 อันดับช่องทางแรกที่พูดถึงเรื่องป๊อปแคทเยอะที่สุดจากมากไปน้อย โดยที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือฟังก์ชันที่แพลตฟอร์มแยกให้เราเลยว่า Channel เหล่านั้นอยู่แพลตฟอร์ม Social Media ใดบ้าง แล้วพูดถึงเรื่องป๊อปแคทไปกี่ Mentions ในช่วงเวลาที่เราตั้ง Time Frame เอาไว้ ในกรณีเพลินนี่ก็คือ 1 เดือน หรือต้องบอกนับจากวันที่กระแสเกิดก็ประมาณ 15 วันนั่นเองค่ะ

ข้อดีคือหากแบรนด์ใดกำลังทำการตลาดกับกระแสป๊อปแคทอยู่ ก็สามารถจ้าง Influencers ได้ตรงจุดมากขึ้น เลือกจากคนที่อินเรื่องป๊อปแคทก่อน ค่อยพาไปที่แบรนด์ อย่างภาพด้านล่างที่เป็น Top 10 Facebook Channel เราก็จะเห็นทั้งช่องที่เป็น Facebook page ทั่วไปกับช่องข่าวสารอย่างไทยรัฐ ฯลฯ แต่หากเราสลับไปดูแพลตฟอร์มอย่าง Twitter ก็จะเห็นบัญชี Account ที่เป็นคนพูดจริงๆ มากขึ้นค่ะ ซึ่งหากเราสังเกตที่ตัวเลขจำนวน Mentions ของ Account Twitter ที่เป็นอันดับ 1 ก็จะเห็นได้ว่า เค้าพูดเรื่องป๊อปแคทไปกว่า 92 ครั้งภายใน 15 วันเท่านั้น เรียกได้ว่ามี Tweet อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง หรือถ้าเทียบเฉพาะช่วงเวลาที่ Trend Spike ขึ้น 10 วัน บัญชีทวิตเตอร์นี้พูดเรื่องป๊อปแคทไปต่อวันอยู่ที่ประมาณ 9 ครั้งค่ะ คนมันอินอะเนอะ….

การตลาดกับป๊อปแคท

เรื่องสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการตลาดโดยตรงเลยคือ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของเหล่าแบรนด์และนักขายของทั้งหลาย ที่สามารถหยิบจับ Popcat ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดขายของได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหลังจากที่เพลินลอง Filter Search Mentions ดูด้วยคำประเภทขายของอย่าง โปรโมชั่น พิเศษ และคำว่าแลก ก็เจอโพสต์การตลาดมากมายกว่า 200 โพสต์เลยไม่ว่าจะเป็นการเอาภาพน้องแมวป๊อปแคทอ้าปากมาป้อนอาหารที่ขาย เช่น พิซซ่าหรือเค้ก ไปจนถึงการช่วยชาติผ่านป๊อปแคท แล้วเอาคะแนนมาแลกรับอะไรพิเศษๆ หากกดได้ครบ 10,000 เป็นต้น

ยังไม่พอ ยังมีกลุ่มแบรนด์ที่เล่นเนียนเข้ามาเชิง กดป๊อปแคทจนดึก แล้วตบด้วยการขายครีม หรือการขายอุปกรณ์คลายนิ้วล็อคด้วย เรียกได้ว่า งัดไม้เด็ดออกมา ยังไงก็ปล่อยกระแสนี้ไปไม่ได้เลยล่ะค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Summary กระแสป๊อปแคทที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่เราสามารถหาได้จาก Social Listening Tools อย่าง Mandala Analytics ค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าหากใครอยากลองใช้ดูก่อน ไม่อยากเสียเงินใช้เครื่องมือเลย Mandala เค้าก็มีบริการ Free Trial ลองใช้งานฟรี 14 วัน ง่ายมากเพียงลงทะเบียนตามลิ้งค์นี้ ก้สามารถลองหา Keywords ที่ตัวเองสนใจได้เลยค่ะ ลองดูนะคะ ใช้งานไม่ยากเลย หรือหากอยากเรียนรู้วิธีใช้ฟีเจอร์อื่นๆ เพิ่มสามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง Disney+ Hotstar เลยค่ะ เพลินมีอธิบายขั้นตอน กับข้อควรระวังไว้บ้างแล้ว ยังไงก็อย่าลืมลองเล่นเครื่องมือกันบ่อยๆ ให้คุ้นมือนะคะ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *