ราดหน้า อาหารข้นหนืด ประกอบด้วยผักและเนื้อสัตว์ที่หลากหลายและที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน ดังนั้น ในบทความ Data Research Insight นี้เราจะพามาเจาะลึกถึงเมนูชนิดนี้กันค่ะ ว่ามี Insight อะไรน่าสนใจกันบ้าง ความครีเอทหรือเทรนด์การทานของผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร มาติดตามได้ในบทความนี้ค่ะ
และในบทความนี้เราจะพามาดูทั้งขั้นตอนกระบวนการทำ 8 ขั้นตอนดังรูป และ Insight ที่เจอมาแบ่งปันทุก ๆ คนกันค่ะ
STEP 1 – 2 Research Keyword, Collecting Data
มาเริ่มกันที่ขั้นตอนแรก Research Keyword โดยตัว Keyword ที่เลือกใช้มีดังนี้ค่ะ
ตัว Keyword ที่ใช้คือ ราดหน้า
ระยะเวลาดึงข้อมูลย้อนหลัง 01/10/2023 – 31/08/2024 รวมทั้งสิ้น 11 เดือนกว่าย้อนหลังกับข้อมูลจำนวน 13,162 Mentions
ปล. การเลือกใช้ Keyword สามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากเซตตัว Keyword เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การ Collecting Data โดยระบบได้กวาดข้อมูลมาให้เราได้ทั้งหมดจำนวน 13,162 mentions ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ
STEP 3 Cleansing Data
ก่อนที่จะได้ Insight มานั้น ต้องขอบอกว่าข้อมูลที่เราดึงมา มันไม่ได้มีข้อมูลที่เราจะใช้ได้ทั้งหมด 100% เพราะฉะนั้นเราจะต้องมา Cleansing data ซะก่อน โดยการ Cleansing data ของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โพสต์เทน้ำมันราดหน้า ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในโพสต์นี้มีคำว่า “ราดหน้า ” อยู่ในโพสต์ แต่บริบทของข้อความไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อที่เราต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องคัดกรองข้อมูลก่อนนั่นเองค่ะ
โดยวิธีการลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการออกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. กดที่ปุ่ม Exclude 2. กดลบที่ปุ่มถังขยะ หรือ 3. เลือกคีย์เวิร์ดที่จะ Exclude ในข้อความโดยการคลุมดำคำนั้นได้เลย สามารถเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ตามความถนัดเลยค่ะ
STEP 4 Conversation Analysis
หลังจากที่เราทำการคลีนข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาที่เราจะเห็นก็คือข้อมูลแบบองค์รวมว่าประเด็นเกี่ยวกับราดหน้าที่มีการพูดถึง คนพูดถึงในแง่มุมไหนบ้าง พูดถึงอย่างและแบบไหน ช่องทางไหนที่มีการพูดถึงบ้าง เทรนด์และไทม์ไลน์การพูดถึงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยไกด์ให้เราทำขั้นตอนต่อไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งก็คือการทำ Categorize Data หรือการจัดข้อมูลให้อยู่เป็นหมวดหมู่นั่นเองค่ะ
ทีนี้เรามาดูกันแต่ละส่วนกันดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีการพูดถึง ‘ราดหน้า’ มากน้อยแค่ไหน
Social Data Stat Overview
เรามาดูในแง่ของส่วนแบ่งแพลตฟอร์มในมิติของ Mention, Engagement และ By Engagement ignore view กันก่อนค่ะ เพื่อที่จะทำให้เราได้มองเห็นภาพกว้างมากขึ้นว่าแพลตฟอร์มไหนคนมีการพูดถึงหรือมีส่วนร่วมกับประเด็นต่าง ๆ ที่ความเกี่ยวข้องกับ ‘ราดหน้า’
By Mention : จากข้อมูลบ่งชี้ว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการถูกใช้เพื่อถึง ราดหน้า มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ YouTube, Twitter, TikTok และ Instagram ตามลำดับ โดยโพสต์ที่ได้รับการมีส่วนร่วมมากที่สุดมาจากเพจ มูมมาม รีวิวราดหน้าเส้นใหญ่ไข่เจียว
By Engagement : ในทางกลับกับสำหรับด้าน Engagement แพลตฟอร์มอย่าง YouTube ขึ้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (นับรวมยอดวิวเข้าไปด้วย) รองลงมาคือ TikTok และอื่น ๆ ตามลำดับ และคอนเทนต์ที่มียอดการมีส่วนร่วมสูงสุดมาจากช่อง ดำกับบิ๋ม คลิปทำราดหน้าความยาว 1 นาที
By Engagement ignore YouTube view -เพราะ YouTube มีการนับยอดวิวไปด้วย เราเลยกดเอาช่องทางนี้ออกเพื่อให้เห็นภาพรวมของช่องทางอื่น ๆ ค่ะ และ TikTok เป็นช่องทางที่ได้รับเอนเกจเมนท์สูงสุด ซึ่งเป็นคลิปจากช่อง paois250 อธิบายเรื่องปลาหมึกที่ใช้ในราดหน้าของโรงแรมอลิซาเบธ
VIDEO
Social Data By Timeline
มาต่อกันด้วย Social Data By Timeline ในที่นี้เราจะขอเอาแพลตฟอร์ม YouTube ออก เพราะเป็นช่องทางที่นับยอดวิวเข้าไปด้วย อีกอย่างคือเราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับความนิยมบ้าง จึงเอาออกเพื่อที่จะได้ดูในแพลตฟอร์มอื่นบ้าง ว่าคอนเทนต์ไหนที่ได้รับความนิยมบ้างนั่นเองค่ะ
ซึ่งเราจะเห็นได้เลยว่าแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงอย่างโดดเด่นคือ TikTok และ Facebook โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะมาจากฝั่งผู้ประกอบการเป็นหลักอย่างช่อง paois250 ซึ่งเป็น CEO ของโรงแรมอลิซาเบธที่ทำคอนเทนต์ลงช่องทุกวันเกี่ยวกับราดหน้าที่โรงแรม
รวมถึงมาจากฝั่งของนักรีวิว ฟู๊ดครีเอเตอร์ต่าง ๆ เช่น ช่องมูมมาม รีวิวร้านราดหน้าคุณทิพย์101 หรือช่องสมชายบ้านไร่ รีวิวทำราดหน้า
เมื่อดูเทรนด์จาก Hashtag ประกอบจะเริ่มเห็นว่าโพสต์ที่กล่าวถึงจะมาจากโพสต์ที่ติด #ราดหน้า เป็นหลัก เป็นการบ่งบอกถึงกิจการของตนได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นก็จะเป็นชื่อร้าน ชื่อเมนูราดหน้าหรือเพจที่รีวิว เช่น โรงแรมอลิซเบธ ชีวิตติดรีวิว ราดหน้าเส้นกรอบ เป็นต้น
ดังนั้น ท่านใดที่ทำ SEO Content อยู่ลองนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ได้มากที่สุด หรือถ้าแบรนด์หรือผู้ประกอบการท่านใดที่อยากสืบเสาะ Insight ด้วยตัวคุณเอง สามารถนำคำเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลือก Keyword เพื่อดึงข้อมูลใน Social listening ได้ค่ะ
Top Post by Platform
มาดูภาพรวมคอนเทนต์ที่ได้รับ Engagement หรือการมีส่วนร่วมสูงสุดในแต่ละแพลตฟอร์มประกอบกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจบริบทภาพรวมของคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น
Facebook : มูมมาม รีวิวราดหน้าเส้นใหญ่โปะด้วยไข่เจียวฟูกรอบ
Twitter : Bon Appetit BKK เส้นใหญ่ราดหน้าหมูทงคัตสึที่บรรทัดทอง
Instagram : muummaam รีวิวราดหน้าเส้นใหญ่โปะด้วยไข่เจียวฟูกรอบ
TikTok : paois250 อธิบายเรื่องปลาหมึกที่ใช้ในราดหน้าของโรงแรมอลิซาเบธ
YouTube : ดำกับบิ๋ม คลิปทำราดหน้าความยาว 1 นาที
STEP 5 Categorize Data
หลังจากที่เราคัดกรองข้อมูล ได้ข้อมูลที่พร้อมใช้งานจริง ๆ และเห็นถึงภาพรวมของการพูดถึงเกี่ยวกับราดหน้าว่ามีการพูดถึงในมุมมองในบ้าง พูดถึงแบบใด สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการ จัดกลุ่มข้อมูลค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะจัดกลุ่ม เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการรู้อะไรจากมันบ้าง และข้อมูลบอกอะไรให้เราได้รู้บ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมา
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลบทความนี้ จะแบ่งออกเป็น 6 Category เพื่อหาเป็น Insight ออกมา 6 หัวข้อ ดังนี้
ประเภทเนื้อสัตว์
ประเภทเส้น
ประเภทผัก ชอบไม่ชอบอะไรบ้าง
Top 5 ชื่อร้านดังที่มีการถูกพูดถึงมากที่สุด
ช่วงราคา
ช่องทางในการทานและสั่งซื้อ
จากนั้นจะใช้ Tag ในการจัดกลุ่มข้อมูลค่ะ และคำที่ใช้ค้นหาเพื่อทำการจัดกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจะเป็นตามในรูปด้านบนค่ะ ใครจะแบ่งหัวข้อมากกว่านี้ก็ได้นะคะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะหา และข้อมูลพาเราไปหาได้ค่ะ
STEP 6 Data Visualization
เมื่อทำขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่ Data เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 6 คือ การทำ Data Visualization วิธีการทำก็สามารถทำได้หลายทางแล้วแต่ความถนัด อย่างผู้เขียนจะเลือกทำใน Canva เพราะเป็นช่องทางที่ถนัดใช้ที่สุด โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่เราได้ทำการเตรียม มาทำการแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
STEP 7-8 Summary & Insight / Recommendation
หลังจากกระบวนการตั้งแต่ 1-6 ข้อมูลจะพร้อมให้เราใช้ประโยชน์แล้วค่ะ ผ่านการ Summary & Insight / Recommendation ราดหน้า ในประเทศไทยตามเนื้อหาด้านล่างนี้ค่ะ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ต้องผ่านการผัดหุงต้มนึ่งไม่แพ้อาหารเลย แต่กลวิธีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป จากทั้งหมด 8 Step หลักวิธีการใช้ Social Listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ มาดูกันว่าผู้เขียนเตรียมข้อมูลแบบไหนมาแชร์ทุกคนกันบ้าง
Insight #1 หมูมาแรง โดยเฉพาะหมูหมัก
มาเริ่มกันที่ประเภทเนื้อกันค่ะ โดย Insight นี้จะแบ่งเป็นภาพใหญ่แบบวงกว้างก่อน และจาก Social listening บ่งชี้มาว่า หมู คือประเภทเนื้อที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 63% รองลงมาคือไก่ 34% และตามมาด้วยทะเล 3 %
และเมื่อเจาะลึกลงมาในเนื้อแต่ละประเภทแล้วเราก็จะพบว่า หมูสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภทด้วยกันคือ
หมูหมัก 52% > มีจุดเด่นที่ความนุ่มและรสชาติเข้มข้น
หมูชิ้น 45%
หมูเด้ง 3%
ในส่วนของเนื้อไก่ เราจะแบ่งได้อีก 2 ประเภทที่เจอจากการใช้ Social listening ซึ่งความน่าสนใจของเนื้อประเภทนี้คือเป็นเนื้อที่สายสุขภาพ คนออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักเลือกกิน โดยเฉพาะส่วนของอกไก่ ที่เนื้อมีความลีน เหมาะแก่การสร้างกล้ามเนื้อและมีโปรตีนสูง
ไก่ชิ้น 90%
อกไก่ 10%
ในส่วนของเนื้อสัตว์ทะเล จะแบ่งได้ 4 ประเภท โดยในกลุ่มนี้จะมีความหลากหลายและผสมผสานมากกว่าประเภทเนื้ออื่น ๆ กล่าวคือ มีการใส่เนื้อสัตว์มากกว่า 1 เพิ่มเข้าไป เช่น กุ้ง หมึก ปลา ที่เรียกว่ารวมมิตร ทั้งนี้ก็ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบเนื้อสัตว์ทะเลเดี่ยว ๆ อยู่เช่นเดียวกัน
กุ้ง 36%
หมึก 34% > คนมักมีดราม่ากับหมึกแช่แข็ง เหนียวเหมือนยางรถ
รวมมิตร 27%
ปลากระพง 6% > มักเป็นปลากระพงเต้าซี่
Insight #2 ประเภทเส้นกรอบมาแรง กรุบ ๆ กรอบ ๆ เพิ่ม Texture ในทุกคำ
มาต่อกันด้วย Insight ที่สองกับประเภทเส้น โดยเราพบว่าเส้นแบบเส้นกรอบมีการพูดถึงมากที่สุด กล่าวคือเป็นเส้นที่ผ่านการทอด คิดเป็น 75:25 เมื่อเทียบกับเส้นปกติที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรุงอะไรเลย และเมื่อแบ่งแย่งลงลึกของประเภทเส้นกรอบ จะแบ่งได้ 2 เส้นที่มีการทอดกรอบคือ เส้นใหญ่กรอบ 66% และเส้นหมี่เหลืองกรอบ 34% ค่ะ
ในฝั่งของเส้นปกติ จะเป็นเส้นใหญ่ มากที่สุด คิดเป็น 57% ตามมาด้วย บะหมี่เหลือง 32% เส้นหมี่ 8% และปิดท้ายด้วยมาม่า 3% ค่ะ และจากภาพด้านล่างจะเป็นตัวอย่างคอนเทนต์ของแต่ละประเภทเส้นที่ได้รับการมีส่วนร่วมสูง
Insight #3 คนชอบใส่คะน้าในผัก และไม่ชอบบล็อกโคลี่มากที่สุด
ถัดจากเนื้อและเส้นมาแล้ว เรามาต่อกันด้วยที่ประเภทผักที่มีการพูดถึงกันค่ะ โดย Social listening บ่งชี้มาว่า คะน้า เป็นผักที่มีการพูดถึงมากที่สุด มากถึง 32% ตามมาด้วย แครรอท 26% ข้าวโพดอ่อน 24% กะหล่ำดอก 9% เห็ด 5% และบล็อกโคลี่ 4%
และเมื่อเรามาเปรียบเทียบในแง่มุมของ Sentiment ที่มีต่อผักแต่ละชนิด เราพบว่าบล็อกโคลี่ เป็นผักชนิดเดียวที่คนมี Negative Sentiment มากถึง 60% ในเชิงของการบ่นว่าเหม็นเขียวและมีสัมผัสที่แข็ง ทว่าในฝั่งของคะน้า คนมี Positive Sentiment มากที่สุด โดยมองว่าเป็นผักที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยไฟเบอร์นั่นเองค่ะ
ดังนั้น ท่านใดที่เป็นผู้ประกอบการ หากเรามีตัวเลือกให้ผู้บริโภคได้เลือกว่าเขาอยากใส่ ไม่ใส่ผักอะไร หรือเลือกระดับความสุดของผักได้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกทางการตลาดที่น่าสนใจค่ะ
Insight #4 ร้านดังโรงแรมอลิซาเบธมาแรง
นาทียี้ต้องยกให้กับราดหน้าโรงแรมอลิซาเบธจริง ๆ ค่ะ เพราะเป็นโณงแรมที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 53% จาก Top 5 โดยมาจากทั้งฝั่งผู้บริโภคหรือเหล่าอินฟลูฯและมาจากฝั่งของเจ้าของกิจการเองด้วยที่ขยันทำคลิปลงช่องตัวเองอยู่ตลอด จึงทำให้โรงแรมอยู่ในกระแสของราดหน้าตลอดเวลานั่นเองค่ะ
รองลงมาคือ ราดหน้าคุณทิพย์ 101 24% ร้านนี้จะดังเรื่องท็อปปิ้งไข่เจียวฟูกรอบที่โปะหน้าราดหน้าอีกที ตามมาด้วยราดหน้าโรงเหล็ก 11% ราดหน้ายอดปัก สูตร 40 ปี 9% และปิดท้ายด้วยรสทิพย์ยอดผัก 3%
VIDEO
Insight #5 10-100 บาท คือราคาที่คนยอมจ่ายมากที่สุด
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายกับ Insight เรื่องราคาที่คนมีการพูดถึงจาก Social listening โดยเราพบว่าในช่วง 10-50 บาท จะมีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 84% ตามมาด้วย 51-100 บาท 10%, 101-150 บาท 4% และปิดท้ายด้วย 150+ บาท 2%
โดยเราจะเห็นว่าในเรจราคา 10-50 บาท จะเป็นจำนวนที่คนยอมจ่ายได้มากที่สุด และมักมาจากร้านอาหารขนาดเล็ก ทว่าไม่ได้หมายความว่าช่วงราคาอื่นคนไม่ยอมจ่ายกันหรอกนะคะ แต่ยอมจ่ายน้อยกว่านั่นเองเมื่อเทียบกับราคาที่ไม่เกิน 50 บาท โดยราดหน้าที่ราคาสูง ๆ มักเป็นราดหน้าที่เป็นห้องอาหารที่ทำจากเซฟหรือตามโรงแรม เช่น โรงแรมอลิซาเบธ วึ่งก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มราคาที่คนยอมจ่ายแต่จะเป็นกลุ่มที่น้อยกว่าฐานของ 10-50 บาทค่ะ
Insight #6 คนชอบไปทานราดหน้าที่ร้าน และหากสั่งแอปฯ จะสั่งผ่าน Lineman
ปิดท้ายกันด้วยข้อมูลจาก Social listening กับ Insight ในเรื่องของวิธีในการไปทาน โดบเราพบว่าคนชอบไปทานราดหน้าที่ร้านเลยมากกว่าแบบสั่งแอปฯ คิดเป็น 75:25% กันเลยทีเดียว ซึ่งเราสามารถอนุมานได้ว่าการทานที่ร้านอาจได้รรยากาศมากกว่า อาหารมาร้อน ๆ ทานร้อน ๆ ความอร่อยยังคงสดใหม่จึงคาดว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้คนเลือกทานที่ร้านมากกว่านั่นเองค่ะ
ในแง่ของการสั่งแอปฯ เมื่อเจาะลึกลงมา เราจะพบว่ามี 4 แอปฯ ด้วยกันที่คนจะเลือกกดสั่งหรือเจ้าของกิจการเลือกใช้ โดย Lineman จะเป็นเดลิเวอรี่เซอร์วิสที่มีการพูดถึงมากที่สุด คิดเป็น 54% รองลงมาคือ Grab 24% Foodpanda 12% และ Robinhood 10%
TOP5 Facebook Page ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกโพสต์” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
วันละมื้อ 127K Engagement
มูมมาม 71K Engagement
กับข้าวกับปลาโอ 67K Engagement
สมชายบ้านไร่ 64K Engagement
Mawinfinferrr 62K Engagement
TOP5 YouTube channel ที่นับจากคลิป “ยอดวิว” สูงที่สุดของช่องเท่านั้น
โมมากิน ชาแนล Momakin 2.1M View
Guy Haru Family 1.9M View
ดำกับบิ๋ม 1.2M View
Juepak 917K View
ลุงอ้วน กินกะเที่ยว 585K View
TOP5 TikTok account ที่นับยอดเอนเกจจาก “ทุกคลิป” ในเพจที่อยู่ในระยะเวลาและคีย์เวิร์ดที่กำหนดเท่านั้น
paois250 680K Engagement
mastertomtomxoxo 148K Engagement
achasai 97K Engagement
weyurieco_ceo 68K Engagement
cokecumtoto 64K Engagement
Data Research Insight สำรวจจักรวาล ราดหน้า By Social listening
ปฎิเสธไม่ได้เลยจริง ๆ ว่า ‘ราดหน้า’ เป็นหนึ่งในอาหารที่มีความหลากหลายและความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเราจะเห็นถึงความสร้างสรรค์ในการรังสรรค์เมนูให้มีความแปลกใหม่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นท็อปปิ้งไข่เจียวกรอบ เส้นใหญ่ทอดที่เพิ่มรสสัมผัสให้กับอาหาร และผู้บริโภคมีความชอบและไม่ชอบต่อผักที่แตกต่างกันไป อย่างในกรณีที่เราพบคือ คนไม่ชอบบล็อกโคลี่ เพราะกลิ่นเหม็นเขียวและสัมผัสแข็งกว่าผักชนิดอื่น
และนี่ก็คือทั้งหมดของ Data Research Insight ราดหน้า ที่ได้จากการใช้ Social listening tool เจาะลึกธุรกิจอาหาร ‘ราดหน้า’ ที่มาพร้อมประเด็นที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจทั้งที่ดำเนินกิจการอยู่ และกำลังหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ปรับตัวตาม Consumer Insight ราดหน้ากันค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างไอเดียใหม่ ๆ ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
ทีมการตลาดวันละตอน ผู้จัดทำ Data Research insight ขอขอบคุณcSME D BANK ที่สนับสนุนโปรเจคนี้
คลิกเพื่ออ่านบทความ Project Data Research Insight ก่อนหน้า > ก๋วยเตี๋ยว หมูกระทะ ข้าวมันไก่ ยำ ไก่ทอด ราเมง ของดอง ผัดไทย ไอศกรีม ข้าวขาหมู ข้าวแกง ข้าวเหนียวมะม่วง หรืออ่านทั้งหมดได้ที่ #Dataอร่อยร้อยล้าน
————————–
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
ตัวอย่าง Social listening ผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย