การตลาดธนาคาร Virtual Bank

การตลาดธนาคาร Virtual Bank ออก 5 Layer Security System รู้ทันมิจฉาชีพ

ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางการเงินไม่ได้มาในรูปแบบเดิมอีกต่อไปครับ อย่างที่ทุกคนรู้มิจฉาชีพพัฒนาเร็วพอ ๆ กับเทคโนโลยีของธนาคาร กลโกงที่เคยใช้เวลาหลอกล่อเป็นวัน กลายเป็นแค่ไม่กี่นาที เหยื่อก็อาจตกเป็นผู้เสียหายแล้ว การป้องกันจึงไม่ใช่เรื่องของซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คือกลยุทธ์องค์กรระดับชาติ ที่ต้องมีทั้งเทคโนโลยี ความเข้าใจมนุษย์ และการเชื่อมโยงระบบรักษาความปลอดภัยกับภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน นี่คือจุดที่ การตลาดธนาคาร Virtual Bank กลุ่ม Lightnet–WeLab เข้ามาเป็นผู้เปลี่ยนเกม ด้วย 5 ปราการความปลอดภัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับภัยใหม่ โดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่แค่การสกัดปัญหาแบบเดิม แต่คือการทำให้ธนาคารดิจิทัลฉลาดพอจะ “เดาก่อนเกิด” ได้อย่างแท้จริง

AI-Generated by Shutterstock (Prompt: a futuristic virtual bank interface glowing in holographic blue, a confident user accessing digital banking through biometric security, five translucent shield layers surrounding the user, each representing a different cybersecurity measure, cinematic lighting, tech noir style, dramatic contrast)

Lightnet–WeLab คือพันธมิตรระหว่างบริษัท Fintech จากไทยและฮ่องกง ที่กำลังยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank ในไทย โดยดึงเอาประสบการณ์จากการให้บริการ Digital Banking กว่า 70 ล้านบัญชีในเอเชีย มาผสมกับโครงสร้างพื้นฐานของ Lightnet ที่ครอบคลุมการชำระเงินกว่า 150 ประเทศครับ

จุดเด่นคือการสร้าง Proactive Fraud Defense ระบบรักษาความปลอดภัยเชิงรุก ที่ไม่ได้รอให้มีปัญหาแล้วค่อยแก้ แต่ใช้ AI, Machine Learning และ Network Analysis วิเคราะห์พฤติกรรมผิดปกติตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับเครือข่าย เพื่อรู้ก่อน เสริมก่อน และสกัดก่อน มิจฉาชีพจะลงมือครับ

ลองมาดูว่าแต่ละ Layer Security System ถูกวางไว้อย่างไร และมีอะไรที่นักการตลาดหรือผู้นำธุรกิจดิจิทัลสามารถเรียนรู้ได้จากโมเดลนี้บ้างครับ

การตลาดธนาคาร Virtual Bank

ระบบจดจำใบหน้าอัจฉริยะถือเป็นด่านแรกของการป้องกันครับ โดยทำหน้าที่ตรวจจับภาพ Deepfake ที่แม้แต่มนุษย์เองอาจแยกไม่ออก เมื่อผู้ใช้ถ่ายเซลฟี่เพื่อยืนยันตัวตน ระบบจะสแกนรูปอย่างละเอียด ทำให้มั่นใจได้ว่าคนที่ใช้งานคือเจ้าของภาพตัวจริง ไม่ใช่ภาพหรือวิดีโอที่ถูกปลอมแปลงมาครับ

มาดู Case จริงกันดีกว่า ในปี 2566 ระบบตรวจสอบใบหน้าของ WeLab Virtual Bank ในฮ่องกงสามารถตรวจจับได้ว่ามีคนใช้ภาพ Deepfake สมัครเพื่อกู้เงิน ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดโปงเครือข่ายมิจฉาชีพที่ร่วมกันนำบัตรประชาชนที่ถูกขโมยจำนวน 8 ใบ ไปยื่นกู้เงินถึง 90 ครั้งในสถาบันการเงิน 20 แห่งทั่วฮ่องกง ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่จึงสามารถจับกุมผู้ต้องหา 6 คน ก่อนที่พวกเขาจะนำเงิน 200,000 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 900,000 บาท ที่โกงมาได้ไปใช้ครับ

ผมมองว่าสิ่งที่ทำให้ระบบนี้แตกต่างจากการยืนยันตัวตนทั่วไป ไม่ใช่แค่การมีเทคโนโลยีใหม่ แต่คือวิธีคิดเชิงป้องกันล่วงหน้า ที่กลายเป็นหัวใจของความปลอดภัยยุคใหม่ ในอดีตระบบยืนยันตัวตนทำหน้าที่แค่ตรวจสอบว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่วันนี้มันต้องวิเคราะห์ ว่าใครกำลังพยายามจะเป็นเรา การใช้ AI และเทคโนโลยี Deepfake Detection ทำให้ Virtual Bank ไม่เพียงแค่ปิดประตู แต่รู้ทันว่าใครกำลังจะเข้ามาตั้งแต่ยังไม่เปิดประตูเลยด้วยซ้ำครับ

มีระบบติดตามและตรวจสอบธุรกรรมแบบเรียลไทม์ของกลุ่ม Lightnet-WeLab ช่วยจับสัญญาณพิรุธต่าง ๆ เช่น การการโอนเงินไปหลายบัญชีในเวลาผิดปกติ การทำธุรกรรมพร้อมกันจำนวนมาก ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับการพนันหรือการเทรดคริปโต โดยหากพบว่าบัญชีถูกแฮกและควบคุมโดยมิจฉาชีพ ระบบจะทำการระงับบัญชีหรืออายัติธุรกรรมในทันที เพื่อหยุดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมายครับ

การตลาดธนาคาร Virtual Bank

เป็นระบบป้องกันพิเศษที่จะขอให้ผู้ใช้ยืนยันตนเองก็ต่อเมื่อมีการตรวจพบ สัญญาณผิดปกติ เช่น การเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารกะทันหัน การโอนเงินจำนวนมากผิดปกติ หรือการจ่ายเงินถี่ ๆ ให้ผู้รับเงินรายใหม่ ๆ โดยระบบจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้บริการธนาคารปกติของผู้ใช้งานส่วนใหญ่ครับ

เนื่องจากพฤติกรรมของบัญชีม้านั้นต่างจากบัญชีปกติอย่างเห็นได้ชัด โดยบัญชีเหล่านี้มักใช้งานผ่านหลายอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งมากกว่าบัญชีปกติ 2.3 เท่า ทั้งยังมีการลงชื่อเข้าใช้จากหลายสถานที่มากกว่าบัญชีปกติ 3 เท่า และใช้งานบัญชีระหว่างคุยโทรศัพท์มากกว่าถึง 34 เท่าเลยทีเดียวครับ บัญชีม้าส่วนใหญ่จะมีลักษณะเด่นคือ มีการทำธุรกรรมแบบฉับพลันในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่บัญชีม้าแอบแฝงจะหลับใหลเงียบเชียบเป็นเดือน ๆ ก่อนจะตื่นขึ้นมาทำธุรกรรมจำนวนมากแบบกะทันหันครับ

ระบบป้องกันด่านที่สี่จะช่วยปะติดปะต่อความเชื่อมโยงระหว่างบัญชีที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน และสามารถตรวจจับแก๊งมิจฉาชีพที่ใช้บัญชีหลายบัญชีบนอุปกรณ์เดียวกันผ่าน GPS ตำแหน่งเดียวกัน หรือ IP Address เดียวกันได้ 

เทคโนโลยีวิเคราะห์เครือข่ายของ WeLab ในอินโดนีเซีย เคยเปิดโปงแก๊งมิจฉาชีพที่อาศัยช่องโหว่ในโปรโมชั่นเพื่อนชวนเพื่อน โดยระบบสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติได้จากการเปิดบัญชีหลายบัญชี การใช้อุปกรณ์สื่อสารแบบเดียวกัน และการใช้ฉากหลังเซลฟี่ที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบทที่คล้าย ๆ กันครับ โดยบัญชีที่มีลักษณะความเชื่อมโยงที่น่าสงสัยเหล่านี้จะถูกระบบจัดไว้ในกลุ่มเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นบัญชีม้าสำหรับฟอกเงินหรือกิจกรรมผิดกฎหมายอื่น ๆ เช่น การพนันออนไลน์ 

สำหรับผมสิ่งที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่การจับผิดรายบุคคล แต่คือการมองเป็นเครือข่ายแบบที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้เร็วพอ เทคโนโลยีนี้เปลี่ยนโมเดลจากผู้ต้องสงสัยเดี่ยวไปสู่ระบบเชื่อมโยงของความเสี่ยงที่สามารถมองเห็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น การใช้มือถือเครื่องเดิมเปิดบัญชีหลายรอบ หรือการอยู่ใน Location เดียวกันซ้ำ ๆ ในเวลาใกล้เคียงกันครับ

ประเทศไทยกำลังเสริมแกร่งด้านความปลอดภัยดิจิทัล โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก. ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ที่กำหนด “ความรับผิดชอบร่วม” ให้แก่ธนาคาร บริษัทโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มออนไลน์ในด้านอาชญากรรมไซเบอร์ครับ

ซึ่งการกำหนดกรอบความร่วมมือนี้ช่วยสร้างเครือข่ายป้องกันภัยมิจฉาชีพออนไลน์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และแก้ไขจุดอ่อนสำคัญที่เหล่ามิจฉาชีพเคยใช้ประโยชน์จากระบบการเงินไทยมาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม Lightnet-WeLab กับภาคเอกชน และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ก็เป็นหนึ่งในความริเริ่มสำคัญเพื่อเสริมสร้างแนวร่วมในการต่อกรกับมิจฉาชีพอีกด้วยครับ

การตลาดธนาคาร Virtual Bank

สิ่งที่ Lightnet–WeLab กำลังทำอยู่ไม่ได้แค่ป้องกันปัญหาแบบเดิม ๆ แต่กำลังสร้างโมเดลใหม่ให้กับ Virtual Bank ในไทย คือการเป็นธนาคารที่รู้ทัน รู้เร็ว และรู้ลึกว่าลูกค้าแต่ละคนมี “จุดเสี่ยง” แบบไหนบ้าง สิ่งที่ธุรกิจอื่นเรียนรู้ได้จากกรณีนี้ คือแนวคิด Design for Security, Not Reactivity หากคุณออกแบบระบบให้ปลอดภัยตั้งแต่ต้น ไม่ต้องรอให้มีปัญหาแล้วค่อยหาทางอุด

และในยุคที่ความเชื่อใจคือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าโปรโมชั่น การเป็นองค์กรที่ดูแลก่อนที่ลูกค้าจะต้องขอให้ช่ว คือแต้มต่อสำคัญในระยะยาวครับ

บทความที่แนะนำให้อ่านต่อ

ชื่อเติ้ลครับ เป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^ มีงานอดิเรกเป็นผู้ช่วยนักวิจัยฝั่ง Consumer Insights ที่คณะวิทยาศาตร์การกีฬา ที่จุฬาครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *