ttb touch ยกระดับ Mobile Banking ทำการตลาดด้วย Hyper-Personalization เป็นผู้ช่วยทางการเงินที่เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง

หากพูดถึง Mobile Banking ต้องบอกว่าทุกวันนี้ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่บริการทางการเงินที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้วครับ ลูกค้าคาดหวังประสบการณ์ที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก ยิ่งประสบการณ์ที่ได้รับดีก็ยิ่งเป็นที่รักของลูกค้า ดังนั้นธนาคารจึงต้องพลิกโฉมตัวเองให้ก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครับ วันนี้พามาดูหนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ แอป ttb touch ที่พัฒนาบริการไปอีกขั้น ด้วยการใช้ AI และ Big Data มาผสมผสานกันเพื่อทำการตลาดในรูปแบบ Hyper-Personalization สร้างโมเมนต์พิเศษในทุก ๆ Touch Point ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าธนาคารเข้าใจลูกค้าจริง ๆ ครับ มาดูกันว่าแอป ttb touch ในปัจจุบันเป็นยังไง Personalized ขนาดไหน ติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ

แอป ttb touch ใช้ Big Data ที่มีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแอปฯ การทำธุรกรรม หรือแม้แต่พฤติกรรมในชีวิตประจำวันครับ จากนั้นนำมาประมวลผลผ่าน AI Engine ที่มีความสามารถวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ เปลี่ยนข้อมูลดิบนำมาสู่การ Hyper-Personalization ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละช่วงเวลาครับ

มาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับว่า ttb touch มีการทำ Hyper-Personalization อะไรที่น่าสนใจบ้าง

Hyper-Personalization ไม่ได้หมายถึงแค่การส่งคอนเทนต์หรือโปรโมชันที่ Relevancy กับลูกค้าเท่านั้นนะครับ แต่คือการสร้าง Special moment ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าธนาคารเข้าใจจริง ๆ ครับ ตัวอย่างเช่นในหน้าหลักของ Mobile Banking ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่โฆษณาหรือการแจ้งเตือนทั่ว ๆ ไปครับ แต่ลูกค้าต้องการการสื่อสารที่ตรงใจ และต้องเกิดขึ้นในจังหวะที่ใช่ด้วย แอป ttb touch จึงทำการ Personalized Digital Banking Experience เพื่อทำให้ทุกข้อความที่ลูกค้าได้รับเป็นสิ่งที่มีความหมายและช่วยให้ชีวิตทางการเงินง่ายขึ้นครับ

ทุกการแจ้งเตือนถูกออกแบบมาให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคน ไม่ใช่แค่การแจ้งเตือนชำระบิลหรืออัปเดตข่าวสารแบบทั่วไปเท่านั้นนะครับ แต่เป็น Smart Notifications ที่วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงินของลูกค้าเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ตรงจังหวะและเป็นประโยชน์ เช่น การแจ้งเตือนชำระบิลที่ไม่เพียงแค่บอกวันที่ครบกำหนดที่มีการระบุข้อมูลว่ายอดเงินที่ต้องจ่ายคือเท่าไร และลูกค้าเคยชำระบิลนี้มากี่ครั้ง หรือการสรุปยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตที่ให้ลูกค้าเห็นภาพรวมพฤติกรรมการเงินของตัวเองได้ชัดขึ้น อีกทั้งยังมีข้อความอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจจัดการเงินของตนเองได้ง่ายขึ้นครับ

แนวคิด Personalized Moment นี้ช่วยให้การตัดสินใจทางการเงินของลูกค้าเร็วขึ้นและแม่นยำขึ้น เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มีเวลามานั่งวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของตัวเองหรือตามหาโปรโมชันที่เหมาะสม แอป ttb touch จึงเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทางการเงิน ที่ช่วยคิดแทนลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และส่งมอบข้อมูลนั้นในเวลาที่เหมาะสมครับ

ผมมองว่าเป็นสิ่งที่แตกต่างจากระบบการแจ้งเตือนแบบเดิม ๆ ที่มักส่งข้อความแบบเดียวกันให้กับลูกค้าทุกคนโดยไม่คำนึงถึงความเกี่ยวข้อง ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่มองข้ามครับ ในทางกลับกัน Personalized Banking ที่วิเคราะห์จากพฤติกรรมและความต้องการเฉพาะบุคคล แล้วส่งเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลูกค้าให้ความสนใจมากขึ้นและนำไปใช้จริง ต่อไปอยากให้ทุกคนไปดูครับว่าแอป ttb touch นำ AI และ Big Data มาทำ Hyper-Personalization แบบไหนอีก

หนึ่งในปัญหาที่หลายคนเคยเจอคือยอดเงินใน Easy Pass หรือ M-Pass ไม่พอ ขณะกำลังจะเข้าสู่ด่านทางด่วน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความล่าช้าเท่านั้น แต่ยังสร้างความไม่สะดวกเมื่อต้องหาทางแก้ไขเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถข้างทางเพื่อเติมเงิน หรือเปลี่ยนไปใช้ช่องเงินสดที่ต้องเสียเวลาต่อคิวมากเลยใช่มั้ยครับ

แต่แอป ttb touch เข้ามาช่วยแก้ Pain Point นี้ด้วยการใช้ AI ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการเติมเงินของผู้ใช้ว่า โดยปกติแล้วลูกค้าเติมเงินทุกกี่วัน และเติมครั้งละเท่าไร จากนั้นระบบจะตั้งค่าแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ ให้ลูกค้าเติมเงินล่วงหน้า ก่อนที่ยอดเงินจะหมด สิ่งนี้ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบยอดเงินด้วยตัวเอง และมั่นใจได้ว่าการเดินทางของพวกเขาจะราบรื่นไม่มีสะดุดครับ

ttb touch

อย่างที่ทุกคนรู้กันครับปัจจุบันมิจฉาชีพทางการเงินมีวิธีการโจมตีที่แนบเนียนและซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การป้องกันต้องก้าวไปไกลขึ้นอีกขั้น แอป ttb touch จึงใช้ AI มาช่วย คาดการณ์และลดความเสี่ยง ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นครับ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกพบว่า 70% ของลูกค้าตั้งวงเงินโอนรายวันสูงกว่า 200,000 บาท ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ลูกค้าแทบไม่เคยใช้วงเงินสูงขนาดนั้นเลย นี่เป็นช่องโหว่สำคัญที่มิจฉาชีพสามารถใช้ประโยชน์ครับ หากวันหนึ่งลูกค้าถูกหลอกให้โอนเงินอาจทำให้สูญเสียเงินจำนวนมากในพริบตาได้เลย

ด้วยเหตุนี้ระบบของแอป ttb touch จึงวิเคราะห์พฤติกรรมการโอนเงินของลูกค้าแต่ละราย และแนะนำให้ลดวงเงินธุรกรรมสูงสุดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานจริง เช่น จากเดิมที่ลูกค้าตั้งวงเงินโอนที่ 200,000 บาท แต่ปกติใช้จริงไม่ถึง 10,000 บาท ระบบจะแจ้งเตือนและแนะนำให้ลดวงเงินลงเหลือ 10,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่เหมาะสมและปลอดภัยขึ้น

และที่น่าสนใจคือเมื่อลูกค้าได้รับคำแนะนำ มีมากถึง 8,000 คน ที่ตัดสินใจทำตามคำแนะนำของระบบ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า Hyper-Personalization ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่าธนาคารเข้าใจลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน และทำให้ลูกค้าตระหนักถึงความปลอดภัยของบัญชีตัวเองมากขึ้น นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของ AI ที่ไม่ได้เป็นแค่ระบบอัตโนมัติ แต่เป็นผู้ช่วยทางการเงินที่คอยดูแลลูกค้าและช่วยให้พวกเขาปลอดภัยขึ้นแบบไม่ต้องคิดเองครับ

เคยสงสัยมั้ยครับว่าในแต่ละเดือน เราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หลายครั้งเงินเดือนเพิ่งออก แต่ยอดเงินในบัญชีลดลงเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ และที่สำคัญคือเราอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้จ่ายมากเกินไปกับบางอย่าง นี่คือเหตุผลที่ ttb wrap up ถูกออกแบบมาเพื่อนำเสนอข้อมูลทางการเงินที่ช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง พร้อมนำไปปรับใช้เพื่อวางแผนการเงินที่ดีขึ้นครับ

ttb touch

แทนที่จะไปนั่งไล่เปิด Statement ดูเอง ระบบของแอป ttb touch จะช่วยสรุปและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายแบบเข้าใจง่าย ๆ พร้อม Insight ที่เจาะลึกไปถึงพฤติกรรมเฉพาะตัวของแต่ละคน เช่น

  • “สายจุ่ม” สำหรับสายสะสมของเล่นหรือของสะสม หากพบว่าคุณใช้จ่ายไปกับ POP MART ถึง 4,586 บาท อาจเป็นโอกาสให้คุณลองตั้ง Budget หรือใช้บริการวางแผนการออมเพื่อให้การสะสมของคุณยังสนุก แต่ไม่กระทบกับเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ
  • “สะดวกซื้อ สะดวกใช้” ถ้าคุณเดินเข้า 7-11 และใช้จ่ายไปแล้ว 67,405 บาท ตลอดทั้งปี อาจถึงเวลาที่ต้องพิจารณาว่า คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ยังไงบ้าง เช่น ตั้ง Budget รายเดือนหรือใช้จ่ายผ่านช่องทางที่มีสิทธิพิเศษ

นี่ก็คืออีกหนึ่งสิ่งที่ ttb wrap up ทำการสรุปให้เราครับ ทำให้เราสามารถรู้ได้เลยครับว่าใครที่เราโอนเงินให้มากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา

ttb touch

ผมมองว่าฟีเจอร์นี้ไม่ได้เป็นแค่การสรุปยอดใช้จ่ายแบบทั่วไป แต่คือ Data-Driven Insight ที่ช่วยให้ลูกค้ารู้จักพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองได้ลึกขึ้น และที่สำคัญคือช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การเลือกใช้บัตรเครดิตให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ หรือแม้แต่การปรับพฤติกรรมทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวครับ

เพราะการรู้ว่า “เราใช้เงินไปกับอะไร” เป็นก้าวแรกของการมีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น และทำให้การบริหารเงินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปครับ

Mobile Banking ไม่ใช่แค่เรื่องของความเร็วหรือความสะดวกอีกต่อไป แต่ต้องเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าธนาคารเข้าใจและช่วยจัดการการเงินได้อย่างแท้จริง นี่คือสิ่งที่แอป ttb touch กำลังสร้างผ่านการใช้ AI และ Big Data เพื่อทำการตลาดในรูปแบบ Hyper-Personalization ให้ทุกบริการเป็น Personalized Moment ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกจังหวะชีวิต

การแจ้งเตือนทั่วไปถูกยกระดับเป็น Smart Notifications ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ Pain Point เรื่องค่าทางด่วนด้วยการแจ้งเตือนเติมเงินล่วงหน้า การป้องกันมิจฉาชีพด้วยระบบวิเคราะห์พฤติกรรมที่ช่วยลดวงเงินธุรกรรมตามความเหมาะสม หรือแม้แต่ ttb wrap up ที่ช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพรวมการใช้จ่ายของตัวเอง และปรับพฤติกรรมการเงินให้ดีขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแอป ttb touch ไม่ได้เป็นแค่ Mobile Banking แต่กำลังกลายเป็น “ผู้ช่วยทางการเงิน” ที่คอยคิดแทน วางแผนแทน และช่วยให้ลูกค้าบริหารการเงินได้ง่ายขึ้นแบบไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลเอง ซึ่งนี่คืออนาคตของ Digital Banking ที่ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มธุรกรรม แต่เป็น Financial Companion ที่อยู่กับลูกค้าในทุกช่วงชีวิตจริง ๆ

ชื่อเติ้ลครับ ทำงานเป็น Data Research Insight & Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอนครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *