การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ New Snacks เจาะ Gen Z ด้วยกลยุทธ์ 4P’s

ในตลาดขนมขบเคี้ยวหรือที่เราเรียกกันชินปากว่า Snack มีการเติบโตและมีการแข่งขันที่สูงอยู่ตลอดเวลา ทำให้การสร้างความแตกต่างและโดดเด่นเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักเป็น Gen Z วันนี้ทางผู้เขียนเลยจะพาทุกคนไปวิเคราะห์ การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ (Toki Toki) แบรนด์ขนมขบเคี้ยวน้องใหม่ จาก บริษัท อาหารยอดคุณ จำกัด ผ่านมุมมอง 4P’s Marketing Mix

แต่ก่อนอื่นเราคงต้องไปดูเทรนด์หรือพฤติกกรรมของกลุ่ม Gen Z ในการเลือกบริโภคขนมขบเคี้ยวกันก่อนเพื่อจะได้เป็นการรีเช็คต์ว่าทิศทางกลยุทธ์ ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่นั่นเอง

พฤติกรรมการบริโภค Snacks ของ Gen Z ที่ส่งผลต่อ Marketing Strategy

AI-Generated by Shutterstock (Prompt: Young Thai Gen Z professional, first-jobber, casually dressed in modern work attire, enjoying a healthy snack like vegetable chips or fruit bites, dancing with joy in a cozy living room, warm lighting capturing a fun, carefree vibe after work, modern urban aesthetic with hints of Thai decor in the background, energetic and happy, embodying the youthful spirit of post-work relaxation and celebration.)

ต้องบอกว่าคนกลุ่ม Gen Z เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะและมีพฤติกรรมในการเลือก Snack โดยเทรนด์พฤติกรรมการบริโภคหลัก ๆ ของคนกลุ่มนี้ในปี 2024 ก็จะมีในเรื่องของ

  • Health Trendy อยากอร่อยแต่ก็รักสุขภาพ

กลุ่ม Gen Z ให้ความสำคัญกับการเลือกขนมที่ดีต่อสุขภาพ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีน้ำตาลสูง หรือสารปรุงแต่งที่เป็นอันตราย โดยมักมองหาขนมที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและมีไขมันต่ำ ซึ่งช่วยสร้างความสมดุลระหว่างความอร่อยและการมีสุขภาพที่ดี​

  • New Taste and More Experiences รสชาติแปลกและประสบการณ์ใหม่

Gen Z ชื่นชอบการลองของใหม่ รสชาติที่ไม่เหมือนใคร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอื่น ๆ  โดยขนมที่มีรสชาติใหม่หรือแปลกจึงเป็นที่ดึงดูดมาก เนื่องจากพวกเขาต่างก็มองหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก

  • Convenience ความสะดวกสบายและพร้อมกินเสมอ

Gen Z มักชื่นชอบกินขนมขบเคี้ยวระหว่างมื้ออาหารหรือแทนมื้ออาหารหลัก ซึ่งพวกเขามองหาขนมที่สะดวกต่อการพกพาและบริโภคได้ง่าย ขนมที่มีขนาดพอเหมาะและบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกสบายจึงตอบโจทย์ต่อความต้องการนี้

  • Social Media Influence พลังของสื่อโซเชียมิเดีย

ถึงแม้ว่าตัว Social media อาจจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเทรนด์การบริโภคขนมขบเคี้ยว แต่ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการมี Brand Engagement หรือ Consumer Buying Decission โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้กับ Music Marketing ที่มีท่าเต้นและเพลงติดหู ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลสำหรับการดึงดูดความสนใจจากคนในกลุ่มนี้​

  • Sustainability and Responsibility รักษ์โลกและรับผิดชอบต่อสังคม

คนกลุ่มนี้ชื่นชอบในแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนและการแสดงความรับผิดชอบของแบรนด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยสร้าง Brand Trust และ Brand Loyalty ได้มากขึ้นในผู้บริโภคกลุ่มนี้

เราก็พอจะเห็นพฤติกรรมในการเลือกบริโภคขนมขบเคี้ยวกันไปคร่าว ๆ แล้วนะครับ จะเห็นเลยว่าแต่ละเทรนด์ต่างก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์ขนมขบเคี้ยวที่อยู่ในตลาดมากขึ้น เราลองมาดูกันดีกว่าว่า แบรนด์ Tokki Tokki หรือ ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ จะเลือกกลยุทธ์อะไรมาใช้ผ่านมุมมอง 4P’s Marketing Mix ในการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่ม Gen Z กันบ้าง

กลยุทธ์ ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ กรอบยกแก๊งค์ อร่อยเอาเรื่อง ด้วย 4P’s Marketing Mix

การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้

#Product ขนมรสชาติใหม่ที่พร้อมใส่ใจสุขภาพ

ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ ให้ความสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอย่าง Gen Z ที่มีความสนใจในสินค้ารสชาติแปลกใหม่และใส่ใจสุขภาพ 

โดยนำเสนอขนมขบเคี้ยวในรูปแบบข้าวโพดอบกรอบที่ไม่มีการทอด ลดปริมาณไขมันและแคลอรีเพื่อเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ โดยแบรนด์พยายามที่จะสร้างความโดดเด่นที่รสชาติไม่เหมือนใครในการดึงดูดความสนใจของกลุ่ม Gen Z ผ่าน 2 รสชาติ ได้แก่

การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้
  • รสล่าเถียว ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากพริกเสฉวน มีความเผ็ดและเครื่องเทศเข้มข้น ที่ยังไม่เคยมีในตลาดขนมขบเคี้ยวไทยมาก่อน
  • รสบาร์บีคิว เป็นรสชาติที่ปรุงขึ้นเป็นพิเศษโดยทางแบรนด์ที่ให้ความเข้มข้นและรสชาติที่ลงตัว

ซึ่งทั้งสองรสชาตินี้ก็มาในรูปแบบของซองขนาด 60 กรัม แบบพกพาสะดวก ตอบโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นที่มองหาขนมขบเคี้ยวที่สามารถทานได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพ

#Price ราคาที่เข้าถึงง่าย

ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ ตั้งราคาไว้ที่ 20 บาทต่อซอง ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับวัยรุ่นไทย และด้วยการตั้งราคาที่ไม่สูงมาก ยังช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสินค้าที่คุณภาพดีในราคาที่เข้าถึงง่าย

นอกจากนี้ การกำหนดราคาที่มีความคุ้มค่ายังสามารถสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการลองผลิตภัณฑ์ใหม่ (Trial)  และทำให้แบรนด์มีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

#Place ไปที่ไหนก็เจอ

เพื่อที่แบรนด์จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม เลยขยายช่องทางการขายผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนำและร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Top, Top Daily, Maxvalu, Max Mart, The Mall, Jiffy, Villa Market และ Big C ซึ่งเป็นสถานที่ที่กลุ่ม Gen Z เข้าถึงได้ง่าย 

นอกจากนี้ แบรนด์ยังมีแผนขยายการจัดจำหน่ายไปยังร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อื่น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างสะดวกและครอบคลุมทุกพื้นที่อีกด้วย

#Promotion ผสมผสานหลากหลายช่องทาง

แบรนด์มีการใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดหลายช่องทางเพื่อสร้างความจดจำในกลุ่มผู้บริโภค Gen z ไม่ว่าจะเป็น

  • Social Media Marketing: ช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram และ TikTok ในการโปรโมท ซึ่งเป็นช่องทางที่กลุ่มวัยรุ่นใช้กันมาก โดยแคมเปญต่าง ๆ จะเน้นการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง และมีไลฟ์สไตล์สนุกสนาน ซึ่งเข้าถึงง่ายและสร้างความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย
  • การเปิดตัว TVC ภายใต้คอนเซปต์ “กรอบยกแก๊งค์ อร่อยเอาเรื่อง”: โฆษณาทางทีวีสร้างภาพลักษณ์ให้ แบรนด์ดูมีชีวิตชีวาและเข้าถึงง่าย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้วัยรุ่นรู้สึกถึงการได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนที่สนุกสนาน
  • ร่วมมือกับ Influencer และ KOL: แบรนด์ได้จับมือกับกลุ่ม Influencers สายกินและ KOL ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในกลุ่มวัยรุ่น เพื่อสร้างกระแสบอกต่อบนโลกออนไลน์ และเพิ่มการจดจำแบรนด์ผ่านการรีวิวในเชิงบวก
  • Music Marketing: ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ สร้างเพลงและท่าเต้นประกอบการโฆษณา ซึ่งทำให้เกิดความจดจำในตัวแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน TikTok ที่วัยรุ่นสามารถแชร์และทำตามได้ง่าย
  • โปรโมชั่นในห้างสรรพสินค้า: แบรนด์มีการจัดโปรโมชั่นพิเศษในห้างสรรพสินค้า เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้ทดลองซื้อและสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในการซื้อครั้งแรก

จบไปแล้วกับการวิเคราะห์กลยุทธ์ การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ ผ่านมุมมอง  4P’s Marketing Mix จะเห็นเลยว่าทิศทางของกลยุทธ์ของแบรนด์ค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ในปัจจุบัน ซึ่งความสอดคล้องนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพราะมันจะช่วยลดความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดนั่นเอง

สรุป

การตลาด ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ ผ่านกลยุทธ์ 4P’s Marketing Mix ถือว่าออกแบบมาสอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคขนมขบเคี้ยวของกลุ่ม Gen Z ได้อย่างครอบคลุมหลายมิติ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสุขภาพด้วยขนมข้าวโพดอบกรอบรสชาติเฉพาะตัว ราคาเข้าถึงง่าย ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม และการโปรโมทที่ดึงดูดใจวัยรุ่นผ่านโซเชียลมีเดียและ Influencer

ด้วยการวางกลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้ ต๊อกกี้ ต๊อกกี้ สามารถที่ตอบสนองพฤติกรรม Gen Z ที่รักสุขภาพ ชื่นชอบความสะดวก และมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

สวัสดีครับ ชื่อดิวนะครับ จะพยายามนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้เขียนบทความดี ๆ ให้กับทุกคนครับ *_*

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *