สวัสดีครับทุกคน ผมได้มีโอกาสไปฟังคอร์ส “SEO Strategy For Executives” กับทาง Anga มา ต้องบอกว่าเป็นคอร์สที่ทำให้ผมเข้าใจหลักการทำ SEO ในเชิงกลยุทธ์ได้ชัดเจนขึ้นเยอะเลย วันนี้ผมเลยอยากแชร์ 5 เคล็ดลับสำคัญจากคลาสเรียนนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้พวกเราที่ทำงานด้านการตลาดดิจิทัล ได้เอาไปปรับใช้กันครับ
1. Keyword Strategy เน้นเป้าหมายธุรกิจมากกว่าแค่ Traffic เยอะๆ
เรื่องแรกที่ผมอยากแชร์ก็คือเรื่องของ Keyword Strategy ครับ โดยสิ่งที่สำคัญในการเลือก Keyword คือต้องตรงกับเป้าหมายของธุรกิจ ไม่ใช่แค่การเน้นหาคำที่ Traffic เยอะ ๆ เท่านั้น เราต้องหาคำที่ “ใช่” คำที่กลุ่มเป้าหมายใช้และตอบโจทย์ธุรกิจ ซึ่งมีหลักการสำคัญที่ผมได้จากคลาสคือ
- การวิเคราะห์ Keyword ให้รอบด้าน แน่นอนว่าเราต้องใช้ SEO Tools ต่างๆ ช่วยดูเรื่อง Search Volume หรือ Keyword Difficulty (ระดับการแข่งขัน) แต่สิ่งที่สำคัญมาก ๆ และห้ามมองข้ามเด็ดขาด คือ ต้องอ่านใจคนให้ออกว่าสิ่งเขาต้องการค้นหาคืออะไร ซึ่งเรียกว่า Search Intent ไม่ว่าเขาแค่อยากได้ข้อมูลทั่วไป (Informational) กำลังเปรียบเทียบ (Commercial) หรือพร้อมจะซื้อแล้ว (Transactional)?
- อย่ามองข้าม Long-tail Keywords คำค้นหาที่เป็นวลียาว ๆ เจาะจง ๆ นี่แหละครับที่อาจจะเป็นแต้มต่อที่หลายคนมองข้าม จากที่เรียนมาคือ แม้คำพวกนี้จะมีคนค้นหาน้อยกว่าคำกว้าง ๆ แต่คนค้นหามักจะมีความต้องการที่ชัดเจนมาก ทำให้ “โอกาสเปลี่ยนเป็นลูกค้า (Conversion Rate) สูงกว่า” แถมการแข่งขันก็น้อยกว่าด้วย
พอเข้าใจหลักการนี้ เราก็สามารถนำมาวางแผนเรื่อง Keyword ได้ตรงจุด และยังช่วยทำให้การวางกลยุทธ์ Digital Marketing มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
2. High Quality Content สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ ตอบสนอง User Intent
หลังจากได้ Keyword ที่ใช่แล้ว เรื่อง Content นี่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างเนื้อหาในยุคนี้คือ “เขียนให้คนรัก จัดให้ Bot เข้าใจ” หมายความว่า Content ของเราต้องมี “คุณภาพสูง” จริง ๆ ถึงจะมัดใจทั้งคนอ่านและ Search Engine ได้ ซึ่ง คำว่า “คุณภาพสูง” ในมุมมอง SEO นั้น มันมีหลายมิติที่ไม่ใช่แค่เขียนดีอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น
- ต้องถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ อันนี้สำคัญสุด ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องสำคัญอย่างการเงินหรือสุขภาพ ข้อมูลต้องเป๊ะจริง แสดงความเชี่ยวชาญ อ้างอิงได้ เพื่อให้คนอ่านมั่นใจและ Google มองว่าเราเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- ต้องดีกว่า ลึกกว่า หรือมีเอกลักษณ์ เราต้องพยายามทำให้เนื้อหาของเราโดดเด่นกว่าคู่แข่ง อาจจะด้วยการให้ข้อมูลที่ “ครบถ้วนกว่า”, “เจาะลึกกว่า”, หรือมี “มุมมอง/ประโยชน์ที่เป็นเอกลักษณ์” ที่หาจากที่อื่นไม่ได้
- ต้องอ่านง่าย มีโครงสร้างชัดเจน การใช้หัวข้อ (Headings) แบ่งเนื้อหา, ใช้ย่อหน้าสั้นๆ, ใส่ลิสต์ (Bullet points), หรือใช้รูปภาพ/วิดีโอประกอบ จะช่วยให้คนอ่านตามได้ง่าย ไม่เบื่อ และยังช่วยให้ Google Bot เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาเราดีขึ้นด้วย
พอเราสร้าง Content ที่มีคุณภาพครบองค์ประกอบแบบนี้ได้ ทั้งคนอ่านก็จะชอบ ใช้เวลาอยู่บนเว็บเรานานขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วน Google Bot ก็จะเข้าใจเนื้อหาเราได้ดี ประเมินว่าเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี โอกาสที่จะได้อันดับดี ๆ ในผลการค้นหาก็จะสูงตามไปด้วยครับ นี่คือสิ่งที่ผมว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ๆ ในระยะยาว
3. On-Page SEO: ปรับแต่งองค์ประกอบหน้าเว็บ
มี Content เทพแล้ว แต่ถ้านำเสนอไม่เป็นก็จบ เพราะ On-Page SEO คือการปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ในหน้าเว็บของเรา ให้ทั้ง “คนอ่าน” อ่านง่าย เข้าใจ และอยากอยู่ต่อ ส่วน “Bot” (Googlebot) ก็เข้ามาเก็บข้อมูลได้สะดวก เข้าใจว่าหน้านี้เกี่ยวกับอะไร หัวข้อไหนสำคัญ จุดนี้ผมว่าสำคัญมาก และมีรายละเอียดองค์ประกอบพื้นฐานอย่างเช่น
- Title Tag & Meta Description เหมือนปกหนังสือกับคำโปรย ด่านแรกที่คนเห็นใน Google ต้องเป๊ะ เขียนให้ดึงดูด (เพิ่ม CTR) และบอกชัดเจนว่าข้างในมีอะไร (ใส่ Keyword สำคัญด้วย)
- Headings (H1, H2, H3,…) ใช้จัดโครงสร้างเนื้อหาให้อ่านง่าย และบอกลำดับความสำคัญให้ Google รู้ โดยเฉพาะ H1 ที่เป็นเหมือนหัวข้อหลักที่สุดของหน้านั้น และควรมีแค่ H1 เดียวต่อหน้าที่สื่อถึงใจความสำคัญของหน้าให้ชัดเจนที่สุด ซึ่งในส่วนนี้ก็ควรมี Keyword หลักด้วยเหมือนกัน
- Keyword Usage ไม่ใช่ยัด ๆ คำซ้ำ ๆ แต่คือการใช้ Keyword หลักและคำที่เกี่ยวข้อง กระจายไปในจุดสำคัญ ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ อ่านแล้วไม่รู้สึกสะดุด
- Image Optimization ใส่ Alt Text ที่สื่อความหมายตรงกับ Keyword หลัก และตั้งชื่อไฟล์รูปให้สื่อความหมาย รวมไปถึงการถึงบีบอัดขนาดไฟล์ไม่ให้ใหญ่ไปจนเว็บช้า
- Internal Link การลิงก์ไปหน้าอื่นในเว็บเราที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกัน นอกจากจะช่วยให้คนอ่านหาข้อมูลเจอแล้ว ยังช่วยให้ Googlebot ไต่ไปเจอหน้าอื่น ๆ และเข้าใจโครงสร้างเว็บเราดีขึ้นด้วย
สรุปง่าย ๆ ก็คือ On-Page SEO เป็นการจัดระเบียบหน้าบ้านของเราให้สวยงาม อ่านง่าย และติดป้ายบอกทางให้ชัดเจน เพื่อให้ทั้งลูกค้าและ Google เข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารได้ดีที่สุด
4. Technical SEO ดูแลสุขภาพเว็บไซต์
อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย และในคลาสก็ย้ำบ่อย ๆ คือ พื้นฐาน Technical SEO ซึ่งก็เหมือนเป็นการสร้างบ้าน ถ้าฐานไม่ดี เสาไม่แข็งแรง ตกแต่งสวยแค่ไหนก็อยู่ได้ไม่นาน ซึ่งเว็บไซต์เองก็เหมือนกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ
- ความเร็วเว็บ (Site Speed): ช้าคือจบ ต้องเร็ว โดยเฉพาะบนมือถือ โดยเราควรหมั่นเช็ค Core Web Vitals
- Mobile-Friendliness เว็บต้องสวยเป๊ะบนมือถือ เพราะ Google ใช้เวอร์ชันมือถือจัดอันดับแล้ว
- Crawlability & Indexability ดูว่า Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ไหม? มีหน้าไหนตกหล่นหรือเปล่า? ซึ่งก็สามารถเช็คได้จากการใช้ Google Search Console
นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลเรื่อง Technical ให้ดี ทำให้มั่นใจว่า Google เข้าถึงและเข้าใจเว็บเราได้เต็มที่ ซึ่งถ้าเราได้ลองทำสิ่งเหล่านี้ ผมก็มองว่าตัว User ก็น่าแฮปปี้กับประสบการณ์ในใช้งานครับ
5. Backlink คุณภาพ สร้างเครือข่ายความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่แค่ปั๊มลิงก์
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คือเรื่อง Backlink ที่มีคุณภาพ ที่เป็นเหมือน ‘เสียงแนะนำ’ หรือ ‘เครดิต’ ให้เว็บเรา จากที่เรียนมาผมเข้าใจเลยว่า Backlink ที่ดีมันช่วยเพิ่ม Authority หรือความน่าเชื่อถือให้เว็บเราในสายตา Google ได้จริง ๆ
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และอยากจะย้ำคือ “คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ” มาก ๆ ลิงก์ดี ๆ จากเว็บที่น่าเชื่อถือไม่กี่ลิงก์ มีค่ากว่าลิงก์ที่แถบจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย ซึ่งอย่าไปหลงทางกับลิงก์ไม่มีคุณภาพเด็ดขาด เพราะมันไม่คุ้มเลย ควรเน้นไปที่การสร้าง Content ที่ดีจนคนอยากลิงก์ให้ (Link Earning) หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเว็บอื่นจะยั่งยืนกว่ามากครับ
สรุป
นี่ก็เป็นเพียง 5 เคล็ดลับหลัก ๆ ที่ผมสรุปมาจากคลาส SEO Strategy For Executives ของ Anga จริง ๆ มีรายละเอียดและ Case Study ที่น่าสนใจอีกเยอะมาก รวมไปถึงการทำ Workshop ต่าง ๆ ที่ทำให้เข้าใจภาพรวมและหลักการเหล่านี้ ผมเชื่อว่าจะช่วยให้ผู้บริหารคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำ Content หรือ Digital Marketing โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้บริหารสามารถวางแผนและคุยกับทีม SEO หรือ Agency ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอนครับ แล้วถ้าใครสนใจคอร์สเรียนอื่น ๆ ก็สามารถสอบถามทาง Anga ได้เลยครับ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่