บูสบูส Curiosity Marketing การตลาดสายเผือก ที่เล่นกับความอยากรู้อยากเห็นจนเป็นกระแส
FacebookFacebookXXLINELineในยุคที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลไม่หยุด และหน้าฟีดโซเชียลเต็มไปด้วยคอนเทนต์นับล้าน ทุกคนเคยสังเกตไหมว่ามีวิดีโอหรือเรื่องราวบางอย่างที่ดึงดูดสายตาให้เราหยุดดู และอดไม่ได้ที่จะต้องตามติดจนจบ? ทำไมแบรนด์ถึงสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ชวนงง หรือแม้แต่เรื่องราวที่เป็นดราม่า ให้กลายเป็นเครื่องมือดึงดูดความสนใจ ก่อนจะเฉลยโฆษณาในตอนท้ายแบบที่ผู้ชมไม่ทันได้ตั้งตัว และที่สำคัญคือมันได้ผลจริงจนกลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ นี่คือ Curiosity Marketing การตลาดสายเผือก บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกกลยุทธ์ Curiosity Marketing หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า “การตลาดสายเผือก” ผ่านกรณีศึกษาที่น่าสนใจของครีม “บูสบูส” ที่ได้อินฟลูเอนเซอร์อย่าง “นารา” มาสร้างปรากฏการณ์จนคำว่า “บูสบูส” กลายเป็นคำสแลงฮิตติดปากในโซเชียลมีเดีย เราจะวิเคราะห์ว่าแบรนด์เล่นกับความอยากรู้อยากเห็นของผู้บริโภคได้อย่างไร จนสร้างกระแสได้ พร้อมทั้งข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่นักการตลาดควรเรียนรู้จากเรื่องนี้ค่ะ บูสบูส กับ Curiosity Marketing การตลาดสายเผือกที่เล่นกับความอยากรู้อยากเห็นจนเป็นกระแส การเป็นที่พูดถึงของการตลาดนี้ เริ่มจากแบรนด์สกินแคร์ชื่อบูสบูส เลือกที่จะใช้พลังของอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังอย่าง “นารา เครปกะเทย” ซึ่งนาราก็ได้สร้างสรรค์กลยุทธ์ Curiosity Marketing การตลาดสายเผือก ที่เล่นกับความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชม โดยหัวใจหลักของวิดีโออยู่ที่การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ ที่เริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่ดึงดูดความสนใจอย่างรุนแรงและไม่คาดคิด เช่น การสร้างเหตุการณ์ที่ดูคล้ายดราม่าส่วนตัว การทะเลาะวิวาท หรือสถานการณ์ชวนสงสัย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีวี่แววของผลิตภัณฑ์หรือการโฆษณาใดๆ เลยในตอนแรกค่ะ ทำให้ผู้ชมที่บังเอิญเจอคลิปเหล่านี้บนโซเชียลมีเดียจะถูกดึงดูดด้วยความรู้สึก “อยากเผือก” […]