ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

The Privacy Era ในวันที่ Digital Consumer ใส่ใจเรื่อง Data Privacy

The Privacy Era หรือยุคของการให้ความสำคัญเรื่อง Data Privacy กำลังมาในวันที่อะไรๆ ก็ล้วนถูกขับเคลื่อนด้วย Data ในวันที่ Digital Consumer จำนวนมากรู้แล้วว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ เอา Data ของพวกเขากลับมาหลอกล่อผู้บริโภคอย่างเราให้หลวมตัวหลงเชื่อในเรื่องต่างๆ นาๆ ได้อย่างไร การตลาดวันละตอนจะพามาดูกันว่าผู้คนคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ

ตั้งแต่เราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นทุกทีจนทุกวันนี้แทบจะกล่าวได้เต็มปากว่าแทบไม่เหลือใครที่จะไม่ออนไลน์อีกต่อไป ดังนั้นชีวิตยุคใหม่ที่อะไรๆ ก็ออนไลน์และกลายเป็นดิจิทัลก็ก่อให้เกิดยุคของ Data ตามมา ซึ่งนั่นหมายความว่า Personal information หรือข้อมูลส่วนบุคคลของเราต่างถูกจับจ้องและจับจดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับคนที่มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง
สารคดี Great Hack จาก Netflix

เพราะโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนนี่แหละครับตัวดี ทำให้การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา มันรู้ว่าเราไปไหนบ้างจากการเปิดตำแหน่ง Location base อยู่ตลอดเวลาให้แอปต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ จาก GeoData ของผู้คนที่พร้อมใจกันแชร์ให้กับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ก็ถูกเอามาวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างกัน แบบ Social graph ว่าใครน่าจะสนิทกับใคร รู้จักกับใคร อยู่บ้านเดียวกับใคร หรือแม้แต่แอบกิ๊กกับใครด้วยซ้ำ นึกถึงตัวอย่างง่ายๆ ผ่าน Friends Suggestion ของ Facebook ก็ได้ครับว่าทำไมมันช่างแนะนำคนที่เราเพิ่งเคยเจอมาได้แบบแม่นยำ ขนาดที่เรายังไม่ทันได้เสิร์จหาชื่อคนนั้นมาก่อนก็ตาม

หรือแม้แต่การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ของเราในแต่ละวันก็ถูกเจ้าของแพลตฟอร์มที่คอยเก็บ Personal data เราไปใช้ในการยิงโฆษณา ให้นักการตลาดสามารถส่งโฆษณาที่ถูกที่ถูกเวลาลงไปได้แบบรู้ใจมากขึ้น ล่าสุดผมเห็นแอดโฆษณาของแบรนด์กาแฟแบรนด์หนึ่งที่ขึ้นมาพร้อมกับข้อความของพื้นที่นั้น เช่น ตอนนั้นผมไปทำธุระแถวดินแดง ก็เห็นข้อความที่พูดถึงพื้นที่ดินแดง แต่พอกลับบ้านผ่านแถวสาธร เปิดมือถืออีกครั้งก็เห็นโฆษณาตัวเดิมที่เปลี่ยนข้อความเป็นพื้นที่สาทรสีลมครับ

เห็นมั้ยครับว่า Personal data ของเรานั้นถูกนำมาใช้เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจและการตลาด ที่เกิดจากเจ้าของแพลตฟอร์มต่างๆ เอา​ Data ของเราไปแลกเปลี่ยนกันเองกับบริษัทต่างๆ ด้วยกัน เพื่อที่จะได้สามารถ Personalization ลูกค้าแต่ละคนได้อย่างรู้ใจและแม่นยำยิ่งขึ้นนั่นเอง

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

แต่แน่นอนว่าการที่บริษัทต่างๆ เอา Personal Data เราไปใช้งานไม่ได้มีแต่ข้อดีที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเสมอไป เพราะในอีกแง่หนึ่งของการเอาข้อมูลไปใช้คือพวกเขาสามารถรู้จักตัวเราได้ดีกว่าตัวเราด้วยซ้ำ ถ้าใครเคยดูสารคดีเรื่อง Social Dilemma หรือ Great Hack ก็จะพบว่าการเล่นมือถือบ่อยๆ หรือโซเชียลมีเดียเป็นประจำช่างเป็นเรื่องน่ากลัวแต่เราก็จะไม่ใช้มันก็ไม่ได้แล้ว เพราะในแง่หนึ่งเมื่อคนทั้งโลกใช้เราก็จะไม่ใช้ไม่ได้ และจากข้อมูลทั้งหมดที่เราป้อนให้แพลตฟอร์มต่างๆ บนออนไลน์ก็สามารถทำให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดคะเนล่วงหน้าหรือ Predict ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เรากำลังจะต้องการ ช่วงเวลาไหนที่เรากำลังจิตใจหวั่นไหวแล้วจะแพ้ต่อการช้อปปิ้งมากเป็นพิเศษ จากนั้นเราก็จะเหมือนถูกหล่อล่อและกระตุ้นให้ทำในสิ่งที่อาจไม่ได้ดีกับตัวเราอย่างแท้จริงโดยที่เราไม่ทันรู้ตัวครับ

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง
Credit: https://www.vox.com/policy-and-politics/2018/3/23/17151916/facebook-cambridge-analytica-trump-diagram

ยังไม่นับถือเมื่อบริษัทต่างๆ เข้าถึง Personal Data ของเราจนสามารถปรับเปลี่ยนความคิดหรือทัศนคติเราให้เป็นไปตามที่พวกเขาต้องการได้เช่นกัน เราคงเคยเห็นผ่านกรณี Cambridge Analytica ผ่านการเลือกตั้ง 2016 ด้วยการปลุกปั่นปลุกระดมต่างๆ นาๆ ทำให้คนติดอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Filter Bubble ของตัวเองจนทำให้หลงคิดไปว่าสิ่งที่ตัวเองคิด สิ่งที่ตัวเองเชื่อ คือภาพรวมส่วนใหญ่ของโลกทั้งใบที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานั้น

ดังนั้นในยุค Data-Driven ผู้บริโภคทุกคนจะถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ถลุงดึงเอา Personal data ไปใช้กันอย่างเข้มข้นในแบบที่ไม่มีทางลดลงอย่างแน่นอน และนั่นก็เลยทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจในเรื่อง Privacy เมื่อพวกเขารู้ว่า Data ของตัวเองสามารถถูกนำกลับมาทำร้ายตัวเองได้ไม่ยากครับ

ยังไม่นับร่วมข่าวการรั่วไหลของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ยินเป็นประจำ ล่าสุดไม่กี่สัปดาห์ก่อนผมก็เพิ่งได้รับอีเมลแจ้งจากแอปช้อปปิ้งรายหนึ่งว่าหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้าที่พวกเขาจะส่งอีเมลมาแจ้งนั้นมี Hacker พยายามเจาะเข้ามาเอาข้อมูลของลูกค้าไป แม้ทางแอปนั้นจะบอกว่าข้อมูลที่ถูกนำไปได้ไม่ได้มีความสำคัญแต่อย่างไร แต่คำถามคือแล้วข้อมูลที่ถูกเจาะเอาไปได้ของผมมีอะไรบ้าง นั่นต่างหากคือสิ่งที่เจ้าของ Data อย่างเราอยากรู้ ไม่ใช่แค่มาบอกว่าไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไรต้องกังวลครับ!

จากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการ Data ก็ทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเรื่องการพยายามเจาะข้อมูล หรือ Data รั่วไหลไปแล้วเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าที่คิด แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกมาแถลงข่าวให้ลูกค้ารู้ ยกเว้นในเคสที่จวนตัวจริงๆ เท่านั้นแบรนด์หรือบริษัทต่างๆ ที่ถูกแฮกไปจะค่อยออกมาแถลงไขและขอโทษถึงสิ่งที่เกิดขึ้นครับ

และทั้งหมดนี้เองก็เลยทำให้ยุคของ Privacy ถือกำเนิดขึ้นมา แถมไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาปุ๊บก็กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนให้ความสำคัญในทันที ไม่ใช่เรื่องอื่นๆ ที่อาจจะถูกพูดถึงในวันนี้และเกิด impact จริงในอีกปีสองปีอีกต่อไป

ดังนั้นจากรายงาน The Privacy Era ของ Wonderman Thompson จึงได้ทำการสำรวจดูว่า Digital Consumer นั้นรู้สึกอย่างไรในเรื่องนี้ พวกเขาพบว่าผู้บริโภคยุค Data รู้สึกไม่สบายใจและไม่ชอบใจอย่างมากถ้าพวกเขาจะต้องถูกติดตามเก็บ Personal data ต่างๆ โดยไม่ยินยอมด้วยความเต็มใจ และแน่นอนว่ารวมไปถึงความไม่พอใจอย่างมากถ้าแพลตฟอร์มหรือบริษัทที่เก็บ Personal data ของพวกเขาไปจะเอานำไปให้คนอื่นได้ใช้ต่อโดยไม่บอกกล่าว เพราะ Consumer ในยุค​ Data นั้นคิดว่าก็ข้อมูลนั้นเป็นของพวกเขา แล้วคุณจะเอาข้อมูลของพวกเขาที่มอบให้คุณไปให้คนอื่นอีกทีโดยไม่มาขออนุญาตได้อย่างไร

ทั้งที่ยุคของ Data-Driven Age เพิ่งจะเกิดขึ้นได้ไม่นาน แต่ผู้คนจำนวนมากก็กลับมีความกังวลในเรื่อง Privacy ของ Personal Data อย่างรวดเร็วแล้วในวันนี้ ทั้งที่เศรษฐกิจยุคใหม่คือการใช้ Data Ecosystem ในการขับเคลื่อนให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งที่การเอา Consumer Data ไปใช้จะทำให้ผู้บริโภคอย่างเราได้ในสิ่งที่ตรงใจหรือ Personalized Marketing แบบง่ายๆ ด้วยซ้ำ

เมื่อเราอยู่ในยุค The Privacy Era ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ Personal data ของพวกเขาอย่างมาก ลองมาดูแนวทางการใช้ Data ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันว่าภาคธุรกิจจะเอา Personal data ไปใช้แบบไหนและอย่างไรถึงจะทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่าคุณกำลังทำให้เค้าไม่ปลอดภัยจนเปลี่ยนใจไม่ให้ Data กับคุณ

เพราะ Data ในวันนี้ไม่ใช่แค่ชุดข้อมูลที่อยู่บนหน้าจอเท่านั้น แต่ธุรกิจต้องมองว่า Data ของลูกค้าแต่ละคนเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิต ต้องมองว่า Data เปรียบเสมือนอวัยวะที่ 34 ของมนุษย์เราที่สามารถสร้างความเจ็บปวด หรือทำลายชีวิตมนุษย์คนหนึ่งได้ไม่ยากเลยจริงๆ

The Value of Data ผู้บริโภคยุคใหม่รู้ว่า Data มีค่ามากแค่ไหน

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

Data กลายเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีค่ามากของโลกทุกวันนี้ มากกว่าน้ำมัน มากกว่าทอง หรือมากกว่าเงิน เพราะความต่างระหว่าง Data กับทรัพยากรอื่นคือสิ่งอื่นใช้แล้วหมดไป แต่กับ Data นั้นยิ่งใช้มีแต่ยิ่งเกิดคุณค่า แถมยังสามารทำซ้ำได้ไม่รู้จบ

แต่นั่นคือความเข้าใจและความเป็นจริงในภาคธุรกิจ แต่พอมองจากในฐานะคนทั่วไปที่เป็นปัจเจกแล้วพวกเขากลับรู้สึกว่าไร้ซึ่งอำนาจในการควบคุม Data ใดๆ แม้แต่กับ Personal data ของตัวเองด้วยซ้ำ

และผู้บริโภคก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ Personal data และ Behavior data ที่ก่อให้เกิดมูลค่าอย่างมหาศาลในเศรษฐกิจยุค Data ที่เป็นที่รับรู้ตรงกันว่าธุรกิจจะได้เปรียบอย่างมากถ้ามี Data แล้วฉลาดใช้

New Business Structures ธุรกิจยุคดาต้าต้องใช้ข้อมูลอย่างระวัง

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

แล้วเมื่อผู้บริโภคยุค ​Data รู้ซึ้งถึงมูลค่าเบื้องหลัง Personal data ของพวกเขาก็ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวตามเรื่องนี้ให้ทันความต้องการของผู้คน

เมื่อ Data Privacy กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญอย่างมากอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการจัดโครงสร้างหรือปรับพื้นฐานของการจัดการ Data ของภาคธุรกิจก็ต้องทำให้ปลอดภัยจนผู้บริโภคแน่ใจว่า Data ของพวกเขาที่ให้คุณไปจะไม่รั่วไหลออกไปได้

ผู้บริโภคยังคาดหวังว่าธุรกิจจะเอา Data ของพวกเขาไปใช้อย่างถูกต้องหรือมีจริยธรรม ไม่ใช่แอบเอา Data ของพวกเขาไปใช้โดยไม่บอก หรือใช้นอกเหนือจากที่เคยแจ้งไว้แต่แรก ซึ่งประเด็นนี้ก็จะไปสอดคล้องกับกฏหมายดาต้าต่างๆ ไม่ว่าจะ GDPR หรือ PDPA ที่สรุปใจความสำคัญสั้นๆ ได้ว่า “ใช้แค่เท่าที่ขอ และต้องดูแลรักษายิ่งชีพ”

Intimate Data ดาต้าไม่ใช่แค่ข้อมูล แต่มันคือชีวิตเรา

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

เมื่อผู้คนทุกวันนี้ล้วนก้าวเข้าสู่การใช้ชีวิตบนออนไลน์มากขึ้น เดิมทีชีวิตบนออนไลน์กับออฟไลน์เป็นคนละเรื่องกัน แต่มาวันนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เมื่อออนไลน์กับออฟไลน์หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เช่น เราเปิดมือถือเล่นโซเชียลแล้วเห็นโฆษณาสักอย่างแล้วอยากได้ แล้วบังเอิญเรานั่งอยู่หน้าคอมที่ทำงานก็เลยเข้า Google เพื่อเสิร์ชหารายละเอียดรวมถึงดูรีวิวต่อ อ่านไปสักพักถึงเวลากินข้าวเราก็เปิดมือถือเพื่อดูข้อมูลต่อ จากนั้นเราก็กดสั่งซื้อผ่านแอปช้อปปิ้งตัวหนึ่ง แต่ก็เลือกที่จะแวะไปรับที่สาขาใกล้บ้านเพราะไม่อยากรู้ให้มาสั่งในวันถัดไป

นี่แหละครับชีวิตที่ออนไลน์และออฟไลน์กลายเป็นหนึ่งเดียวอย่างแยกไม่ออกแล้ว ดังนั้นยิ่งแบรนด์ไหนหรือธุรกิจใดมี Data ของผู้บริโภคมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการลึกๆ แม้จะไม่ได้พูดออกมาหรือค้นหามันออกไปได้ด้วยซ้ำ

ดังนั้นภาคธุรกิจต้องมีการใช้ Data แบบไม่ได้มองว่านี่เป็นแค่ชุดข้อมูลเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจว่า Data คือชีวิตของคนๆ หนึ่งเช่นกัน คุณก็ควรปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีจริยธรรม หรือเรียกว่ามองว่า Data คือคนๆ หนึ่งจริงๆ ไม่ใช่แค่ชุดข้อมูลหรือรหัส 0 และ 1 อีกต่อไป

Digital self-care ใช้ดาต้าเพื่อยกระดับความเป็นคน

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง
Credit: https://iveybusinessreview.ca/6584/calm-the-calm-before-the-storm/

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลผู้คนกลับไม่ได้มีเวลาว่างมากอย่างที่คิดไว้ แต่เรากลับถูกเร่งให้ใช้ชีวิตเร็วขึ้น และก็ตามมาด้วยสิ่งที่เรียกว่ายุคแห่งความเครียด ที่เต็มไปด้วยโรคซึมเศร้ามากมายในแบบที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

ทำให้บางคนที่เริ่มรู้ตัวว่าชีวิตตัวเองเครียดเกินไปเพราะอะไรๆ ก็ออนไลน์ ทำให้คนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบไม่ออนไลน์มากขึ้นทุกที

ดังนั้นความกังวลเรื่อง Data Privacy ก็สะท้อนถึงการที่คนอยากจะมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เมื่อผู้คนเริ่มตระหนักได้ว่าชีวิตพวกเขาถูก Data ของตัวเองที่ให้ไปย้อนกลับมาเล่นงาน เมื่อแพลตฟอร์มหรือธุรกิจต่างๆ ทำ Data Analytics มากพอที่จะล่วงรู้ได้ว่าจริงๆ แล้วลูกค้าแต่ละคนกำลังรู้สึกอย่างไร และจะกระตุ้นด้วยวิธีแบบไหน

ดังนั้นแบรนด์หรือธุรกิจในยุค Data ที่จะไปต่อได้คือการเอา Data ของผู้คนมาเพื่อทำความเข้าใจว่าเราจะทำให้ชีวิตคนดีขึ้นจริงๆ ได้อย่างไร

ถ้าเรารู้ว่าคนติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป แล้วแค่ไหนถึงควรพอ ถ้าเรารู้ว่าคนต้านทานการเห็น Notification แจ้งเตือนไม่ได้ ควรแนะนำให้คนปิดไปดีกว่ามั้ยจะได้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น

เหมือนที่เราเห็นระบบ iOS ของ Apple มีการแจ้งอัพเดทอยู่รายสัปดาห์ว่าเราใช้มือถือลดลงหรือเพิ่มขึ้น แล้วถ้าเราใช้ลดลงมันก็จะบอกว่าเรากำลังทำได้ดีแล้ว

หรือถ้าแพลตฟอร์มรู้ว่าเรากำลังอยู่ในช่วงหวั่นไหวแทนที่จะเอาโฆษณากระตุ้นให้เราช้อปปิ้งเพื่อคลายเครียด แต่อาจจะเลือกเอา Content ประเภทที่ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองขึ้นมาแทน ทั้งหมดนี้คือการเอา data เราไปแล้วให้ในสิ่งที่จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้นจริงๆ แทนครับ

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

เพราะคนในยุค Data ส่วนใหญ่รู้แล้วว่า Personal data ของพวกเขาสามารถบอกอะไรให้คนอื่นรู้ได้มากขนาดไหน ดังนั้นภาคธุรกิจและแบรนด์ก็ต้องหาทางใช้ data และความสามารถในการวิเคราะห์ที่มีอย่างแม่นยำเพื่อทำให้ชีวิตคนๆ นั้นดีขึ้นแทน

ข้อมูลทั้งหมดนี้มาจาการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนเรื่อง Data Privacy และ Data Security ของ Wunderman Thompson ของคนอเมริกันที่อายุ 18 ปีขึ้นไปกว่า 1,501 คนในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปสำคัญดังนี้

  • Data security เป็นเรื่องที่ผู้คนกังวลมากที่สุด จากการสำรวจพบว่า 58% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขากังวลเรื่อง Personal information มากกว่าเรื่องผู้นำทางการเมืองด้วยซ้ำ มากว่าเรื่องค่าครองชีพ มากกว่าเรื่องคุณภาพการศึกษา
  • 89% คิดว่าบริษัทต่างๆ เอา Data ของพวกเขาไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง
  • 89% คิดว่าบริษัทต่างๆ มีเจตนาที่จะไม่บอกผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาว่าจะเอาข้อมูลไปใช้อย่างไรบอก บอกแค่ว่าเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้า แล้วผลประโยชน์ที่ว่าคืออะไรกันแน่ล่ะ
  • 84% รู้สึกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทหรือแบรนด์ต่างๆ มีข้อมูลของพวกเขามากกว่าที่พวกเขารู้ตัวด้วยซ้ำ นั่นก็คือคนรู้สึกว่าบริษัทจำนวนมากมี Personal data ของพวกเขามากเกินไปครับ
  • แค่ 38% เท่านั้นที่รู้สึกว่าพวกเขาสามารถควบคุมหรือบริหารจัดการกับข้อมูลหรือ Personal information ของตัวเองได้จริงๆ เท่ากับว่าคนส่วนใหญ่ก็ก้มหน้าก้มตายอมรับว่าตัวเองไม่สามารถจัดการทำอะไรกับ Personal data ของตัวเองได้เลยทั้งที่เป็นทรัพย์สินของพวกเขาแท้ๆ ก็ว่าได้

สุดท้ายนี้งานที่เกี่ยวกับการ Data ในหลายๆ แง่มุมจะกลายเป็นงานพื้นๆ หรือแม้แต่การเอา AI มาจัดการในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ Data พร้อมใช้งาน คลีนให้เรียบร้อย และอื่นๆ เพราะเราทุกคนกำลังสร้าง Data ขึ้นมากมายมหาศาลแบบไม่ลดลงแน่นอน ดังนั้นการทำ Data Hygiene จึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการที่เราจะทำอย่างไรให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงไม่ใช่แค่ Personal data ของตัวเองได้ แต่ยังสามารถเข้าถึง Data ในระดับที่บริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้นเข้าถึงได้

นั่นก็คือการทำเรื่อง Public data ให้มากขึ้น ทำให้ Asset นี้กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเอาไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในชีวิตและธุรกิจได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ใช่แค่เอาไว้ให้องค์กรใหญ่หรือ Machine AI เท่านั้น แต่ Data ควรเป็นเรื่องของทุกคนจริงๆ ครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Data Privacy ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://everydaymarketing.co/?s=privacy

ในยุค The Privacy Era เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ Digital Consumer กังวลเรื่อง Data Privacy เป็นอันดับหนึ่งยิ่งกว่าการเมือง หรือปากท้อง

Source: https://intelligence.wundermanthompson.com/2020/08/new-trend-report-the-privacy-era/

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *