เปลี่ยนทีมบ๊วยให้ปังด้วย Big Data จากภาพยนต์เรื่อง Moneyball
ภาพยนต์เรื่อง Moneyball เป็นหนึ่งในภาพยนต์ที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจที่สนใจเรื่อง Big Data หรือ Data Science ต้องดูให้ได้ เพราะภาพยนต์เรื่องนี้ฉายภาพให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ในธุรกิจการทำทีมเบสบอลที่เคยเชื่อในสัญชาตญาณของโค้ชหรือแมวมอง ที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์นานปีในการเลือกว่าควรจะเลือกใครมาร่วมทีม หรือควรจะให้นักกีฬาคนไหนได้ลงเล่นในการแข่งขันนัดสำคัญ
ภาพยนต์เรื่องนี้เหมาะกับคนที่ต้องการจะทำเรื่อง Digital Transformation หรือต้องการให้แนวคิด Data-Driven Marketing & Business ถูกปลูกฝังใน mindset ของคนในองค์กร เพราะในภาพยนต์เรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่อง Data science หรือการใช้สถิติขั้นสูงเป็นแกนหลักในการดำเนินเรื่อง แต่ใช้การพยายามใช้ Data-Driven Decision ในการดำเนินเรื่องให้คนเห็นถึงการเปลี่ยนวิธีคิดแบบเดิมๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ว่าจะต้องเจอข้อขัดแย้งอย่างไร ไปจนถึงผลลัพธ์ปลายทางที่จะได้ถ้าอดทนไหวในองค์กรคุณ
ภาพรวมการเล่นกีฬาเบสบอลประมาณนี้ ถ้าผมเล่าเข้าใจยากหรือผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า ทีนี้เรามาลองดูกันว่าภาพยนต์เรื่อง Moneyball นี้เค้าใช้ Big Data และ Data Science มาช่วยในการทำทีมบ๊วยให้กลายเป็นปังจนใครๆ ก็จับตามองได้อย่างไรกันครับ
กำหนดเป้าหมายหลัก ว่า Data แบบใดที่จะเป็น Metric สำคัญต่อธุรกิจเรา
ในเกมการแข่งขันกีฬาเบสบอลเป้าหมายหลักคือดูว่านักกีฬาคนไหนตีดี โยนได้ วิ่งขโมยฐานได้เก่ง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือเก็บข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ หรือถ้าโชคดีก็คือเอา Data ที่อาจจะมีใครสักคนหรือหน่วยงานสักแห่งเก็บไว้แล้วมาใช้งาน เพื่อวิเคราะห์หาว่าในอดีตที่ผ่านมามีใครบ้างทำสถิติทั้ง 3 ด้านได้ดี เพราะอย่างที่รู้กันว่าอดีตจะเป็นตัวบอกอนาคต การทำ Data analytics จาก Histocial data ก็สามารถนำมาพยากรณ์หรือคาดการณ์อนาคตได้ดีกว่าเดาแน่นอนครับ
แต่บางคนอาจจะบอกว่า แต่ถ้าในสนามมันมีความกดดันเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ นะ ตัวเลขพวกนี้มันสะท้อนถึงความกดดันที่เกิดขึ้นระหว่างเกมการแข่งขันที่มีคนจ้องดูโห่ร้องเชียร์ได้ด้วยหรือ ซึ่งจากภาพยนต์ Moneyball นั้นบอกให้รู้ว่าพวกเขาเลือกดู Data สำคัญแค่ 2 ตัวก็เพียงพอที่จะชี้เป็นชี้ตาหรือพลิกธุรกิจทีมเบสบอลตัวเองขึ้นมาได้ แค่ Data 2 Metrics นี้ก็สามารถบอกได้แล้วว่าผู้เล่นคนไหนคือผู้เล่นชั้นเลิศที่ถูกมองข้ามแล้วตั้งราคาไว้ถูกมาก ส่วนผู้เล่นคนไหนที่เรามีแต่กลับมีความสามารถไม่ดีเท่าราคาที่ตลาดต้องการ รู้แล้วก็จะได้รีบขายออกไปทำกำไรกลับมาครับ
พวกบรรดาแมวมองชอบดูว่านักกีฬาคนไหนสามารถตีลูกโฮมรันได้บ่อยครั้งกว่า ก็จะส่งผลให้มีราคาค่าตัวสูงกว่านักกีฬาที่ไม่ดังมากแต่สามารถตีถูกลูกได้มากกว่า ซึ่งถ้าวิเคราะห์ย้อนกลับก็เข้าใจได้เพราะการตีโฮมรันเป็น Data ที่จดจำได้ง่ายครั้งกว่า ในวันที่เทคโนโลยียังไม่พร้อมแล้วมนุษย์เราต้องใช้แค่พลังสมองอันจำกัด ดังนั้นการเลือกใช้ Data การตีลูกโฮมรันก็จะทำให้เราง่ายต่อการประมวลผลนั่นเองครับ
ดังนั้นเมื่อ Data พร้อมบวกกับเทคโนโลยีในการวิเคราะห์พร้อมแล้ว Billy Beane ก็สามารถเลือกนักกีฬาเบสบอลม้ามืดได้แบบง่ายๆ จิ้มได้เลยว่าตกลงแล้วใครกันแน่ที่แอบทำผลงานโดยเฉลี่ยได้ดีโดยไม่ได้สนใจว่าคนนี้ตีโฮมรันมาแล้วกี่ครั้ง แต่ดู Data ที่เป็น Metrics ชี้วัดใหม่ว่าคนนี้มีเปอร์เซนต์การตีโดนลูกอยู่ที่เท่าไหร่ ด้วยการเอาจำนวนครั้งที่ตีทั้งหมดมาหารกับจำนวนครั้งที่ตีถูกลูกออกไปครับ
แล้วจากความสำเร็จนี้ก็ทำให้ทีมใหญ่อย่าง Red Sox พยายามดึงตัว Billy Beane และผู้ช่วยไปร่วมทีมด้วยค่าตัวมหาศาลแต่ก็ถูกปฏิเสธไป ทีมนี้เลยหันไปดึงตัว Bill James ที่เป็นผู้สร้าง Sabermetrics ซึ่งต่อยอดมาจากทฤษฎี Moneyball ไปในฐานะที่ปรึกษา
จากการนำทฤษฎี Moneyball มาใช้จนทำให้ทีม underdog อย่าง Oakland ที่นำโดย Billy Beane ประสบความสำเร็จมหาศาล ทำให้ทีมเล็กๆ หรือทีมบ๊วยท้ายตารางของเขาสามารถขึ้นมาแข่งกับทีมยักษ์ใหญ่อย่าง Yankees และ Red Sox ได้อย่างสูสีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนทำให้หลักการนี้กลายเป็นพื้นฐานการทำทีมเบสบอลของทุกทีมไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ครับ
และที่สำคัญก็ว่ากันว่าหลักการนี้น่าจะทำให้ทีมรองบ่อนสามารถคว้าแชมป์สูงสุด World Series ได้ถึง 9 ทีมจากทั้งหมด 13 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรครับกับ Magic ของ Data ที่เข้ามาเปลี่ยนเกมเบสบอลไปตลอดการ เปลี่ยนจาก Instinct มาเป็น Insight จริงๆ
สรุป Oakland ไม่ได้สำเร็จเพราะ Data แต่สำเร็จเพราะ Management ให้การใช้ Data เป็น Business Strategy
ทุกวันนี้ภาพยนต์เรื่อง Moneyball เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในแง่มุมของการใช้ Data-Driven Decision แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดกันคือเข้าใจว่าเรื่อง Data กับเบสบอลหรือกีฬานั้นเป็นเรื่องใหม่
เพราะในความเป็นจริงแล้วการ Analyzing data กับกีฬาเบสบอลอย่างน้อยก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในปี 2002 ที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น แต่เรื่อง Data กับกีฬา Baseball นั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุค 1800 และการทำ data analytics สถิตินักกีฬาเบสบอลก็เริ่มตั้นแต่ช่วง 1970 แล้วครับ
แต่เหตุผลที่เรื่องนักดังเพราะ Billy Beane ใช้ Data เป็น Strategy หรือกลยุทธ์หลักในการทำทีมท่ามกลางวิกฤตหนักที่เสียนักเบสบอลดังของทีมหลายคนไปในตอนนั้น ทำให้เขาต้องพยายามคิดในแง่มุมใหม่ๆ คิดออกจากกรอบเดิมๆ จนพบวิธีนี้ที่หันมาพึ่ง Data จริงๆ แทนที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาจะหานักกีฬามือดีได้อย่างไรท่ามกลางงบทำทีมที่น้อยมากเมื่อเทียบกับทีมอื่น
ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ Data แต่อยู่ที่ผู้นำการทำทีมอย่าง Billy Beans เลือกใช้กลยุทธ์ Data-Driven ในการทำทีมจนประสบความสำเร็จต่างหากครับ