Netflix กำลังทำโฆษณาในแพลตฟอร์มได้ ในปี 2022 นี้

ช่วงนี้เราจะเห็นว่า Netflix มีข่าวมาให้ติดตามอยู่เสมอเลยนะครับ จากข่าวใหญ่เมื่อช่วงต้นปีที่มีการประกาศว่าจะเริ่มมีการโฆษณาบนแพลตฟอร์มในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ที่สร้างกระแสความน่าสนใจไปก่อนหน้านี้ เมื่อไม่นานมานี้กลับมีข่าวออกมาว่าการโฆษณาในแพลตฟอร์มจะเกิดขึ้นก่อนสิ้นปี 2022 นี้อย่างแน่นอน

คาดการณ์ว่า การที่มีการปรับแผนการณ์ในครั้งนี้ สาเหตุเกิดจาก การแข่งขันที่สูงมากขึ้นในตลาด Video Streaming ทั้งในแง่ของความอ่อนไหวด้านราคาของผู้บริโภค คอนเทนต์และการเติบโตทางธุรกิจของคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น Amazon Prime, Disney+, HBO และอื่นๆ ซึ่งคู่แข่งบางเจ้าก็มีการประกาศจะมีการโฆษณาในแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน

รวมถึงผลกระทบจากการเก็บค่าบริการเพิ่มเติมและนโยบายให้ใช้ 1 User ต่อที่อาศัย 1 ที่เท่านั้น ซึ่งกระทบต่อรายได้และความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นช่วงขาลงที่น่าจะจับตามองของแพลตฟอร์มสีแดงเจ้านี้เลยก็ว่าได้ครับ

netflix finally open to ads
ภาพประกอบจาก Marketingdive

การทำโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Video Streaming หรือ Video on Demand นี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียวสำหรับนักการตลาด เพราะตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ทั่วไปก็คือตามแพลตฟอร์มที่อยู่ในชีวิตของเราแทบทุกวันอย่าง Youtube หรือผู้ให้บริการ Video Streaming เจ้าอื่นอย่าง Viu หรือ We TV

ส่วนหน้าตาของโฆษณาที่จะเกิดขึ้น ก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นอย่างไร อาจจะออกมาไม่มีความแตกต่างจากที่เราเคยเห็นในทั่วไปมากเท่าไร หรือจะเป็นในรูปแบบของ Netflix เองก็ยังไม่มีใครตอบได้ครับ

แต่การที่ Netflix รวมไปถึงแพลตฟอร์มอื่น เริ่มมีการประกาศว่ากำลังจะสามารถทำโฆษณาได้แล้ว ก็มีสิ่งที่น่าสนใจที่น่าจับตามองอยู่เหมือนกันครับ จะเป็นยังไงนั้น ขอเชิญอ่านต่อได้เลยครับ

สิ่งที่น่าจับตามองสำหรับการโฆษณาใน Netflix หรือ Video Streaming Platform อื่นๆ

type of platform streaming
ภาพประกอบจาก Meduim

การที่แพลตฟอร์มสามารถทำการโฆษณาได้ในมุมมองของนักการตลาดแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นการโอกาสใหม่ ที่น่าสนใจที่จะได้ทดลองหาช่องทางการทำโฆษณารูปแบบใหม่ที่จะใช้ในการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับธุรกิจได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น

โดยเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมต้องการเสพคอนเทนต์ Entertainment ในประเภทของหนังและซีรีส์โดยตรง โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในช่องทาง เช่น โรงภาพยนตร์ที่มีต้นทุนในการทำการตลาดสูง หรือหว่านออกไปใน Social Media ที่ไม่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายโฆษณา (Targeting) ได้อย่างชัดเจนมากขนาดนั้น

netflix genre and user interface profile
ภาพประกอบจาก Business Insider

ผมลองแอบคิดเล่นๆถึงเรื่องของ Genre ในแพลตฟอร์มที่มีการแบ่งแยกประเภทของคอนเทนต์ชัดเจน รวมถึงการจับเก็บข้อมูล (Tracking) และประมวลผลออกมาเป็นการนำเสนอคอนเทนต์ที่ User น่าจะสนใจของแพลตฟอร์ม จะทำให้การทำโฆษณาตรงจุดและตอบโจทย์ได้อย่างน่าสนใจเลยครับ

นอกเหนือจากนี้ในแง่ของการสื่อสาร ก็จะเปิดกว้างเรื่องของการออกแบบการสื่อสาร หรือ รูปแบบบของคอนเทนต์ที่น่าสนใจในรูปแบบใหม่ๆได้อีกด้วย

ลองนึกตามผมนะครับว่า ถ้าเรากำลังดูหนังที่มีฉากหนึ่งมีอาหารที่เป็นเมนูที่น่ากินและตราตรึงใจของเรามาก หลังดูหนังจบหรือการดูหนังครั้งถัดไปในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มีโฆษณาที่โฆษณาเกี่ยวกับร้านอาหารที่ขายอาหารเมนูนั้น หรือ ช่องทางการซื้อเมนูนั้น ที่มีหน้าตาเหมือนในหนังเป๊ะ

ในจังหวะสิ่งนั้นกำลังเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายมากๆ ยิ่งสามารถโอกาสในการคลิกดูโฆษณา (Click) ไปสู่การซื้อสินค้า (Conversion) และเกิดยอดขายมากขนาดไหน

เรียกได้ว่า การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มที่อาจทำให้เราได้เห็นแคมเปญที่น่าสนใจในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นให้เราได้ว้าวกันก็ได้ครับ

ความท้าทายของแพลตฟอร์ม

อย่างไรก็ตามเหรียญมี 2 ด้านเสมอครับ เพราะเมื่อมองในฐานะของ User เราทุกคนล้วนแล้วแต่ไม่ชอบการโฆษณาด้วยกันทั้งนั้น อาจทำให้จำนวน User ที่ลดลงมากยิ่งกว่าเดิม จากกรณีคิดค่าบริการเพิ่ม และกฎข้อบังคับให้ 1 User ที่ใช้บริการต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน

เพราะก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2019 ก็มีโพลในประเด็นที่ถ้า Neflix มีโฆษณาในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่าจำนวน User อาจจะมีการยกเลิก Subscription ไปถึง 1 ใน 4 เลย

แม้ว่าจะมีการวางแผนไว้ว่าจะมีการออก Subscription Model คือ Ad-Support tier ที่เจาะกลุ่มคนที่ยอมจ่ายค่าบริการที่ถูกลงโดยแลกกับการยอมดูโฆษณา ก็อาจจะสามารถเชิญชวนให้ User สามารถกลับมาก็เป็นได้ แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่ากระแสตอบรับของแผนนี้จะเป็นอย่างไร

รวมไปถึงเรื่องของ Data Privacy ที่เดิมไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่สำหรับในอนาคตที่จะมีการโฆษณานั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อัลกอริทึมของการทำโฆษณาจะตรงหรือไม่ ก็ยังเป็นเรื่องที่น่าติดตามกันครับ

ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ 🙂
สามารถอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวกับบทความนี้ของการตลาดวันละตอนเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

Ref.
https://www.mazsystems.com/en/blog/what-are-svod-avod-tvod
https://www.marketingdive.com/news/
https://www.brandbuffet.in.th/2019/08/tubi-free-streaming-in-streaming-war/
https://www.brandbuffet.in.th/2019/07/
https://www.bbc.com/news/business-61153252

ลงมือเขียนเพื่อทบทวน และเข้าใจตัวเอง คนที่สนใจ Marketing คนหนึ่งที่อยากส่งต่อเหมือนที่ได้รับมา หวังว่าสิ่งที่เขียนจะมีประโยชน์กับคนอ่านทุกคนนะครับ :)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *