ในช่วงที่ผ่านมาทุกคนอาจจะเคยดื่มน้ำแบรนด์ดังอย่างเนสท์เล่ และเห็นรูปศิลปิน T-POP อย่างวง BUS บนฉลากที่ติดอยู่บนขวด นอกจากนี้อาจจะเคยเห็น #NestlePureLifeXBUS บนช่องทางโซเชียลออนไลน์อีกด้วย กลยุทธ์นี้เราเรียกว่า Collaboration Marketing วันนี้ผมจะพาทุกคนไปดูตัวอย่าง การตลาด Tops x Nestle ในแคมเปญ 3RE เอาใจสายช้อปรักษ์โลก
แต่ก่อนที่จะไปดูว่าเเคมเปญการตลาดนี้เป็นอย่างไร ผมขอพาทุกคนไปทำความรู้จัก Collaboration Marketing เบื้องต้นก่อนนะครับ
Collaboration Marketing คืออะไร
Collaboration Marketing หรือที่ทุกคนอาจเคยจะได้ยินว่า 2 แบรนด์นี้ Collab กัน มันคือกลยุทธ์การตลาดที่ธุรกิจตกลงจับมือเป็นพันธมิตรกัน (Partneship) เพื่อทำเป้าหมายที่มีร่วมกันให้สำเร็จ เรียกได้ว่าต่างคนต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเป้าหมายก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจแต่ละฝ่าย
ทำไมถึงต้อง Collaboration Marketing
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการที่แบรนด์มีการร่วมมือทำบางสิ่งให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายขององค์กรที่มีร่วมกัน ซึ่งอาจมีดังนี้
#การเพิ่มฐานลูกค้าและยอดขาย (Customer Growth and increasing Sale)
ในการทำธุรกิจเรามักจะบอกว่าต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) ให้ชัดเจน ต้องเลือกที่มีศักยภาพที่ธุรกิจจะเข้าไป ซึ่งไม่สามารถเลือกได้ทุกกลุ่ม ดังนั้น การ Collaboration จึงเป็นกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะสามารถดึงผู้บริโภคกลุ่มอื่นที่เป็นลูกค้าของแบรนด์พันธมิตรมาเป็นลูกค้าเราได้ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มตามไปด้วย
#การปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image Adjustment)
แน่นอนว่าบางครั้งแบรนด์อาจจะมีภาพลักษณ์ (Brand Image) ที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาหนึ่ง หรือแม่แต่การมีภาพลักษณ์ที่ขาดความน่าเชื่อถือ การร่วมมือเป็นพันธมิตรในการทำแคมเปญอะไรบางอย่างร่วมกัน ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความสดใหม่ให้กับแบรนด์ (Brand Refresh) เพราะส่วนใหญ่การ Collab มักจะนำพาไปสู่สิ่งใหม่ที่สามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้
#ลดต้นทุนและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources and Costs)
การทำงานร่วมกันของแบรนด์สามารถแบ่งปันทรพยากรในการทำแคมเปญการตลาด รวมถึงค่าโฆษณา และการจัดกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน
#โอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน (Learning and Growth Opportunities)
การทำงานอย่างใกล้ชิดกับแบรนด์อื่นสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีคุณค่าและโอกาสในการเรียนรู้ ธุรกิจสามารถรับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด ความต้องการของลูกค้า และแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน
เราก็รู้จักกลยุทธ์ Collaboration Marketing เบื่องต้นพอสังเขปแล้ว ต่อไปเรามาวิเคราะห์การตลาด Tops ที่ร่วมมือกับ Nestle ว่าเขาทำอะไร ทำด้วยวิธีไหน และทำโดยมีเป้าหมายอะไร โดยจะสามารถนำมาปรับใช้ในธุรกิจได้อย่างไร
Tops จับมือ Nestle ในแคมเปญ 3RE เอาใจสายช้อปรักษ์โลก
โดยแคมเปญนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต Tops ที่เป็นแบรนด์ลูก (Subrand) ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กับแบรนด์อาหารและน้ำดื่มอย่าง Nestle โดยทั้งสองแบรนด์ต่างมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
ทาง Tops ต้องการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใต้โครงการ “Small to Act” ส่วนทาง Nestle ก็ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ทั้งสองจึงร่วมือกันเป็นพันธมิตรรักษ์โลก
มีการจัดกิจกรรมผ่านแคมเปญ 3RE| Rethink, Restart และ Recycle ที่เชิญชวนลูกค้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อพลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อโลกใบนี้ ด้วยการรักษ์โลกแบบง่ายๆ คือเมื่อซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์จากเนสท์เล่ที่ร่วมรายการครบ 799 บาท/ใบเสร็จ รับฟรีร่มแฟชั่นรักษ์โลกสุดชิคคอลเลคชัน “เนสท์เล่ x PIPATCHARA” ที่ผลิตจากขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว 100% ได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 กรกฎาคม 2567 ที่ร้านท็อปส์, ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ และ ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด ทุกสาขา
เป้าหมายของการร่วมมือกันในครั้งนี้
แน่นนอนว่าทั้ง 2 แบรนด์มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันอย่างการที่ต้องการจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการทำ CSR (Corporate social Responsibility) กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น และนอกจากการมีเป้าหมายที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ยังมีเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มยอดขาย โดยอาศัยการกำหนดราคาในการซื้อต่อครั้งของผู้บริโภค และสินค้าหรือสิ่งของ Limited Edition
ทั้ง 2 แบรนด์ต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน Tops ก็มีคนเข้าร้านเพิ่มขึ้น ส่วน Nestle ก็มีคนมาซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของแบรนด์เพิ่มมากขึ้น สุดท้ายยอดขายของทั้งคู่ เรียกได้ว่า win-win กันทั้งสองฝ่าย
ทำไม Tops ถึงต้องจับมือกับ Nestle
ด้วยเป้าหมายที่สอดคล้องกัน อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่หากมองลึกลงไปจะพบว่า ทั้ง 2 แบรนด์อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกัน คืออุตสาหกรรมร้านค้าปลีกอย่างร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต และอุตสาหกรรมอาหารกับน้ำดื่ม ซึ่งก็ไปสนับสนุนเป้าหมายของทั้งสองแบรนด์ที่พูดไว้ข้างต้น
หากสามารถเลือกคู่พันธมิตร (Partnership) ที่ดีได้ก็จะสามารถทำให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกคู่พันธมิตรจะต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น เป้าหมาย ภาพลักษณ์ ความเป็นไปได้ในการเติบโตร่วมกัน เป็นต้น
แคมเปญวัดผลได้หรือไม่
จากการที่ทั้ง 2 แบรนด์ร่วมมือกัน จะเห็นว่ามีการกำหนดกรอบเวลาของแคมเปญที่ชัดเจน และต้องมีการกำหนดงบประมาณไว้ เพื่อให้สามารถอย่างวัดผลได้ ซึ่งก็มาจากเป้าหมายในด้านของจำนวนคนที่เข้ามาซื้อสินค้า หรือจำนวนยอดขายที่เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด
สรุป
เราจะเห็นเลยว่าวิธีการทำ การตลาด Tops ที่อาศัยเครื่องมืออย่าง Collaboration Marketing ต้องมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันในทุกขั้นตอน เพื่อที่จะได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ธุรกิจตั้งไว้
การทำ Collaboration Marketing เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสมมากที่จะเลือกมาใช้ในปัจจุบัน ด้วยสภาพแวดล้อมการแข่งขันของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สูงขึ้น การจะเป็นแบรนด์ยืนหนึ่ง ที่หมายความว่ายืนคนเดียว อาจจะไม่รอดในสมรภูมินี้
และการหาพันธมิตรก็ใช่ว่าจะเลือกใครมาก็ได้ ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เป้าเหมายของธุรกิจมีทิศทางเดียวกันไหม ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เลือกตรงตามที่ต้องการหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจเดินไปตามเป้าหมายได้สำเร็จ
Source, Source
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Collaboration Marketing ได้ที่นี่