Brand Localization คืออะไร พร้อม 7 Strategies ปรับแบรนด์ให้เข้ากับท้องถิ่น

ในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า Brand Localization คืออะไร พร้อม 7 Strategies ปรับแบรนด์ให้เข้ากับท้องถิ่นยังไงได้บ้าง ในยุคที่ Internet เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและคนเราก็สามารถเสพสื่อข่าวสารกันได้อย่างง่ายดายมากขึ้น แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ธุรกิจของเราที่เข้าถึงลูกค้าได้ แต่ธุรกิจอื่นก็มีช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

ดังนั้นเลยเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราถึงควรสร้างแบรนด์ให้ดี รวมถึงกลยุทธ์ที่เราจะมาพูดกันในบทความนี้ด้วยนั่นเอง ในเรื่องของ Brand Localization ว่าถ้าเราอยากขยายตลาดหรือเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในท้องถิ่นให้ได้มากยิ่งขึ้น การที่เราจะปรับแบรนด์ให้เหมาะสมและได้ใจคนในท้องถิ่นจะทำยังไงได้บ้าง มาดูกันต่อค่ะ

มีถึง 72.4% ของผู้บริโภคที่บอกว่าเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากขึ้น เมื่อข้อมูลถูกนำเสนอในภาษาแม่ของพวกเขา แน่นอนล่ะค่ะว่าคนเรามักมีความรู้สึกที่ดีและเชื่อมโยงได้ง่ายกว่าถ้าเห็นธุรกิจไหนที่สื่อสารได้แบบเข้าใจภาษาของเรา เหมือนคนที่พูดภาษาเดียวกัน

ถ้าถามว่า Brand Localization คืออะไร พูดง่าย ๆ คือการปรับแบรนด์ของเราให้เข้ากับท้องถิ่นนั้น ๆ ในทุก ๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่เราใช้สื่อสารออกไป ภาพ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เรามอบให้ ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะ

เพราะว่าในแต่ละพื้นที่ แน่นอนว่ามันก็จะมีความแตกต่างกันไป ไม่มากก็น้อยค่ะ เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี ความเชื่อ สิ่งที่เขาให้ความสำคัญ หรือความชื่นชอบของคนแต่ละกลุ่ม ซึ่งแบรนด์ของเราก็ต้องทำการบ้านดูว่าจะนำมาปรับและสื่อสารอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด

  • Language: ในที่นี้ก็ไม่ใช่แค่การแปลภาษา แต่ควรเล่าให้ดูเป็นธรรมชาติ รวมถึงต้องไปดูว่าในแต่ละพื้นที่มีสำนวนภาษา คำสแลง หรือชอบใช้คำแบบไหน พูดยังไงกันบ้าง
  • Visuals: รูปภาพ สี รวมถึงการออกแบบ ก็ควรสอดคล้องไปกับความสนใจของคนในแต่ละท้องถิ่น
  • Cultural Values: ค่านิยม สิ่งที่เขาให้คุณค่า ทัศนคติ ดูว่าเขาให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรกันบ้าง
  • Local Culture & Trends: การให้ความสนใจกับประเพณี วันสำคัญ หรือเทรนด์ในปัจจุบัน

แน่นอนว่าก่อนเราจะขยายตลาด หรือเข้าสู่ตลาดใหม่ สิ่งสำคัญเลยก็คือควรศึกษาหาข้อมูลและวิจัยท้องถิ่นนั้น ๆ ก่อน เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ค่านิยม สังคม วัฒนธรรมของตลาดนั้น เพราะถ้าเราเข้าใจ Insight ของกลุ่มเป้าหมายได้ดี ก็จะเป็นส่วนช่วยให้เราสามารถปรับแบรนด์ให้เหมาะสมและเข้ากับความต้องการหรือความคาดหวังของคนได้

ทีนี้อาจจะลองเริ่มต้นจากการปรึกษาหรือทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์และตัวแทนคนในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง หรือศึกษารายงานวิจัยที่เคยตีพิมพ์เกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ เพราะแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกัน ยิ่งถ้าเราอยากจะเข้าไปตีตลาดในนั้น ก็ควรเริ่มต้นจากคนที่ใกล้ชิดและเข้าใจพื้นที่นั้นเป็นอย่างดี

Brand Localization

มาดูในเรื่องของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันบ้าง เพราะภาษาก็เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่เราควรปรับให้เข้ากับคนในท้องถิ่นนั้น ๆ เหมือนคนที่พูดภาษาเดียวกัน ลองดูสำบัดสำนวนหรือคำที่คนท้องถิ่นชอบใช้กัน เพื่อให้เราปรับการสื่อสารให้ดูจริงใจแล้วก็เป็นธรรมชาติไปกับพื้นที่นั้น ๆ ได้

ยกตัวอย่างแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาสากลและใช้กันทั่วโลก แต่ก็มีความแตกต่างกันไปอย่างแบบอังกฤษกับอเมริกาก็ไม่เหมือนกันแล้ว เช่น วลี การสะกด หรือสแลงต่าง ๆ เป็นต้นค่ะ เปรียบเหมือนว่าเป็นวัฒนธรรมย่อย ๆ ที่เราควรลงไปสังเกตและทำความเข้าใจให้ดีก่อนสื่อสารออกไป

หรือสมมติเจาะลงไปในอเมริกาอีก แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ทั้งนี้อเมริกาก็มีหลายรัฐเป็นต้น ถ้าในไทยก็แล้วแต่ภาค จังหวัด ชุมชนลงไปอีก ต้องค่อย ๆ ใช้ความละเอียดอ่อนในการทำความเข้าใจแล้วจึงจะปรับรูปแบบการสื่อสารให้ดูเข้าถึงง่ายแล้วก็ดึงดูดความสนใจคนในท้องถิ่นได้มากขึ้นค่ะ

Brand Localization

การกำหนดราคาในตลาดนึงอาจจะไม่สามารถใช้ได้กับทุกตลาดนั่นเองค่ะ เพราะสภาพเศรษฐกิจและความคาดหวังของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ถ้าจะคำนึงถึงเรื่องของราคาและเศรษฐกิจในท้องถิ่นก็ควรเริ่มต้นศึกษาแนวโน้มหรือการกำหนดราคาที่เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ก่อนเสมอ เพื่อจะได้ปรับรูปแบบการกำหนดราคาให้เป็นไปตามนั้น

เช่น พิจารณารายได้เฉลี่ย อำนาจในการซื้อต่าง ๆ ถ้าเรากำหนดราคาได้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ก็จะช่วยให้คนรู้สึกว่าสินค้าและบริการของแบรนด์เราจับต้องได้ เข้าถึงง่าย ยังคงมีความน่าดึงดูดใจอยู่ เพราะราคาไม่แรงจนเกินไปสำหรับคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา

Brand Localization

แน่นอนว่าเมื่อเราเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ยิ่งเป็นตลาดเฉพาะที่เราต้องเจาะลึกลงไป ความเชี่ยวชาญหรือสกิลต่าง ๆ ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญ

อย่างการมีพนักงาน ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่สามารถให้ข้อมูลในเชิงลึกได้ แชร์ประสบการณ์ได้ดี เช่น คนที่พูดภาษาเดียวกับลูกค้า เข้าใจความละเอียดอ่อนในหลาย ๆ ประเด็นสำคัญ รู้ว่าคนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เพราะจะทำให้สามารถรู้วิธีในการสื่อสารกับลูกค้าได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

Brand Localization

มาถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญเช่นเดียวกันก็คือตัวสินค้าและบริการที่พูดง่าย ๆ คือคนในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ จะต้องเข้าใจว่าเราขายอะไร ผ่านการปรับสินค้าและบริการให้เข้ากับความชอบและความต้องการของตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ

ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติ ฟีเจอร์ต่าง ๆ หรือถ้าเป็นอาหารก็ต้องคำนึงถึงสูตร ส่วนผสม รสชาติที่คนท้องถิ่นนั้นชอบ รวมถึงแพ็กเกจจิ้ง ที่เป็น First Impression ภาพลักษณ์ที่ดึงดูดสายตา ก็ควรศึกษาดูตามสไตล์และรสนิยมของคนในท้องถิ่น

จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ทำการบ้านและใส่ใจเขาจริง ๆ มีความละเอียดอ่อน ให้คุณค่าและเข้าใจความต้องการเฉพาะกลุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ของลูกค้ากลุ่มนั้น

ความละเอียดอ่อนในเรื่องของวัฒนธรรมก็เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการปรับแบรนด์ของเราให้เข้ากับท้องถิ่นเลยล่ะค่ะ เพราะต้องดูให้แน่ใจว่าสิ่งที่แบรนด์ส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ หรือในทุก ๆ องค์ประกอบ ต้องไม่ไปขัดกับสิ่งที่เขาเชื่อหรือให้ความสำคัญ พูดง่าย ๆ คือควรมีความเคารพประเพณี วัฒนธรรม หรือค่านิยมของคนท้องถิ่น

ไม่เช่นนั้นอาจจะโดนแบนหรือถูกแขวนได้เลยเช่นกัน ยิ่งในยุคที่โลกออนไลน์ข่าวแพร่กระจายไปไวแบบความเร็วแสง จะสื่อสารอะไรก็ต้องศึกษาทำการบ้านให้ดี มีความละเอียดระมัดระวัง

แต่ถ้าปรับแบรนด์ได้เหมาะสม คนก็จะรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และดูมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย ส่งผลถึงในระยะยาวที่คนก็จะไว้ใจแบรนด์เราด้วยเช่นเดียวกัน

การที่เราจะปรับให้แบรนด์ค่อย ๆ มีความเข้ากันได้กับท้องถิ่น อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทำปุ๊บได้ปั๊บในไม่กี่วัน แต่เป็นสิ่งที่เราควรศึกษาและทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญเลยก็คือการฟังเสียงลูกค้าเยอะ ๆ ดู Feedback ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร อยากให้เราเพิ่มหรือลดอะไร

คนที่ได้ประโยชน์ก็เป็นทั้งฝั่งเราที่จะพัฒนาแบรนด์ให้ดีขึ้นได้ ปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม จากการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยไปผ่านข้อเสนอแนะต่าง ๆ ส่วนลูกค้าก็จะได้มี Experience ที่ดีขึ้นด้วย

Brand Localization คืออะไร พร้อม 7 Strategies ปรับแบรนด์ให้เข้ากับท้องถิ่น

การพัฒนากลยุทธ์และปรับแบรนด์ของเราให้เข้ากับท้องถิ่น มุ่งเน้นไปที่ความชอบและความต้องการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม จะช่วยสร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งอื่น ๆ ในตลาดได้

อาจจะเริ่มต้นจากการวิจัยตลาดอย่างละเอียด ปรับรูปแบบการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น และใจเย็น ๆ ในการค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่น เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องถึงจะเติบโตและมัดใจคนในท้องถิ่นได้อยู่หมัดค่ะ

หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้ดี ๆ และประโยชน์กลับไปไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่า และสามารถติดตามบทความด้านการตลาดเพิ่มเติมได้จากเพจการตลาดวันละตอนที่ เว็บไซต์ Facebook Instagram Twitter และ Youtube ได้เลย

Source

เฟิร์น Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ชอบงานศิลปะและท่องเที่ยวธรรมชาติ ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *