บทความนี้พามาดู 4 Use Case การใช้ Social Listening กันครับว่าสามารถนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง ต้องบอกว่าเครื่องมือตัวนี้ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการเฝ้าติดตามเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคในโลกออนไลน์เท่านั้นนะครับ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยแบรนด์พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ตั้งแต่การติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแบรนด์ตัวเอง การสอดส่องคู่แข่ง ไปจนถึงการจับกระแสใหม่ ๆ และค้นหา Insight เชิงลึกที่ช่วยให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น Use Case การใช้จริงมีอะไรบ้างสามารถติดตามได้ในบทความเลยครับ
#1 ใช้ Monitor แบรนด์ตัวเอง
(AI-Generated Image by Shutterstock Prompt: a realistic cinematic photograph of a person sitting in front of a computer using listening tools, modern workspace, soft natural lighting, focused atmosphere)
ในยุคที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นพื้นที่หลักที่ผู้บริโภคใช้แสดงความคิดเห็น การติดตามสิ่งที่ผู้คนพูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์ของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเลยล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสินค้า แคมเปญ หรือประสบการณ์ที่พวกเขามีกับแบรนด์ ผมมองว่าการตรวจสอบความเคลื่อนไหวเหล่านี้จะช่วยให้สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด และนำไปสู่การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์ในระยะยาวครับ
สิ่งที่ควร Monitor ในการติดตามแบรนด์ตัวเอง
ชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์: ค้นหาข้อมูลที่ผู้คนพูดถึงชื่อแบรนด์และสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Instagram เป็นต้น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการ: ลูกค้าอาจแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการ เช่น ชื่นชม หรือติเตือน การตอบสนองคอมเม้นท์เหล่านั้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้นครับ
คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์: เช่น คำที่มักถูกพูดถึงร่วมกับชื่อแบรนด์ เช่น “การปวด” “อาหารเสริม” หรือ “ครีมกันแดด” เป็นต้น
ปัญหาที่ผู้บริโภคเจอ: การติดตามรีวิวและคำติชมช่วยให้เราทราบว่าปัญหาใดที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนครับ
ตัวอย่าง Word Cloud ในคีย์เวิร์ด “ครัวซอง”
ทำไมการ Monitor แบรนด์ตัวเองจึงสำคัญ?
เข้าใจมุมมองของลูกค้า: การรู้ว่าผู้คนพูดถึงแบรนด์ของเราอย่างไรเป็นเหมือนการได้ยินเสียงสะท้อนจากลูกค้าโดยตรงครับ เช่น รู้ว่าลูกค้าชื่นชอบคุณสมบัติอะไรของสินค้า หรือพบเจอปัญหาอะไรบ้างเมื่อใช้บริการ
ป้องกันวิกฤต: หากมีความคิดเห็นเชิงลบที่เริ่มต้นแพร่กระจายในโซเชียลมีเดีย การที่เราพบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถช่วยให้แบรนด์สามารถจัดการได้ก่อนที่เรื่องจะลุกลามไปจนเกิดความเสียหายที่ใหญ่กว่าเดิมครับ
ประเมินแคมเปญการตลาด: ช่วยให้เราสามารถติดตามผลตอบรับจากแคมเปญโฆษณาหรือโปรโมชันได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เรารู้ว่ากลยุทธ์หรือแคมเปญที่ออกไปใช้ได้ผลหรือไม่
ตัวอย่างการใช้งานจริง
ติดตามรีวิวสินค้าใน Facebook และ Twitter: แบรนด์สามารถใช้เพื่อตรวจสอบว่ามีใครพูดถึงสินค้าของเราบ้างในช่องทางออนไลน์ เช่น การค้นหาโพสต์ที่มีการติดแท็กชื่อแบรนด์ หรือการค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับสินค้า เช่น “เสื้อยืดแบรนด์____”
รู้ถึงปัญหาของลูกค้าที่ถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดีย: เช่น Pantip หรือ Reddit มักเป็นพื้นที่ที่ลูกค้าพูดถึงแบรนด์โดยตรง การติดตามความคิดเห็นเหล่านี้ช่วยให้เรามองเห็นจุดอ่อนของแบรนด์ได้ตรงจุดครับ เช่น บริการหลังการขายไม่ดี ซึ่งความคิดเห็นเหล่านี้อาจไม่ปรากฏในโซเชียลมีเดียหลักของแบรนด์ครับ
การใช้ Monitor แบรนด์ตัวเองเป็นเพียงก้าวแรกในการนำข้อมูลมาใช้สร้างความได้เปรียบในตลาด หากเราใส่ใจเสียงของลูกค้าและปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง แบรนด์จะสามารถสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืนแน่นอนครับ
#2 ใช้ส่องแบรนด์คู่แข่ง
(AI-Generated Image by Shutterstock Prompt: a realistic cinematic photograph of a person sitting at a desk, intensely focused on a computer screen displaying social listening tools and competitor brand analysis, tense expression, modern office setting, subtle dramatic lighting.)
นอกจากการ Monitor แบรนด์ของตัวเองแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการใช้ Social Listening คือการติดตามแบรนด์คู่แข่งครับ การทำความเข้าใจสิ่งที่คู่แข่งกำลังทำอยู่ในตลาด ไม่ว่าจะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อน จะช่วยให้เราสามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีกว่า รวมถึงหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่คู่แข่งอาจเคยทำ การเรียนรู้จากคู่แข่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้แบรนด์ของเราก้าวทันหรือแม้กระทั่งแซงหน้าคู่แข่งครับ
สิ่งที่ควร Monitor เมื่อส่องแบรนด์คู่แข่ง
ชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง: ติดตามว่าผู้บริโภคพูดถึงชื่อแบรนด์ของคู่แข่งอย่างไร ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
ความคิดเห็นของลูกค้า: ตรวจสอบว่าลูกค้าของคู่แข่งมีความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในด้านใด เช่น มีการบ่นเรื่องคุณภาพสินค้า ราคา หรือบริการหลังการขาย เพื่อนำกลับมาปรับใช้กลับแบรนด์ครับ
แคมเปญการตลาด: สังเกตว่าแคมเปญใดของคู่แข่งที่ได้รับการตอบรับที่ดี เช่น โปรโมชันแบบไหน แคมเปญแบบใด หรือกิจกรรมไหน และนำแนวคิดเหล่านั้นมาปรับใช้กับแบรนด์ของเราได้
เคลื่อนไหวของคู่แข่งในตลาด: เช่น การเปิดตัวสินค้าใหม่ การขยายตลาด หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ประโยชน์ของการติดตามแบรนด์คู่แข่ง
เรียนรู้สิ่งที่คู่แข่งทำได้ดี: ช่วยให้เราเห็นว่ากลยุทธ์ไหนของคู่แข่งที่ประสบความสำเร็จ เช่น แคมเปญโฆษณาไหนที่ได้รับความนิยม สินค้าใดที่ลูกค้าชื่นชม หรือคู่แข่งวิธีการทำ CRM กับลูกค้ายังไง เราสามารถนำแนวคิดเหล่านี้มาปรับใช้กับแบรนด์ของเราได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
หาจุดอ่อนของคู่แข่ง: การติดตามความคิดเห็นเชิงลบที่ลูกค้ามีต่อคู่แข่งช่วยให้เราห็นจุดอ่อนที่สามารถกลายเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ของเราได้ครับ เช่น หากลูกค้าของคู่แข่งบ่นเรื่องการจัดส่งที่ล่าช้า เราอาจเน้นการโปรโมตบริการจัดส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ
เตรียมรับมือแคมเปญของคู่แข่ง: เมื่อเรารู้ว่าคู่แข่งกำลังทำอะไร เช่น คู่แข่งมักโพสต์ตอนไหน การเปิดตัวสินค้าใหม่หรือแคมเปญโปรโมชั่น เราจะสามารถวางแผนรับมือได้ทันที เช่น การออกโปรโมชันที่ดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า หรือการเพิ่มความโดดเด่นของตัวสินค้าครับ
ตัวอย่าง ช่วงเวลาที่ Mention ถึง ในคีย์เวิร์ด “ครัวซอง”
ตัวอย่างการใช้งานจริง
วิเคราะห์ว่าลูกค้าคู่แข่งบ่นอะไรบ่อยที่สุด: สมมติว่าคู่แข่งของมีบริการจัดส่งสินค้า แต่ลูกค้าของคู่แข่งมักจะบ่นว่าใช้เวลาจัดส่งนาน หากเราสังเกตเห็นปัญหานี้ได้ เราจะสามารถพัฒนาการจัดส่งของตัวเองให้เร็วขึ้น พร้อมทั้งโปรโมตจุดเด่นนี้ในแคมเปญการตลาดได้อีกด้วยครับ อีกตัวอย่างหนึ่งคือหากลูกค้าของคู่แข่งบ่นเรื่องการบริการลูกค้าที่ไม่ตอบสนอง เราอาจใช้โอกาสนี้เพื่อพัฒนาและโฆษณาการบริการลูกค้าของเราประมาณว่า “ตอบกลับใน 5 นาที ไม่ต้องรอนาน”
ดูแคมเปญหรือโปรโมชันของคู่แข่งที่ได้รับการตอบรับดี: หากเราพบว่าแคมเปญลดราคาช่วงปลายปีของคู่แข่งได้รับความนิยม เราสามารถใช้ข้อมูลนี้วางแผนแคมเปญปลายปีของตัวเองที่มีข้อเสนอที่ดึงดูดยิ่งกว่าครับ เช่น การลดราคาพร้อมของแถม หรือการให้คะแนนสะสมสองเท่า
ระบุโอกาสจากจุดที่คู่แข่งยังไม่ครอบคลุม: สมมติว่าคู่แข่งของคุณยังไม่ได้สนใจตลาดในบางกลุ่มกลุ่ม เช่น ลูกค้าที่มีพฤติกรรมรักษ์โลก เราสามารถใช้โอกาสนี้สร้างสินค้าใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโปรโมตในช่องทางโซเชียลมีเดีย พร้อมชูจุดเด่นที่คู่แข่งไม่มีได้ครับ
การใช้เพื่อติดตามแบรนด์คู่แข่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราเรียนรู้จากสิ่งที่คู่แข่งทำได้ดีและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่คู่แข่งเคยเผชิญ การใช้ข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงกลยุทธ์ของตัวเองจะช่วยให้แบรนด์ของเรามีความได้เปรียบในการแข่งขัน และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
#3 จับจุดเริ่มต้นของกระแส
ในยุคที่โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้คนใช้แสดงความคิดเห็นและสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ ทำให้กระแสหรือ เทรนด์ออนไลน์สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมาก ๆ และบางครั้งก็กลายเป็นกระแสใหญ่ที่ส่งผลต่อแบรนด์ครับ การที่แบรนด์สามารถติดตามและระบุจุดเริ่มต้นของกระแสได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เรามีโอกาสสร้างกลยุทธ์การตลาดที่ทันเหตุการณ์และสอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
Social Listening เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสังเกตความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ และระบุได้ว่ากระแสใดกำลังจะมาแรง รวมถึงค้นหาแหล่งที่มาของกระแสนั้น เช่น Influencers ที่เป็นตัวจุดกระแสคือใคร หรือแพลตฟอร์มใเที่มีการพูดถึงประเด็นนั้นมากที่สุดครับ
ทำไมการส่องจุดเริ่มต้นของกระแสถึงสำคัญ?
เตรียมตัวล่วงหน้า: อย่างที่ได้กล่าวไปครับการจับกระแสตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มช่วยให้เราสามารถวางแผนแคมเปญการตลาดหรือเตรียมความพร้อมในการผลิตคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับกระแสได้ หรือเรียกว่า Real-time Marketing ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า: การเข้าร่วมกระแสในเวลาที่เหมาะสมช่วยให้แบรนด์ของคุณดูทันสมัยและมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกระแสจะทำให้ลูกค้าเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน: การระบุและเข้าร่วมกระแสก่อนคู่แข่งจะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในตลาด และยังช่วยให้คุณเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่าง จำนวนที่ Mention ถึง ในคีย์เวิร์ด “เยาวราช” จากกระแสลิซ่า
สิ่งที่ Social Listening ช่วยในการส่องกระแส
สังเกตแฮชแท็กและคำค้นหายอดนิยม: ช่วยให้เราติดตามแฮชแท็กที่มีการพูดถึงบ่อยหรือคำค้นหาที่เริ่มได้รับความนิยมได้ ตัวอย่างเช่น หากแฮชแท็ก “#รักษ์โลก” เริ่มมีการใช้งานเพิ่มขึ้น เราสามารถวางแผนโปรโมตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ครับ
ติดตาม Influencer ที่เป็นผู้นำกระแส: อย่างที่เรารู้กันครับว่าปัจจุบัน Influencer มักเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดีย การที่เราติดตามพวกเค้าช่วยให้เรามองเห็น Signal อะไรบางอย่างที่อาจจะกลายเป็นกระแสหลักได้ครับ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความสนใจในประเด็นต่าง ๆ: การตรวจสอบว่าประเด็นที่เคยได้รับความนิยมมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแทนที่ด้วยเรื่องใหม่อย่างไร ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา และเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าแคมเปญการตลาดควรจะทำอย่างไรต่อไป
ตัวอย่างการใช้งานจริง
สังเกตว่าแฮชแท็กไหนกำลังมาแรง: ในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่ หรือวันวาเลนไทน์ การติดตามแฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง เช่น #เทศกาลปีใหม่ หรือ #ของขวัญวาเลนไทน์ จะช่วยให้เราสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงจุดครับ ตัวอย่าง: หากแฮชแท็ก #WorkFromHome เริ่มได้รับความนิยมในช่วงที่คนทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้น เราสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อโปรโมตสินค้า เช่น เก้าอี้ทำงาน หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานที่บ้านได้ครับ
ติดตาม Influencer เป็นผู้นำกระแส: หากเราติดตามอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในอุตสาหกรรมของเรา เช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ในสายเครื่องสำอาง เราอาจจะเห็น Signal อะไรบางอย่างที่ Influencer นำเสนอ เช่น การแต่งหน้าโทนสีธรรมชาติ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Vegan-Friendly ทำให้เราสามารถเตรียมตัวได้ก่อนใครครับ เช่น หาก Influencer เริ่มโปรโมตการใช้ “ครีมกันแดดแบบ Mineral Base” และมีผู้ติดตามพูดถึงมากขึ้นอย่างชัดเจน เราอาจพิจารณาปรับสูตรสินค้าหรือทำแคมเปญที่เน้นจุดขายนี้มากขึ้นครับ
ตัวอย่าง
การใช้เพื่อติดตามจุดเริ่มต้นของกระแสช่วยให้แบรนด์ของเรามีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ก่อนใคร เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในการวางแผนการตลาดหรือสร้างคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ตามเราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับตัวตนของแบรนด์เพื่อให้การเข้าร่วมกระแสสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดครับ
#4 ใช้ทำ Data Research Insight
Social Listening ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับการติดตามการพูดถึงแบรนด์ในโลกออนไลน์เท่านั้นนะครับ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ Data Research Insight ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงลึกและใช้ในการวางกลยุทธ์ธุรกิจในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
ข้อมูลที่ได้ช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าและตลาดในมิติที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา Insight ของผู้บริโภค การระบุความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่เราอาจจะมองข้ามไป หรือการเทรนด์ของตลาด ทั้งหมดนี้จะช่วยให้แบรนด์พัฒนากลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นครับ
ต้องบอกก่อนว่าตัว Data Research Insigth ก็เป็นสิ่งที่การตลาดวันละตอนทำมาโดยตลอด เช่น Data Research Insight 76 จังหวัดทั่วไทย ที่รวบรวม Insight ของดีแต่ละจังหวัด หรือ Data อร่อยร้อยร้าน ที่ส่อง Insight อาหารแต่ละชนิด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น Data ฟรีที่ใครก็สามารถอ่านได้ทำให้คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสได้เข้าถึง และนำไปใช้ต่อยอดธุรกิจครับ
ประโยชน์ของการใช้งานในการทำ Data Research Insight
ค้นหา Insight เชิงลึกของลูกค้า: ช่วยให้เราเข้าใจว่า ลูกค้าต้องการอะไร และ ให้ความสำคัญกับอะไร ผ่านการวิเคราะห์การโพาต์และความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียครับ
รู้ความสนใจและปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย: การติดตามข้อมูลที่ผู้บริโภคแชร์ช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจและปัญหาที่พวกเค้าเผชิญครับ เช่น ลูกค้าอาจพูดถึงความไม่สะดวกของสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้แบรนด์พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์มากขึ้นครับ
วางแผนกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น Keywords ที่ลูกค้าใช้บ่อย หรือความรู้สึกต่อแบรนด์ ช่วยให้เราสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย และเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมครับ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่: การเก็บข้อมูลจากเครื่องมือนี้ ช่วยให้เรามองเห็น ช่องว่างในตลาด และสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
ตัวอย่างการใช้งาน Social Listening ในการทำ Data Research Insight
Social Listening เป็นเครื่องมือที่ดีในการทำ Data Research Insight โดยช่วยให้แบรนด์ค้นพบ Insight เชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า ระบุความต้องการและปัญหา รวมถึงวางกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ข้อมูลเหล่านี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้แบรนด์ของเราเติบโตในระยะยาวและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างยืดหยุ่นครับ
ถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้ครับ
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
คลาสเรียนออนไลน์ เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/soc iallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 21
คุณอุ้มเป็นผู้เรียน รุ่น 21 ของการตลาดวันละตอนที่กลับมา Present การบ้านหลังจากที่ได้เรียนผ่านไป 1 สัปดาห์ เธอเอาไปทำงานกันของลูกค้าอาหารแมวรายหนึ่ง ทำให้พบ Data Insights มากมายที่คาดไม่ถึง
เธอใช้แนวทาง 8 ขั้นตอนการใช้ โดยการตลาดวันละตอน (ที่อยู่ในหนังสือ Social Listening ด้วย) ไล่ทำตามทุกขั้นตอนจนทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนโดยไม่หลงทาง
Set Objective & Research Keywords
Set Social Listening & Collecting Data
Cleansing Data
Conversation Analysis
Categorized Data
Visualization
Summary Insights
Strategy & Recommendation
ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า เธอพบว่าอาหารแมวชนิดไหนได้รับความสนใจมากที่สุด หรือ Insights อาหารแมวจากช่วงวัยที่น่าสนใจ ว่าคนเลี้ยงแมวใส่ใจเมื่อแมวเริ่มอายุเยอะกว่าแมวโตทั่วไป จนสุดท้ายออกมาเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไป Set Business Strategy & Marketing Communication ต่อ
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลยครับ