สวัสดีครับเพื่อน ๆ นักการตลาดและผู้อ่านทุกคน ต้องบอกว่าในยุคนี้เรื่องการใช้ข้อมูล (Data) มีความสำคัญมากขึ้น และการที่จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าใจได้ง่าย ก็จำเป็นที่จะต้องมีการนำเสนอที่น่าสนใจ ซึ่งการทำ Data Visualizations ผ่านกราฟหรือแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้ข้อมูลที่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
AI-Generated by Shutterstock (Prompt: A 3D concept image of data visualisation, featuring abstract geometric shapes like bars, lines, and pie charts, rendered in three dimensions. The shapes should have depth and shading, with a futuristic digital interface as a background. The colors should primarily be shades of blue and navy, creating a professional and calming feel. Elements should represent data points, connections, and analytics. The overall feel should be dynamic, clean, and modern, evoking the idea of complex information being beautifully organized and accessible in a 3D space.)
ซึ่ง Canva เองก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีฟีเจอร์สร้างกราฟหลากหลายประเภท ตั้งแต่ Bar Chart, Line Chart ไปจนถึง Pie Chart วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนไปไปดูว่า Canva สร้าง Chart อะไรได้บ้าง และแต่ละ Chart ใช้ยังไง พร้อมทั้งฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การใช้ Chart ของคุณน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
Bar Chart
เรามาเริ่มกันที่ Bar Chart ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ด้วยการใช้แท่งกราฟทั้งแนวตั้งในการแสดงข้อมูล ซึ่งก็เหมาะกับการเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขในช่วงเวลาหนึ่งหรือ หรือข้อมูลระหว่างกลุ่ม เช่น เช่น ยอดขายแต่ละเดือนไปถึงไหนแล้ว หรือ แต่ละแคมเปญไหนได้ยอดการมีส่วนร่วมเป็นยังไง
Row Chart
จะคล้ายกับ Bar Chart แต่แสดงข้อมูลเป็นแบบแท่งแนวนอน โดย Row Chart มักใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลในกรณีที่ต้องการแสดงรายการหรือประเภทของข้อมูลมีจำนวนมากและต้องการและเปรียบเทียบกัน เช่น การเปรียบเทียบยอดขายระหว่างแคมเปญต่าง ๆ การจัดอันดับยอดขายผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุด หรือการวิเคราะห์ยอดใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่
นอกจากนี้ ล่าสุด Canva (Droptober) ก็เพิ่มลูกเล่น Bar Chart Race ในรูปแบบ Row Chart ที่สามารถเคลื่อนไหวของแท่งแนวนอนที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละรายการในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น การใช้ Row Chart Race ในการแสดงยอดขายของแบรนด์ในแต่ละเดือนแต่ละเดือนได้
Line Chart
Line Chart เป็นกราฟที่ช่วยให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามเวลาได้ชัดเจน ด้วยการเชื่อมจุดข้อมูลด้วยเส้นกราฟ เหมาะมาก ๆ สำหรับการดูเทรนด์ต่าง ๆ เช่น ยอดขายรายเดือนพุ่งขึ้นแค่ไหน หรือคนใช้แพลตฟอร์มเราเพิ่มขึ้นยังไงบ้าง
Pie Chart
Pie Chart เป็น Chart ที่แบ่งวงกลมออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อแสดงสัดส่วนหรือการแบ่งประเภทของข้อมูล เหมาะมากสำหรับการดูว่าแต่ละส่วนมีขนาดเท่าไหร่ เช่น แต่ละสินค้าขายได้กี่เปอร์เซ็นต์ หรือแบรนด์เรามีส่วนแบ่งในตลาดเท่าไหร่
Area Chart
Area Chart จะมีลักษณะคล้ายกับ Line Chart แต่เพิ่มสีพื้นที่ใต้เส้นเพื่อเน้นปริมาณของข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมชัดขึ้น เช่น การดูยอดขายสะสม หรือเปรียบเทียบว่าสินค้าแต่ละตัวเติบโตต่างกันยังไง
Scatter Plot
Scatter Plot จะใช้จุดในการแสดงข้อมูลและมักใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์แนวโน้มที่มีความซับซ้อน เช่น ยิ่งลงโฆษณาเยอะทำให้ยอดขายโตตามมั้ย หรือใช้อินฟลูเยอะแล้วคนกดไลก์เพิ่มขึ้นจริงรึเปล่า
Funnel Chart
Funnel Chart เรียกได้ว่าฮอตฮิตในหมู่นักการตลาดมาก ๆ เพราะมันช่วยให้เห็นว่าลูกค้าหายไปตรงไหนบ้างตั้งแต่เริ่มรู้จักแบรนด์ยันตัดสินใจซื้อ เหมือนกรวยที่ค่อย ๆ แคบลง ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องปรับปรุงได้ชัดเจน เช่น แสดงการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การรู้จัก (Awareness) ไปจนถึงการซื้อ (Purchase)
TreeMap
ปิดท้ายด้วย TreeMap ที่ใช้สี่เหลี่ยมมาเรียงต่อกันเป็นภาพใหญ่ ยิ่งช่องใหญ่ยิ่งมีความสำคัญ เหมาะมากสำหรับดูว่ารายได้มาจากช่องทางไหนบ้าง หรือลูกค้าแต่ละกลุ่มมีเยอะแค่ไหน นอกจากนี้ยังใช้ได้กับการดูสัดส่วนยอดขายของแต่ละแบรนด์ได้ด้วย ซึ่งจะคล้าย ๆ กับตัว Pie Chart นั่นเอง
นี่ก็เป็นประเภท Chart ส่วนหนึ่งจากใน Canva เท่า ซึ่งก็ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกที่ทุกคนสามารถเข้าไปลองใช้ดูได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามการเลือก Chart แน่นอนว่าหลายคนมักจะเลือกเพราะความสวยงาม แต่จริง ๆ แล้วเราควรให้ความสำคัญในเรื่องของตัวกราฟว่าสามารถสะท้อนให้เห็นประเด็นที่สำคัญได้หรือไม่มากกว่าครับ
สรุป
ต้องบอกว่าการสร้าง Data Visualizations ที่น่าสนใจและชัดเจนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะสำหรับนักการตลาดที่ต้องการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและผลวิเคราะห์ให้กับทีมงานหรือผู้บริหาร การเลือกใช้ Chart ที่ถูกต้องตามประเภทของข้อมูลนั้นไม่เพียงช่วยให้ข้อมูลดูเป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจได้อย่างดีอีกด้วย
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักการตลาดและคนที่ต้องการพัฒนาทักษะการนำเสนอข้อมูลให้ปังและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ
Source , Source
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่