กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19 – คือการรับมือให้ทันความเปลี่ยนแปลง

วันนี้เพลินได้มีโอกาสไปนั่งฟัง อัพเดทความรู้จากงาน Marketing Day 2020 ในหัวข้อเรื่อง The Marketing Mutation ที่บอกว่าวันนี้แค่ Digital Transformation มันไม่พอแล้ว แค่เราได้ยินคำ ยังคิดว่า So 2019 จริงไหมคะ วันนี้ทางสมาคมการตลาดเค้าก็คิดคำขึ้นมาใหม่เรียกว่าเป็นการกลายพันธุ์เนี่ยแหละ เพราะ Factor สำคัญสุดยอดในปีนี้คือ COVID19 ที่สุโค่ยมาก เพราะกระทบแทบทุกธุรกิจ ฉะนั้นบทความในวันนี้ เพลินจะมาสรุปเกี่ยวกับ  ‘กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19 ที่เหล่ากูรูในงานบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มันคือการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบให้พร้อม ทั้งกายและใจค่ะ

การเปลี่ยนแปลง เริ่มจาก People และ Mindset

เรื่องของ People และ Mindset นั้น แน่นอนว่าสำคัญจริงๆ เพราะถ้ามีแค่คน แต่ไม่มี growth mindset ดีพอที่จะรับมือควาเมปลี่ยนแปลง คิดไอเดียใหม่ๆ ขณะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้ องค์กรจะขยับไปทางไหนก็ติไปเสียหมด แบบนี้ถือว่าเฟลมาก ยิ่งในกรณีที่ผู้บริหารขยับอยู่คนเดียวลูกน้องไปไปตามละก็ อันนี้บอกเลยว่างานหินค่ะ

กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19

หากว่าเรามี Mindset ที่ดี มันก็จะส่งผลต่อการทำงานโดยรวม คนพร้อมที่จะ Upskill และ Reskills ใหม่ๆ ให้ตัวเองเก่งทันโลกอยู่เสมอๆ ไม่ใช่เอาแต่ยึดติดอยู่กับความรู้เดิมๆ ที่หลายครั้งหมดอายุไปแล้ว หรือ Apply ใช้ไม่ได้อีกหลัง COVID19 ตำราเดิมๆ อาจจะต้องถูก Skip หรือยกเลิกไปเลยด้วยซ้ำค่ะ อย่างที่คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Microsoft ได้แชร์ว่า อยากให้พนักงานที่บริษัททำตัวเหมือนเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดเวลา และเปลี่ยนจาก Know it all หรือรู้แล้ว รู้ทุกย่าง ให้เป็น Learn it all หรือเรียนรู้ทุกอย่าง อย่าติดกับความสำเร็จในอดีตค่ะ

ประโยคสุภาษิตที่เพลินชอบมาแล้วคุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ยกขึ้นมาก็คือ เวลาลมพัดมาแรงๆ บางคนสร้างกำแพง บางคนสร้างกังหัน จะเห็นได้ว่ามันคือ Mindset จริงๆ ว่าเราจะมองสื่งที่เกิดขึ้นเป็น opportunity หรือ threats ค่ะ

Flexibility คือสิ่งที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้เร็ว

หลายๆ คนเห็นคำว่า Flexibility อาจจะบอกว่าอีกแล้วหรอ แต่ถ้าถามว่า แล้วทำจริงๆ ได้กี่คน หลายๆ ที่เริ่มมีทำแล้ว ก็ยังเริ่มแค่ในส่วนของ Flexible Working hours หรือสถานที่ในการทำงาน ที่ปัจจุบันนี้ มีนัดเข้าออฟฟิศบ้าง ไม่เข้าบ้างเพราะโควิด

แต่จริงๆ แล้ว Flexibility นั้นครอบคลุมอะไรที่ใหญ่กว่าแค่ช่วงโมงเวลาที่พนักงานเลือกได้ เพราะมันคืออีกหนึ่งใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรขยับตัวไปกับเทรนด์ หรือเหตุการณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการทำงานหรือ Process ข้างใน ที่เมื่อก่อนกว่าจะได้เริ่มทำโปรเจคอะไรบางอย่าง ต้องรอ Approve จาก 10 ขั้นผู้อาวุโสในบริษัท วันนี้เราต้องเปลี่ยนแล้วค่ะ เราต้องเริ่มกระจายอำนาจ และเริ่มให้ลูกค้าน้องทำงานได้แบบมีความเชื่อใจหรือ Trust ร่วมกัน เพราะถ้าลูกน้อง Trust เรา เค้าจะกล้าที่จะให้ Feedback และ Speak up ในที่ประชุม และคลอดผลงานออกมาได้ดีขึ้น ไม่ต้องรอฮิปโปในห้องตัดสินใจเพียงคนเดียวแล้ว

นอกจากนี้เรื่องของ Flexibility ยังรวมไปถึงการใช้ Resource ที่มีอยู่แล้ว ในการสร้าง Trial หรืองานใหม่ๆ เพิ่มด้วย ทดลอง ล้มเร็ว ลุกเร็ว ทำงานแบบ Agility ในรูปแบบของ Startup นั่นเองค่ะ

Human-centric เป็นทางเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด

หลายคนน่าจะได้ยินคำว่า Customer-centric จากหลายๆ งาน Conference กันมาบ้างแล้ว แต่จะบอกว่าวันนี้ มันไม่ใช่แค่นั้น แต่เป็น Human-centric แล้วค่ะค่ะ เพราะมันคือการตามคน as a human มากกว่า ว่าคนชอบอะไรแบบไหน ไม่ว่าเค้าจะเป็นลูกค้าเราหรือไม่ก็ตาม ถ้าคนชอบพูดมากกว่าพิมพ์ เราอาจจะลองปรับเครื่องมือให้คนพูดเพื่อสั่ง หรือพูดเพื่อพิมพ์ขึ้นมา หรือถ้าคนชอบฟังมากกว่าอ่าน เราทำ Product Description ที่คนสามารถกดฟังได้แทนขึ้นมาเพิ่ม เป็นต้นค่ะ

กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19

ซึ่งการตามคนไป แน่นอนว่าย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุด ถ้าคนอยู่บนเกม เราก็เอาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น ไม่ต้องรอให้คนมาหาเราแบบที่เคยๆ แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องคอยรับฟังคนในสังคมอยู่เสมอว่าเค้ากำลังอินกับอะไร คน React กับเหตุการณ์ต่างๆ แบบไหน อย่างเรื่องราวของ Environment ที่ตอนนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่คนให้ความสนใจ แบรนด์เองก็ต้องรับฟัง และตามคนไปในการสร้าง Zero-waste strategy และ business model ขึ้นมาค่ะ

Data และ Technology เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

อันนี้บอกเลยว่า แทบจะไม่ต้องพูดเยอะ เพราะเพลินเชื่อว่านักการตลาดทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว แต่เพลินชอบกระเด็นนึงที่คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์พูด ที่บอกว่าจริงๆ ที่เราได้ยินว่า Data is the new oil มันไม่ใช่นะ มันควรจะเป็น Data is the new Air เพราะน้ำมันเนี่ยยังไม่ Alternative ที่มาทำงานแทนได้ แต่อากาศ ถ้าหายไปเราก็ตายลูกเดียว เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า เริ่มเก็บข้อมูลลูกค้าของเราได้แล้ว และนำกลับมาใช้ด้วย ทำให้มันเกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ

ส่วนของ Technology แน่นอนว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับ AI และ Machine Learning อยู่แล้ว พวกนี้เราก็ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์เช่นกัน อย่างของ Microsoft เองก็มีการใช้ Data point เพื่อบริหารงานของทีม Sales ว่าควรจะ Recommend สินค้าตัวไหนให้ลูกค้าคนนี้ เป็นต้น

จะเปลี่ยนแปลงได้ ต้องทำทันที Now or Never

กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19

ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ที่ปรึกษา Brand’s Suntory ได้บอกว่าการเปลี่ยน คือสิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่รอดในทุกๆ วัน เราไม่จำเป็นต้องรอให้เรื่องมันแดงแจ๋ก่อน แค่เราเห็น signal อะไรบางอย่าง วันสิ่งนี้กำลังมาให้เริ่มขยับทันที ไม่ต้องตั้งท่าเยอะ ถ้าให้เปรียบเหมือนเด็กตอนเล่นของเล่น เด็กเค้าก็จับนู้น จับนี่ไปเรื่อย เดี๋ยวตัวต่อมันก็ลงล็อคของมันเองแหละ เราไม่เห็นเด็กต้องอ่านหนังสือ manual ใดๆ เลยจริงไหมคะ? รวมไปถึงเวลาเล่นแล้วล้มก็ เด็กเค้าก็ไม่อาย ดังนั้นอย่าลีลา เห็นอะไรใหม่มา ลงมือทันที โดยจำไว้ว่าให้โฟกัสกับลูกค้าไม่ใช่สินค้า เพราะสินค้ามันแทนได้ ทดลองไปก่อน ล้มก็ลุกให้เร็วค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ กลยุทธ์การตลาดหลัง COVID19 ที่เพลินยกมาสรุปให้จาก Panel Discussion ของกูรูทั้ง 3 ท่าน ทั้งคุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Microsoft และ ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ที่ปรึกษา Brand’s Suntory ณ งาน The marketing day 2020 ที่ผ่านมานะคะ สุดท้ายนี้ขอจบด้วยประโยคของคุณขัตติยา ที่บอกว่า “มันมีหรอกคำว่าโชคดี มีแต่การเตรียมตัวมาดีและโอกาสที่เข้ากัน หรือ Luck is when preparation meets opportunity”

อ่านบทความอื่นๆ ที่การวันตลาดวันละตอนสรุปจากงานของสมาคมการตลาด

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *