สปสช. จัดตู้แจกถุงยางอนามัย ตอบโจทย์ความต้องการของคนไทย จาก Social Listening

ต้องบอกว่าปลื้มเซอร์ไพรส์กับโครงการ ‘เลิฟปัง รักปลอดภัย แก้ปัญหาท้องไม่พร้อม ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์’ ของ สปสช. ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากเลย เพราะก่อนหน้าปลื้มได้ทำรีเสิร์จโดยการใช้ Social Listening ในหัวข้อของการคุมกำเนิด ก็เลยจะมาเล่า Insight จากฝั่ง Social Data ที่ทำให้เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้มากแค่ไหน

โครงการ ‘เลิฟปัง รักปลอดภัย แก้ปัญหาท้องไม่พร้อม ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์’ ของ สปสช.

เรามาทำความรู้ตัวโครงการนี้กันก่อนเลย จริงๆ แล้วปลื้มเจอผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งรีวิวตู้แจกถุงยางอนามัย ของ สปสช. อย่างที่ปลื้มบอกว่าเซอร์ไพรส์มาก ดีใจที่เห็นรัฐใช้นวัตกรรมและพยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

โดย สปสช. จัดตู้คีออสกระจายถุงยางอนามัยให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ด้วยตนเอง เป็นการนำร่องใช้งานที่เมืองพัทยาเป็นพื้นที่แรกของประเทศไทย และตอนนี้ได้มีการขยายตู้แจกถุงยางอนามัยให้คนพื้นที่ปริมณฑลมากขึ้นแล้ว

นายธีรศักดิ์ ประสานพิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักระบบบริการสุขภาพพื้นที่ 2 สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานชลบุรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากๆ ที่ได้เห็นรูปแบบการเข้าถึงถุงยางอนามัยได้อย่างง่าย ที่ผ่านมาสมาคมฟ้าสีรุ้งทำงานกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ทั้งการเดินแจกถุงยางอนามัย การจัดค่ายทักษะชีวิตพิเศษเพื่อขยายตัวแทนในการแจกจ่ายถุงยางอนามัยลงไปในชุมชน การมี Drop In Center ในองค์กร ชุมชนต่างๆ และในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาก็พัฒนาระบบบริการที่เรียกว่าคอนด้อมเดลิเวอรี่ให้คนที่มีไลน์ส่งข้อความเข้ามาขอรับถุงยางอนามัย

โครงการนี้ สปสช. เองก็หวังว่าในอนาคตจะมีตู้แบบนี้หลายๆ จุดในทุกจังหวัด รวมถึงหน่วยบริการของ สปสช. ไม่ว่าเป็นที่ร้านยา หรือในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วย จากข้อมูลบนเว็บไซต์ สปสช.

Insight จากการใช้ Social Listening

เมื่อเราดูการพูดถึงเกี่ยวการคุมกำเนิดบนออนไลน์ก่อนหน้าที่จะมีเจ้าตู้แจกถุงยางอนามัยอัตโนมัตินี้ เมื่อปี 2021 โดยการใช้ Social Listening ทั้งนี้ปลื้มก็ได้จัดและแบ่งข้อมูลเป็น Category ที่ทำให้เราได้เห็น Insight ที่ชัดเจนขึ้น อย่างที่ Topic สปสช. จัดบริการ ตู้แจกถุงยางอนามัย มันสอดคล้องกับ Social Listening ในการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ อย่างไรมาดูกันค่ะ

เมื่อเรายก Pie Chart ใน Category ปัญหาการคุมกำเนิดในสังคม จะเห็นว่าจากข้อมูลการพูดถึงบนโซเชียลเมื่อปี 2021 ทำให้ ผู้คนสนใจเรื่องการคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมที่อาจมีผลกับการฉีดวัคซีนโควิด หากไม่เกิดโรคระบาดขึ้นแน่นอนว่าปัญหาท้องไม่พร้อมจะมาเป็นอันดับ 1

ตามมาด้วยสิทธิ์ในการเข้าถึงยาคุมฟรี หรือ ถุงยางฟรี ที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่ามันเข้าถึงยาก นอกจากนี้อาจจะมีเรื่องของคุณภาพ และการพบเจ้าหน้าที่เพื่อขอสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมีหลายโพสต์มากที่มักมีปัญหากับเจ้าหน้าที่เมื่อต้องการคุมกำเนิด

อย่างเด็กๆ ไปขอยาคุม ฝั่งยาคุม หรือถุงยางก็ตาม ด้วยความที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่เห็นด้วยที่เด็กๆ จะสนใจเรื่องพวกนี้ อาจจะเผลอใช้คำพูดที่รุนแรง หรือมองด้วยสายตาที่ไม่ดี จนทำให้พวกเขารู้สึกอายและไม่กล้าที่จะมาใช้สิทธิ์อีก ทำให้การเข้าถึงการป้องกันนั้นยากกว่าเดิม ก็ส่งผลสู่การท้องไม่พร้อม

เมื่อเราเห็นปัญหาส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการเข้าถึงการคุมกำเนิดฟรี ของรัฐก่อนหน้านี้ ที่ผู้ใช้เขินอายต่อเจ้าหน้าที่ในการรับสิทธิ์ พอมีตู้แจกถุงยางอนามัยอัตโนมัตินี้มาก็ช่วยผู้ใช้ลดการเจอหน้า และเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้นนั่นเองค่ะ

ตู้แจกถุงยางอนามัย เข้าถึงง่าย?

สปสช. จัดบริการ ตู้แจกถุงยางอนามัย สอดคล้องกับ Social Listening ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้
CR: เว็บไซต์ข่าวประชาสัมพันธ์ สปสช.

แน่นอนเมื่อตู้ยังมีน้อย การเข้าถึงก็จะได้เพียงบางส่วน แต่ถ้าเราพูดกันในแง่ของความสะดวกต่อการใช้สิทธิ์ ปลื้มมองว่าค่อนข้างตอบโจทย์ เพียงใช้บัตรประชาชนเสียบ เพื่อตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง จากนั้นก็สามารถเลือกขนาดถุงยาอนามัย เพื่อรับถุงยางอนามัยได้ทันที 1 ซอง (1 ซอง มี 10 ชิ้น) ส่วนกระบวนการการทำงานของตู้เหมือนตู้สะดวกซื้อของ 7-11 ไม่ได้ใช้ยาก แต่ปัญหาทางเทคนิค อย่างระบบขัดข้อง ตรวจสอบไม่ผ่านต่างๆ ก็แจ้งปัญหาได้ทันทีเลยค่ะ

นอกจากนี้กลยุทธ์ในการจัดวางตู้ของ สปสช. ก็ถือว่าใช้ได้ทีเดียวค่ะ จากการรายงานข่าวบอกว่า ปัจจุบันตู้คีออสแจกถุงยางอนามัย นำร่องติดตั้งที่พัทยา ขณะนี้มีให้บริการแล้วที่บริเวณท่าเรือแหลมบาลีฮาย และ โรงพยาบาลเมืองพัทยา และ ตลาดเทพประสิทธิ์ และอยู่ระหว่างเพิ่มจุดติดตั้งในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ที่เห็นในคลิป TikTok ก็เจอที่ตลาดต้นสัก จังหวัดนนทบุรี ที่ปลื้มบอกว่ากลยุทธ์ในการจัดวางตู้ของ สปสช. ก็ถือว่าใช้ได้คือ เขาตั้งในที่ที่ผู้คนเดินผ่านอย่างตามตลาดที่เราเห็น ทำให้คนทั่วไปสามารถเจอได้ง่ายโดยที่ไม่ต้องเข้าไปกดในโรงพยายาบาลได้ ในอนาคตปลื้มว่าคงได้เห็นตู้นี้ตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย

ปลื้มมองว่า สปสช. พยายามแก้ปัญหา Journey ของผู้ใช้ได้ค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์แต่สิ่งที่ สปสช. น่าจะต้องทำเพิ่ม คือกลยุทธ์ในการสื่อสาร เราต้องเลือกว่าใครที่จะคุยกับเยาวชนได้ดี ได้เข้าใจ เพื่อให้ตู้ของเรานี้ถูกใช้เพิ่มขึ้นค่ะ อย่างคลิป TikTok ที่ปลื้มยกมามียอดวิวกว่า 1.6 M เลยค่ะ

ดังนั้น สำหรับโครงการถือเป็นการยกระดับการเข้าถึงสิทธิ์บัตรทอง ในส่วนของการคุมกำเนิดได้มีประสิทธิภาพ หรือถ้าคนอยู่ไกลตู้ก็สามารถขอรับถุงยางอนามัยผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้เช่นกัน

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

ส่วนบริษัทไหนต้องการ Data Research Insight ละเอียดๆ แบบนี้ ติดต่อสอบถามบริการได้ที่ [email protected] หรือติดต่อ 085-6665380 พี่หนุ่ย การตลาดวันละตอนได้เลยค่ะ

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *