MEME Marketing : มีม การตลาดสายฮา ที่ Creator ไม่ควรมองข้าม
คุณเคยสงสัยเหมือนผมไหมครับ ว่าเพราะอะไร ภาพ คลิปสั้น ๆ ข้อความมุกตลก ที่ถูกแชร์ต่อ ๆ กันไปจนกลายเป็นไวรัล หรือที่ทุกคนเรียกกันว่า “มีม” (Meme) ถึงสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกกลุ่ม และที่สำคัญมีมบางตัว สามารถกระตุ้นพฤติกรรมของผู้บริโภค จนสินค้าบางตัวที่ไม่เคยขายได้ กลับมาขายดีเป็นเทน้ำเทท่าอีกด้วย ถ้าทุกคนอยากรู้ ว่ามีมคืออะไร มีแบบไหนบ้าง และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เรามาค่อย ๆ วิเคราะห์ผ่านบทความนี้กันครับ
MEME มีม คืออะไร?
คำว่า มีม หรือ Meme ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1976 และถูกนิยามความหมายไว้ว่า “การแพร่กระจายไอเดีย โดยถูกส่งต่อกันเป็นทอด ๆ” มีรากศัพท์มาจากคำว่า mimema เป็นภาษากรีกที่หมายความว่า การลอกเลียน
ดังนั้น ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย Meme ก็คือ ข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพ วิดิโอ กลุ่มคำ หรือ Content ที่ได้รับความมสนใจจากคนหมู่มาก และถูกส่งต่อกันไปเป็นทอด ๆ นั่นเอง
MEME มีม เกิดขึ้น ได้อย่างไร
โดยส่วนใหญ่แล้ว Meme จะมีเนื้อหาแนวมุกตลก ภาพ หรือเหตุการณ์บางอย่าง ที่สามารถสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับผู้อ่านได้ในทันทีที่เห็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุก Content ที่ตลก เฮฮา จะเป็น Meme ทั้งหมดนะครับ เพราะต้องเป็น “ความฮาที่มาแบบ ถูกที่ถูกเวลา”
“ความฮา ที่มาถูกที่ ถูกเวลา”
หมายความว่า มุกตลกหรือ Content ที่สามารถเป็นมีมได้ จะต้องถูกเผยแพร่ในบริบท และเวลาที่พอเหมาะพอควร เช่น มุกตลกทางการเมือง ที่ถูกแชร์มากขึ้นในช่วงเลือกตั้ง มีมละคร หรือมุกตลกบาร์บี้ ที่ถูกแชร์เยอะมาก ๆ ในช่วงการเปิดตัวของภาพยนต์บาร์บี้ จากการสังเกต ผมยังคนพบอีกว่า มีมถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ
Meme ล้อเลียน
คือ Meme ที่เกิดจากการนำเรื่องราวที่เป็นกระแส เหตุการความผิดพลาด หรือสิ่งที่ทำให้สังคมรู้สึกมึน งง มาทำเป็นมุกตลก ล้อเลียน โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตอนที่สังคม กำลังให้ความสนใจบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษ เช่น การประกวดนางงาม การเมือง เป็นต้น
Meme ขัดแย้งกับความเป็นจริง
Meme ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำตัวละคร ที่มีบุคลิกเฉพาะตัวที่ชัดเจนมาก ๆ มาใส่เนื้อหา คำพูด หรือคำบรรยาย ที่ขัดแย้ง หรือแตกต่างจากสิ่งเดิม ๆ ที่พวกเขาเป็น เช่น มีมตลกบาร์บี้ มีมพระพุทธรูป หรือ มีมคำคมเป็นต้น
Meme เกินจริง
คือการสร้างมุกตลก ด้วยการเสริม เติม แต่ง จากการนำคำพูด รูปภาพ หรือเรื่องราวบางอย่างมาเล่าให้ยิ่งใหญ่เกิดความเป็นจริง เกินความคาดหมาย หรืออาจผิดจากความเป็นจริงไปเลยก็ได้
Meme กระตุ้นอารมณ์
เป็น Meme ที่ใช้ในการกระตุ้น ล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ความรู้สึก หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว มีมประเภทนี้จะถูกใช้ หรือแชร์ก็ต่อเมื่อ มีใครคนไดคนหนึ่งกำลังเผชิญกับสถานการณ์นั้น ๆ อยู่ เช่น มีมคนอกหัก มีมคนลาออก หรือ มีมคนแอบรัก
(มีมที่เกี่ยวข้อง)
มีมที่ง 4 รูปแบบนี้ เป็นเพียงมีมส่วนใหญ่ ที่ผมได้พบเจอ และผมเชื่อว่ายังมี มีม อีกหลายแบบที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผมเชื่อว่าในฐานะนักการตลาด นักผลิต Content และนักสื่อสารแบรนด์ เริ่มมองเห็นแล้วใช่ไหมครับ ว่ามีมมีประโยชน์กับสินค้าของคุณอย่างไร ถ้ายังเห็นไม่ชัดเจน เรามาสรุปไปพร้อมกันเลยครับ
การตลาดสายฮา เราจะสร้าง MEME ให้แบรนด์ได้อย่างไร
จากการวิเคราะห์รูปแบบต่างๆ ของมีม ทำให้ผมมองเห็นว่า การสร้างมีมให้กับแบรนด์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คุณสามารถกระจายการรับรู้แแบรนด์ไปให้กับคนหมู่มาก โดยที่ใช้งบประมาณน้อยมาก ๆ หรือาจจะไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย ซึ่งในทางการตลาดเราจะเรียกว่า Free Marketing นั่นเอง ดังนั้นวันนี้ผมจึงสรุปหลักการง่าย ๆ ในการสร้างมีมมาฝากกันครับ
ขัดแย้งแบบสร้างสรรค์
นักสร้างแบรนด์อาจมองว่า การนำ Content มุกตลก ขบขัน มาใช้ในการนำเสนอแบรนด์ ที่มีภาพลักษณ์จริงจัง หรือมีความ Commercial สูงอาจทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความน่าเชื่อถือน้อยลง
แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลยครับ เพราะ ณ ปัจจุบันนี้ การสรา้ง มีม ให้กับแบรนด์ กลับกลายเป็น การสร้างความประหลาดใจให้กับลูกค้า จนทำให้เกิดการแชร์ ส่งต่อให้กับคนในวงกว้างขึ้น และบางแบรนด์ สามารถจับกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ เพียงเพราะมีมที่พวกเขาสร้างขึ้น ทำให้แบรนด์ดูเข้าถึงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ไม่หลุดกระแส
กระแสเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้มีมของคุณติดตลาดได้ง่ายขึ้น หัวใจหลักอย่างหนึ่งของการสรา้งมีม คือวัตถุประสงค์ในการดึงดูดความสนใจ เหตุการที่กำลังร้อนในสังคม บุคคลที่กำลังมีชื่อเสียง หรืออะไรก็ตามที่คนหมู่มากให้ความสนใจ จึงเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ๆ
ดังนั้นถ้าคุณต้องการสร้างมีม ให้กับแบรนด์ของตัวเอง การเช็คข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะการสร้างมีมขึ้นมา นอกจากการดึงดูดความสนใจแล้ว คุณควรที่จะเกาะกระแส ที่สงเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ และไม่ถูกสังคมต่อต้านด้วย ยกตัวอย่างเช่น การโปรโมละครด้วยการใช้มีม
ตลกแต่ไม่ตลอด
อีกหนึ่งข้อที่สำคัญมาก ๆ ถึงแม้ว่ามีมของคุณ จะประสบความสำเร็จแค่ไหน แต่ความเป็นแบรนด์ของคุณต้องคงอยู่ ดังนั้นบนหน้า Timeline ของคุณ ไม่ควรมีแต่มุกตลกอย่างเดียว ควรมีเนื่อหานำเสนอแบรนด์ในแง้มุมที่ดูจริงจัง ให้ข้อมูลสินค้าที่ชัดเจน
เพราะว่ามีม เป็นเสมือนกับหนักงานขาย ที่มีหน้าที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ให้เข้ามาหาคุณ แต่สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นหนึ่ง ก็ยังมีความน่าเชื่อถือ การเปรียบเทียบคุณสมบัติกับแบรนด์อื่น ๆ และการทำความเข้าใจในสินค้า เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจอยู่ดี
สื่อสารแบบไม่คิดเยอะ
ข้อสุดท้าย การทำมีมแบบรักพี่ เสียดายน้อง คือ อยากตลกแต่ก็ติดขาย ติดให้ข้อมูลสินค้ามากเกินไป อาจทำให้มุกตลกของคุณ กลายเป็น “ตลกฝืด” เพราะเหตุผลหลักที่คนส่วนใหญ่กดแชร์มีมให้กับเพื่อน เพราะเห็นว่าเป็น Content ที่ดูสนุกสนาน และอยากแชร์ออกไปเพื่อสร้างรอยยิ้มให้คนรอบตัว
ดังนั้น การสร้างมีมขึ้นมาสักหนึ่งตัว คุณอาจจะต้องสลัดวัญญาณนักขายออกไปบ้าง และลองคิดเนื้อหา ที่เบาสมองที่สุด สนุกสนานที่สุด และใส่ความเป็นแบรนด์ลงไปในคำบางคำ หรือสื่อสารแบรนด์ผ่านองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น โทนสี กรอบรูปภาพ โลโก้ พรีเซนเตอร์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ดึงดูดใจด้วยรอยยิ่ม แทนการขายด้วยข้อมูล”
เห็นไหมครับทุกคน ว่า มีม (Meme) ที่เราแชร์ให้กับเพื่อน ๆ ถ้านำมาวิเคราะห์ดูแบบละเอียดแล้ว ก็สามารถนำมาใช้หนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมาก ๆ เพราะหากคุณทำมันออกมาได้สำเร็จ นอกจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นแล้ว นอกจากนี้มีมยังสามารถทำให้คุณ ทำการตลาดในรูปแบบของ Free Marketing หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สื่อสารแบรนด์แบบแทบจะไม่ต้องเสียเงินในการโปรโมท Content นั้น ๆ เลย ถ้าเพื่อน ๆ นักอ่านคนไหนเคยสร้างมีมสำเร็จ เอามาแชร์กับเพื่อน ๆ ที่เพจการตลาดวันละตอนได้นะครับ
Meme เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดี ของการสร้างการตลาดแบบ Free Marketing หรือการตลาดแบบไม่ใช้เงิน แต่ถ้านักการตลาดท่านไหน ไม่ถนัดการทำมีม สามารถเรียนรู้การทำตลาดแบบไม่เสียเงินต่อได้ที่
Source
มีมบาร์บี้จาก Netflix, มีมภาษาจาก Dr Pong, มีมละครวุ่นรักนักข่าว, มีมละครเล่ห์ลุนตยา, มีมละครบุพเพสันนิวาส, มีมละครกลิ่นกาสะลอง