การตลาด Minor Food แข็งแกร่งจากภายใน ผ่านมุมมอง 7S McKinsey 

สวัสดีครับทุกคน ทุกเคยกินอาหารของแบรนด์ The Pizza Company, Bonshon, Sizzler หรือ Dairyqueen ผมเชื่อว่าอย่างน้อยหนึ่งในแบรนด์ที่ผมบอกไปจะต้องมีคนเคยกินแน่นอน และรู้ไหมครับว่าแบรนด์เหล่านี้ เป็นแบรนด์ในเครือบริษัทยักษใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนไปดู การตลาด Minor Food ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ที่ผมได้บอกไปในตอนแรก

การตลาด Minor Food

บริษัท Minor Food เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจร้านอาหาร และบริการฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ด้วยจำนวนร้านที่มีมากกว่า 2,400 ร้านใน 23 ประเทศ 

ในบทความนี้ผมจะพาทุกคนมาวิเคราะห์ผ่านปัจจัยภายในขององค์กร (Internal Analysis) ผ่านมุมมอง 7S Mackensey เพื่อที่เราจะได้เห็นถึงการบริหารและการจัดการการภายในต่าง ๆ ที่จะเชื่อมโยงกัน จนนำไปสู่กลยุทธ์การตลาดต่าง ๆ ของแต่ละเแบรนด์ในเครือ และก่อนอื่นผมจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับทฤษฎี 7S Mackensey เบื้องต้นเพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าในมิตินี้ไปพร้อม ๆ กัน

7S McKinsey Model มุมมองในการวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กร

7S Model เป็นเหมือนกรอบการทำงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรองค์กร โดยโมเดลนี้จะมุ่งเน้นในการจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อให้การทำงานร่วมกันขององค์เป็นไปอย่างสอดคล้อง 

ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 7 อย่าง ได้แก่ โครงสร้าง (Structure), กลยุทธ์ (Strategy), ระบบ (System), ค่านิยมร่วม (Shared Values), ทักษะ (Skill), รูปแบบการทำงาน (Style) และพนักงาน (Staff) ถ้าผู้อ่านคนไหนอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเดลนี้สามารถอ่านได้ที่

เอาล่ะครับเรามาเริ่มวิเคราะห์กันเลยว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง การตลาด Minor Food เขาดูแลแบรนด์ในเครือกันได้อย่างไร

ที่ผมเริ่มต้นจาก Shared Value ก่อนก็เพราะว่าส่วนนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้น และจุดศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงทุกอย่างให้สอดคล้องกัน เพราะคุณค่าก็เป็นเหมือนแก่นแท้ที่จะส่งผลต่อทิศทางในการเดินขององค์กร ซึ่งในที่นี้ก็คือ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ นั่นเอง

การตลาด Minor Food

โดย Minor Food มีวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่ต้องการมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมในทุกด้าน พร้อมสร้างความพึงพอใจสูงสุด ตลอดจนสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับผู้บริโภคและทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ก็จะถูกกระจายไปอยู่ในภาคส่วนขององค์กร ทำให้เรามองเข้าไปภายในจะพบว่าทุกองค์ประกอบนั้นมีการเชื่อมโยงกันด้วยคุณค่าเหล่านี้

เมื่อเราไปดูวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัทเราก็จะเริ่มเห็นถึงการเชื่อมโยงตั้งแต่จุดนี้เลยครับ จากคุณค่าที่องค์กรให้ความสำคัญกลายมาเป็นทิศทางกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งก็คือ การมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ Customer Centric ซึ่งก็จะกลายเป็นกลยุทธ์หลักที่แบรนด์ในเครือต้องนำไปปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจ Customer Journey ของแต่ละแบรนด์

เพื่อที่จะได้หาวิธีการหรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุก Touchpoint ของลูกค้า รวมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ต้นน้ำ ไปยังปลายน้ำอีกด้วย

การตลาด Minor Food

ตัวอย่างเช่น The Pizza Company ที่มีการปรับเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ด้านความสะดวกสบายให้กับลูกค้า หรือ Sizzler ที่มีส่วนช่วยในการให้คำแนะนำการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ชนิดต่าง ๆ และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวเขาทางภาคเหนือมีอาชีพทำตลอดทั้งปี

จากข้อมูลผังขององค์กรผมมองว่า Minor Food มีโครงสร้างองค์การที่มากกว่า 1 รูปแบบ อย่างถ้าเป็นระหว่าง Minor Food International กับ Minor Food ที่ประเทศไทย ก็มีลักษณะเป็นการบริหารและการจัดการแบบภูมิภาค (Regional Management) ทำให้สามารถปรับปรุงกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้เข้าตาแต่ละภูมิภาค

การตลาด Minor Food

ในคณะเดียวกัน Minior Food ที่ประเทศไทยก็ใช้โครงสร้างขององค์กรตามลักษณะหน้าที่การทำงาน (Functional Organization) ที่จะคอยถ่ายทอดทิศทางของกลยุทธ์ต่าง ๆ ไปยังแบรนด์ในเครือ ทั้งนี้แบรนด์ในเครือเองก็ใช้รูปแบบโครงสร้างในลักษณะเดียวกัน และมีอิสระในการตัดสินใจและดำเนินการตามกลยุทธ์ของแต่ละแบรนด์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Minor Food

สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการกระจายอำนาจในการบริหารและการจัดการภายในเครือต่าง ๆ (Decentralization) ทำให้แต่ละแบรนด์ในเครือสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เป็นอย่างดี

การตลาด Minor Food

ตัวอย่างเช่น The Pizza Company ดึง “บิวกิ้น – พุฒิพงศ์” และ “พีพี – กฤษฏ์” ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์คู่ ชูแคมเปญ “1 แถม 1 คู่ฟินขวัญใจมหาชน” เล็งกระตุ้นยอดขาย และเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ แคมเปญนี้สะท้อนให้เห็นถึงการมีอำนาจในการตัดสินใจจากแบรนด์ เพราะในเบื้องหลังต้องมีการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคและกลยุทธ์ที่จะตอบโจทย์ต่อกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้พวกเขามากที่สุดก็คือ The Pizza Company

จากที่เราเห็นโครงสร้างองค์กรทำให้เราบอกได้ว่าในแต่ละฟังก์ชัน หรือตำแหน่งงานต่างก็ต้องมีระบบที่คอยตอบสนองการทำงานตามแต่ละหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น ระบบการเงิน ทรัพยากรบุคคล และระบบการตลาด เพื่อความเรียบร้อย รวดเร็ว ลดข้อผิดพลาด เป็นต้น

การตลาด Minor Food

นอกจากนี้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย จึงนำไปสู่การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Omnichannel ซึ่งต้องอาศัยการสร้างระบบอย่าง ระบบการจัดส่ง Delivery การพัฒนาแพลตฟอร์ออนไลน์ต่าง ๆ

จะเห็นว่าด้วยระบบต่าง ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถตอบรับต่อตำแหน่งหน้าที่งานและความต้องการของผู้บริโภค

Minor Food ให้ความสำคัญในการคัดสรรผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมภายในองค์กรเป็นอย่างมาก ดังนั้นพนักงานทุกคนต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานแบบผู้ประกอบการที่คิดเร็ว ทำเร็ว

การตลาด Minor Food

Minor Food ให้การสนับสนุนทุกความคิดสร้างสรรค์และความกล้าของทีมงานในทุกระดับ และให้อำนาจบุคลากรของเราในการก้าวออกจากการทำงานรูปแบบเดิมๆ โอบรับความท้าทายใหม่ๆ เพื่อแสวงหาศักยภาพที่แท้จริงของพวกเขา

นอกจากนี้ทาง Minor Food และแบรนด์ในเครือต่างก็มีการรับสมัครพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และมีสวัสดิการที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้มาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

องค์กรจะพัฒนาได้ คนก็ต้องพัฒนาเช่นกัน ทาง Minor Food เข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้มีการสร้างโปรแกรมสำหรับการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของบุคลากรภายในองค์กร เพื่อผลักดันให้คนเหล่านั้นเติบโต และกลายมาเป็นกำลังที่สำคัญในองค์กร

ตัวอย่างเช่น Grow’s Experiment Programme มุ่งพัฒนาทีมงานที่มีความสามารถที่น่าจับตามอง และมีศักยภาพที่พร้อมเติบโต เพื่อก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำให้กับองค์กรในอนาคต

การตลาด Minor Food

หรือ โปรแกรมพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือโปรแกรมการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้แนวคิดต่างๆ เป็นจริงได้

จะเห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังไปสอดคล้องกับคุณค่าหลักที่ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งร่วมถึงพนักงานและบุคลากรในองค์กรด้วย อีกทั้งยังสอดคล้องกับ Staff ที่ผลักดันและให้โอกาสกับทุกคนที่จะเติบโตไปพร้อมกัน

ถ้าผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดี แน่นอนว่าผู้ตามก็มีแนวโน้มที่จะทำตามเช่นกัน อย่างคุณ อันฮูล ซัลฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Minor Food มีแนวคิดว่า “ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ ไม่ต้องกังวลถึงผลลัพธ์มากจนเกินไป แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นเอง”

เพียงแนวคิดนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึง ความกล้าคิด กล้าทำ กล้าที่จะออกจากกรอบของตัวเอง และเมื่อมันถูกถ่ายทอดไปยังเหล่าบุคลากรทั้งหมดภายในองค์กร ก็จะทำให้เราเห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั่นเอง

เนื้อหาในบทความนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลเพียงบางส่วนของ Minor food ที่ทำให้เห็นว่าการที่องค์กรจะสามารถแข็งแกร่งและเติบโตได้ จะต้องมีองค์ประกอบภายในที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่ง 7S Model McKinsey ให้เราเห็นจุดเชื่อมโยงเหล่านั้นนั่นเอง

และล่าสุดทาง Minor Food ก็ได้รับรางวัล “สุดยอดการตลาด Marketing 3.0” จากสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) โดยรางวัลนี้จะมอบให้กับองค์กรที่มีกลยุทธ์การตลาดที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นผู้บริโภค ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงผลลัพธ์เชิงบวกทั้งด้านธุรกิจและสังคม ซึ่งผมมองว่าหากองค์กรไม่มีมีความแข็งแกร่งจากภายในเป็นรากฐาน การที่จะประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก

สรุป

การตลาด Minor Food สามารถประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลสุดยอดการตลาด Marketing 3.0” จากสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) ส่วนหนึ่งก็มาจากปัจจัยภายในที่เราได้วิเคราะห์กันไปเบื้องต้น เพราะองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโต และเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงก็จะยังคงสามารถยืนหยัดต่อไปได้

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

สวัสดีครับ ชื่อดิวนะครับ จะพยายามนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้เขียนบทความดี ๆ ให้กับทุกคนครับ *_*

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *