summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

สรุป Creativity Driven Data การตลาดแบบฉลาดเก็บดาต้า จากงาน CTC2024

ก็จบกันไปแล้วกับงาน CTC2024 มีใครรอสรุป Session Creativity Driven Data การตลาดแบบฉลาดเก็บดาต้า ของคุณหนุ่ย ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน อยู่บ้างยกมือขึ้น! ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาคุณผู้อ่านไปเก็บตกประเด็นใน Session นี้กันว่ามีอะไรที่สำคัญ ๆ บ้าง โดยจะพูดถึงประเด็นการขอเก็บข้อมูลจากลูกค้าว่ามันเกี่ยวข้องกับ Data-Driven Marketing อย่างไร และเราจะฉลาดขอเก็บข้อมูลอย่างไรได้บ้างด้วยการใช้ Data Collection Canvas 2.0 พร้อมทั้งยก 6 Case study ให้เห็นภาพการประยุกต์ใช้ Canvas แบบชัด ๆ กัน ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปดูกันเลย!

เพราะดาต้าเป็น Asset ที่ไม่สามารถขอคนอื่นได้

เมื่อพูดถึงการทำ Data-Driven Marketing เราจะขาดข้อมูลไปไม่ได้ ในเมื่อข้อมูลเป็น Asset เดียวที่ไม่สามารถขอจากคนอื่นได้ ดังนั้นถ้าเราไม่มีข้อมูลอยู่ในมือ เราก็ต้องขอ ซึ่งการขอข้อมูลนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องใช้ Creativity + Empathy ร่วมกัน แล้วทีนี้เราจะฉลาดขอเก็บข้อมูลจากลูกค้าอย่างไรได้บ้างหล่ะ?

Data Collection Canvas 2.0

คำตอบก็คือเจ้าสิ่งนี้เลย Data Collection Canvas 2.0 ที่จะเป็นตัวช่วยไกด์แผนในการขอเก็บข้อมูลจากลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้

  • Problem ปัญหาของเราคืออะไร?
  • Objective เราจะใช้ข้อมูลเพื่อไปช่วยแก้ปัญหาอย่างไร?
  • Data เราจําเป็นจะต้องใช้ข้อมูลอะไรและแค่ไหนบ้าง?
  • Creativity เรามีไอเดียอย่างไรให้คนอยากให้ข้อมูลกับเรา?
  • Tech / Tool เราต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างเพื่อเก็บข้อมูลเหล่านั้น?
  • Driven เราจะเอาข้อมูลที่ได้ไปใช้ทำอะไรต่อ?

ต่อมาเมื่อเราใช้ Creativity ขอเก็บข้อมูลจากลูกค้ามาได้แล้ว พอได้ข้อมูลแล้ว หลังจากนั้นก็นำมาคิดต่อว่า เราจะเอาข้อมูลที่ได้ไปใช้ทำอะไรต่อ? หรือก็คือการใช้ Creativity Driven Data การตลาดแบบฉลาดเก็บดาต้าส่งต่อไปที่การใช้ Data-Driven Marketing อย่างไรได้บ้าง โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง “ก่อน ตอน หลัง” ซึ่งแต่ละช่วงก็จะมีแนวทางในการนำข้อมูลไปใช้ในการตลาดแตกต่างกันไป ดังนี้

ก่อน (มาใช้บริการ/เป็นลูกค้า)

  • Remarketing การนำข้อมูลที่ได้ไป Adapt ทำการตลาดในครั้งถัดไป
  • Location Based การทำการตลาดในพื้นที่ที่ลูกค้าอยู่
  • Targeted Marketing การทำการตลาดไปยังลูกค้าเป้าหมาย
  • Discount การให้ส่วนลด

ตอน (มาใช้บริการ/เป็นลูกค้า)

  • Collecting Data การขอเก็บข้อมูลเพิ่มได้อีก
  • Selling การที่มีโอกาสในการขายได้เพิ่มขึ้น

หลัง (มาใช้บริการ/เป็นลูกค้า)

  • Personalization การทำการตลาดที่ Specific เฉพาะบุคคล
  • CRM การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้ายังอยู่และยังซื้อสินค้าของเรา
  • Upsell Cross-sell การจูงใจให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินมากขึ้น และซื้อสินค้าอื่น ๆ ควบไปด้วย

ซึ่งมาถึงตรงนี้แล้วอาจยังไม่เห็นภาพ เดี๋ยวเราไปดู Case Study กันค่ะ

6 Case Study ฉลาดเก็บดาต้า ด้วย Creativity

#1 Cockpit จัดโปรโมชันเก็บ Lead จาก Potential Customer

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

Cockpit จัดโปรโมชันบุฟเฟ่ต์เติมลมยาง ไม่จํากัดจำนวนครั้ง ในราคา 9 บาท เพื่อที่จะได้ Lead ของลูกค้าผู้เป็นเจ้าของรถที่มี Potential จะมาใช้บริการกับแบรนด์ โดยแบรนด์ไม่ต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมากไปกับการสุ่มขอ Lead ลูกค้า ที่สุดท้ายแล้วอาจจะใช้ประโยชน์จาก Lead เหล่านั้นไม่ได้ด้วยซ้ำ โดยสามารถเขียนลง Canvas ได้ดังนี้

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024
summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

#2 วัด Performance ที่ดีที่สุดด้วย A/B Testing

หนังสือที่ใช้ดาต้าเลือกชื่อหนังสือ

ก่อนจะออกมาเป็นหนังสือ Data-Driven Marketing การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้า เบื้องหลังแล้วมีหลายชื่อมาก่อน ทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะใช้ชื่อไหนดี คุณหนุ่ยจึงนำชื่อเหล่านั้นมาทำ A/B Testing ด้วยการรัน Ad เพื่ออยากรู้ว่าชื่อหนังสือเล่มไหนมี Performance ที่ดีที่สุด ผลปรากฎว่า เล่มสุดท้ายเป็นเล่มที่ Performance ดีที่สุดอยู่ที่ 77% จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ หนังสือที่ใช้ดาต้าเลือกชื่อหนังสือ

โพสต์โปรโมชันที่ใช้ดาต้าช่วยเลือก

ที่มา Nack Plongmai

อ้างอิงจากโพสต์ของคุณแน็ค – ศิวกร เขาได้ลองใช้ A/B Testing ด้วยการรัน Facebook Ad เพื่อดูว่าโพสต์โปรโมชันทั้ง 5 แบบ ภาพไหนที่จะทำให้คนซื้อมากที่สุด โดยผลการทดสอบปรากฎว่า ภาพที่ 5 ที่มีเพียงหน้าปก “สูตรสําเร็จแห่งการสร้างวินัย” อย่างเดียวมี Performance ดีที่สุด ซึ่งทำให้รู้ว่าบางทีสิ่งที่เราคิดว่าดี แต่ข้อมูลที่ออกมาอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ พอมาประกอบใส่ Canvas ก็จะได้หน้าตาแบบนี้ค่ะ

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

#3 Flipkart เก็บดาต้า สานสัมพันธ์คู่รักในวันวาเลนไทน์

ถ้าคุณอยากบอกคู่รักว่าคุณอยากได้ของขวัญอะไรในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ คุณจะทำอย่างไร? Flipkart แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ จัดให้ สร้างแคมเปญวันวาเลนไทน์ โดยมี Concept ว่า ถ้าคุณซื้อของขวัญที่ไม่ถูกใจแฟนละก็ จาก V-day (วันวาเลนไทน์) อาจจะกลายเป็น D-day ที่มาจากคําว่า D(ooms) day ของ Relationship ก็ได้ ซึ่งในวันวาเลนไทน์ใคร ๆ ต่างก็แข่งกันด้วยโปรโมชัน แล้วเราจะแย่งลูกค้าให้เขารู้สึกอยากซื้อสินค้าของเรายังไงดี ซึ่งสิ่งที่ Flipkart ทำ คือ การเก็บข้อมูลจากใครอยากได้ของขวัญอะไร ก็ให้ไปบอกไว้ในเว็บไซต์ และบอกด้วยว่าอยากส่ง Message นี้ไปหาใคร รวมถึงบอกถึง Relationship ของคุณกับแฟนหน่อยว่าคบกันมานานแค่ไหนแล้ว เพียงเท่านี้ก็ได้ข้อมูลมาแล้ว และหลังจากนั้นก็เอาไปยิง Personalized Ad เพื่อบอกให้แฟนคุณรู้ว่าคุณอยากได้อะไรในวันวาเลนไทน์นั่นเอง ซึ่งเมื่อนำมาใส่ Canvas จะได้ภาพแบบนี้

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024
summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

#4 Oreo เก็บดาต้า หาคำตอบคนชอบดื่มนมอะไร

คุณจะทำอย่างไรให้ลูกค้าของคุณยอมบอกว่า ปกติแล้วเขาชอบกินอะไร ซื้ออะไรมากิน และซื้ออะไรติดตู้เย็นไว้? เคสนี้เป็นเคสของโอริโอ้ อย่างที่เราทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าโอริโอ้ก็ต้องกินคู่กับนม เพราะมีสโลแกน “บิดชิมครีมจุ่มนม” ติดอยู่ในความทรงจำ แต่ประเด็นก็คือ โอริโอ้ไม่รู้ว่าลูกค้าชอบกินนมอะไร? จึงเกิดเป็นไอเดียแคมเปญชวนคนมาสแกนบาร์โค้ดข้าง ๆ ผลิตภัณฑ์นม บอกโอริโอ้หน่อยว่า คุณชอบดื่มนมอะไรที่บ้าน? จากนั้นคุณก็จะได้ส่วนลดในการซื้อโอริโอ้ไป ซึ่ง Trigger ของแคมเปญนี้ที่ทำให้คนอยากสแกน คือ การใช้ความอยากรู้อยากเห็นของคนว่าถ้าสแกนแล้วจะได้ส่วนลดไหม เป็น Key ในการเก็บข้อมูลเพียงเท่านี้ ก็ทำให้โอริโอ้รู้ข้อมูลว่าลูกค้าดื่มนมอะไรบ้างแล้ว เมื่อนำมากรอกใส่ Canvas จะได้ประมาณนี้ค่ะ

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024
summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

บทความที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

#5 Burger King เก็บดาต้า ทำเมนูใหม่ ด้วย Instagram Poll

เมื่อ Burger Kingไม่รู้ว่าจะออกเมนูใหม่อะไรดี เลยจัดแคมเปญ Insta Whopper ถามลูกค้าไปเลยว่าอยากกินอะไร อยากใส่ส่วนผสมอะไรบ้าง ผ่านการทำ Instagram Poll โดย Burger King สามารถเก็บข้อมูลได้กว่า 40,000 คน ภายในเวลาแค่ 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น Instagram Poll เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อยากให้ทุกคนลองไปใช้ดู เพียงออกแบบ Creative ดี ๆ คนก็อยากจะให้ข้อมูลแล้ว ซึ่งเคสนี้จะได้ Canvas หน้าตาแบบนี้

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024
summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

การให้กดยอมรับ Cookie ในทุกวันนี้เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ Piraquê แบรนด์บิสกิตจึงใช้ Cookies จริง ๆ มาเป็นตัว trigger ว่าเราเอาคุกกี้มาแลกกันไหม ถ้าคุณกดยอมรับ Cookie ยอมให้ข้อมูลเรา จากนั้นคุณก็รอรับคุกกี้จริงที่บ้านได้เลย โดยสามารถเขียนลง Canvas ได้แบบนี้

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024
summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

บทความที่แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

การขอ ดาต้า ไม่ยาก แค่เราใช้ Creativity + Empathy มากพอหรือยัง?

summary-creativity-driven-data-marketing-ctc2024

สุดท้าย Key สำคัญในการขอเก็บข้อมูล คือ เราใช้ Creativity + Empathy มากพอหรือยัง? Empathy ที่ว่านั้นหมายถึงการเข้าใจลูกค้า มองในมุมของลูกค้าว่า ทำไมลูกค้าต้องให้ข้อมูลกับเรา เขาต้องได้อะไรด้วย ไม่ใช่เราจะได้ฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น ถ้าคุณไม่เริ่มใช้ Creativity Driven Data คุณก็จะไม่มีข้อมูลให้ไปใช้ต่อใน Data-Driven Marketing เพราะข้อมูลเป็น Asset ที่คุณไม่สามารถขอคนอื่นได้หรือไปซื้อที่ไหนไม่ได้ ถ้าคุณนั้นไม่เก็บเอง

ทั้งหมดนี้เป็นสรุปเนื้อหาจาก Session Creativity Driven Data การตลาดแบบฉลาดเก็บดาต้า จากงาน CTC2024 โดยคุณหนุ่ย ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน ซึ่งกล่าวถึงว่า การขอเก็บดาต้านั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเราต้องใช้ Creativity + Empathy ที่มากพอ ผ่านการใช้ Data Collection Canvas 2.0 ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เพื่อวางแผนขอเก็บข้อมูลจากลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ใช้ในการทำการตลาดต่อไป นอกจากนี้ยังมีการเล่า 6 Case Study จากหลายแบรนด์ เช่น Cockpit, Flipkart, Oreo, Burger King, และ Piraquê ที่แสดงให้เห็นถึงการเก็บข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ให้คุณผู้ชมเห็นภาพการประยุกต์ใช้ Canvas อีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจอ่านบทความอื่นๆ หรือ ต้องการอัปเดตความรู้การตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ช่องทาง WebsiteFacebookInstagramTwitterYouTubeBlockdit และ Tiktok ของการตลาดวันละตอนตามนี้ได้เลยค่ะ

นิวส์ Introverted Learner คนหนึ่งที่สนใจ Marketing หลงรักในศิลปะ งานสร้างสรรค์ เสียงเพลง และความสงบ ทุกบทความเขียนด้วยความตั้งใจที่อยากจะถ่ายทอด Input ที่ได้เรียนรู้ สู่ Output ที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *