ไม่กี่วันก่อนหน้านี้เราได้เห็นกระแส Save Ralph หรือการรณรงค์ต่อต้าน Beauty Products ที่มีการทดลองกับสัตว์เป็น Social Talk Topic ไป หลังจากที่ชาว Twitter ได้นำปัญหานี้มากระจายให้คนไทยได้แชร์ต่อกันมากขึ้นจนกลายเป็นเหมือนการกดดันหลายแบรนด์ไปกลายๆ วันนี้เราจะลองมาส่องดูกันบ้างว่า แล้วแบรนด์ไหนละที่ถูกคนใน Social เมนชั่นพูดถึงเยอะที่สุดด้วยการใช้ Social Listening Tools จาก Mandala Analytics ค่ะ อะไรคือ Save Ralph? Ralph คือชื่อของเจ้ากระต่ายสีขาวที่อยู่ในภาพยนตร์หนังสั้นความยาวประมาณ 4 นาทีของผู้กำกับ Spencer Susser ปล่อยออนแอร์ให้คนได้ชมกันตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2021 (6 เมษายน 2021) ซึ่งเป็นคลิปที่ถ่ายทอดชีวิตประจำวันของกระต่ายนาม Ralph ที่ทั้งตาบอด หูดับเพราะการทำงานในโรงงานในฐานะสัตว์ทดลองสินค้า Beauty Products ของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าบรรดาสัตว์ทุกชนิด ที่สุดท้ายแล้วจบด้วยประโยครณรงค์ ให้คนช่วยกัน Anti แบรนด์สินค้าความงามที่ยังทดลองในสัตว์และกันมาสนับสนุนแบบ Vegan หรือ Cruelty-free กัน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า Video จะปล่อยออกมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษาแล้ว แต่ในไทยกระแสกลับเพิ่งดัง และหากมองใน Graph ของ Social Timeline ด้วย Keywords อย่าง Save Ralph / Cruelty / ทดลองในสัตว์ และทดลองกับสัตว์ จะพบว่าเทรนด์ในไทยนั้นเริ่มขึ้นวันที่ 17 เมษายน 2021 ผ่านช่องทางสร้าง Conversation ที่ดีเยี่ยมอย่าง Twitter และพุ่งสูงสุดในวันที่ 18 เมษายนค่ะ ซึ่งเมื่อเราเจาะเข้าไปในวันที่ 17 เมษายน เราก็เลือก Sort by ให้เป็นการเรียง Messages ตามลำดับวัน-เวลาที่เผยแพร่ แล้วเลือก Ranking เป็นแบบ Low-High หรือโพสต์นานสุดก่อน แล้วค่อยแสดงข้อความที่โพสต์เร็วสุด ก็จะพบต้นต่อ Tweet ของคุณฟอยจัง rest ที่ออกมาพูดถึงสินค้า Cruelty-free ในวันนั้นเป็นคนแรกๆ แถมมีเรทการ Retweet อยู่ที่ 1.4K ด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นการพูดถึง Cruelty ที่ Inspired มาจากเรื่องของ Ralph แต่เพราะ Message ของคุณฟอยจัง rest ยังไม่มีการพูดถึง Ralph ตรงๆ เราก็เลยใช้วิธีการปิดตา Keywords อื่นๆ ให้เหลือแค่ #SaveRalph ก่อนแล้วกลับมาดูต้นทางอีกครั้ง จนสุดท้ายเราพบว่าคนที่พูดถึงราล์ฟใน Twitter แรกๆ นั้นเอาเรื่องราล์ฟมาจากแพลตฟอร์ม Global Feed อย่าง TikTok อีกทีนึง ซึ่งหลังจากที่เพลินไปดูใน TikTok ก็พบว่ามีต่างชาติหลายคนมากที่ออกมาทำคลิปเกี่ยวกับราล์ฟ และหากเราเข้าใจ Algorithm ของติ๊กต่อก เราก็จะเข้าใจว่าการแสดงผลแบบ Global Feed ของติ๊กต่อกนั้น ไม่ได้อิงจากแค่คนที่เรา Follow แต่เป็น Sound ที่เราฟังบ่อยๆ ที่ Users ใช้กันทั่วโลกหรือเนื้อหาคอนเทนต์ที่คล้ายกันจาก Filter Effects และมันไม่ได้จำกัดแค่คนไทยที่จะเห็นแต่วิดีโอของคนไทยเท่านั้น แต่อย่างที่บอกว่ามันคละมาจากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเมื่อในต่างประเทศกระแสราล์ฟเริ่มดังพอเข้ามาอยู่ใน TikTok เลยเกิดเป็น Globalization ง่ายๆ อย่างรวดเร็ว […]