ต้องบอกว่าวินาทีนี้แทบไม่มีใครไม่รู้จัก หมูเด้ง ฮิปโปแคระ จากสวนสัตว์เขาเขียวที่เป็นกระแสในโลกออนไลน์ตอนนี้ การตลาดวันละตอนเลยจะพาไปย้อนส่องเทรนด์ของ หมูเด้ง ฮิปโปแคระ กันว่า อะไรที่เป็น Factors ให้หมูเด้งเป็นที่นิยมขึ้นมา หลายคนก็คงคิดว่าเป็นความเด้ง น่ารัก ขี้วีน ชอบสวบของ หมูเด้ง แต่จริง ๆ แล้วจะมีปัจจัยอื่นอีกมั้ย ติดตามกันได้ในบทความนี้ได้เลยค่ะ
อย่างที่บอกว่าไปเราจะใช้เครื่องมือ Social Listening เพื่อรวบรวมข้อมูลที่กระจายอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ก็คือ Mandala AI นั่นเองค่ะ ซึ่งถ้าใครอยากลองใช้เครื่องมือตัวนี้ หรือ อยากลองหา Data จาก Social Listening ทางการตลาดวันละตอนก็มีคลาสเรียน สามารถติดตามได้ท้ายบทความได้เลยค่ะ
ส่องกระแสย้อนเทรนด์ หมูเด้ง ฮิปโปแคระ
ซึ่งเราจะใช้ Keyword ในการดึงคือ หมูเด้ง โดยไม่รวมคำว่า ก๋วยเตี๋ยว, ต้มยำ, เกาเหลา เพื่อป้องกัน Social Data ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหมูเด้ง ที่เป็นฮิปโปแคระที่เราต้องการนั่นเองค่ะ
ข้อมูลที่ดึงมามีจำนวน 9,299 Mentions
ระยะเวลาคือ 01/7/2024-15/09/2024
เนื่องจากว่าผู้เขียนมองว่ากระแสของหมูเด้ง เพิ่งมา Boom ขึ้นในช่วงเดือนกันยายนหรือเดือน 9 ที่ผ่านมา ดังนั้นการดึงย้อนหลังประมาณ 2 เดือนครึ่งก็เพียงพอแล้วค่ะ
Social Data Stat Overview
ขอจากภาพรวมอย่างจำนวน Mentions และ Engagement ก่อนเลย ซึ่งเราจะเห็นเลยว่ากระแสของหมูเด้งจะเริ่มได้รับความนิยมจริง ๆ ในช่วงเดือนกันยายน โดยเฉพาะช่วง 09/09 ค่ะ
แต่หากเราดูดีจะว่าช่วงเดือนสิงหาคมในวันที่ 6-8 จะมีจำนวนของ Mentions และ Engagement ที่ Outstanding ขึ้นมาเล็กน้อย ผู้เขียนเลยทำการเจาะลงไปว่าในวันนั้นเกิดอะไรขึ้้น
พบว่าในช่วงวันที่กล่าวไปนั้น เริ่มจากวันที่ 6 สิงหาคมเกิดเหตุการณ์อีเวนท์ตั้งชื่อให้ ฮิปโปแคระ ที่เพิ่งคลอดก่อนที่จะได้มาเป็นชื่อหมูเด้งอย่างในปัจจุบัน ซึ่งชื่อที่มีให้โหวตนั้นก็คือ หมูแดง หมูเด้ง หมูสับ แต่ในช่วงของวันที่ 7 ทางเพจของขาหมูแอนด์เดอะแก็งค์ ก็ได้ลงรูปของ ฮิปโปแคระ พร้อมบอกว่า พอจะทราบชื่อที่ไม่เป็นทางการแล้วนั่นคือ หมูเด้ง ค่ะ และในวันที่ 8 ก็ยังเป็นการชวนโหวตอยู่เช่นกันค่ะ
ซึ่งจริง ๆ แล้วการอีเวนท์การโหวตมีมากกว่า 3 วันนี้ แต่เหตุผลที่ทำให้ 3 วันมียอด Mentions และ Engagement เพิ่มขึ้นมามากกว่าก็เพราะมีเพจสื่อหลากหลายอย่างช่อง 7 หรือ เพจข่าวท้องถิ่นลงข่าวในประเด็นนี้ ทำให้ยอดมากกว่าช่วงอื่นค่ะ
แล้วอีกประเด็นคือเราจะเห็นว่าช่วงวันที่ 8 จะมี Engagement จาก X(Twitter) ที่โผล่ขึ้นมาจากที่มีคนทวิตเปรียบเทียบเรื่องชื่อของน้องเทนนิส นักกีฬาเทควันโดเพราะคนต่างชาติสงสัยว่าทำไมชื่อเทนนิสแต่มาเล่นเทควันโด เช่นเดียวกับการตั้งชื่อของหมูเด้งค่ะ
ซึ่งจากกราฟเราจะเห็นเหตุการณ์การตั้งชื่อของ หมูเด้ง ตั้งแต่ช่วงวันที่ 6-8 เป็นที่นิยมจริงแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้หมูเด้งเป็นกระแสขึ้นมาจนเป็นเทรนด์ฮิตอย่างในปัจจุบัน เพราะหากกระแสของหมูเด้งมากจากเหตุการณ์นี้ ในช่วงหลังจาก 8 สิงหาคมก็ต้องเกิดกระแสอย่างต่อเนื่องค่ะ
โดยช่วงที่ผู้เขียนมองว่าน่าจะเป็นตัวจุดกระแสของ หมูเด้ง นั้น น่าจะมาจากช่วงวันที่ 9 กันยายนที่เริ่มมีการเพิ่มของยอด Mentions และ Engagement อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องค่ะ ดังนั้นเรามาเจาะกันต่อดีกว่าค่ะ ว่าในช่วงวันนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เริ่มจากในส่วนของวันที่ 9 กันยายน เมื่อเจาะลงไปพบว่า โพสต์ที่ได้ยอด Engagement สูงในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีดังนี้
ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าหากดูในเรื่องของ Mentions และ Engagement ของวันที่ 9 นั้น ในส่วนของ X(Twitter) จะมี Engagement สูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น โดยสูงกว่า Facebook ที่มีจำนวน Mentions สูงกว่าด้วยซ้ำ ส่วนนึงมาจากการแชร์ภาพความน่ารักของหมูเด้งของแอคเคาท์ที่มีการติดตามสูงอย่าง @cnew888 ค่ะ
ส่วนอีกส่วนมาจากโพสต์ที่รับ Engagement สูงสุดอย่าง @NU_Casma นักวาดที่แชร์ภาพหมูเด้ง version การ์ตูนที่วาดเองค่ะ ซึ่งตรงนี้น่าสนใจมากค่ะ เพราะถ้าหากเราสังเกตจาก Charts ของ Engagement จะพบว่ามี 1 วันที่มี Engagement พุ่งขึ้นมาสูงอย่างแตกต่าง คือวันที่ 5กันยายนค่ะ
อย่างที่บอกว่าวันที่ 5 กันยายนเป็นวันที่ Engagement พุ่งขึ้นสูงอีกหนึ่งในแพลตฟอร์มอย่าง X(Twitter) ซึ่งผู้เขียนพบว่าโพสต์ที่ได้รับ Engagement สูงที่สุดในวันนั้นก็คือโพสต์ที่นักวาดได้แชร์รูปวาดหมูเด้งของตัวเองเช่นกัน โดยเป็นภาพจากแอคเคาท์ @glittering_grim ค่ะ
ซึ่งความเหมือนกันของ 2 กรณีนี้นอกจากจะเป็นภาพจากนักวาดแล้วคือความเป็นมีมของหมูเด้งจากภาพการ์ตูนนั่นเองค่ะ เราดูจาก Charts จะเห็นว่าวันที่กระแสพุ่งขึ้นมาวันแรกก็คือ วันที่ 9 กันยายน ทีนี้เราจะมาดูกันต่อว่าก่อนวันที่ 9 นั้น มีอะไรเกิดขึ้น เพราะส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่าก่อนการเกิดกระแสที่พุ่งขึ้นในวันที่ 9 อาจส่งผลมาจากวันที่ 8 ด้วย
เนื่องจากว่าเราจะเห็นว่า วันที่ 9 กันยายน สิ่งที่ทำให้ยอด Mentions และ Engagement พุ่งขึ้นมานั้น ก็คือ เพจต่าง ๆ ที่เป็นเพจสื่อ อินฟลู เริ่มออกมาแชร์ หมูเด้ง กัน ผู้เขียนเลยตั้งสมมติฐานว่าวันที่ 8 อาจมีสัญญาณบางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้นค่ะ
ซึ่งจากข้อมูลในวันที่ 8 กันยายนพบว่า เพจของสวนสัตว์เขาเขียว ได้โพสต์คอลเลคชันสินค้าของหมูเด้ง แต่โพสต์ของเพจสวนสัตว์เขาเขียว ก็ไม่ใช่โพสต์ที่ได้รับ Engagement มากที่สุด แต่เป็นโพสต์ของเพจข่าวต่าง ๆ ซึ่งเป็นเพจใหญ่อย่าง เพจของคุณสรยุทธ หรือ โหนกระแส รวมทั้งโพสต์จาก Pet Influencer อย่าง Gluta Story ค่ะ
ทำให้ assume ได้ว่าพอเพจที่เป็นสื่อหลักโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหมูเด้ง ทำให้เพจอื่น ๆ ที่เป็นสื่อ Social ออกมาทำคอนเทนท์ออกมาตาม ในวันที่ 9 กันยายนค่ะ กลับมาที่ Charts ของเรากันจะพบว่า นอกจากวันที่ 9 กันยายน ในวันที่ 10 ก็เป็นอีก 1 วันที่กระแสเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งของ Engagement ที่พุ่งโดดขึ้นไปจนมากกว่าวันอื่นอย่างชัดเจน
โดยในส่วนของ Engagement พบว่าวันที่ 10 กันยายนใน X(Twitter) ที่ได้รับ Engagement เพิ่มขึ้นนั้นมาจากที่ Ningning Aespa ได้โพสต์รูปหมูเด้งลงใน Story Instagram ทำให้แฟนคลับแคปรูปนั้นมาทวิตทำให้ได้รับ Engagement สูง และอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดคือ การทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การโยนขวดใส่หมูเด้งค่ะ
นอกจากนั้นในแพลตฟอร์มอื่นก็จะเป็นการพูดถึงหมูเด้งว่าเป็นดาวดวงใหม่ของ Social รวมทั้งคอนเทนท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหมูเด้ง และที่น่าสนใจอีกอย่างคือใน Instagram ของขาหมูแอนด์เดอะแก็งค์ที่ได้รับ Engagement สูงสุด เริ่มมี Comments ของชาวต่างชาติมาคอมเมนท์แสดงถึงความเริ่มเป็นที่นิยมในระดับ Worldwide ของ หมูเด้ง ด้วยค่ะ
และหากดูในส่วน Engagement เราจะเห็นหลังจากวันที่ 10 กันยายนว่า ยอด Engagement เริ่มลดลงแต่กลับพุ่งขึ้นมาอีกครั้งในวันที่ 13 ซึ่งพบว่าในวันนั้นจะมีสื่อต่างประเทศ อย่างนิตยสาร TIME ได้ลงข่าวของ หมูเด้ง ทำให้ได้รับ Engagement เพิ่มขึ้นมาอีกรอบค่ะ
นอกจากเครื่องมือ Social Listening แล้ว อีกเครื่องมือที่เรานำมาใช้ก็คือ Google Trends นั่นเองค่ะ เพราะผู้เขียนมองว่าเวลาผู้คนสงสัยอะไรก็มักจะ Search หาจึงใช้เครื่องมือนี้เข้ามาช่วย เพราะคิดว่าช่วงที่คนเริ่มค้นหาหมูเด้ง ก็น่าจะเป็นช่วงที่หมูเด้งมีกระแสขึ้นมาค่ะ โดยคำที่ค้นหาเลือกใช้ก็คือ หมูเด้ง, ฮิปโป, หมูเด้ง ฮิปโป และ สวนสัตว์เขาเขียว
ซึ่งจากผลจึงพบว่าค่อนข้างสอดคล้องกับ Social Listening ดังนั้นเราจะโฟกัสไปที่วันที่ 9,10,11 ซึ่งเป็นวันกระแสเด้งขึ้นมาจากวันอื่นค่ะ โดยเมื่อเทียบ %การเติบโต ของวันก่อนหน้าก็พบว่าวันที่ 10 กันยายนมีการเติบโตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 วันที่เหลือค่ะ เมื่อย้อนไปดูเหตุการณ์ในวันนั้นก็จะพบว่าเป็นวันที่ Ningning Aespa ได้ลงรูปของหมูเด้งใน Story รวมทั้งการพูดถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอีกด้วยค่ะ
จาก Factor ที่เรากล่าวมาทั้งหมดก็จะสรุปได้ดังนี้
1. สื่อต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
สื่อต่างประเทศ เช่น TIME
สื่อหลัก เช่น โหนกระแส
สื่อ Social เช่น เพจต่าง ๆ
2. Influencer
ระดับประเทศอย่าง ขนมผิง (ช่อง Ping-Pantira)
ระดับโลกอย่าง Ningning Aespa
3. Content Marketing จากเพจขาหมูแอนด์เดอะแก็งค์, สวนสัตว์เขาเขียว
ความ Creative ของเพจที่ทำคอนเทนต์ลงทั้งภาพ, คลิป และแคปชัน
Meme ที่ทางเพจได้ทำลง ทำให้หมุเด้งดูน่ารักและตลก ตรงกับจริตคนไทย
Real Time มีการโพสต์ที่รวดเร็วจากเพจหมูเด้ง มีการอัพเดทตลอดเวลา
Consistency สิ่งสำคัญที่สุดคือมีความสม่ำเสมอในการทำคอนเทนต์ จะเห็นว่าก่อนที่หมูเด้งจะดัง ทางเพจมีการลงคอนเทนต์ทุกวัน
4. Cute Marketing การนำเสนอความน่ารักของหมูเด้ง ให้จับต้องได้ผ่านคอนเทนต์ของเพจ สร้างคาแรกเตอร์ให้ดูเข้าถึงง่ายให้คนเข้าใจง่าย สามารถจับต้องได้ ไม่ใช่แค่เป็นฮิปโป จนทำให้หลาย ๆ คนโดนตกไปตาม ๆ กัน
และทั้งหมดนี้ก็คือ ย้อนเทรนด์ หมูเด้ง ฮิปโปแคระ ด้วย Social Listening + Google Trends ที่ผู้เขียนนำมาฝากกัน ถ้าชอบ หรือ สนใจอยากอ่านบทความด้านการตลาดแบบนี้อีก ผู้เขียนฝากติดตามด้วยนะคะ หรือ ถ้าใครอยากให้ผู้เขียนนำมุมมองการตลาดแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยนะคะ
สำหรับนักอ่านที่ชอบ และ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารด้านการตลาดต่าง ๆ สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube ของการตลาดวันละตอนได้เลยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะヽ(•‿•)ノ
*สามารถนำบทความนี้ไปแชร์หรือต่อยอดได้ เว็บหรือสำนักพิมพ์ไหนต้องการ แค่ส่ง Backlink กลับมาให้เรา แล้วส่งลิงก์บทความที่คุณนำไปต่อยอดมาบอกเราที่ [email protected] ก็พอค่ะ
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock AI Generator Prompt :A close-up of a baby pygmy hippopotamus with shiny, smooth skin, playfully standing with its mouth open as if making a happy sound, showing a curious and friendly expression. The background is a cozy library room with wooden bookshelves filled with colorful books. The contrast between the natural, wet skin of the hippopotamus and the warm, inviting atmosphere of the library adds a unique touch. Soft lighting highlights both the animal and the bookshelves, creating a harmonious scene between nature and knowledge
สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com
โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment
ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊
หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้
คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics
ลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00 ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า) อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ
https://bit.ly/soc iallisteningclass
แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น
ตัวอย่างผลงานนักเรียนรุ่น 28
นี่คือผลงานของผู้เรียนคลาส Social Listening รุ่น 28 กับการตลาดวันละตอน คุณเจนเป็น HR แต่สนใจอยากรู้เรื่อง Data เลยมาลงเรียน Social Listening ด้วยตัวเอง
จากหลักการ 8 Step Social Listening ที่ได้เรียนในคลาส คุณเจนเอาไป Apply กับเรื่องที่ตัวเองสนใจคือหมาล่าจนออกมาเป็นบทความที่ชื่อว่า หมาล่า ไม่ใช่ หม่าล่า จากการที่คุณเจนใช้ Social Listening เช็คดูถึงได้พบว่ายังมีคนไทยอีกมากที่พิมพ์คำว่า หมาล่า ผิดเป็น หม่าล่า เยอะมาก
ไม่ใช่แค่เช็ค Data ผิวๆ เท่านั้น แต่ยังลงไปเก็บถึง Category Insights ตามที่ผมสอนได้อย่างดีมาก จนทำให้ค้นพบว่าหมาล่าถูกนำมาตีความใหม่เป็นเมนูมงคลประจำปี ส่งผลให้ยอดขายดิบดีขึ้นผิดหูผิดตา
เจอ Insight แรกว่าหมาล่าย่านไหนกำลังดัง ถูกพูดถึงมากๆ บนโซเชียล นั่นก็คือย่านบรรทัดทอง ตามมาด้วยห้วยขวาง ปิดท้ายด้วยพระราม 9 พบว่าช่วงราคาส่วนใหญ่อยู่ที่ 299+ มากถึง 57.1%
และแบรนด์ร้านหมาล่าที่กำลังมาช่วงนี้ไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยทำ insights คราวก่อน แต่เป็น Shu Daxia ที่มาแรงมาก ถูกพูดถึงมากกว่า Haidilao และกิจกรรมที่ร้านหมาล่าชอบทำช่วงนี้คือ Fan Meet ตามมาด้วยอาหารมงคล รู้แบบนี้แล้วลองคิดต่อยอดดูนะครับ ว่าเราจะทำการตลาดอย่างไรดี
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในผลงานคนเรียนที่แสนจะภูมิใจ ที่คนเรียนไม่ได้มากสายการตลาด หรือไม่ได้มาสายดาต้า แต่เป็น HR ที่มีใจรักเรื่อง Data และอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ 🙂
ซึ่งผู้เรียนที่นำเครื่องมือกลับไปปรับใช้และมาส่งอัปเดตการบ้านได้แบบนี้ก็รับ Certified จากพี่หนุ่ย เจ้าของคลาสไปเลย
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram และ YouTube ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ ヽ(•‿•)ノ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่