Case study ของการทำ Big Data Analytics ของธุรกิจ Retail หรือร้านสะดวกซื้อที่โด่งดังจนนักการตลาดหลายคนน่าจะคุ้นหูกับเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขายหรือที่เรียกว่า Transaction data จนค้นพบ Insight สำคัญว่าเบียร์กับผ้าอ้อมมักขายดีคู่กันทุกคืนวันศุกร์เป็นประจำจนนำไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไม? และเราควรจะทำอย่างไรกับมันต่อไป?
คำถามสุดคลาสสิคที่ผมมักเจอเป็นประจำเวลามีลูกค้าเดินเข้ามาขอคำปรึกษาในฐานะ Data & Marketing Consults ก็คือว่า “อยากทำยอดขายได้มากขึ้นทำอย่างไรดี”
วันนี้ผมเลยขอหยิบเคสการทำ Data analytics ที่วิเคราะห์ข้อมูลจนค้นพบว่าแค่จับเบียร์และผ้าอ้อมมาวางไว้ใกล้กันก็สามารถเพิ่มยอดขายสองสิ่งนี้เพิ่มได้กว่า 35% จากมุมมองของคนที่เป็น Data Thinking หรือคนที่ต้องคิดอย่างเข้าใจดาต้าว่าเราจะเอาสิ่งนี้มาช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจและการตลาดได้อย่างไร
ใน case study การทำ big data analytics ของ retail แห่งนี้ (ซึ่งบางที่ก็บอกว่า Walmart) ก็เริ่มคล้ายๆ กัน แต่ต่างออกไปนิดหน่อยนั่นก็คือว่า พวกเขามีข้อมูลการขายหรือ Transaction data เก็บไว้กว่า 1.2 ล้านครั้ง ดังนั้นลองเอา data ที่มีมาวิเคราะห์ดูหน่อยว่าเรากำลังพลาดอะไรที่น่าสนใจไปหรือเปล่า
Data Thinking ที่ดีเริ่มจาก Data ที่มียังไม่ต้องมองออกไปไหนไกล
ในเคสการทำ data science ด้วยการทำ data analytics นี้ส่วนใหญ่ถูกเล่าต่อกันว่าเป็นเรื่องราวของห้าง Walmart ที่สามารถหาความ Correlation หรือความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าในร้านสองอย่างที่ไม่น่าขายด้วยกันได้อย่างเบียร์กับผ้าอ้อม แต่กลับขายดีคู่กันอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ที่ไม่น่าเชื่อไปกว่านั้นคือเรื่องราวนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1992 ครับ
Data Thinking เป็นเรื่องของชุดความคิดมากกว่าเครื่องมือที่มีหรือทักษะในการเขียนโปรแกรม ในปี 1992 ผมจำได้ว่าผมยังไม่เคยรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ ไม่รู้จักกับคำว่าอินเทอร์เน็ต ไม่รู้จักกับคำว่า Data ทั้งที่เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทำ data science น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งจะได้ยินกันเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในแต่ปี 1992 หรือย้อนกลับไป 30 ปีนับจากวันนี้ในปี 2021 กลับมีคนสามารถมองเห็นโอกาสจาก data ที่มีนั่นก็คือ transaction data หรือข้อมูลการขายในแต่ละบิลว่าน่าจะบอกให้รู้อะไรบางอย่างได้แหละ
เมื่อนำ Transaction data ที่มีและบันทึกอยู่ในเครื่อง POS หรือเครื่องคิดเงิน ณ จุดขายที่เราคุ้นเคยมารวมกันไว้ในที่เดียวแล้วจากนั้นก็นำมาทำให้ data ที่ถูกเก็บไว้อย่างไม่เป็นระเบียบมาทำให้พร้อมใช้ผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า Data preparation อาจจะทำให้อยู่ในรูปแบบ SQL ทำให้โครงสร้างของข้อมูลนั้นพร้อมใช้งาน เมื่อค่อยๆ วิเคราะห์ไปทีละแง่มุมเพื่อดูว่าตกลงเรามีลูกค้าแบบไหนหรือแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม โดยไม่ได้แบ่งกลุ่มจาก Demographic หรือ Generation ตามที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการแบ่งกลุ่มจากพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นภายในร้านสะดวกซื้อแห่งนี้ แบ่งไปแบ่งมาจนทำให้พบพฤติกรรมการซื้อสินค้าสองชนิดที่สอดคล้องกันอย่างน่าแปลกใจ นั่นก็คือพบว่าในช่วงเย็นวันศุกร์หลังเลิกงาน เบียร์กับผ้าอ้อมมักจะขายคู่กันได้ดีเป็นพิเศษ
จาก Signal หรือสัญญาณความผิดปกติจากพฤติกรรมการซื้อที่เห็นนี้ก็นำไปสู่การเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่นว่า เบียร์ กับ ผ้าอ้อม นั้นยังขายได้ดีคู่กันอยู่ในบิลใบเสร็จเดียวกันเหมือนกันทุกช่วงเวลาหรือไม่
Data Thinking เมื่อได้คำตอบต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไม ทำไม ทำไม และ ทำไม
การจะเป็น Data Thinking ที่ดีหรือรู้จักฉลาดในการใช้ Data นั้นต้องหมั่นตั้งคำถามและสงสัยในคำตอบที่ได้จาก Data ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหา Data ใหม่ๆ เข้ามาตอบหรืออธิบายว่าเพราะอะไรมันถึงเป็นแบบนี้ หรือ Insight นี้มีที่มาที่ไปจากอะไร
แต่กับเบียร์และผ้าอ้อมที่ขายดีคู่กันอันนี้สิแปลก เป็น Insight ใหม่ที่ไม่มีใครในทีม Data science หรือทีม Marketing หรือ Business development คิดมาก่อนเลยว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นด้วย ถ้าไม่เอา Data ทั้งหมดที่มีมาวิเคราะห์ดูก็จะไม่มีทางรู้เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าสินค้าสองอย่างนี้จะขายดีคู่กัน และจากความสงสัยก็นำไปสู่การตั้งคำถามว่าทำไม ทำไม และทำไม เมื่อพวกเขาชวนกันลุกออกจากหน้าจอเพื่อมาดูหน้างานก็เลยทำให้หายคลายความสังสัยด้วยระยะเวลาไม่นานว่าเหตุใดเบียร์กับผ้าอ้อมจึงขายดีคู่กันได้ครับ
จะเข้าใจ Insight จาก Data ได้ก็ต้องเข้าใจว่า Data นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
เมื่อทีมงานทุกคนยกพลออกไปดูหน้างานกัน แต่ด้วยการที่ทำการบ้านกันมาแล้วว่าช่วงเวลาไหนที่สำคัญที่พวกเขาต้องลงไปดู ทำให้พวกเขาประหยัดเวลาในการทำ Data observation เป็นอย่างมาก เพราะไม่อย่างนั้นการออกไปสำรวจหน้างานก็จะกลายเป็นงานน่าเบื่อที่ได้แต่เฝ้าดูไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องดู แต่จากทำงานกับ Data มาแล้วก็เลยทำให้พอรู้ว่าตกลงแล้วเราควรต้องไปดูอะไร ดูที่ไหน และดูเมื่อไหร่ครับ
พวกเขาจึงออกไปสังเกตอาจจะด้วยการปลอมตัวเป็นลูกค้า หรือการเข้าไปเป็นผู้ช่วยพนักงานขาย หรืออาจจะเฝ้าดูผ่านกล้องวงจรปิดก็ได้ แต่ทั้งหมดคือการเข้าไปดูที่มาของ Data นั้นด้วยตัวเองว่าเหตุใดเย็นหลังเลิกงานวันศุกร์เบียร์กับผ้าอ้อมจึงขายดีคู่กันอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ไม่นานนพักพวกเขาก็เริ่มเห็น Pattern บางอย่างที่น่าสนใจในหลายสาขาที่ทีมกระจายตัวไปสังเกตการณ์ นั่นก็คือพวกเขาพบว่ากลุ่มคนที่เข้ามาซื้อเบียร์และผ้าอ้อมคู่กันนั้นคือชายหนุ่มวัยกลางคนครับ!
ซึ่งผมจะบอกว่าถ้าเป็นข้อสมมติฐานแรกนั้นก็ยากที่จะหา Data มาพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ นอกจากจะต้องเดินตามผู้ชายคนนั้นกลับบ้านไปว่าเมียที่บ้านถามหรือเปล่าว่า “แล้วถ้าอ้อมที่สั่งได้มาไหม?” แต่ถ้าเป็นสมมติฐานที่สองนั้นพอจะมีทางพิสูจน์อยู่ได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องมีการเก็บ Data ที่ดีไว้ก่อนหน้าเพราะไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพอมีลูกแล้วพฤติกรรมการซื้อเบียร์ทุกคืนวันศุกร์เปลี่ยนไปหรือไม่ คำถามคือคุณคิดว่าเราต้องใช้ Data อะไรเพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ครับ
ผมให้คิด 10 วินาทีก่อนกดอ่านในบรรทัดถัดไป
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
หมดเวลา
คำตอบที่ถูกคือคุณต้องมีระบบ Loyalty program ที่ให้ลูกค้าสะสมแต้มด้วยการบอกเบอร์โทรศัพท์ให้กับพนักงานก่อนคิดเงินทุกครั้ง เพราะระบบสะสมแต้มหรือ Loyalty program นี้แหละครับจะทำให้เรารู้ว่าตกลงแล้ว Transaction data ไหนเป็นของลูกค้าคนไหน ถ้าเราสามารถระบุตัวตนของลูกค้าแต่ละคนได้ว่าที่ผ่านมาพวกเขาเคยมาซื้ออะไรบ้าง เราก็จะสามารถหาได้ว่ามันมีจุดเปลี่ยนของพฤติกรรมการซื้อเบียร์ที่ต่างไปบ้างหรือไม่ แต่ในเคสนี้เมื่อปี 1992 ไม่ได้มีระบบสมาชิกเตรียมไว้ให้วิเคระห์หาต่อครับ แต่เอาเป็นว่าแค่สามารถค้นพบว่าเบียร์กับผ้าอ้อมนั้นขายดีคู่กันทุกคืนวันศุกร์เป็นประจำผมว่าก็ว้าวมากพอแล้ว
และเมื่อได้เห็นบริบทของ Data ได้เห็นที่มาที่ไปว่าเบียร์กับผ้าอ้อมมาขายดีคู่กันทุกเย็นวันศุกร์หลังเลิกงานได้อย่างไร ก็ทำให้เข้าใจถึง Insight ว่าเป็นเพราะคุณพ่อบ้านต้องแวะมาซื้อเบียร์กลับไปกิน หรือไม่ก็ต้องถูกเมียสั่งให้ซื้อผ้าอ้อมลูกก่อนเข้าบ้านด้วยก็เลยขอหยิบเบียร์ไปดื่มย้อมใจหน่อย
เพราะเมื่อทีมที่ทำ Data science หรือ Data analytics ของโปรเจคนี้ย้ายไปทำให้กับร้านสะดวกซื้อ Retail อีกแบรนด์หนึ่งในปีที่ต่างไป ก็ไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างเบียร์และผ้าอ้อมเลย ส่วนพอย้ายไปทำอีกร้านสะดวกซื้อหนึ่งก็กลับค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างเบียร์กับผ้าอ้อมที่แน่นแฟ้นกันยิ่งกว่าเดิม ซึ่งมีค่า Correlation ถึง 0.95 เลยทีเดียครับ (ถ้าเป็น 1 นี่แทบจะเป็นแฝดกันเลย)
และเรื่องราวทั้งหมดที่เล่ามาก็เป็นของร้านสะดวกซื้อที่ชื่อว่า OSCO Drug ไม่ใช่ Walmart แต่อย่างไร
Data Thinking คือทักษะที่นักการตลาดต้องมีในศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของเบียร์และผ้าอ้อมนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1992 แต่ตอนนี้เราอยู่ในปี 2021 เป็นปีที่เต็มไปด้วย Data มากมาย ดีไม่ดีข้อมูลการขายแค่ 1.2 ล้าน Transaction อาจจะดูเป็นจิ๋วไปเลยเมื่อเทียบกับ Transaction ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่เกิดขึ้นบนออนไลน์ของเว็บแพลตฟอร์มใหญ่ๆ สักราย นั่นหมายความว่าในวันนี้เรามี Data อยู่มากมายมหาศาล คนที่รู้จักมองให้ออกว่า Data ที่เรามีนั้นมีคุณค่าอะไรซ่อนอยู่บ้าง หรือเราต้องการ Data แบบไหนมาใช้งาน หรือ Data แบบไหนบ้างที่จะตอบคำถามสำคัญของธุรกิจเรา
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะการคิดอย่างเข้าใจ Data หรือที่เรียกว่า Data Thinking เพราะก่อนจะเริ่ม Data-Driven Business หรือ Everything คุณเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Data ดีพอหรือยัง