ถอดรหัส! วงการ เอเจนซี่โฆษณา ที่ดุเดือด จากซีรีส์เกาหลี AGENCY
มนุษย์ออฟฟิศต้องอินสิ่งนี้แน่นอนค่ะ วันนี้นุ่นหยิบเอาซีรีส์เกาหลีที่นำเสนอความดุเดือดของชาว เอเจนซี่โฆษณา ที่นอกจากต้องสู้ขายงานให้ได้ดีลแล้ว ยังมีศึกในบ้านที่ดุเดือดสุด ๆ ซึ่งมีทั้งหมด 16 ตอน หากอ่านบทความนี้จบแล้วอยากจะตำตามก็สามารถดูได้ที่ Netflix ได้เลยค่ะ
บทความวิเคราะห์นี้อาจมีหลุดสปอย
ถ้าใครมาอ่านแล้วเผลอเจอสปอยนุ่นต้องขออภัยด้วยจริง ๆ ค่ะ แต่ซีรีส์ก็เข้า NETFLIX มาได้ซักพักแล้ว หลายคนน่าจะดูจบก่อนนุ่นแล้วใช่มั้ยคะ?~
ใจความสำคัญคือเราจะมาลองถอดรหัสมุมมองคนทำเอเจนซี่จากซีรีส์เรื่อง AGENCY กันดูค่ะ ถือเป็นการแชร์มุมมองจากนุ่นด้วยที่อาจจะไม่เคยทำงานในบริษัทเอเจนซี่ มีการพูดถึงบทบาทความรับผิดชอบในตำแหน่งต่าง ๆ ตั้งแต่ อาร์ตครีเอทีฟ แพลน copy writer ไปจนถึงบรรดา Director ซึ่งแน่นอนว่าซีรีส์นำเสนอในมุมของตัวละครหลักเพียงเท่านั้น และอาจจะไม่ได้ตรงกับความเป็นจริง 100% ยังไงมาอ่านบทความนี้แล้วแชร์ความเห็นกันสนุก ๆ กันนะคะ
ซึ่ง ‘บางมุมมอง’ ที่จะนำมาฝากนักการตลาดและทุกคนที่อยู่ในแวดวงแบรนด์ โฆษณา แม้กระทั่งบุคคลทั่วไปที่ใช้ชีวิตอยู่กับโฆษณาดิจิทัล ทีวี Out of home เพราะซีรีส์กำลังจะสื่อถึงเรื่องราวการทำงานที่ต้องแข่งขันดุเดือดในแวดวงเอเจนซี่ ตัวละครหลักคือนักแสดงหญิง อีโบยอง รับบทเป็น โกอาอิน ซึ่งเป็นนักแสดงที่อยู่ระดับแนวหน้าของเกาหลีมาถ่ายทอดเรื่องราว สู้ชีวิตจากเด็กกำพร้าสู่หนทางการเป็น Ceative director ของบริษัทเอเจนซี่ขนาดใหญ่แถวหน้าของเกาหลี ที่ถูกสื่อจับตามองเป็นอย่างมาก
ส่วนตัวแล้วความรู้สึกแรกที่ได้สัมผัสตั้งแต่ตอนแรกเลยคือการสื่อถึงสังคมที่กังขาความสามารถของผู้หญิง Working women โดยเฉพาะหญิงโสด (แต่ถ้ามีลูกก็โดน หย่าก็โดน ~) และความสัมพันธ์ของเส้นสายในองค์กร ตีแผ่วัฒนธรรมการทำงานของเอเจนซี่ที่ต้องโต้รุ้งลืมวันลืมคืน ถ้าใครมองหาซีนหวาน ซีนโรแมนติกนุ่นบอกเลยว่าไม่ถึง 5% จากความเข้มข้นของการนำเสนอชีวิตการทำงานของตัวละครหลักค่ะ
ชาวเอเจนซี่ ลุกขึ้นมาเร็ว~
จากฉัน อุทิศให้งาน
ยิ่งใกล้จะ Pitching งานยิ่งไม่มีเวลาให้ครอบครัวเข้าไปใหญ่ไหนจะต้องจัดการกับงานแทรกที่ไม่ได้เกี่ยวกับหน้าที่ในบริษัท แต่น้ำท่วมปากเพราะต้องทำตามคำสั่ง ทำให้พนักงานที่บริษัทขัดเกลาให้มีความสามารถมาหลายปีต้องจำใจโบกมือบ้ายบาย ย้ายที่ทำงานในที่สุด ชีวิตการทำงานของหลายคนน่าจะเจอเหมือนกันไม่เว้นแม้แต่วงการเอเจนซี่ ที่อุทิศตัวให้กับงาน ตัวละครหลักในทุก ๆ คืนผ่านมาได้ด้วยยานอนหลับ หรือต้องพึ่งยาทางจิตเวชเพื่อลดอาการแพนิค
หรือหลายคนก็ใช้เวลาเลิกงานบางวันกินเลี้ยงสังสรรค์ ดื่มเพื่อคลายเครียดจากงาน
ส่วนหนึ่งของซีนที่ทีมกำลังระดมไอเดียเสนองานลูกค้า
นี่ก็เป็นบรรยากาศส่วนใหญ่ที่ซีรีส์อธิบายถึงอาชีพในวงการเอเจนซี่โฆษณาค่ะ ต่อไปเรามาดูกันว่าเกล็ดเล็ก เคล็ดลับน้อยจากซีรีส์ที่เป็นประโยชน์มีอะไรบ้าง
เป้าหมายของ คำโฆษณา (Copy / Wording )
VIDEO
Netflix K-Content
แนวคิดของการสร้าง Copy หรือ Wording โฆษณา แคมเปญ ที่เอเจนซี่ควรสร้างสรรค์ให้ลูกค้าไม่ว่าจะแบรนด์หรือองค์กร คือไม่ต้องตะโกนแบรนด์เราดียังไง เก๋ไก๋แค่ไหน 100% แต่คำมีเป้าหมายที่ว่า คุณจะได้อะไรจากแบรนด์
ตัวอย่างเช่นลูกค้าบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน นางเองไม่ได้เลือก wording ที่อธิบายถึงเทคโนโลยีที่มี เพราะผู้บริโภคเค้าคงไม่ได้อยากรู้ว่าคุณกำลังจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ อะไรขนาดนั้น สิ่งที่จะดึงดูด Hook คนให้หันมามองป้าย หรือ TVC ไม่ใช่คำว่า ‘ XXX มีเทคโนโลยีแห่งอนาคต’ แต่เป็น ‘ XXX เปิดยุคการสื่อสารในอนาคต เพื่อมนุษย์ โดยมนุษย์’ / ยุคของคน โดย XXX
ควรเลือกใช้คำที่จะบิดให้ประโยชน์ส่วนตัว (ของบริษัท แบรนด์) เป็นเหมือนประโยชน์ส่วนรวม (ผู้บริโภคจะได้อะไร) ล่อตาล่อใจ GET ทันทีและตัดสินใจได้เลยว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ แถมยังมีภาพลักษณ์ที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญแม้ในการโฆษณา
ภารกิจตรัสรู้ใจลูกค้า
ใช่ค่ะงานของเอเจนซี่หลัก ๆ คือการสร้างสรรค์ผลงานให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าที่มาจ้าง แต่บางองค์กรก็ไม่สามารถจัดทำบรีฟที่มีคุณภาพได้ หรือบางเจ้าก็ต้องการไอเดียใหม่ ๆ จากเรา 100% แบบในซีรีส์ก็มีตัวอย่างของลูกค้าที่ ‘ไม่มีบรีฟ’ อยู่ค่ะ
เป็นหน้าที่ของเอเจนซี่อีกเช่นกันที่บางครั้งจะต้องนำทางลูกค้าให้คล้อยตามแพลนของทีม
ในเคสนี้เลยมีการพูดถึงความสำคัญของทีม Planing ที่จะมีความแน่นและละเอียดในข้อมูลมากกว่าคนที่อยู่ในทีมครีเอทีฟอยู่ค่ะ ความสนุกคือการเอาใจช่วยทีมครีเอทีฟ ที่จะไขปริศนา ตรัสรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรจากการทำพีอาร์ในครั้งนี้ และในสถานการณ์นี้กันแน่นะ?
!สปอย!
เมื่อนางเอกและทีมทุ่มเทวิเคราะห์กันจนแทบนาทีสุดท้ายแทบจะดราฟตัว Production ไม่ทัน แต่พอได้คอนเซปต์แล้วงานก็ไหลลื่นจนสำเร็จ นุ่นลองถอดรหัสที่นางเอกเลือกใช้จนสามารถชนะ Pitching ได้ดังนี้ค่ะ
กลยุทธ์การสื่อสาร ที่ใช้ข้อความที่บุคคลทั่วไป กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะลูกค้าที่จ้างเอเจนซี่เราเป็นระดับหน่วยงานสาธารณะ ที่ต้องทำงานเพื่อประชาชนทั่วไป
ใช้สภาพแวดล้อม หรือ Community ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย และพยายามอิงกับสถานการณ์ปัจจุบัน คนทั่วไปเข้าใจเพราะเจอได้ในชีวิตประจำวัน และดึงเป็นตัวกลางสื่อสาร สร้างโฆษณาที่ดึงดูดใจและไม่ไกลตัว เช่นหากจะสื่อว่าบ้านเมืองมีกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ ก็ต้องใช้ภาพของพังๆ ที่ต้องการการซ่อมแซม กำแพงที่มีรอบร้าว บันไดเลื่อนที่กำลังซ่อมและใส่คำโฆษณาเพื่อสื่อสาร
โฆษณาก็เหมือนจดหมายรัก ที่ต้องส่งให้ถูกคน เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องจะเขียนจดหมายเยอะ ๆ (หมายถึงใช้งบเปลือง ๆ หว่านโดยไม่รู้เป้าหมาย) ถ้าไม่รู้ว่าจะส่งให้ใครตั้งแต่แรก
งานของนักเขียนคำโฆษณาคือการอ่านใจคน
โฆษณา จับต้องได้ มีประโยชน์กับผู้บริโภค เป็นสิ่งที่สร้างเอฟเฟค
โฆษณาเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เปลี่ยนใจคน นำความคิดคนได้
เพราะโฆษณาแก้ไขปัญหาโลกร้อนไม่ได้ โฆษณาแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายไม่ได้
ขอบเขตของโฆษณาคือการปลูกฝังการตระหนักรู้ และตีกรอบความคิดคน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงโลกให้ได้ใน 1 วัน
ว่ากันตามตรงมันคือการทำให้ประชาชนอินตาม จนสามารถเป็นแรงไฮป์ให้คล้อยตาม โฆษณาที่ทำให้คนพูดแบรนด์จนไวรัล หรือโฆษณาประกันชีวิตที่ร้องไห้ตามทั้งบ้านทั้งเมือง ก็ไม่ได้ใช้เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยนี่คะ แต่ใช้เพื่อให้คนรู้สึกว่าการทำประกันชีวิตสำคัญกับคนในครอบครัวต่างหาก
ในซีรีส์มีการนำเสนอเคสที่โฆษณาที่สามารถสร้างอิมแพคจนมีสื่อเอาประเด็นไปขยี้ต่อ จนทำให้ข่าวของผู้บริหารที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านกฏหมายขององค์กรที่มาจ้างเอเจนซี่ทำพีอาร์ให้ในคุกถูกพูดถึงตามไปด้วย จนทำให้องค์กรได้รับ____ในที่สุด (กลัวเป็นสปอยเกิน TT)
ทั้งหมดนี้ก็เป็นประเด็นหลัก ๆ ที่นุ่นวิเคราะห์จากซีรีส์เกาหลีเรื่อง AGENCY ค่ะ นอกจากบรรยากาศการทำงานใน เอเจนซี่โฆษณา ความสำคัญของการทำโฆษณา แนวคิดที่ได้จากเรื่องนี้ก็น่าจะแสดงถึง 50% ของสภาพออฟฟิศจริง ๆ ของใครหลายคนที่เคยทำงานเอเจนซี่โฆษณา และน่าจะทำให้น้อง ๆ ที่มีอาชีพในฝันอยู่ในแวดวงโฆษณาได้พอนึกภาพออกค่ะ
อีกประเด็นทิ้งท้ายสำหรับมนุษย์วัยทำงาน ประเด็นที่คนทำงานบางคนมีความจำเป็นต้องใช้ยาจิตเวช สุขภาพจิต ก็สะท้อนให้เราคิดตามว่านอกจากงานที่ได้เงิน จะต้องเป็นงานที่ไม่ทำร้ายสุขภาพจิตตัวเองด้วยนะคะ แบ่งเวลามาใส่ใจคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน อย่างโต๊ะไฟฟ้าก็ทำให้คนในทีมอยากจะตื่นมาทำงาน บรรยากาศดี ๆ เพื่อนร่วมงานดี ๆ ก็เปลี่ยนจากงานที่ไม่อยากทำ ให้กลายเป็นกิจวัตรที่อยากจะทำหลังสวมเสื้อผ้าได้
เรตติ้งสูงถึง 16.044% ซึ่งถือว่าดีเลยในช่องหลักของเกาหลีค่ะ ใครอยากจะไปตามต่อ ก็สามารถดูแบบลิขสิทธ์ได้ที่ Netflix เลยนะคะ มีทั้งหมด 16 ตอน ตอนละประมาณ 1 ชั่วโมง เนื้อเรื่องจะมีทั้งช่วงที่ช้าเนิบ และเร่งเร้าใจเลยค่ะ ดูแล้วมีความเห็นยังไงคอมเมนต์มาคุยได้กันนะคะ~
Source Source